ข้ามไปเนื้อหา

วีฟวร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นักบุญไมเคิลปราบวีฟวร์ ภาพวาดใน ค.ศ. 1448

วีฟวร์ (ฝรั่งเศส: vouivre) หรือ กีฟวร์ (ฝรั่งเศส: guivre) เป็นสัตว์ร้ายในเรื่องปรัมปราของประเทศฝรั่งเศส กล่าวกันว่า เป็นสัตว์เลื้อยคลาน ลำตัวยาวคล้ายงู มีเท้าสี่เท้าแต่จะมองเห็นได้เพียงคู่เดียว และมีหัวเป็นมังกร บางแห่งว่ามีเขาอยู่บนกระหม่อม มีลมหายใจเป็นพิษ[1] มีความดุร้ายอย่างยิ่ง บางครั้งออกทำร้ายโดยมิได้ถูกยั่วยุ[1] เดิมสัตว์ร้ายเหล่านี้พบเห็นได้มากในแถบชนบทช่วงยุคกลางของประเทศฝรั่งเศส[2] แต่เนื่องจากสัตว์เหล่านี้หวาดกลัวมนุษย์เปลือยกาย ถ้าได้เห็นก็จะรู้สึกอุจาดสายตาจนต้องเบือนหน้าหนี[3] จึงพากันไปอาศัยอยู่ในที่ห่างไกลชุมชนหรือผู้คน[4] เช่น ในป่า ในแอ่งน้ำ และในสถานที่ชื้นแฉะ[1] ข้อนี้เป็นสาเหตุหลักที่ทุกวันนี้สัตว์เหล่านี้ไม่เป็นที่พบเห็นอีก[4]

แซมซันแห่งโดล นักบุญชาวเวลส์ อ้างว่า ครั้งหนึ่งตนได้พบนักบุญซูเลียวซึ่งตกอับแต่พยายามหาอาหารชั้นดีมาให้ศิษยานุศิษย์รับประทาน นักบวชรูปหนึ่งในกลุ่มศิษย์นั้นไม่พอใจกับสภาพอาหาร จึงลักขนมปังก้อนหนึ่งมาและซ่อนไว้ในเสื้อ ในทันใดนักบวชรูปนั้นก็ดิ้นทุรนทุราย นักบุญซูเลียวจึงแหวกอกเสื้อเขาออกดู พบขนมปังที่ลักมา จึงตำหนิ และดึงตัววีฟวร์ออกจากเสื้อเขาให้ แล้วทำพิธีปัดเสนียด และสั่งชายอีกผู้หนึ่งให้โยนสัตว์ร้ายนั้นทิ้งลงมาจากดาดฟ้าอาคาร[5]

คำว่า "วีฟวร์" หรือ "กีฟวร์" ในภาษาฝรั่งเศส มาจากภาษาละตินว่า "vīpera" แปลว่างู ซึ่งเป็นรากศัพท์เดียวกับคำในภาษาอังกฤษว่า "viper" ซึ่งแปลว่างู และ "wyvern" ซึ่งหมายถึงสัตว์ร้ายชนิดหนึ่งคล้ายมังกร[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Rose, p. 159.
  2. Shuker 2003, p. 16.
  3. Shuker 2003, p. 17.
  4. 4.0 4.1 verginiamus (2009-09-04). "The Guivre, Dragon of France". verginiamus.
  5. Dickens 1864, p. 319.
  6. "viper". Oxford English Dictionary. Oxford University. 1989. สืบค้นเมื่อ 2009-05-29.

บรรณานุกรม

[แก้]