มนุษย์ปักกิ่ง
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
Homo erectus pekinensis ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: Pleistocene | |
---|---|
กะโหลกชิ้นแรกของ Homo erectus pekinensis (Sinathropus pekinensis) ที่ค้นพบในปี ค.ศ. 1929 | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Primates |
วงศ์: | Hominidae |
สกุล: | Homo |
สปีชีส์: | H. erectus |
สปีชีส์ย่อย: | H. e. pekinensis |
Trinomial name | |
Homo erectus pekinensis (Black, 1927) |
มนุษย์ปักกิ่ง จัดอยู่ในยุคหินเก่า มีลักษณะเตี้ย หน้าสั้น หน้าผากต่ำ แบน คิ้วหนายื่นออก ปากยื่น คางสั้น จมูกแบน มนุษย์ปักกิ่งจะเสียชีวิตก่อนอายุ 14 ปี การเลี้ยงชีพของมนุษย์ปักกิ่งคือ การล่าสัตว์ การออกหาอาหารกันเป็นกลุ่ม ๆ
วิถีดำรงชีวิตของมนุษย์ปักกิ่ง มนุษย์ปักกิ่ง อาศัยอยู่ที่บริเวณภูเขาหลงกู่ซาน ในเขตโจวโข่วเตี้ยน เมื่อประมาณ 500,000 ปีก่อน มนุษย์ปักกิ่งสามารถเดินและยืนตัวตรงได้ พวกเขาอาศัยอยู่ในถ้ำธรรมชาติ ดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์และหาผลไม้เป็นหลักยังไม่รู้จักการตัดเย็บเสื้อผ้าและการสร้างบ้าน มนุษย์ปักกิ่งสามารถใช้ไฟที่มาจากธรรมชาติได้ และได้นำไฟไปใช้ในถ้ำและคอยเติมฟืนเพื่อไม่ให้ไฟดับอีกด้วย
เครื่องมือหินของมนุษย์ปักกิ่ง มนุษย์ปักกิ่งจะสกัดแผ่นหินชิ้นใหญ่ให้กลาบเป็นเครื่องมือหิน มีเครื่องมือหินสองลักษณะคือ ลักษณะแบนเรียบ และลักษณะสามเหลี่ยมแหลมคม
ลักษณะแบนเรียบ มีความแหลมคมใช้ในการตัดไม้
ลักษณะสามเหลี่ยมแหลมคม ใช้ในการหั่นเนื้อสัตว์และขุดรากไม้[1]
ผลการขุดค้นเพิ่มในถ้ำของมนุษย์ปักกิ่งพบว่า บรรพบุรุษของเรารู้จักก่อไฟ ทำเครื่องนุ่งห่ม และประดิษฐ์หอกแหลม ตั้งแต่เมื่อแสนปีก่อน
- ↑ คัลเชอร์, มอนเทจ (2551 [2008]). ประวัติศาสตร์จีน : ยุคก่อนประวัติศาสตร์ถึงราชวงศ์ชิง = Chinese history (ancient China to 1911). สุขภาพใจ. ISBN 978-974-409-921-1. OCLC 683156723.
{{cite book}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help)