ร็อกเซลานา
ฮิวร์เรม ซุลตาน | |
---|---|
ฮาเซคีซุลตานแห่งออตโตมัน | |
ครองราชย์ | พ.ศ. 2076/2077 – 15 เมษายน พ.ศ. 2101 |
ถัดไป | นูร์บานู ซุลตาน |
ประสูติ | ราว พ.ศ. 2045-2047 โรฮาตึน อาณาจักรโปแลนด์ |
สิ้นพระชนม์ | 15 เมษายน พ.ศ. 2101 (ราว 53–56 ปี) พระราชวังโทพคาปึ คอนสแตนติโนเปิล จักรวรรดิออตโตมัน |
ฝังพระศพ | มัสยิดซิวเลย์มานีเย คอนสแตนติโนเปิล[1][2] |
พระสวามี | สุลัยมานผู้เกรียงไกร |
พระบุตร | เจ้าชายเชห์ซาเด เมห์เมด เจ้าหญิงมีห์รีมาห์ ซุลตาน เจ้าชายเชห์ซาเด อับดุลลาห์ สุลต่านเซลิมที่ 2 เจ้าชายเชห์ซาเด บาเยซิด เจ้าชายเชห์ซาเด จีฮันกี |
ราชวงศ์ | ออตโตมัน |
พระบิดา | ฮัฟรือโล ลิซอฟสกี[3][4] |
ศาสนา | อิสลาม (เดิมอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์) |
ฮิวร์เรม ซุลตาน (ตุรกีออตโตมัน: خُرَّم سلطان; เสียงอ่านภาษาตุรกี: [hyɾˈɾem suɫˈtaːn]) หรือเป็นที่รู้จักในพระนามว่า ร็อกเซลานา (อักษรโรมัน: Roxelana; ราว พ.ศ. 2045 – 15 เมษายน พ.ศ. 2101) เป็นพระชายาเอกในสุลต่านสุลัยมานแห่งจักรวรรดิออตโตมัน
พระองค์เป็นที่รู้จักในฐานะพระชายาเอกในองค์สุลต่าน (ตุรกีออตโตมัน: خاصکي سلطان Haseki Sultan) ที่ทรงพระราชอำนาจทางการเมืองผ่านพระราชสวามี และทรงบทบาทสำคัญยิ่งต่อกิจการของรัฐ[5]
พระนาม
[แก้]พระองค์เป็นที่รู้จักในหมู่ชาวออตโตมันว่า ฮาเซคี ฮืร์เรม ซุลตาน (Haseki Hürrem Sultan) หรือ ฮืร์เรม ฮาเซคี ซุลตาน (Hürrem Haseki Sultan) อันมีความหมายว่า "พระชายาเอกฮิวร์เรม" โดยคำว่า "ฮิวร์เรม" มาจากคำเปอร์เซียยุคกลางว่า "คูร์ราม" (เปอร์เซีย: خرم; "ผู้ให้ความสุข") บ้างก็ว่ามาจากคำอาหรับว่า "กะรีมะฮ์" (อาหรับ: كريمة; "ผู้มีใจเอื้ออารี")
ส่วนร็อกเซลานา (อักษรโรมัน: Roxelana) บางแห่งอาจสะกดเป็น ร็อกโซเลนา (อักษรโรมัน: Roxolena), ร็อกโซลานา (อักษรโรมัน: Roxolana), ร็อกเซลาเน (อักษรโรมัน: Roxelane), โรซซา (อักษรโรมัน: Rossa) หรือรูชีจา (อักษรโรมัน: Ružica) ล้วนเป็นพระสมัญญานามที่กินความหมายไปถึงเชื้อสายรูทีเนีย หรือ รูซึน (อักษรโรมัน: Rusyn) ของพระองค์ ซึ่งคำดังกล่าวเป็นชื่อหนึ่งของชาวยูเครนช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 ที่เรียกตามชื่อชาวร็อกโซลานี (อักษรโรมัน: Roxolani) ชาติพันธุ์โบราณที่เคยตั้งถิ่นฐานบริเวณนั้นมาก่อน ดังนั้นพระสมัญญานามดังกล่าวจึงมีความหมายว่า "หญิงชาวรูทีเนีย"[6]
พระประวัติ
[แก้]พระชนม์ชีพช่วงต้น
[แก้]จากการศึกษาในปัจจุบัน ข้อมูลของร็อกเซลานาขณะทรงพระเยาว์มีน้อยนัก ไม่ว่าจะเป็นพื้นเพของพระองค์ว่ามีเชื้อสายอะไร หรือการกล่าวถึงในอาณาจักรโปแลนด์อันเป็นมาตุภูมิ มีการสันนิษฐานว่าร็อกเซลานามีพระนามเดิมว่า อะเลคซันดรา (อักษรโรมัน: Aleksandra) หรือ อะนัสตาซียา ลีซอฟสกา (อักษรโรมัน: Anastasia Lisowska)[7] จากหลักฐานของมีฮาลอน ลึทวึน (Mikhalon Lytvyn) ทูตของแกรนด์ดัชชีลิทัวเนียประจำรัฐข่านไครเมีย ช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยในเอกสาร "เกี่ยวกับประเพณีของตาตาร์, ลิทัวเนีย และมอสโก" (ละติน: De moribus tartarorum, lituanorum et moscorum) ซึ่งในส่วนการค้าเขาระบุว่า "[...] พระชายาผู้เป็นที่รักของจักรพรรดิตุรกีพระองค์ปัจจุบัน พระชนนีของผู้สืบสันดานในพระองค์ [พระราชโอรส] นางผู้อยู่ในการปกครองของพระองค์หลังนิราศไปจากแดนดินของเรา"[8]
ส่วนหลักฐานช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 เช่นจากหลักฐานของซามูเอล ทวาร์โดฟสกี (Samuel Twardowski) กวีโปแลนด์ผู้ค้นคว้าศึกษาเกี่ยวกับตุรกี ได้ระบุว่าร็อกเซลานามีพระชนกเป็นนักบวชอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ชาวยูเครน[9][10][11][12] พระองค์ประสูติที่เมืองโรฮาตึน (Rohatyn) 68 กิโลเมตรทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองลวอฟ (Lwów) ซึ่งเป็นเมืองหลักของรูทีเนีย (Ruthenia Voivodeship) ที่ขณะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรโปแลนด์ (ปัจจุบันอยู่ทางตะวันตกของประเทศยูเครน)[12] ล่วงมาในช่วงปี พ.ศ. 2063 ร็อกเซลานาถูกชาวตาตาร์ไครเมียจับไปเป็นทาสหลังการบุกปล้นครั้งหนึ่งจากหลาย ๆ ครั้งในบริเวณดังกล่าว เบื้องต้นเชื่อว่าพระองค์คงถูกนำไปไว้ที่เมืองคัฟฟาในไครเมีย ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าทาส ก่อนส่งต่อไปยังเมืองคอนสแตนติโนเปิล แล้วทรงถูกคัดเลือกให้ไปประจำในฮาเร็มของสุลต่านสุลัยมาน[10][12]
พระชายาเอกในองค์สุลต่าน
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สิ้นพระชนม์
[แก้]ร็อกเซลานา สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2101 พระศพถูกฝังในสุสานหลวงในมัสยิดซิวเลย์มานีเย ที่มีลักษณะเป็นรูปโดมภายในตกแต่งด้วยกระเบื้องจากอิซนิค มีภาพวาดสวนบนสรวงสวรรค์เพื่อสดุดีพระจริยวัตรของพระองค์[13] โดยสุสานหลวงของพระองค์ตั้งอยู่ในกับสุสานหลวงของพระสวามีที่แยกต่างหาก
พระราชกรณียกิจ
[แก้]นอกเหนือจากบทบาททางการเมืองที่โดดเด่นแล้ว ร็อกเซลานาทรงมีส่วนร่วมในการก่อสร้างอาคารสาธารณะจำนวนหลายแห่งตั้งแต่มักกะฮ์จนถึงเยรูซาเลม ที่เป็นเสมือนมูลนิธิการกุศลทำนองเดียวกับซูไบดะฮ์ ภริยาของเคาะลีฟะฮ์ฮารูนาลรอชิดเคยทำไว้ เบื้องต้นพระองค์ทรงอุปถัมภ์โรงเรียนสอนพระคัมภีร์อัลกุรอานจำนวนสองแห่ง มีการให้สร้างบ่อน้ำพุ และโรงพยาบาลสำหรับสตรีที่ตั้งอยู่ใกล้ตลาดนางทาสในคอนสแตนติโนเปิลเพื่อเป็นสาธารณประโยชน์ มีการก่อสร้างโรงอาบน้ำฮาเซคีฮิวร์เรมซุลตานฮามามึ (Haseki Hürrem Sultan Hamamı) เพื่อรองรับอิสลามิกชนที่มาปฏิบัติศาสนกิจที่มัสยิดอายาโซเฟีย[14] และโปรดให้ก่อสร้างโรงทานฮาเซคีซุลตานอีมาเรต (Haseki Sultan Imaret) เพื่อบริจาคซุปแก่ราษฎรผู้ยากไร้[15] ที่ในหนึ่งวันสามารถเลี้ยงคนได้ 500 คนต่อสองมื้อ[16]
พระอนุสรณ์
[แก้]ร็อกเซลานา เป็นที่รู้จักทั้งในตุรกีและโลกตะวันตก ที่ส่วนมากเป็นจะปรากฏในรูปแบบของงานศิลป์จำนวนมาก ในปี พ.ศ. 2104 สามปีหลังการสิ้นพระชนม์ กาบรีแยล บูแน็ง (Gabriel Bounin) นักเขียนชาวฝรั่งเศส ได้แต่งบทประพันธ์โศกเรื่อง ลาโซลตาน (La Soltane) ที่ร็อกเซลานามีบทบาทสำคัญในการสิ้นพระชนม์ของเจ้าชายมุสตาฟา[17] ถือเป็นละครเวทีเรื่องแรกของฝรั่งเศสที่เกี่ยวกับออตโตมัน[18] นอกจากจะเป็นแรงบันดาลใจสำหรับจิตรกรแล้ว พระองค์ยังเป็นแรงบันดาลใจแก่โจเซฟ ไฮเดิน (Joseph Haydn) ในการแต่งซิมโฟนีหมายเลข 63 เพื่อใช้สำหรับละครเวทีที่มีร็อกเซลานาเป็นตัวละครของเรื่อง[19]
ในสเปน ร็อกเซลานามักปรากฏในงานเขียนของเกเบโด (Quevedo) และโดยเฉพาะผลงานของโลเป เด เบกา (Lope de Vega) นักเขียนบทละคร ที่เขียนเรื่อง สันนิบาตอันศักดิ์สิทธิ์ (The Holy League) ที่มีทิเชียนเป็นตัวละครไปปรากฏตัวในสภาสูงของเวนิส เบื้องต้นได้กล่าวว่าเขาเพียงแค่ไปเยือนองค์สุลต่าน และแสดงพระรูปร็อกเซลานาที่เขาวาด[20]
ในยูเครน ชาวมุสลิมในเมืองมารีอูปัล ได้เปิดมัสยิดที่สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติร็อกเซลานา เมื่อปี พ.ศ. 2550[21]
ในตุรกี ได้มีละครอิงประวัติศาสตร์ช่วงรัชกาลสุลต่านสุลัยมานที่ร็อกเซลานามีบทบาทสำคัญ ได้แก่ ฮิวร์เรม ซุลตาน (Hürrem Sultan; ปี พ.ศ. 2546) และซีรีส์เรื่อง ศตวรรษแห่งความเกรียงไกร หรือ มูห์เตแชม ยิวซ์ยีล (Muhteşem Yüzyıl; ปี พ.ศ. 2554–2558)[22]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ The Encyclopædia Britannica, Vol.7, Edited by Hugh Chisholm, (1911), 3; Constantinople, the capital of the Turkish Empire...
- ↑ Britannica, Istanbul เก็บถาวร 2007-12-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน:When the Republic of Turkey was founded in 1923, the capital was moved to Ankara, and Constantinople was officially renamed Istanbul in 1930.
- ↑ Dr Galina I Yermolenko (2013). Roxolana in European Literature, History and Culturea. Ashgate Publishing, Ltd. p. 275. ISBN 978-1-409-47611-5.
- ↑ Ukrainian Orthodox priest, Havrylo Lisowsky, father of Roxelana
- ↑ "Ayşe Özakbaş, Hürrem Sultan, Tarih Dergisi, Sayı 36, 2000". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-13. สืบค้นเมื่อ 2015-12-05.
- ↑ Ahmed, Syed Z (2001). The Zenith of an Empire : The Glory of the Suleiman the Magnificent and the Law Giver. A.E.R. Publications. p. 43. ISBN 978-0-9715873-0-4.
- ↑ Leslie P. Peirce, The imperial harem: women and sovereignty in the Ottoman Empire, Oxford University Press US, 1993, ISBN 0-19-508677-5, pp. 58-59.
- ↑ Yermolenko, G. Roxolana: "The Greatest Empress of the East". — p. 234
- ↑ Kinross, Patrick (1979). The Ottoman centuries : The Rise and Fall of the Turkish Empire. New York: Morrow. ISBN 978-0-688-08093-8.
- ↑ 10.0 10.1 The Speech of Ibrahim at the Coronation of Maximilian II, Thomas Conley, Rhetorica: A Journal of the History of Rhetoric, Vol. 20, No. 3 (Summer 2002), 266.
- ↑ Kemal H. Karpat, Studies on Ottoman Social and Political History: Selected Articles and Essays, (Brill, 2002), 756.
- ↑ 12.0 12.1 12.2 Elizabeth Abbott, Mistresses: A History of the Other Woman, (Overlook Press, 2010), [1].
- ↑ Öztuna, Yılmaz (1978). Şehzade Mustafa. İstanbul: Ötüken Yayınevi. ISBN 9754371415.
- ↑ "Historical Architectural Texture". Ayasofya Hürrem Sultan Hamamı. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-20. สืบค้นเมื่อ 19 November 2015.
- ↑ Peri, Oded. Waqf and Ottoman Welfare Policy, The Poor Kitchen of Hasseki Sultan in Eighteenth-Century Jerusalem, p. 169
- ↑ Singer, A. (2005). Serving Up Charity: The Ottoman Public Kitchen. Journal of Interdisciplainary History, 35:3, p. 486
- ↑ The Literature of the French Renaissance by Arthur Augustus Tilley, p.87 [2]
- ↑ The Penny cyclopædia of the Society for the Diffusion of Useful Knowledge p.418 [3]
- ↑ H.C. Robbins Landon (1994). Haydn: Haydn at Eszterháza, 1766-1790. Haydn: Chronicle and Works. Vol. 2. Thames and Hudson. ISBN 978-0-500-01168-3.[ต้องการเลขหน้า]
- ↑ Frederick A. de Armas "The Allure of the Oriental Other: Titian's Rossa Sultana and Lope de Vega's La santa Liga," Brave New Words. Studies in Spanish Golden Age Literature, eds. Edward H. Friedman and Catherine Larson. New Orleans: UP of the South, 1996: 191-208.
- ↑ "Religious Information Service of Ukraine". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-22. สืบค้นเมื่อ 2015-12-29.
- ↑ Fowler, Suzanne (2011-03-20). "Magnificent Century divides Turkish TV viewers over the life of Süleyman". The Observer. สืบค้นเมื่อ 2011-03-20.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Peirce, Leslie (1993). Empress of the East: How a European Slave Girl Became Queen of the Ottoman Empire. New York Basic Books. ISBN 978-0-465-03251-8..
- Peirce, Leslie P. The Imperial Harem: Women and Sovereignty in the Ottoman Empire (Oxford University Press, 1993)
- There are many historical novels in English about Roxelana: P.J. Parker's Roxelana and Suleyman[1] (2012; Revised 2016); Barbara Chase Riboud's Valide (1986); Alum Bati's Harem Secrets (2008); Colin Falconer, Aileen Crawley (1981-83), and Louis Gardel (2003); Pawn in Frankincense, the fourth book of the Lymond Chronicles by Dorothy Dunnett; and pulp fiction author Robert E. Howard in The Shadow of the Vulture imagined Roxelana to be sister to its fiery-tempered female protagonist, Red Sonya.
- David Chataignier, "Roxelane on the French Tragic Stage (1561-1681)" in Fortune and Fatality: Performing the Tragic in Early Modern France, ed. Desmond Hosford and Charles Wrightington (Newcastle upon Tyne: Cambridge Scholars Publishing, 2008), 95–117.
- Parker, P. J. Roxelana and Suleyman (Raider Publishing International, 2011).
- Thomas M. Prymak, "Roxolana: Wife of Suleiman the Magnificent," Nashe zhyttia/Our Life, LII, 10 (New York, 1995), 15-20. An illustrated popular-style article in English with a bibliography.
- Galina Yermolenko, "Roxolana: The Greatest Empresse of the East," The Muslim World, 95, 2 (2005), 231-48. Makes good use of European, especially Italian, sources and is familiar with the literature in Ukrainian and Polish.
- Galina Yermolenko (ed.), Roxolana in European Literature, History and Culture (Farmham, UK: Ashgate, 2010). 318 pp. Illustrated. Contains important articles by Oleksander Halenko and others, as well as several translations of works about Roxelana from various European literatures, and an extensive bibliography.
- For Ukrainian language novels, see Osyp Nazaruk (1930) (English translation is available),[2] Mykola Lazorsky (1965), Serhii Plachynda (1968), and Pavlo Zahrebelnyi (1980).
- There have been novels written in other languages: in French, a fictionalized biography by Willy Sperco (1972); in German, a novel by Johannes Tralow (1944, reprinted many times); a very detailed novel in Serbo-Croatian by Radovan Samardzic (1987); one in Turkish by Ulku Cahit (2001).
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Roxelana and Suleyman". www.facebook.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 January 2017.
- ↑ Nazaruk, Osyp. Roxelana – โดยทาง Amazon.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ร็อกเซลานา
- บทความวิกิพีเดียที่ต้องการอ้างอิงหมายเลขหน้าตั้งแต่May 2015
- หน้าที่มีสัทอักษรสากลไม่ระบุภาษา
- บุคคลที่เกิดในคริสต์ทศวรรษ 1500
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2101
- ชาวยูเครน
- บุคคลในคริสต์ศตวรรษที่ 16
- บุคคลในจักรวรรดิออตโตมัน
- บุคคลจากศาสนาคริสต์ที่เปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม
- บุคคลจากแคว้นอีวานอ-ฟรันกิวสก์
- บทความเกี่ยวกับ พระมหากษัตริย์ ที่ยังไม่สมบูรณ์