ข้ามไปเนื้อหา

วีอาร์เดอะเวิลด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
"We Are the World"
เพลงโดยUSA for Africa
จากอัลบั้มWe Are the World
วางจำหน่าย7 มีนาคม ค.ศ. 1985
บันทึกเสียง28 มกราคม ค.ศ. 1985
แนวเพลงป็อป
ค่ายเพลงโคลัมเบีย
ผู้ประพันธ์เพลงไมเคิล แจ็กสัน, ไลโอเนล ริชชี
โปรดิวเซอร์ควินซี โจนส์, ไมเคิล โอมาร์เทียน

วีอาร์เดอะเวิลด์ (อังกฤษ: We Are the World) เป็นเพลงและซิงเกิลการกุศลที่แต่งโดยไมเคิล แจ็กสันและไลโอเนล ริชชี โปรดิวซ์โดยควินซี โจนส์ เตรียมการโดยไมเคิล โอมาร์เทียน เวอร์ชันออริจินัลได้รับการขับร้องและบันทึกเสียงโดยกลุ่มศิลปินนักร้องชาวอเมริกันจำนวน 45 คน โดยใช้ชื่อว่า "USA for Africa" (United Support of Artists for Africa) เพื่อหารายได้สมทบกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบทุพภิกขภัย ในแอฟริกา ซึ่งประสบปัญหาความแห้งแล้งผิดปกติในปี 1984-1985 และประสบภาวะขาดแคลนอาหารใน 6 ประเทศ ประกอบด้วยเอธิโอเปีย ชาด มาลี ไนเจอร์ ซูดาน และโมซัมบิก[1] ด้วยยอดขายมากกว่า 20 ล้านชุด ถือเป็นหนึ่งในซิงเกิลที่ขายดีที่สุดตลอดกาล

โปรเจกต์เพลงนี้เกิดจากการบันทึกเสียงเพลง "Do They Know It's Christmas?" เพื่อระดมทุนในลักษณะเดียวกับโดยศิลปินนักร้องจากอังกฤษ ที่นำโดยบ็อบ เกลดอฟ เมื่อปลายปี 1984[2] โดยเริ่มจากแนวคิดเริ่มแรกของแฮรี เบลาฟอนเต ได้ติดต่อกับเคนนี คราเคน ผู้จัดการส่วนตัวของไลโอเนล ริชชีและเคนนี โรเจอร์ส เพื่อหาลู่ทางจัดคอนเสิร์ตเพื่อหารายได้ช่วยเหลือแอฟริกา แต่คราเคนคิดว่าหากบันทึกเสียงเป็นซิงเกิลวางจำหน่ายน่าจะได้การตอบรับดีกว่า และต่อมาได้ประสานงานกับไมเคิล แจ็กสัน , ไลโอเนล ริชชี , ควินซี โจนส์ และติดต่อนักร้องอื่นๆ มาร่วมร้อง ทั้งคู่เสร็จสิ้นการเขียนเพลงในวันที่ 21 มกราคมปี 1985 เพียงหนึ่งคืนก่อนวันประชุมเพื่อบันทึกเสียงครั้งแรก

เพลงนี้ได้รับการปล่อยเป็นซิงเกิลในวันที่ 7 มีนาคม ปี ค.ศ. 1985 ในฐานะซิงเกิลเดียวจากอัลบั้ม ประสบความสำเร็จเชิงพาณิชย์ทั่วโลก ติดท็อปชาร์ตขึ้นถึงอันดับหนึงของสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 1985 และขึ้นถึงอันดับหนึ่งในหลายสิบประเทศทั่วโลก นอกจากนี้ยังเป็นซิงเกิลเพลงป็อปอเมริกันที่ขายเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ ซิงเกิลแรกที่ได้รับแผ่นเสียงทองคำขาวหลายครั้ง วีอาร์เดอะเวิลด์ ได้รับการรับรองเป็นสี่เท่าแผ่นเสียงทองคำขาวโดยสมาคมอุตสาหกรรมการบันทึกเสียงของอเมริกา

รางวัลต่างๆมากมาย ประกอบด้วย 3 รางวัลแกรมมี่ 1 อเมริกันมิวสิกอวอร์ดส์ และพีเพิลส์ชอยซ์อะวอดส์ เพลงได้รับการสนับสนุนจากมิวสิกวิดีโอ , โฮมวิดีโอ , นิตยสารฉบับพิเศษ , การออกอากาศทางโทรทัศน์และหนังสือหลายเล่มรวมถึงโปสเตอร์และเสื้อ โปรโมชั่นและสินค้าเกื้อกูลจากความสำเร็จของ วีอาร์เดอะเวิลด์ โดยทำรายได้มากกว่า 63 ล้านดอลล่าสหรัฐ (ราว 136 ล้านดอลล่าสหรัฐในปัจจุบันนี้) สำหรับความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในแอฟริกาและสหรัฐอเมริกา


ความเป็นมาและการเขียนเพลง

[แก้]

ก่อนหน้าการเขียนเพลง วีอาร์เดอะเวิลด์ นักร้องชาวอเมริกันและนักจัดกิจกรรมทางสังคม แฮร์รี เบลาฟอนต์ ได้พยายามที่จะหาเพลงซึ่งบันทึกเสียงโดยศิลปินที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในวงการเพลงในช่วงเวลานั้น เขาวางแผนที่จะนำเงินรายได้ไปยังองค์กรใหม่ที่เรียกว่า United Support of Artists for Africa (USA for Africa) องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรเพื่อบรรเทาความหิวโหยของผู้คนในแอฟริกา โดยเฉพาะเอธิโอเปีย สถานที่ซึ่งคนราว 1 ล้านคนเสียชีวิตจากความอดอยากระหว่างปี 1983 - 1985 [3] แนวคิดนี้เกิดหลังจากการบันทึกเสียงเพลง "Do They Know It's Christmas?" เพื่อระดมทุนในลักษณะเดียวกับโดยศิลปินนักร้องจากสหราชอาณาจักรซึ่งเบลาฟอนต์เคยได้ฟัง[4]ในการวางแผนกิจกรรม เงินจะถูกวางไว้สำหรับการขจัดความหิวโหยในสหรัฐอเมริกา เบลาฟอนต์ได้ติดต่อไปยังผู้จัดการมหรสพและเพื่อนมิตรกองทุน เค็น เครเกน ซึ่งเชิญชวนไลโอเนล ริชชีและเคนนี โรเจอร์ส เข้ามามีส่วนร่วมในโปรเจคดนตรีของเบลาฟอนต์ เครเกนและนักดนตรีสองคน ตกลงที่จะช่วยในภารกิจของเบลาฟอนต์ และในลำดับต่อมาก็ได้รับความร่วมมือจากสตีวี วันเดอร์ในการเพิ่มรายชื่อยังไปโครงการของพวกเขา[5] ควินซี โจนส์ถูกดึงเข้าไปร่วมช่วยสร้างสรรค์เพลง.[5][6] ริชชีได้ติดต่อโทรศัพท์ไปยังไมเคิล แจ็กสัน ผู้ซึ่งประสบความสำเร็จกับการปล่อยผลงานอัลบั้ม Thriller และเสร็จสิ้นทัวร์กับพี่น้องของเขา[5]

แจ็กสันเปิดเผยกับริชชีว่าเขาไม่ได้แค่ต้องการที่จะร้องเพลงเท่านั้น แต่จะร่วมมือในการเขียนเพลงด้วยเช่นกัน[5][7] เริ่มต้นด้วย "วีอาร์เดอะเวิลด์" ถูกเขียนโดยแจ็กสัน , ริชชี , วันเดอร์ ในขณะที่วันเดอร์มีเวลาจำกัดในโครงการ แจ็กสันและริชชีก็ดำเนินการเขียนเพลง "วีอาร์เดอะเวิลด์" ต่อไป[7] พวกเขาเริ่มการสร้างเพลงที่ Hayvenhurst บ้านของครอบครัวแจ็กสัน ในเอ็นซิโนเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ ทั้งสองใช้เวลาทุกๆคืนทำงานเกี่ยวกับเนื้อเพลงและทำนองในห้องนอนของนักร้อง พวกเขารู้ว่าพวกเขาต้องการเพลงที่ง่ายต่อการร้องและจดจำ ทั้งคู่ต้องการสร้างเพลงสรรเสริญ พี่สาวคนโตของแจ็กสัน ลา โทยา ดูพวกเขาสองคนทำงานเกี่ยวกับเพลง และกล่าวต่อมาว่าริชชี่เขียนแค่สองสามบรรทัดของเพลงเท่านั้น[6] เธอกล่าวว่าน้องชายของเธอเขียนร้อยล่ะ 99 ของเนื้อเพลง "'แต่เขาไม่รู้สึกว่ามันจำเป็นที่ต้องเอ่ยถึง"[6] ลา โทยายังให้ความเห็นเพิ่มต่อการสร้างสรรค์เพลง ในการให้สัมภาษณ์กับนิตยสารพีเพิลของเหล่าคนที่มีชื่อเสียง "ฉันเข้าไปในห้องขณะที่พวกเขากำลังเขียนและมันเงียบสงบมาก ซึ่งน่าแปลกเนื่องจากปกติแล้วไมเคิลจะร่าเริงอย่างมากในเวลาที่เขาทำงาน มันเร้าอารมณ์มากๆสำหรับพวกเขา"[7]

ริชชี่ได้บันทึกเมโลดี้สองท่อนสำหรับ "วีอาร์เดอะเวิลด์" ในขณะที่แจ็กสันได้เพิ่มดนตรีและถ้อยคำร้องลงไปยังเพลงในวันเดียวกัน แจ็กสันกล่าวว่า "ผมรักที่จะทำงานอย่างรวดเร็ว ผมรอไม่ได้ ผมเข้าไปและออกมาภายในวันเดียวกัน เพลงที่เสร็จสมบูรณ์ด้วยเสียงกลอง , เปียโน , สตริงและถ้อยคำที่จะขับร้อง"[8] ต่อมาแจ็กสันก็ได้นำเสนอเดโมเพลงของเขาแก่ ริชชีและโจนส์ ทั้งสองคนตกใจเนื่องจากพวกเขาไม่ได้คาดคิดว่านักร้องดังจะเห็นโครงสร้างของเพลงอย่างรวดเร็ว ริชชีและแจ็กสันเสร็จสิ้นการเขียนเนื้อเพลงและทำนองของ "วีอาร์เดอะเวิลด์ ในคืนวันที่ 21 มกราคม ค.ศ 1985 ภายในสองชั่วโมงครึ่ง หนึ่งคืนก่อนที่การร่วมบันทึกเสียงครั้งแรก[8]

ร้องเดี่ยว (เรียงตามลำดับการร้องในเพลง)

[แก้]

ร้องประสาน

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Situation in six African countries still severe and deteriorating; efforts to aid drought-stricken nations continue", UN Chronicle, United Nations, 1 June 1985, webpage: FLib-UNC-African-severe.
  2. "Behind the scene of a pop miracle". Los Angeles Times. 1985-03-25.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-08. สืบค้นเมื่อ 2016-11-12.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-07. สืบค้นเมื่อ 2016-11-12.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ tara 341
  6. 6.0 6.1 6.2 Taraborrelli, p. 342
  7. 7.0 7.1 7.2 Campbell, p. 109
  8. 8.0 8.1 Campbell, p. 110

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]