ข้ามไปเนื้อหา

รางวัลอิกโนเบล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ใน ค.ศ. 2000 ได้มีการประกาศรางวัลอิกโนเบลสาขาฟิสิกส์ให้กับ Andre Geim จากมหาวิทยาลัยรัดเบาด์ไนเมเคิน และ ไมเคิล เบอร์รี จากมหาวิทยาลัยบริสตอล สหราชอาณาจักร สำหรับการทำให้กบที่ยังมีชีวิตอยู่ลอยด้วยพลังแม่เหล็ก[1]

อิก โนเบล (อังกฤษ: Ig Nobel) ย่อมาจาก Ignoble Nobel prizes เป็นรางวัลที่มอบให้แก่ผลงานทางวิทยาศาสตร์หรืองานวิจัยที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ เช่น ระหว่างน้ำเชื่อมกับน้ำธรรมดามนุษย์จะว่ายในน้ำไหนได้ไวกว่ากัน ก่อตั้งโดย มาร์ก อับราฮัมส์ ตั้งแต่ ค.ศ. 1991 มีการมอบรางวัลทุกปีโดยมอบปีละ 10 รางวัลในแต่ละสาขาที่ต่างกันไป อับราฮัมส์ตั้งรางวัลนี้ขึ้นมาเพื่อฉายแสงให้กับโครงการวิทยาศาสตร์แปลก ๆ ที่ไม่ได้รับความสนใจจากกองบรรณาธิการนิตยสารวิทยาศาสตร์ ซึ่งงานวิจัยแปลก ๆ เหล่านี้อาจสูญหายไปในอนาคต โดยในปี 2556 คณะแพทย์ชาวไทยได้รับรางวัลในสาขาสาธารณสุขจากผลงานเรื่องการต่ออวัยวะเพศที่ถูกตัดขาด

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Geim becomes first Nobel & Ig Nobel winner". Improbable.com. October 5, 2010. สืบค้นเมื่อ November 17, 2018.