สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เคซาร์ นัมกเยล วังชุก
สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เคซาร์ นัมเกยล วังชุก | |
---|---|
พระมหากษัตริย์แห่งภูฏาน ดรุก กยาลโป (ราชามังกร) | |
พระบรมฉายาลักษณ์ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 | |
พระมหากษัตริย์แห่งภูฏาน | |
ครองราชย์ | 16 ธันวาคม พ.ศ. 2549 – ปัจจุบัน |
ราชาภิเษก | 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 |
ก่อนหน้า | สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เซ็งเค วังชุก |
รัชทายาท | เจ้าชายชิกเม นัมเกยล วังชุก มกุฎราชกุมารแห่งภูฏาน[1] |
นายกรัฐมนตรี | |
พระราชสมภพ | 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 กาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล[2][3] |
คู่อภิเษก | สมเด็จพระราชินีเจจุน ปัทมา วังชุก |
พระราชบุตร | เจ้าชายชิกเม นัมเกยล วังชุก มกุฎราชกุมารแห่งภูฏาน เจ้าชายชิกเม อุกเยน วังชุก เจ้าหญิงโซนัม ยังเดน วังชุก |
ภาษาทิเบต | འཇིགས་མེད་གེ་སར་རྣམ་རྒྱལ་དབང་ཕྱུག |
ราชวงศ์ | ราชวงศ์วังชุก |
พระราชบิดา | สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เซ็งเค วังชุก |
พระราชมารดา | สมเด็จพระราชินีเชอริง ยังดน วังชุก |
ศาสนา | พุทธวัชรยาน |
ลายพระอภิไธย |
สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เคซาร์ นัมเกยล วังชุก (ภาษาซองคา : འཇིགས་མེད་གེ་སར་རྣམ་རྒྱལ་དབང་ཕྱུག་[4]) (สื่อไทยออกพระนามว่า จิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรภูฏาน รัชกาลที่ 5 แห่ง ราชวงศ์วังชุก[5] ทรงได้รับการยกย่องจากชาวภูฏานรวมถึงชาวไทยส่วนใหญ่ว่ามีพระจริยวัตรที่งดงาม และเป็นที่รักยิ่งของประชาชนชาวภูฏาน[ต้องการอ้างอิง]
สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เคซาร์ นัมเกยล วังชุก ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของพสกนิกรทุกหมู่เหล่า[ต้องการอ้างอิง] จากการที่ทรงวางพระองค์อย่างเป็นกันเองในหมู่ประชาชน จึงสร้างความประทับใจแก่พสกนิกรอย่างสูง[ต้องการอ้างอิง] ถึงแม้ว่าพระองค์ไม่ต้องทรงรับพระราชภารกิจการบริหารประเทศ เนื่องจากสมเด็จพระราชบิดาได้ทรงวางระบอบปกครองแบบประชาธิปไตยขึ้นมาอยู่ก่อนแล้ว แต่พระองค์เองก็ยังทรงเป็นสัญลักษณ์สำคัญ ในการสร้างเอกภาพและเสถียรภาพ[ต้องการอ้างอิง] ในประเทศที่มีประชากรเพียง 753,947 คน โดยมุ่งเน้นด้านความสุขมวลรวมของประชากรภายในประเทศเป็นสำคัญ
พระราชประวัติ
[แก้]เสด็จพระราชสมภพเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 ที่โรงพยาบาลสูติกรรมและสตรีปโรปการ กาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล พระองค์เป็นพระราชโอรสใน สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม ซิงเย วังชุก และ สมเด็จพระราชินีเชอริง ยางดน วังชุก พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ซึ่งเป็นพระมเหสีองค์ที่สามในบรรดาพระมเหสีทั้งสี่พระองค์ สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เคซาร์ นัมเกยล วังชุก มีพระขนิษฐาและพระอนุชาร่วมพระมารดา ซึ่งมีพระนามว่า เจ้าหญิงอาชิ เดเชน ยังซัม และพระอนุชามีพระนามว่า เจ้าชาย ดาโช ชิกเม ดอร์จิ วังชุก[6]
การศึกษา
[แก้]เมื่อทรงเจริญพระชนมพรรษา พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา ในระดับมัธยมศึกษาที่ คัชชิง อะคาเดมี (Cushing Academy) ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำสหศึกษาที่มีชื่อเสียงของรัฐแมสซาชูเซตส์ มีอายุกว่า 100 ปี และทรงศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีที่วิทยาลัยวีตัน (Wheaton College) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยด้านศิลปศาสตร์ในรัฐเดียวกัน ก่อนที่จะเสด็จพระราชดำเนินมาศึกษาต่อปริญญาโท ในสาขาการทูต (Foreign Service Programme) และสาขาวิชาการเมืองที่ Magdalen College School สหราชอาณาจักร[7]
นอกจากนี้ พระองค์เสด็จพระราชดำเนินแทนพระราชบิดาไปยังต่างแดนในหลายโอกาส และทรงเรียนรู้ถึงวัฒนธรรมต่างๆ รวมไปจนถึงการศึกษา และองค์กรเศรษฐกิจหลายแห่ง
การทูลเกล้าถวายปริญญา
[แก้]- มหาวิทยาลัยรังสิตได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ แด่สมเด็จพระราชาธิบดี (เมื่อครั้งยังดำรงพระยศเป็นเจ้าชายมกุฎราชกุมาร) ในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2549[8][9]
- มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาส่งเสริมการเกษตร แด่สมเด็จพระราชาธิบดี นอกจากนี้พระองค์ยังส่งนักศึกษาและบุคคลสำคัญเข้ามาศึกษา ดูงาน และสัมมนาที่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประจำ
เสด็จขึ้นครองราชย์
[แก้]สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เซ็งเค วังชุก พระบรมชนกนาถ ทรงสละราชสมบัติพระราชทานให้แก่เจ้าชายชิกเม เคซาร์ นัมเกยล วังชุก รัชทายาท พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2549 โดยมีพระราชดำริในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย[10] และได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอย่างแรกด้วยการพระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันชาติของภูฎาน หลังจากนั้นประมาณสองปี ในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 พระองค์ได้ประกอบพิธีบรมราชาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์อย่างเป็นทางการ ณ พระราชวังในกรุงทิมพู
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
[แก้]ในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เคซาร์ นัมเกยล วังชุก ทรงเข้าพระราชพิธีราชาภิเษกภายในพระราชวังทาชิโชซอง ในเมืองทิมพู โดยสมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม ซิงเย วังชุก ทรงเป็นผู้ประกอบพระราชพิธี โดย พระราชทานมงกุฎไหมสีแดงดำแด่พระองค์ นอกจากนี้ยังมีนางซอนยา คานธี ประธานรัฐสภาของอินเดียเข้าร่วมในพิธีด้วย ทั้งนี้พระองค์ได้สืบบัลลังก์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์วังชุกด้วยพระชนมพรรษาเพียง 28 พรรษา และทรงปกครองประเทศด้วยระบอบประชาธิปไตย
สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เคซาร์ นัมเกยล วังชุก ทรงฉลองพระองค์สีแดงทองที่เป็นชุดคลุมยาวปิดเข่าอันเรียกกันว่า "โฆ" ซึ่งเป็นเครื่องแต่งกายประจำชาติของชายชาวภูฏาน ประทับบนบัลลังก์ทองคำ พระพักตร์เคร่งขรึม แต่ก็ทรงแย้มพระสรวลเล็กน้อยขณะทรงรับเครื่องถวายแด่สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ใหม่และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และยังมีพระบรมราโชวาทพระราชทานแก่พสกนิกรหลายพันคนที่มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในตอนบ่ายของวันเดียวกันว่า "ข้าพเจ้าไม่ต้องการสิ่งใด" "สิ่งที่สำคัญสำหรับข้าพเจ้าคือความหวังและความมุ่งมาดปรารถนาของ ประชาชน และพระชนมายุอันยืนยาวและพระพลานามัยอันแข็งแรงสำหรับสมเด็จพระราชบิดา ชิกเม ซิงเย วังชุก ของข้าพเจ้า" "ในโอกาสอันพิเศษยิ่งนี้ ขอให้ร่วมกันสวดมนต์และขออธิษฐานขอให้แสงตะวันเฉิดฉันแห่งความสุขจะสาดส่อง ลงมาที่ประเทศชาติของเราเสมอไป"
นอกจากประชาชนหลายพันคนที่มารวมตัวกันถวายพระพรชัยมงคลแด่สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เคซาร์ นัมเกยล วังชุก ซึ่งประกอบพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว ยังมีแขกสำคัญที่ร่วมในพิธีดังกล่าวคือ ประธานาธิบดีประติภา ปาติลแห่งอินเดีย และนางโซเนีย คานธี นักการเมืองคนสำคัญของอินเดียพร้อมด้วยบุตรธิดา เนื่องจากครอบครัวคานธีนั้นมีความสนิทชิดเชื้อกับราชวงศ์ภูฏาน[11][12]
ซีเอ็นเอ็น ได้รายงานข่าวการเฉลิมฉลองพระราชพิธีบรมราชาภิเษกนี้ โดยระบุว่า มีการร่วมเฉลิมฉลองตามถนนหนทาง เล่นดนตรี มีการประดับประดาดอกไม้ตามศูนย์ต่างๆเพื่อแสดงการเฉลิมฉลองในโอกาสที่มีกษัตริย์พระองค์ใหม่ ตลอดจนมีการรายงานถึงความรู้สึกของพสกนิกรชาวภูฏานที่ทั้งต่างแสดงความดีใจ และสะเทือนใจในการสละราชสมบัติอย่างกะทันหันของพระราชบิดาไปพร้อมๆกัน[13]
สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เคซาร์ นัมเกยล วังชุก ได้ทรงประกาศหมั้นกับ เจตซุน เพมา ซึ่งเป็นหญิงสาวสามัญชน โดยทั้งสองอภิเษกสมรสในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554
ชีวิตส่วนพระองค์
[แก้]ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับสมเด็จพระราชินีเจจุน ปัทมา วังชุก จัดขึ้น ณ มณฑลพูนาคา ประเทศภูฏาน[14] ทรงมีพระราชโอรส 2 พระองค์ และพระราชธิดา 1 พระองค์คือ เจ้าชายชิกเม นัมเกยล วังชุก , เจ้าชายชิกเม อุกเยน วังชุก และ เจ้าหญิงโซนัม ยังเดน วังชุก
ถวายความอาลัยในหลวงรัชกาลที่ 9
[แก้]15 ตุลาคม พ.ศ. 2559 สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เคซาร์ นัมเกยล วังชุก ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนราชอาณาจักรไทย พร้อมด้วย สมเด็จพระราชินีเจตซุน เพมา วังชุก และเจ้าชายชิกเม นัมเกยล วังชุก มกุฎราชกุมาร เพื่อทรงร่วมพระราชพิพีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล และเสด็จพระราชดำเนินมาถวายความอาลัยในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ทรงวางพวงมาลาถวายราชสักการะ หน้าพระบรมโกศพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ทรงมีพระราชสาส์นถวายความอาลัยมีใจความตอนหนึ่งว่า
ทรงเป็นผู้นำที่ยอดเยี่ยม ทรงเป็นต้นแบบ และทรงยํ้าถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ราชวงศ์ไทยและราชวงศ์ภูฏาน การเสด็จสวรรคต จึงเป็นสิ่งที่ประชาชนชาวภูฏานทั่วประเทศ เสียใจอย่างยิ่ง
— สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เคซาร์ นัมเกยล วังชุก
นับตั้งแต่วันแรกของการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เคซาร์ นัมเกยล วังชุก ได้ทรงนำพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชบริพาร ข้าราชการระดับสูง ร่วมสวดมนต์และจุดเทียนหนึ่งพันเล่ม ณ พระมหาวิหารเกนราแห่งทาชิโชซอง ในกรุงทิมพู เมืองหลวงของประเทศภูฏาน และ 7 วันต่อเนื่อง ที่วัดทั่วประเทศในภูฏาน จัดพิธีสวดมนต์ บำเพ็ญพระราชกุศล และจุดเทียน ตามขนบธรรมเนียมเพื่อร่วมถวายความอาลัย บรรยากาศในพิธีสะท้อนถึงความตั้งใจของชาวภูฏาน ทั้งเด็กนักเรียน ข้าราชการ พ่อค้าประชาชน Jitzen นักเรียนชาวภูฏาน กล่าวว่า
เธอรับรู้ตลอดมาว่าในหลวงรัชกาลที่ 9 คือ พระมหากษัตริย์ที่ทรงงานหนักเพื่อคนไทยด้วยความรัก เธอจึกรักพระองค์ เช่นเดียวกับการรักพระมหากษัตริย์ของภูฏาน
— Jitzen
พีธีนี้ นอกจากจะเปิดโอกาสให้ชาวภูฏานได้ร่วมแสดงความอาลัย ยังกลายเป็นพิธีที่มีความหมายอย่างยิ่ง สำหรับชาวไทยในภูฏาน บรรยากาศและผู้คนในพิธี เต็มไปด้วยความอบอุ่น เสมือนการปลอบประโลม โอบกอดหัวใจของชาวไทยในภูฏาน ในห่วงเวลาแห่งความสูญเสีย คนไทยในภูฏานบางคนได้มีโอกาสเข้าเฝ้า สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เคซาร์ นัมเกยล วังชุก ระหว่างที่เสด็จพระราชดำเนิน ไปร่วมสวดมนต์และบำเพ็ญพระราชกุศล ณ พระมหาวิหารเกนราแห่งทาชิโชซอง นอกจากภาพคุ้นตาของชาวไทยที่ สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เคซาร์ นัมเกยล วังชุก เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พระองค์ยังเคยเสด็จพระราชดำเนินเยือน ณ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อศึกษาแนวทางพระราชดำริ การพัฒนาบนยอดดอยอินทนนท์และยอดดอยอางขาง ข้อมูลเหล่านี้ถูกนำกลับไปปรับใช้บนพื้นที่ภูเขาสูง และทำการเกษตรของชาวภูฏาน นี้จึงเป็นคำตอบที่พระมหากษัตริย์แห่งภูฏาน ตลอดพสกนิกรของพระองค์ มีความรักความผูกพัน และอยู่เคียงข้างปวงชนชาวไทย ทั้งในยามสุขและยามทุกข์ ตลอดมา[15] [16]
พระราชกรณียกิจ
[แก้]สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เคซาร์ นัมเกยล วังชุก เป็นหนึ่งในพระราชอาคันตุกะ ที่เสด็จทรงร่วมพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ระหว่างวันที่ 12-13 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ที่กรุงเทพมหานคร ในขณะที่พระองค์ยังทรงเป็นมกุฎราชกุมาร และเป็นพระราชอาคันตุกะที่มีพระชนมายุน้อยที่สุด ในหมู่ราชวงศ์ที่มาร่วมงาน[17]
- เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2549 พระองค์เสด็จเยือนประเทศไทยอีกครั้งเพื่อเสด็จเยี่ยมชมสวนดอกไม้ของภูฏาน ในงานพืชสวนโลกที่จัดขึ้นในเชียงใหม่ และทางมหาวิทยาลัยรังสิตได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ในช่วงเวลาต่อมา[18][19]
- ทรงร่วมลงพระนามในสนธิสัญญามิตรภาพกับประเทศอินเดียในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 แทนฉบับเดิม ซึ่งคือฉบับ พ.ศ. 2492 [20]
- 15 ตุลาคม พ.ศ. 2559 สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เคซาร์ นัมเกยล วังชุก ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนราชอาณาจักรไทย พร้อมด้วย สมเด็จพระราชินีเจตซุน เพมา วังชุก และเจ้าชายชิกเม นัมเกยล วังชุก มกุฎราชกุมาร เพื่อทรงร่วมพระราชพิพีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล และเสด็จพระราชดำเนินมาถวายความอาลัยในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ทรงวางพวงมาลาถวายราชสักการะ หน้าพระบรมโกศพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง[21]
- 26 ตุลาคม พ.ศ. 2560 พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนราชอาณาจักรไทย พร้อมด้วย สมเด็จพระราชินีเจตซุน เพมา วังชุก และเจ้าชายชิกเม นัมเกยล วังชุก มกุฎราชกุมาร เพื่อทรงร่วมพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร
พระราชอิสริยยศ
[แก้]ธรรมเนียมพระยศของ สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เคซาร์ นัมเกยล วังชุก | |
---|---|
พระราชลัญจกร | |
การทูล | ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พระพุทธเจ้าข้า/เพคะ |
- เจ้าชาย ดาโช ชิกเม เคซาร์ นัมเกยล วังชุก (พ.ศ. 2523 — 2547)
- เจ้าชาย โชเซ เพนลป ชิกเม เคซาร์ นัมเกยล วังชุก มกุฎราชกุมารแห่งภูฏาน (พ.ศ. 2547 — 2549)
- สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เคซาร์ นัมเกยล วังชุก (พ.ศ. 2549 — ปัจจุบัน)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]- ตองงา :
- พ.ศ. 2553 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์สมเด็จพระราชินีซาโลเต ตูปูที่ 3 ชั้นที่ 1[22]
- ไทย :
- พ.ศ. 2553 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[23]
พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของสมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เคซาร์ นัมกเยล วังชุก | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Rspnbhutan". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 March 2016. สืบค้นเมื่อ 23 February 2016.
- ↑ "I was born in Nepal: HM the King of Bhutan". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 June 2016. สืบค้นเมื่อ 8 May 2016.
- ↑ "Bhutanese king keen to visit Nepal". My Republica (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). Nepal Republic Media Pvt. Ltd. 16 June 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 June 2017. สืบค้นเมื่อ 4 June 2017.
- ↑ "A Legacy of Two Kings". Bhutan Department of Information Technology. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-27. สืบค้นเมื่อ 2008-11-06.
- ↑ Das, Biswajyoti (2006-12-18). "Bhutan's new king committed to democracy". Boston Globe. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-12. สืบค้นเมื่อ 2008-11-06.
- ↑ Lawson, Alistair (2008-11-04). "Profile: Jigme Khesar Namgyel Wangchung". BBC News.
- ↑ "His Royal Highness Crown Prince Dasho Jigme Khesar Namgyel Wangchuck". RAOnline. สืบค้นเมื่อ 2008-11-06.
- ↑ Chang, Mai (2006-11-25). "Bhutan prince charms fans at floral expo". The Nation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-08. สืบค้นเมื่อ 2008-11-06.
- ↑ Pungkanon, Kupluthai (2006-11-27). "Prince, Thailand have mutual adoration". The Nation. สืบค้นเมื่อ 2008-11-06.
- ↑ "Last National Assembly session begins". Bhutan Observer. 2008-01-19. สืบค้นเมื่อ 2008-11-06.
- ↑ "Lavish coronation for Bhutan king". BBC. 2008-11-06. สืบค้นเมื่อ 2008-11-06.
- ↑ "Coronation fever in Bhutan as people's king bonds with subjects". 208-11-10.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "Himalayan nation of Bhutan crowns new king". CNN. 2008-11-06. สืบค้นเมื่อ 2008-11-06.[ลิงก์เสีย]
- ↑ ภูฎานชื่นมื่นกษัตริย์ชิกเมอภิเษกวันนี้[ลิงก์เสีย]
- ↑ [1] "กษัตริย์ภูฏาน - ในหลวง ร.9" ความผูกพันที่มากกว่ามิตรประเทศ แสงจากพ่อ น้อมศิระกราน เสด็จสู่สวรรคาลัย ออกอากาศ 15 ส.ค 2560 จากthai pbs
- ↑ [2] “กษัตริย์ภูฏาน – ในหลวง ร.9” ความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้น ความผูกพันที่มากกว่ามิตรประเทศ จากsiammanussati
- ↑ Denyer, Simon (2008-11-05). "Bhutan's charming king emerges from father's shadow". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2008-11-06.
- ↑ Chang, Mai (2006-11-25). "Bhutan prince charms fans at floral expo". The Nation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-08. สืบค้นเมื่อ 2008-11-06.
- ↑ Pungkanon, Kupluthai (2006-11-27). "Prince, Thailand have mutual adoration". The Nation. สืบค้นเมื่อ 2008-11-06.
- ↑ "Bhutan and India sign new treaty". BBC. 2007-02-08. สืบค้นเมื่อ 2008-11-06.
- ↑ [3] เก็บถาวร 2016-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน “กษัตริย์ชิกเม” ประกอบพิธีจุดเทียนอุทิศแด่ “ในหลวง” พร้อมรับสั่งไว้ทุกข์ทั่วภูฏาน เหล่าผู้นำโลกร่วมอาลัย จากMGR Online
- ↑ "The 2nd Annual Report of the Honorable Prime Minister to the Fifth session of the First Parliament on the State of the Nation" (PDF).
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑ ข หน้า ๒, ๑๒ มกราคม ๒๕๕๔
- หนังสือเจ้าชายในดวงใจ (Precious Prince of Hearts). มหาวิทยาลัยรังสิต.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เคซาร์ นัมกเยล วังชุก ที่เฟซบุ๊ก
- พระราชประวัติเจ้าชายชิกเม เคซาร์ นัมเกยล วังชุก
- ราชวงศ์ภูฏาน
- ราชวงศ์ภูฏาน
- Tim Fischer: Wise heads prevail in capital of happiness เก็บถาวร 2008-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Bhutan 2008 Coronation of the Fifth King (Official Website) เก็บถาวร 2008-03-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- BBC, In pictures: Bhutan coronation
- Bhutan crowns a new King (gallery)
- Of Rainbows and Clouds: The Life of Yab Ugyen Dorji As Told to His Daughter
ก่อนหน้า | สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เคซาร์ นัมกเยล วังชุก | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เซ็งเค วังชุก | พระมหากษัตริย์ภูฏาน (16 ธันวาคม พ.ศ. 2549 - ปัจจุบัน) |
ยังอยู่ในราชสมบัติ |