วัดเขาพนมเพลิง
วัดเขาพนมเพลิง (อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย) | |
---|---|
พระมณฑป "ศาลเจ้าแม่ละอองสําลี"[1] และเจดีย์ประธานทรงลังกาและเจดีย์ราย 3 องค์ที่พังทลายหมดแล้ว ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 | |
ข้อมูลทั่วไป | |
สถานะ | เปิดใช้งาน |
ประเภท | วัด โบราณสถานภายในกำแพงเมือง อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย |
สถาปัตยกรรม | สถาปัตยกรรมสมัยสุโขทัยตอนปลาย[3] |
เมือง | อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย |
ประเทศ | ประเทศไทย |
เริ่มสร้าง | กลางพุทธศตวรรษที่ 20[2] |
ในกำกับดูแลของ | กรมศิลปากร |
ข้อมูลทางเทคนิค | |
โครงสร้าง | ศิลาแลงฉาบปูน |
เกณฑ์พิจารณา: วัฒนธรรม: (i), (iii) เลขอ้างอิง: 0004595 |
วัดเขาพนมเพลิง เป็นโบราณสถานภายในกำแพงเมือง อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ตัววัดตั้งอยู่บนเนินเขาพนมเพลิงใกล้กำแพงเมือง ด้านตะวันออกเฉียงเหนือ มีความสูงจากพื้นประมาณ 25 เมตร[1] ทางขึ้นวัดมี 2 ทาง ได้แก่ทางขึ้นหลักเป็นบันไดศิลาแลงกว้างประมาณ 6 เมตร จำนวน 114 ขึ้น และทางขึ้นบริเวณทางด้านหลังมณฑปวัด
วัดเขาพนมเพลิง ประกอบด้วย (1) วิหารขนาดประมาณ 14x20 เมตร ปัจจุบันหลงเหลือเพียงเสา (2) เจดีย์ประธานทรงลังกาซึ่งเป็นรูปแบบงานศิลปะสุโขทัยตอนปลาย (3) เจดีย์รายจำนวน 3 องค์ และ (4) พระมณฑป ซึ่งคนในพื้นที่เรียกว่า "ศาลเจ้าแม่ละอองสําลี"
ประวัติ
[แก้]เขาพนมเพลิงปรากฏในพงศาวดารเหนือตอนที่เกี่ยวกับการสร้างเมืองสวรรคโลก (ศรีสัชนาลัย) โดยกำหนดให้เขาพนมเพลิงอยู่กลางเมืองและได้สร้างวัดไว้บนเขาพนมเพลิง ดังกล่าวอ้างไว้ดังนี้
"กล่าวสำหรับเขาพนมเพลิงนั้นเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สำหรับประกอบพิธีบูชาไฟดังปรากฏข้อความในพงศาวดารเหนือ กล่าวถึงฤๅษีสัชนาลัยสั่งสอนบาธรรมราชว่า "สูเจ้าจงเอาพนมเพลิงเข้าไว้ในเมือง เป็นที่สร้างพรตบูชากูณฑ์ผู้เฒ่าจะสั่งสอน จงทำตามคำ"
จากประวัติในพงศาวดาวดังกล่าวหมายถึงเคยมีการใช้เขาพนมเพลิงเป็นแหล่งประกอบพิธีบำเพ็ญพรต แล้วจุดอัคคีบูชาเทวะเป็นเจ้า โดยกำหนดให้วัดเขาพนมเพลิงตั้งอยู่กลางเมืองศรีสัชนาลัย เป็นชัยภูมิของการสร้างเมืองให้โดดเด่นนั่นคือเป็นการสร้างมืองศรีสัชนาลัยที่โอบล้อมภูเขานี้ไว้ใจกลางเมือง เพื่อให้เป็นชัยภูมิอันเหมาะสมยิ่งในการประกอบพิธีดังกล่าว [4]
สถาปัตยกรรม
[แก้]โบราณสถานที่อยู่บนเนินเขานี้ประกอบด้วยเจดีย์ประธานทรงลังกา ก่อด้วยศิลาแลง ตั้งแต่ก้านฉัตรขึ้นไปพังทลายหมด และมีวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปที่ยังมีความสมบูรณ์อยู่พอสมควร ส่วนด้านหลังเจดีย์ประธานเมีเจดีย์ราย 3 องค์ และมีทางเดินลงมายังลานกว้างซึ่งมีมณฑปก่อด้วยศิลาแลง ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสยกพื้นสูง หลังคาโค้งแหลมขนาดใหญ่ ซึ่งชาวบ้านในพื้นที่เรียกว่า "ศาลเจ้าแม่ละอองสำลี"[5] ลักษณะของศาลนี้มีความคล้ายคลึงกับมณฑปที่พบที่วัดบริเวณทางเข้า อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "วัดเขาพนมเพลิง". มหาวิทยาลัยรามคำแหง. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-04. สืบค้นเมื่อ 29 December 2023.
- ↑ "39. วัดเขาพนมเพลิง - ศรีสัชนาลัย". huexonline.com. huexonline.com. สืบค้นเมื่อ 29 December 2023.
- ↑ "วัดเขาพนมเพลิง เปิดตำนานศาลเจ้าแม่ละอองสําลี". ReadMe. สืบค้นเมื่อ 29 December 2023.
- ↑ "ประวัติเขาพนมเพลิง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-11-21. สืบค้นเมื่อ 2009-01-01.
- ↑ "วัดเขาพนมเพลิง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-04. สืบค้นเมื่อ 2009-01-01.