ข้ามไปเนื้อหา

วงศ์นกนางนวล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นกนางนวล
นกนางนวลธรรมดา (Larus brunnicephalus)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Charadriiformes
อันดับย่อย: Lari
วงศ์: Laridae
Vigors, 1825
สกุล

นกนางนวล เป็นนกทะเลวงศ์หนึ่ง ในอันดับนกชายเลนและนกนางนวล (Charadriiformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Laridae

เป็นนกที่มีขนาดปานกลางจนถึงขนาดใหญ่ มีลักษณะทั่วไป คือ มีขนสีเทาหรือขาว บางชนิดมีสีดำแต้มที่หัวหรือปีก มีปากหนายาว และเท้าเป็นผังพืด เป็นนกที่มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ หากินตามชายฝั่งทะเล และบางชนิดเข้ามาหากินในแหล่งน้ำจืดบ้าง เป็นนกที่ชาวทะเลหรือนักเดินเรือให้ความนับถือ โดยถือว่า หากได้พบนกนางนวลแล้วก็แสดงว่าอยู่ใกล้แผ่นดินมากเท่านั้น[1]

พบทั่วโลก 55 ชนิด ใน 11 สกุล (ดูในตาราง) พบในประเทศไทยทั้งหมด 9 ชนิด โดยทุกชนิดถือเป็นนกอพยพหนีความหนาวจากซีกโลกทางเหนือ จะพบได้บ่อยในช่วงเปลี่ยนถ่ายฤดูกาลระหว่างฤดูฝนกับฤดูหนาว โดยสามารถบินได้เร็วในระยะทาง 170-190 กิโลเมตร และบินตามมากันเป็นฝูง ใช้เวลากกไข่นานราว 24 วัน ลูกนกใช้เวลา 3 เดือน จึงจะบินได้เหมือนพ่อแม่

สถานที่ ๆ ขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งอพยพของนกนางนวลในประเทศไทย คือ บางปู ในจังหวัดสมุทรปราการ เป็นแหล่งที่ชมนกนางนวลอพยพได้ในทุกปี โดยแต่ละครั้งจะมีจำนวนนกไม่ต่ำกว่า 5,000 ตัว[2]

อนึ่ง นกในวงศ์นกนางนวล เดิมเคยถูกจัดเป็นวงศ์ใหญ่ เคยมีนกในวงศ์อื่นถูกจัดให้อยู่ร่วมวงศ์เดียวกัน ได้แก่ Rynchopidae (นกกรีดน้ำ) และSternidae (นกนางนวลแกลบ) แต่ปัจจุบันได้ถูกแยกออกมาเป็นวงศ์ต่างหาก[3] [4]

นกนางนวลที่พบได้ในประเทศไทย

[แก้]
ชื่อ ชื่อวิทยาศาสตร์ สถานะ
นกนางนวลหางดำ Larus crassirostris นกอพยพ หายากมาก
นกนางนวลปากเหลือง Larus canus นกพลัดหลง
นกนางนวลหลังดำพันธุ์รัสเซีย Larus heuglini นกอพยพ
นกนางนวลขาเหลือง Larus cachinnans
นกนางนวลหัวดำใหญ่ Larus ichthyaetus นกอพยพ หายากมาก
นกนางนวลธรรมดา Larus brunnicephalus นกอพยพ หายาก
นกนางนวลขอบปีกขาว Larus ridibundus นกอพยพ
นกนางนวลปากเรียว Larus genei นกอพยพ หายากมาก
นกนางนวลหลังเทา[5] Larus schistisagus นกอพยพ หายากมาก[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ๘. อันดับนกตีนเทียน-นกอีก๋อย (Order Charadriiformes) จากสนุกดอตคอม
  2. "บางปู...บ้านอบอุ่นของ...นกนางนวล". ไทยรัฐ. 10 November 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-11. สืบค้นเมื่อ 6 January 2014.
  3. นกกรีดน้ำมาเยือนเมืองไทย จากสารคดี[ลิงก์เสีย]
  4. 4.0 4.1 Harrison, Peter; Peterson, Roger Tory (1991). Seabirds: A Complete Guide to the Seabirds of the World (Helm Identification Guides). Christopher Helm Publishers Ltd. ISBN 071363510X.
  5. Upton, Nick. "Slaty-backed Gull, A new species for Thailand". thaibirding.com. Retrieved 23 November 2009

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]