ข้ามไปเนื้อหา

มันเทศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มันเทศ
รากสะสมอาหารของมันเทศ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Solanales
วงศ์: Convolvulaceae
สกุล: Ipomoea
สปีชีส์: I.  batatas
ชื่อทวินาม
Ipomoea batatas
(L.) Lam.
ต้นมันเทศในไร่
หัวมันเทศสีม่วงที่พบในเอเชีย

มันเทศ (อังกฤษ: sweet potato) เป็นพืชหัวเกรียนใต้ดินเถาเลื้อยราบไปบนพื้นดิน ปลูกเป็นพืชไร่ มีเนื้อสีหลายสีตามสายพันธุ์ ใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน เช่น เถา ใบ หัว นิยมนำมารับประทานโดย ต้ม หรือ เผา ทำเป็นอาหารคาวหวาน ส่วนผสมของอาหารสำหรับเด็ก ใช้เป็นอาหารสัตว์ เป็นต้น

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

[แก้]

มันเทศ เป็นพืชอายุยืน ไม่มีเนื้อไม้ รากแตกตามข้อและมีรากที่ขยายใหญ่เพื่อสะสมอาหาร มีรูปร่าง ขนาด จำนวนและสีของหัวต่างกัน ตั้งแต่สีขาว สีเหลือง สีน้ำตาล สีแดง และสีม่วง ใบเดี่ยว ไม่มีหูใบ มีต่อมน้ำหวานสองต่อมตรงขั้วใบ ก้านใบด้านบนเป็นร่องลึก กลีบดอกรูปกรวยสีขาวหรือสีม่วงแดง กลีบดอกในส่วนที่เป็นหลอดมีสีม่วง รังไข่ล้อมรอบด้วยต่อมน้ำหวานสีส้มเป็นพู ยอดเกสรตัวเมียมี 2 พู สีขาวหรือสีม่วงอ่อน ผลเป็นแบบแคบซูล มันเทศที่หัวมีสีม่วงบางครั้งเรียกมันต่อเผือกด้วย

การใช้ประโยชน์

[แก้]

มันเทศมีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลางหรืออเมริกาใต้ เส้นทางการกระจายพันธุ์ของมันเทศมี 3 ทิศทางคือ เส้นทางกูมาราออกจากทางเหนือของอเมริกาเหนือไปยังแถบตะวันตกของพอลินีเซีย เส้นทางบาตาตาสเข้าสู่แอฟริกาและเอเชียผ่านทางยุโรป และเส้นทางกาโมเต จากเม็กซิโกเข้าสู่ฮาวาย กวมแล้วผ่านไปยังฟิลิปปินส์ มันเทศเป็นพืชที่ใช้หัวบริโภค ใช้เป็นอาหารสัตว์น้อย ในทางอุตสาหกรรมใช้ผลิตแป้งและแอลกอฮอล์ ในเขตร้อนของเอเชียนิยมรับประทานเป็นอาหารว่าง ส่วนในเกาะนิวกินีและแถบโอเชียเนียบางประเทศรับประทานเป็นอาหารหลัก ยอดอ่อนรับประทานเป็นผักได้ องค์ประกอบในหัวมันเทศส่วนใหญ่เป็นแป้ง หัวที่มีเนื้อสีส้มมีเบตาแคโรทีน หัวสดมีวิตามินซีมาก[1]

คุณค่าทางอาหาร

[แก้]
มันเทศดิบ
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
พลังงาน359 กิโลจูล (86 กิโลแคลอรี)
20.1 g
แป้ง12.7 g
น้ำตาล4.2 g
ใยอาหาร3 g
0.1 g
1.6 g
วิตามิน
วิตามินเอ
(89%)
709 μg
(79%)
8509 μg
ไทอามีน (บี1)
(7%)
0.078 มก.
ไรโบเฟลวิน (บี2)
(5%)
0.061 มก.
ไนอาซิน (บี3)
(4%)
0.557 มก.
(16%)
0.8 มก.
วิตามินบี6
(16%)
0.209 มก.
โฟเลต (บี9)
(3%)
11 μg
วิตามินซี
(3%)
2.4 มก.
วิตามินอี
(2%)
0.26 มก.
แร่ธาตุ
แคลเซียม
(3%)
30 มก.
เหล็ก
(5%)
0.61 มก.
แมกนีเซียม
(7%)
25 มก.
แมงกานีส
(12%)
0.258 มก.
ฟอสฟอรัส
(7%)
47 มก.
โพแทสเซียม
(7%)
337 มก.
โซเดียม
(4%)
55 มก.
สังกะสี
(3%)
0.3 มก.

ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่
แหล่งที่มา: USDA FoodData Central
มันเทศอบไม่ใส่เกลือ
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
พลังงาน378 กิโลจูล (90 กิโลแคลอรี)
20.7 g
แป้ง7.05 g
น้ำตาล6.5 g
ใยอาหาร3.3 g
0.15 g
2.0 g
วิตามิน
วิตามินเอ
(120%)
961 μg
ไทอามีน (บี1)
(10%)
0.11 มก.
ไรโบเฟลวิน (บี2)
(9%)
0.11 มก.
ไนอาซิน (บี3)
(10%)
1.5 มก.
วิตามินบี6
(22%)
0.29 มก.
โฟเลต (บี9)
(2%)
6 μg
วิตามินซี
(24%)
19.6 มก.
วิตามินอี
(5%)
0.71 มก.
แร่ธาตุ
แคลเซียม
(4%)
38 มก.
เหล็ก
(5%)
0.69 มก.
แมกนีเซียม
(8%)
27 มก.
แมงกานีส
(24%)
0.5 มก.
ฟอสฟอรัส
(8%)
54 มก.
โพแทสเซียม
(10%)
475 มก.
โซเดียม
(2%)
36 มก.
สังกะสี
(3%)
0.32 มก.

ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่
แหล่งที่มา: USDA FoodData Central
ใบมันเทศดิบ
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
พลังงาน175 กิโลจูล (42 กิโลแคลอรี)
8.82 g
ใยอาหาร5.3 g
0.51 g
2.49 g
วิตามิน
วิตามินเอ
(24%)
189 μg
(21%)
2217 μg
14720 μg
ไทอามีน (บี1)
(14%)
0.156 มก.
ไรโบเฟลวิน (บี2)
(29%)
0.345 มก.
ไนอาซิน (บี3)
(8%)
1.13 มก.
(5%)
0.225 มก.
วิตามินบี6
(15%)
0.19 มก.
วิตามินซี
(13%)
11 มก.
วิตามินเค
(288%)
302.2 μg
แร่ธาตุ
แคลเซียม
(8%)
78 มก.
เหล็ก
(7%)
0.97 มก.
แมกนีเซียม
(20%)
70 มก.
ฟอสฟอรัส
(12%)
81 มก.
โพแทสเซียม
(11%)
508 มก.

Direct link to database entry [1]
ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่
แหล่งที่มา: USDA FoodData Central

สายพันธุ์

[แก้]
  1. พันธุ์พิจิตร 1 พจ. 113-7, พจ. 115-1, พจ. 166-5
  2. พันธุ์แม่โจ้
  3. พันธุ์ห้วยสีทน
  4. พันธุ์โอกุด (เกษตร)[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ และคณะ. ทรัพยากรพืชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 9: พืชให้คาร์โบไฮเดรตที่ไม่ใช่เมล็ด. กทม. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2544. หน้า 138 - 140
  2. "มันเทศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-27. สืบค้นเมื่อ 2011-12-23.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]