ภาษาโฑครี
ภาษาโฑครี | |
---|---|
𑠖𑠵𑠌𑠤𑠮, डोगरी, ڈوگری | |
[[File:|200px]] ศัพท์ "โฑครี" ในอักษรโฑครีและอักษรเทวนาครี | |
ประเทศที่มีการพูด | อินเดีย, ปากีสถาน |
ภูมิภาค | แคว้นชัมมู, รัฐหิมาจัลประเทศตะวันตก, รัฐปัญจาบ |
ชาติพันธุ์ | ชาวโฑครี |
จำนวนผู้พูด | 2.6 ล้านคน (2011 สำมะโน)[1] |
ตระกูลภาษา | |
ระบบการเขียน | อักษรฏากรีแบบDogra Akkhar อักษรเทวนาครี อักษรเปอร์เซีย-อาหรับ (แนสแทอ์ลีก) |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ | อินเดีย |
รหัสภาษา | |
ISO 639-2 | doi |
ISO 639-3 | doi – รหัสรวม รหัสเอกเทศ: dgo – Dogri properxnr – Kangri |
ภาษาโฑครี (อักษรโฑครี: 𑠖𑠵𑠌𑠤𑠮; อักษรเทวนาครี: डोगरी; แนสแทอ์ลีก: ڈوگری; แม่แบบ:IPA-doi) เป็นภาษากลุ่มอินโด-อารยันเหนือที่มีผู้พูดในประเทศอินเดียประมาณห้าล้านคน[3] ส่วนใหญ่อยู่ในแคว้นชัมมูในชัมมูและกัศมีร์ และยังมีผู้พูดในรัฐหิมาจัลประเทศตะวันตก และภูมิภาคปัญจาบตอนบน[4] เป็นภาษาของชาวโฑครี ภาษานี้เป็นภาษาในกลุ่มภาษาปาหารีตะวันตก[5] และมีวรรณยุกต์ ซึ่งไม่ค่อยพบในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน[6] ภาษานี้มีสำเนียงบางสำเนียงที่ทั้งหมดมีศัพท์ที่คล้ายกันมากกว่า 80% (ในชัมมูและกัศมีร์)[7]
โฑครีเป็นหนึ่งใน 22 ภาษาทางการของประเทศอินเดีย โดยได้รับการบรรจุลงในกำหนดรายการที่แปดของรัฐธรรมนูญใน ค.ศ. 2003
อักษร
[แก้]แต่ก่อนถือว่าเป็นภาษาถิ่นของภาษาปัญจาบ แต่ปัจจุบันได้รับการยอมรับว่าเป็นอีกภาษาหนึ่งในอดีตเขียนด้วยอักษรฏากรี[8] ซึ่งคล้ายกับอักษรศารทาที่ใช้เขียนภาษากัศมีร์ ปัจจุบันเขียนด้วยอักษรเทวนาครีหรืออักษรเปอร์เซีย-อาหรับแบบแนสแทอ์ลีก
ศัพท์ทั่วไป
[แก้]ภาษาโฑครี | ภาษาโฑครี | คำแปล | เปรียบเทียบ |
---|---|---|---|
آہ / ऑह | Ah | ใช่ | Haan (ฮินดี,อูรดู,ปัญจาบ), Aa (กัศมีร์), Ho (ภาษาปาทาน) |
کنے / कन्ने | Kanne | กับ | Saath (ฮินดี/อูรดู), Sityə (กัศมีร์), Naal (ปัญจาบ) |
نکے / नुक्के | Nukke | รองเท้า | Jootey (ฮินดี,อูรดู), Chhittar/Juttiaan (ปัญจาบ) |
پت / पित्त | Pit | ประตู | Darwaza (ฮินดี/อูรดู/ปัญจาบ/กัศมีร์), Buha (ปัญจาบ), Bar (กัศมีร์) |
کے / के | Ke | อะไร | Kya (ฮินดี/อูรดู/กัศมีร์), Kee (ปัญจาบ) |
کى / की | Kī | ทำไม | Kyon (ฮินดี/อูรดู/ปัญจาบ), Kyazi (กัศมีร์), Kate/Kanu (ปัญจาบ ในบางที่) |
ادوانہ / अद्वाना | Adwana | แตงโม | Tarbooz (ฮินดี/อูรดู), Hadwana (ปัญจาบ/ภาษาเปอร์เซีย), Indwanna (ปาทาน) |
دنيہ / दुनिया | Duniyā | โลก | Duniya (อูรดู/ปัญจาบ/แคชเมียร์/เปอร์เซีย/ภาษาอาหรับ) |
หลักฐานทางประวัติศาสตร์
[แก้]ปูโตมีชาวกรีกในสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชได้กล่าวถึงชาวโฑครีว่า “ครอบครัวชาวโฑครีผู้กล้าหาญที่อยู่ในหุบเขาศิวาลิก [9] ใน พ.ศ. 1860 อามีร์ ขุสโร กวีที่มีชื่อเสียงในภาษาฮินดีและภาษาเปอร์เซียได้กล่าวถึงภาษาโฑครีในการอธิบายถึงภาษาและสำเนียงในอินเดีย[10][11]
ทฤษฎีเกี่ยวกับที่มาของชื่อ
[แก้]นักปราชญ์ในสมัยพระเจ้ารับบีร สิงห์มหาราชแห่งรัฐชัมมูและกัศมีร์ อธิบายคำว่า Duggar ว่ามาจากคำว่า Dwigart หมายถึงผ่านไปทั้งสอง ซึ่งอาจจะอ้างถึงทะเลสาบมันสัรและสรุอินสัร [12]
มีนักภาษาศาสตร์ได้เชื่อมโยงคำว่า Duggar เข้ากับคำว่า Doonger ในภาษาราชสถาน ซึ่งหมายถึงเนินเขาและ Dogra กับคำว่า Dongar[12] ความเห็นนี้ขาดการสนับสนุนเท่าที่ควรเพราะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนระหว่างภาษาราชสถานกับภาษาโฑครี และขาดเหตุผลว่าทำไมจึงเปลี่ยนแปลงไปเช่นนั้น[13]
ข้อสันนิษฐานอีกข้อหนึ่งคือมาจากศัพท์ Durger ซึ่งคำนี้หมายถึงไม่พ่ายแพ้ในหลายภาษาทางอินเดียเหนือ และอาจจะกลายมาเป็นคำที่ชาวโฑครียืมมาใช้ เพื่อสื่อถึงความเข้มแข็งและประวัติศาสตร์ด้านการทหารและการปกครองตนเองในสังคมชาวโฑครี
ใน พ.ศ. 2519 ในการประชุมวิชาการเรื่องอินเดียแห่งตะวันออกทั้งหมด ได้ปฏิเสธสมมติฐาน Dwigart และสมมติฐาน Durger แต่ยอมรับสมมติฐาน Doonger-Duggar ในการประชุมต่อมาใน พ.ศ. 2525 นักภาษาศาสตร์ยอมรับว่าวัฒนธรรม ภาษา และประวัติศาสตร์ของชาวราชสถานและชาวโฑครีมีบางส่วนคล้ายคลึงกัน ศัพท์ Duggar และ Dogra เป็นศัพท์ทั่วไปในภาษาราชสถาน
ประวัติ
[แก้]การแปลภาษาสันสกฤตเป็นภาษาโฑครี เขียนด้วยอักษรโฑครีเริ่มปรากฏเมื่อ พ.ศ. 1657 ภาษาโฑครีเองมีกวีนิพนธ์ นิยาย และละครพื้นเมืองเป็นของตนเองเช่นกันโดยมีประวัติสืบค้นได้ถึงพุทธศตวรรษที่ 23 มีสถานีวิทยุและโทรทัศน์ออกอากาศเป็นภาษาโฑครีในรัฐชัมมูและกัศมีร์ เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2512 ภาษาโฑครีได้รับการยอมรับให้เป็นภาษาเขียนเอกเทศในอินเดีย [14] เป็นภาษาประจำรัฐภาษาหนึ่งของรัฐชัมมูและกัษมีระ ต่อมาในวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ภาษาโฑครีได้รับการยอมรับให้เป็นภาษาประจำชาติของอินเดีย [15][16]ในปากีสถาน ภาษานี้มีชื่อว่าภาษาปาหารี[6] ยังมีผู้ใช้อยู่มากแต่ยังไม่ได้รับการยอมรับให้เป็นภาษาราชการ [17]
การเป็นภาษาหรือสำเนียง
[แก้]ภาษาโฑครี ภาษากัศมีร์ ภาษาปัญจาบ ภาษาอูรดู และภาษาฮินดี ต่างเป็นภาษาที่ใช้พูดในบริเวณที่มีความขัดแย้งสูง ทำให้เกิดปัญหาว่าภาษาเหล่านี้เป็นภาษาเอกเทศหรือสำเนียง ในบางครั้งถือว่าภาษาปาหารีตะวันตกเป็นสำเนียงของภาษาปัญจาบ ภาษาปาหารีตะวันตกบางสำเนียงเช่นรัมบานี เคยถูกจัดเป็นสำเนียงของภาษากัศมีร์[5][18] ในบางครั้งภาษาปัญจาบก็เคยถูกจัดเป็นสำเนียงของภาษาฮินดี นักภาษาศาสตร์สมัยใหม่จัดให้ภาษาโฑครี ภาษาแคชเมียร์ ภาษาปัญจาบ ภาษาอูรดู และภาษาฮินดีเป็นภาษาเอกเทศในภาษากลุ่มอินโด-อิเรเนียน ภาษาเหล่านี้จะมีภาษามาตรฐานที่ใช้ในการเขียนและมีสำเนียงย่อย ๆ อีกมาก
ตัวอย่าง
[แก้]ข้อความข้างล่างมาจากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อที่ 1
โฑครี (อักษรโฑครี) | 𑠩𑠬𑠤𑠳 𑠢𑠝𑠯𑠊𑠹𑠋 𑠢𑠴𑠪𑠹𑠢𑠬 𑠙𑠳 𑠪𑠊𑠹𑠊𑠳𑠷 𑠛𑠳 𑠠𑠭𑠧𑠳 𑠏 𑠑𑠝𑠢 𑠚𑠢𑠬𑠷 𑠩𑠯𑠙𑠴𑠷𑠙𑠤 𑠙𑠳 𑠠𑠤𑠬𑠠𑠤 𑠝। 𑠄'𑠝𑠳𑠷 𑠌𑠮 𑠙𑠤𑠹𑠊 𑠙𑠳 𑠑𑠺𑠢𑠮𑠤 𑠛𑠮 𑠩𑠌𑠬𑠙 𑠢𑠭𑠥𑠮 𑠇 𑠙𑠳 𑠄'𑠝𑠳𑠷 𑠌𑠮 𑠁𑠞𑠰𑠷-𑠠𑠭𑠏𑠹𑠏𑠳𑠷 𑠡𑠬𑠃𑠏𑠬𑠤𑠳 𑠛𑠳 𑠡𑠬𑠦 𑠊𑠝𑠹𑠝𑠴 𑠠𑠤𑠙𑠬ऽ 𑠊𑠤𑠝𑠬 𑠏𑠬𑠪𑠭𑠛𑠬 𑠇। |
---|---|
โฑครี (อักษรเทวนาครี) | सारे मनुक्ख मैह्मा ते हक्कें दे बिशे च जनम थमां सुतैंतर ते बराबर न। उ'नें गी तर्क ते ज़मीर दी सगात मिली ऐ ते उ'नें गी आपूं-बिच्चें भाईचारे दे भाव कन्नै बरताऽ करना चाहिदा ऐ। |
โฑครี (อักษรเปอร์เซีย-อาหรับ) | سارے منکّھ میہما تے ہکّیں دے بشے چ جنم تھماں ستیںتر تے برابر ن۔ ا'نیں گی ترک تے زمیر دی سگات ملی اے تے ا'نیں گی آپوں-بچّیں بھائیچارے دے بھاو کنّے برتا کرنا چاہدا اے۔ |
ทับศัพท์โฑครี (ISO 15919) | Sārē manukkh maihmā tē hakkēṁ dē biśē ca janam thamāṁ sutaintar tē barābar na. U'nēṁ gī tark tē zamīr dī sagāt milī ai tē u'nēṁ gī āpūṁ-biccēṁ bhāīcārē dē bhāv kannai bartā' karnā cāhidā ai. |
สัทอักษรสากลโฑครี | [saːɾeː mənʊkːʰə mɛ́ːmaː t̪eː ə̀kːẽː d̪eː biʃeː ʧə ʤənəm t̪ʰəmãː sut̪ɛːnt̪əɾ t̪eː bəɾaːbəɾ nə ‖ ʊ́nẽː giː t̪əɾk t̪eː zəmiːɾ d̪iː səgaːt̪ mɪliː ɛː t̪eː ʊ́nẽː giː aːpũːbɪʧːẽː pàːiːʧaːɾeː d̪eː pàːv kənːɛː bəɾt̪aː kəɾnaː ʧaːɪ́d̪aː ɛː ‖] |
แปลไทย | มนุษย์ทั้งปวงเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในศักดิ์ศรี และสิทธิ ต่างในตนมีเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันด้วยจิตวิญญาณแห่งภราดรภาพ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Census India, Statement 1: Abstract of Speakers' Strength of Languages and Mother Tongues 2011
- ↑ "The Jammu and Kashmir Official Languages Bill, 2020". prsindia. 23 กันยายน 2020. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2020.
- ↑ Sharma, Sita Ram (1992). Encyclopaedia of Teaching Languages in India, v. 20. Anmol Publications. p. 6. ISBN 9788170415459.
- ↑ Billawaria, Anita K. (1978). History and Culture of Himalayan States, v.4. Light & Life Publishers.
- ↑ 5.0 5.1 Masica, Colin P. (1993). The Indo-Aryan Languages. Cambridge University Press. p. 427. ISBN 978-0-521-29944-2.
- ↑ 6.0 6.1
Ghai, Ved Kumari (1991). Studies in Phonetics and Phonology: With Special Reference to Dogri. Ariana Publishing House. ISBN 978-81-85347-20-2.
non-Dogri speakers, also trained phoneticians, tend to hear the difference as one of length only, perceiving the second syllable as stressed
- ↑ Brightbill, Jeremy D.; Turner, Scott B. (2007). "A Sociolinguistic Survey of the Dogri Language, Jammu and Kashmir" (PDF). SIL International. สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2016.
- ↑ Pandey, Anshuman (4 พฤศจิกายน 2015). "L2/15-234R: Proposal to encode the Dogra script in Unicode" (PDF).
- ↑ Shastri, Balkrishan (1981). Dogri in the family of world languages (Translated). Dogri Research Centre, Jammu University.
- ↑ Shastri, Ram Nath (1981). Dogri Prose Writing before Independence (Translated). Dogri Research Centre, Jammu University.
- ↑ Datta, Amaresh (1987). Encyclopaedia of Indian Literature. Sahitya Akademi.
- ↑ 12.0 12.1 Pathik, Jyoteeshwar (1980). Cultural Heritage of the Dogras. Light & Life Publishers.
- ↑ Bahri, Ujjal Singh (2001). Dogri: Phonology and Grammatical Sketch. Bahri Publications.
- ↑ Rao, S. (2004). Five Decades: The National Academy of Letters, India : a Short History of Sahitya Akademi. Sahitya Akademi.Indian Express, New Delhi, 3rd August, 1969
- ↑ "Lok Sabha passes bill recognising Dogri, 3 other languages", Daily Excelsior, Jammu and Kashmir, 23 ธันวาคม 2003, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 ธันวาคม 2008, สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2008,
Dogri among other three languages has been included in the Eighth Schedule of the Constitution when Lok Sabha unanimously approved an amendment in the Constitution
- ↑ Tsui, Amy (2007). Language Policy, Culture, and Identity in Asian Contexts. Routledge. ISBN 0805856943.
- ↑ Alami Pahari Adabi Sangat (Global Pahari Cultural Association), คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2008, สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2008
- ↑ Itagi, N.H. (1994). Spatial Aspects of Language. Central Institute of Indian Languages. p. 70. ISBN 8173420092.
บรรณานุกรม
[แก้]- Gopal Haldar (2000). Languages of India. New Delhi: National Book Trust
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- The Dogri Language, บทความโดย Ved Kumari Ghai
- Duggar Times.com, ข้อมูลเพิ่มเติมของภาษาโฑครี, วรรณกรรม และนักเขียน
- Dailyexcelsior.com, "One Hundredth Amendment," รายงานข่าวการยอมรับภาษาโฑครีเป็นภาษาประจำชาติ
- Modifications to Devanagri to represent Dogri tones
- Pahari.org, Alami Pahari Adabi Sangat (Global Pahari Cultural Association)
- Ancientscripts.com, อักษรฏากรี
- Crulp.org, เอกสารเกี่ยวกับวรรณยุกต์และการออกเสียง ในภาษาปัญจาบ
- Dogri computing resources at TDIL (Devanagari Script)