สนธิสัญญาว่าด้วยการตกลงขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับดินแดนเยอรมนี
ประเภท | สนธิสัญญาเอกราช /สนธิสัญญาสันติภาพ |
---|---|
วันร่าง | 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533 |
วันลงนาม | 12 กันยายน พ.ศ. 2533 |
ที่ลงนาม | มอสโก, รัสเซียของโซเวียต, สหภาพโซเวียต |
วันมีผล | 15 มีนาคม พ.ศ. 2534 |
ผู้ลงนาม | สอง บวกสี่ |
ภาษา |
สนธิสัญญาการในการตกลงขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับดินแดนเยอรมนี (เยอรมัน: Vertrag über die abschließende Regelung in Bezug auf Deutschland[a]) หรือเรียกว่า สนธิสัญญาสองบวกสี่ (เยอรมัน: Zwei-plus-Vier-Vertrag;[b] เรียกสั้น ๆ ว่า: สนธิสัญญาเยอรมัน) มีการเจรจาขึ้นใน พ.ศ. 2533 ระหว่างสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี และอีกมหาอำนาจอีกสี่ชาติซึ่งยึดครองเยอรมนีตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติ ได้แก่ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ในสนธิสัญญานี้ มหาอำนาจทั้งสี่ได้ถอนสิทธิทั้งหมดในเยอรมนี ทำให้สามารถรวมประเทศเยอรมนี เพื่อเป็นรัฐเอกราชเต็มตัวในปีถัดมา[1][2][3]
เบื้องหลัง
[แก้]เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ข้อตกลงพ็อทซ์ดัมได้มีการประกาศหลังจากการประชุมพ็อทซ์ดัม ซึ่งตกลงเงื่อนไขเริ่มต้นซึ่งฝ่ายสัมพันธมิตรจะปกครองเยอรมนีและข้อตกลงเกี่ยวกับพรมแดนเยอรมนี-โปแลนด์ ซึ่งรู้จักกันว่า แนวโอเดอร์-ไนเซอ ข้อตกลงที่บรรลุเป็นข้อตกลงที่อธิบายเพิ่มเติมซึ่งมีข้อสรุปว่า "สันติภาพสำหรับเยอรมนีจะได้รับรองโดยรัฐบาลเยอรมนีเมื่อรัฐบาลที่เหมาะสมสำหรับจุดประสงค์ดังกล่าวได้ก่อตั้งขึ้น" ส่งผลให้ ปัญหาเยอรมัน กลายเป็นหนึ่งในประเด็นที่สำคัญที่สุดของสงครามเย็นที่กำลังดำเนินอยู่ และจนกระทั่งข้อตกลงดังกล่าวสิ้นสุดลงเมื่อปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 ได้มีความคืบหน้าเพียงเล็กน้อยในการสร้างรัฐบาลเดียวของเยอรมนีตามจุดประสงค์ในข้อตกลงในขั้นสุดท้าย ซึ่งหมายความว่าเมื่อพิจารณาดูแล้วเยอรมนีมิได้มีอำนาจอธิปไตยอย่างสมบูรณ์[4]: 42–43
หลังจากการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน ชาวเยอรมันและรัฐบาลของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (เยอรมนีตะวันตก) และสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี (เยอรมนีตะวันออก) มีจุดประสงค์อย่างชัดเจนที่จะสร้างรัฐเยอรมันอันหนึ่งเดียวที่เป็นประชาธิปไตย และเพื่อบรรลุความเป็นหนึ่งเดียวและเอกราชสมบูรณ์ พวกเขามีความปรารถนาที่จะยอมรับเงื่อนไขของข้อตกลงพ็อทซ์ดัมซึ่งมีผลกระทบต่อเยอรมนี จากนั้นจึงเป็นไปได้ที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายจะเจรจาตกลงขั้นสุดท้ายตามที่ระบุในข้อตกลงพ็อทซ์ดัม
สนธิสัญญา
[แก้]สนธิสัญญาการในการตกลงขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับดินแดนเยอรมนีได้มีการลงนาม ณ กรุงมอสโก สหภาพโซเวียต เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2533[4]: 363 ซึ่งมีผลนำไปสู่การรวมประเทศเยอรมนีเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2533[5]
ภายใต้เงื่อนไขของสนธิสัญญา มหาอำนาจทั้งสี่ละทิ้งสิทธิทั้งหมดที่เคยถือครองในเยอรมนีทั้งหมดรวมถึงในเบอร์ลิน ผลที่ตามมาคือประเทศเยอรมนีภายใต้การรวมประเทศนั้นมีอำนาจอธิปไตยสมบูรณ์เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2534 กองทัพโซเวียตทั้งหมดจะต้องออกจากเยอรมนีภายในสิ้นปี พ.ศ. 2537 เยอรมนีตกลงที่จะจำกัดกองทัพให้มีทหารไม่เกิน 370,000 นาย โดยที่ในกองทัพบกและกองทัพอากาศจะต้องมีทหารไม่เกิน 345,000 นาย เยอรมนียังได้ยืนยันที่จะสละสิทธิ์การผลิต การถือครอง และการควบคุมอาวุธนิวเคลียร์ อาวุธชีวภาพ และอาวุธเคมี โดยเฉพาะอย่างยิ่งสนธิสัญญางดการแพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์จะยังคงมีผลบังคับใช้เต็มในประเทศเยอรมนี นอกจากนี้ไม่มีกองทัพต่างประเทศ อาวุธนิวเคลียร์ หรือการบรรทุกอาวุธนิวเคลียร์จะต้องไม่คงอยู่ในอดีตประเทศเยอรมนีตะวันออก ทำให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์
อีกเงื่อนไขหนึ่งที่สำคัญของสนธิสัญญาคือให้เยอรมนีที่จะยอมรับและรับรองเส้นเขตแดนกับโปแลนด์ในระดับสากล รวมถึงการเปลี่ยนแปลงดินแดนที่เกิดขึ้นหลังจาก พ.ศ. 2488 เพื่อป้องกันการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนทางตะวันออกของแนวโอเดอร์-ไนเซอร์ในอนาคต เยอรมนียังได้ตกลงที่จะลงนามในสนธิสัญญาอีกฉบับกับโปแลนด์ซึ่งยืนยันพรมแดนในปัจจุบันโดยเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 ได้มีการลงนามในสนธิสัญญาพรมแดนเยอรมนี-โปแลนด์
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ฝรั่งเศส: Traité sur le règlement final en ce qui concerne l'Allemagne; รัสเซีย: Договор об окончательном урегулировании в отношении Германии, อักษรโรมัน: Dogovor ob okonchatel'nom uregulirovanii v otnoshenii Germanii
- ↑ ฝรั่งเศส: Accord Deux Plus Quatre; รัสเซีย: Соглашение «Два плюс четыре», อักษรโรมัน: Soglasheniye «Dva plyus chetyre»
อ้างอิง
[แก้]- ↑ American Foreign Policy Current Documents 1990 (September 1990). "Treaty on the Final Settlement with Respect to Germany" (PDF). Roy Rozenweig Center for History and New Media. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-12-02. สืบค้นเมื่อ 2021-11-14.
{{cite web}}
:|last=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - ↑ "Treaty on the Final Settlement with Respect to Germany". Foothill College.
- ↑ Hailbronner, Kay. "Legal Aspects of the Unification of the Two German States" (PDF). European Journal of International Law. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-08-29. สืบค้นเมื่อ 2021-11-14.
- ↑ 4.0 4.1 Philip Zelikow and Condoleezza Rice. Germany Unified and Europe Transformed: A Study in Statecraft. Harvard University Press, 1995 & 1997. ISBN 9780674353251
- ↑ http://www.auswaertiges-amt.de/EN/AAmt/PolitischesArchiv/EinblickeArchiv/ZweiPlusVier_node.html [URL เปล่า]
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Trachtenberg, Marc. "The United States and the NATO Non-extension Assurances of 1990: New Light on an Old Problem?" International Security 45:3 (2021): 162-203. https://doi.org/10.1162/isec_a_00395 and online commentary on H-DIPLO 2021
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Full text in English เก็บถาวร 2022-01-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (Published by Her Majesty's Stationery Office on the Foreign and Commonwealth Office website)
- บทความทั้งหมดที่ใช้ยูอาร์แอลเปล่าในการอ้างอิง
- บทวามที่ใช้ยูอาร์แอลเปล่าในการอ้างอิงตั้งแต่May 2021
- สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับเยอรมนีตะวันตก
- สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับเยอรมนีตะวันออก
- ผลที่ตามมาหลังสงครามโลกครั้งที่สองในประเทศเยอรมนี
- ผลที่ตามมาหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
- สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับฝรั่งเศส
- สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับสหภาพโซเวียต
- สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับสหรัฐ
- สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับสหราชอาณาจักร
- พ.ศ. 2533
- สนธิสัญญาสงครามโลกครั้งที่สอง
- สนธิสัญญาแนวพรมแดน
- การรวมประเทศเยอรมนี
- เฮ็ลมูท โคล
- ริชชาร์ท ฟ็อน ไวทซ์เซ็คเคอร์