สาธารณรัฐประชาชน
สาธารณรัฐประชาชน (อังกฤษ: People's Republic) คือคำที่ใช้เรียกประเทศที่ปกครองด้วยระบอบสาธารณรัฐ เดิมคำนี้มีที่มาจากลัทธิอิงสามัญชน (populism) แต่ภายหลังการสถาปนาสหภาพโซเวียต คำนี้ก็ถูกใช้เรียกประเทศที่ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ อย่างไรก็ตาม คำว่า "สาธารณรัฐประชาชน" ไม่ได้จำกัดเฉพาะประเทศคอมมิวนิสต์เท่านั้น แต่ยังใช้ได้กับประเทศที่มีประวัติศาสตร์เกี่ยวข้องกับประชาชน
สาธารณรัฐประชาชนที่เป็นลัทธิมากซ์–เลนิน
[แก้]ส่วนหนึ่งของชุดบทความเรื่อง |
สังคมนิยม |
---|
เป็นส่วนหนึ่งของลัทธิมาคส์ |
บรรดาสาธารณรัฐประชาชนแห่งแรกคือกลุ่มสาธารณรัฐที่ก่อตัวขึ้นภายหลังการปฏิวัติรัสเซีย โดยเริ่มจากยูเครนที่ประกาศตนเป็นสาธารณรัฐประชาชนในระยะเวลาสั้น ๆ ใน ค.ศ. 1917[1] ตามด้วยรัฐข่านคิวา[2] และเอมิเรตบูฆอรอ[3] ซึ่งทั้งสองเป็นดินแดนที่แยกตัวออกมาจากอดีตจักรวรรดิรัสเซียที่ประกาศตนเป็นสาธารณรัฐประชาชนใน ค.ศ. 1920 ต่อมาใน ค.ศ. 1921 รัฐในอารักขาตูวาของรัสเซียก็ประกาศตนเป็นสาธารณรัฐประชาชนเช่นกัน[4] อีกทั้งประเทศเพื่อนบ้านอย่างมองโกเลียได้กลายเป็นสาธารณรัฐประชาชนใน ค.ศ. 1924[5] หลังการยุติลงของสงครามโลกครั้งที่สอง พัฒนาการในทฤษฎีแห่งลัทธิมากซ์–เลนินนำไปสู่การปรากฏขึ้นของแนวคิดประชาธิปไตยประชาชน ซึ่งเป็นแนวคิดที่เอื้อให้เกิดเส้นทางสู่สังคมนิยมผ่านประชาธิปไตยแบบหลายชนชั้นหรือหลายพรรค ประเทศซึ่งสามารถมาถึงแนวคิดนี้ได้ในระดับปานกลางจะถูกเรียกว่าสาธารณรัฐประชาชน[6] รัฐในทวีปยุโรปที่กลายเป็นสาธารณรัฐประชาชนในช่วงเวลานี้ได้แก่ แอลเบเนีย[7] บัลแกเรีย[8] เชโกสโลวาเกีย[9] ฮังการี[10] โปแลนด์[11] โรมาเนีย[12] และยูโกสลาเวีย[13] ในทวีปเอเชีย ได้แก่ จีนที่กลายเป็นสาธารณรัฐประชาชนภายหลังการปฏิวัติคอมมิวนิสต์จีน[14] และเกาหลีเหนือที่เป็นสาธารณรัฐประชาชนด้วย[15]
หลายประเทศที่กล่าวข้างต้นมักเรียกตนเองว่า "รัฐสังคมนิยม" ตามรัฐธรรมนูญ ในช่วงทศวรรษ 1960 โรมาเนียและยูโกสลาเวียเลิกใช้คำว่า "ประชาชน" ในชื่ออย่างเป็นทางการ และแทนที่ด้วยคำว่า "สังคมนิยม" ซึ่งเป็นการเน้นย้ำถึงการพัฒนาทางการเมืองที่กำลังดำเนินอยู่ เชโกสโลวาเกียยังเพิ่มคำว่า สังคมนิยม เข้าไปในชื่อด้วย หลังกลายเป็นสาธารณรัฐประชาชนใน ค.ศ. 1948 แต่ประเทศก็ไม่ได้ใช้คำนี้เป็นชื่ออย่างเป็นทางการแต่อย่างใด[16] แอลเบเนียใช้ทั้งสองคำนี้เป็นชื่ออย่างเป็นทางการตั้งแต่ ค.ศ. 1976 จนถึง ค.ศ. 1991[17] ในบางครั้งประเทศตะวันตกจะเรียกประเทศเหล่านี้ว่าเป็น "ประเทศคอมมิวนิสต์” อย่างไรก็ตาม ไม่มีประเทศใดที่มองตนในลักษณะนั้น เนื่องจากว่าลัทธิคอมมิวนิสต์เป็นระดับการพัฒนาทางการเมืองที่ประเทศตนยังไปไม่ถึง[18][19][20][21] โดยคำที่มักถูกใช้โดยประเทศคอมมิวนิสต์ส่วนใหญ่ได้แก่ รัฐประชาธิปไตย-ชาตินิยม รัฐประชาธิปไตยประชาชน รัฐสังคมนิยมตะวันออก และรัฐแรงงานและชาวนา[22] อีกทั้งพรรคคอมมิวนิสต์ในประเทศเหล่านี้ก็ปกครองร่วมกับพรรคหัวก้าวหน้าอื่น ๆ[23]
ในช่วงยุคหลังการล่าอาณานิคม อดีตอาณานิคมของยุโรปจำนวนหนึ่งที่ได้รับเอกราชและรับเอาแนวคิดมากซ์–เลนินก็ใช้ชื่อสาธารณรัฐประชาชนเช่นกัน ได้แก่ แองโกลา[24] เบนิน คองโก-บราซาวีล[25] เอธิโอเปีย[26] กัมพูชา[27] ลาว[28] โมซัมบิก[29] และเยเมนใต้[30] หลังการปฏิวัติ ค.ศ. 1989 สาธารณรัฐประชาชนในยุโรปกลางและตะวันออก (แอลเบเนีย[31] บัลแกเรีย[32] ฮังการี[33] และโปแลนด์)[34] รวมทั้งมองโกเลีย[35] เลิกใช้คำว่า "ประชาชน" ในชื่ออย่างเป็นทางการ เนื่องจากมองว่ามีความเกี่ยวข้องกับรัฐบาลคอมมิวนิสต์ในอดีต และได้นำระบอบประชาธิปไตยแบบเสรีนิยมมาใช้ในระบบรัฐบาล[36] ในช่วงเวลาเดียวกัน อดีตอาณานิคมของยุโรปส่วนใหญ่ที่ใช้ชื่อสาธารณรัฐประชาชนก็เลิกใช้เช่นกัน ส่วนหนึ่งเพราะการเปลี่ยนอุดมการณ์จากมากซ์–เลนินไปสู่สังคมนิยมประชาธิปไตยหรือประชาธิปไตยสังคมนิยม[37][38]
รายชื่อสาธารณรัฐประชาชนที่เป็นลัทธิมากซ์–เลนิน
[แก้]ประเทศคอมมิวนิสต์ในปัจจุบันที่ยังคงใช้คำว่า "สาธารณรัฐประชาชน" ในชื่ออย่างเป็นทางการมีดังนี้
- สาธารณรัฐประชาชนจีน (ตั้งแต่ ค.ศ. 1949)
- สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ตั้งแต่ ค.ศ. 1975)
ประเทศคอมมิวนิสต์ในอดีต:
- สาธารณรัฐประชาชนแอลเบเนีย (ค.ศ. 1946–1976) และสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนแอลเบเนีย (ค.ศ. 1976–1992)
- สาธารณรัฐประชาชนแองโกลา (ค.ศ. 1975–1992)
- สาธารณรัฐประชาชนเบนิน (ค.ศ. 1975–1990)
- สาธารณรัฐประชาชนโซเวียตบูฆอรอ (ค.ศ. 1920–1925)
- สาธารณรัฐประชาชนบัลแกเรีย (ค.ศ. 1946–1990)
- สาธารณรัฐประชาชนคองโก (ค.ศ. 1969–1992)
- สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเอธิโอเปีย (ค.ศ. 1987–1991)
- สาธารณรัฐประชาชนฮังการี (ค.ศ. 1949–1989)
- สาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชา (ค.ศ. 1979–1989)
- สาธารณรัฐประชาชนโซเวียตโคเรซม์ (ค.ศ. 1920–1925)
- สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (ค.ศ. 1948–1992/ค.ศ. 2009)[a]
- สาธารณรัฐประชาชนมองโกเลีย (ค.ศ. 1924–1992)
- สาธารณรัฐประชาชนโมซัมบิก (ค.ศ. 1975–1990)
- สาธารณรัฐประชาชนโปแลนด์ (ค.ศ. 1944/ค.ศ. 1947–1989)
- สาธารณรัฐประชาชนโรมาเนีย (ค.ศ. 1947–1965)
- สาธารณรัฐประชาชนตูวา (ค.ศ. 1921–1944)
- สาธารณรัฐประชาชนยูเครนแห่งโซเวียต (ค.ศ. 1917–1918) (รวมกับสาธารณรัฐโซเวียตยูเครน)
- สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเยเมน (ค.ศ. 1967–1990)
- สหพันธ์สาธารณรัฐประชาชนยูโกสลาเวีย (ค.ศ. 1945–1963)
อย่างไรก็ตาม ยังมีชื่ออื่น ๆ ที่ใช้ในประเทศสังคมนิยมต่าง ๆ ได้แก่ "สาธารณรัฐประชาธิปไตย" (สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี สาธารณรัฐประชาธิปไตยโซมาลี และสหพันธ์ประชาธิปไตยยูโกสลาเวียที่ดำรงอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1943-1946) และ "สาธารณรัฐสังคมนิยม" (สาธารณรัฐสังคมนิยมเชโกสโลวักและสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม)
สาธารณรัฐประชาชนที่ไม่เป็นลัทธิมากซ์–เลนิน
[แก้]การล่มสลายของบรรดาจักรวรรดิในทวีปยุโรปหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งส่งผลให้มีการก่อตัวขึ้นของสาธารณรัฐประชาชนที่ไม่ใช่มากซ์-เลนินจำนวนหนึ่งในช่วงการปฏิวัติ ค.ศ. 1917–1923 ซึ่งในบางครั้ง รัฐบาลเหล่านี้มักไม่ได้รับการยอมรับและเป็นคู่ขัดแย้งกับอุดมการณ์มากซ์–เลนินอีกด้วย
ดินแดนของอดีตจักรวรรดิรัสเซียได้ถูกแบ่งแยกเป็นสาธารณรัฐประชาชนที่ไม่ใช่มากซ์-เลนินจำนวนมากหลังการปฏิวัติเดือนตุลาคม เริ่มจากสาธารณรัฐประชาชนไครเมียที่เป็นศัตรูกับบอลเชวิค แต่ต่อมาถูกบอลเชวิคยึดครองและก่อตั้งเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเทาริดา[42] ต่อมาสาธารณรัฐประชาชนคูบันซึ่งต่อต้านบอลเชวิคถูกก่อตั้งขึ้นในภูมิภาคคูบันของรัสเซีย และดำรงอยู่กระทั่งการยึดครองพื้นที่โดยกองทัพแดง[43] หลังจากนั้นสาธารณรัฐประชาชนยูเครนที่เอนเอียงไปทางสังคมนิยมได้ประกาศตนเป็นเอกราชจากสาธารณรัฐรัสเซีย แต่สาธารณรัฐมีความขัดแย้งกับสาธารณรัฐประชาชนยูเครนแห่งโซเวียต (ภายหลังเป็นสาธารณรัฐโซเวียตยูเครน) จนปะทุกลายเป็นสงครามประกาศอิสรภาพยูเครน[44] สาธารณรัฐประชาชนเบลารุสพยายามก่อตั้งรัฐเบลารุสอิสระในดินแดนที่ควบคุมโดยกองทัพจักรวรรดิเยอรมัน แต่สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซียได้เข้ามาแทนที่หลังกองทัพเยอรมันถอนกำลังออกจากดินแดน ท้ายที่สุดดินแดนที่กล่าวมาข้างต้นก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต[45]
ในอดีตจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี สาธารณรัฐประชาชนยูเครนตะวันตกก่อตั้งขึ้นในภูมิภาคกาลิเชียภายใต้การชี้นำทางการเมืองโดยพวกกรีกคาทอลิก ฝ่ายเสรีนิยม และฝ่ายสังคมนิยม ซึ่งต่อมาดินแดนนี้ถูกผนวกรวมกับสาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 2[46] ในขณะเดียวกันสาธารณรัฐประชาชนฮังการีได้ประกาศเอกราช แต่ถูกแทนที่โดยสาธารณรัฐโซเวียตฮังการีในเวลาสั้น ๆ และกลายเป็นราชอาณาจักรฮังการีในที่สุด[47]
ในเยอรมนี รัฐประชาชนไบเอิร์น (เยอรมัน: Volksstaat Bayern)[b] เป็นรัฐสังคมนิยมและสาธารณรัฐประชาชนอายุสั้นที่ก่อตั้งขึ้นในไบเอิร์นระหว่างการปฏิวัติเยอรมัน ค.ศ. 1918–1919 ซึ่งเป็นศัตรูกับสาธารณรัฐโซเวียตไบเอิร์น โดยต่อมาถูกแทนที่เป็นเสรีรัฐไบเอิร์น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐไวมาร์[48]
ในช่วงทศวรรษ 1960 และ 1970 แอลจีเรีย[49] บังกลาเทศ[50] และแซนซิบาร์[51] ซึ่งเป็นอดีตอาณานิคมที่ประกาศเอกราชผ่านการปฏิวัติเสรีนิยมก็ใช้คำว่าสาธารณรัฐประชาชนเป็นชื่ออย่างเป็นทางการเช่นกัน ลิเบียนำคำนี้มาใช้[c] ภายหลังการปฏิวัติต่อต้านกษัตริย์อิดริส[52]
ในทศวรรษ 2010 ขบวนการแบ่งแยกดินแดนยูเครนที่ฝักใฝ่รัสเซียในช่วงสงครามรัสเซีย-ยูเครนได้ประกาศให้แคว้นดอแนตสก์และลูฮันสก์เป็นสาธารณรัฐประชาชน แต่ก็ไม่ได้รับการรับรองทางการทูตจากประชาคมนานาชาติ[53] ใน ค.ศ. 2022 ระหว่างวิกฤตการณ์รัสเซีย–ยูเครน พ.ศ. 2564–2565 รัสเซียกลายเป็นสมาชิกสหประชาชาติชาติแรกที่รับรองทั้งสองสาธารณรัฐอย่างเป็นทางการ[54][55][56]
รายชื่อสาธารณรัฐประชาชนที่ไม่เป็นลัทธิมากซ์–เลนิน
[แก้]สาธารณรัฐประชาชนที่ไม่เป็นลัทธิมากซ์–เลนินในปัจจุบันมีดังนี้
- สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนแอลจีเรีย (ตั้งแต่ ค.ศ. 1962)
- สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ (ตั้งแต่ ค.ศ. 1971)
- สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (ตั้งแต่ ค.ศ. 1992)
สาธารณรัฐประชาชนในอดีต:
- สาธารณรัฐประชาชนเบลารุส (ค.ศ. 1918–1919; รัฐที่ได้รับการรับรองบางส่วน)
- สาธารณรัฐประชาชนไครเมีย (ค.ศ. 1917–1918; รัฐที่ไม่ได้รับการรับรอง)
- สาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์ (ค.ศ. 2014–2022; รัฐที่ได้รับการรับรองบางส่วน)
- สาธารณรัฐประชาชนฮังการี (ค.ศ. 1918–1919; รัฐที่ไม่ได้รับการรับรอง)
- สาธารณรัฐประชาชนเกาหลี (ค.ศ. 1945–1946)
- สาธารณรัฐประชาชนคูบัน (ค.ศ. 1918–1920; รัฐที่ไม่ได้รับการรับรอง)
- มหาสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับลิเบีย (ค.ศ. 1977–2011)
- สาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์ (ค.ศ. 2014–2022; รัฐที่ได้รับการรับรองบางส่วน)
- สาธารณรัฐประชาชนยูเครน (ค.ศ. 1917–1921; รัฐที่ได้รับการรับรองบางส่วน)
- สาธารณรัฐประชาชนยูเครนตะวันตก (ค.ศ. 1918–1919; เข้าร่วมกับสาธารณรัฐประชาชนยูเครน)
- สาธารณรัฐประชาชนแซนซิบาร์ (ค.ศ. 1963–1964)
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]- ↑ แม้ว่าในปัจจุบันรัฐบาลจะมีอุดมการณ์แบบ "ชูเช" โดยเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายที่ออกโดยคิม อิล-ซ็อง ซึ่งเป็นฝ่ายตรงข้ามกับลัทธิมากซ์–เลนิน แต่ยังคงถือว่าเป็นรัฐสังคมนิยม ใน ค.ศ. 1992 ตามรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีได้ละทิ้งอุดมการณ์มากซ์–เลนินทั้งหมดและแทนที่ด้วยอุดมการณ์ชูเช[39] ใน ค.ศ. 2009 รัฐธรรมนูญได้รับการแก้ไขอย่างเงียบ ๆ ซึ่งเป็นการแก้ไขที่ละทิ้งอุดมการณ์มากซ์–เลนินและคอมมิวนิสต์ทั้งหมด[40] อย่างไรก็ตาม หนังสือ North Korea: A Country Study ของโรเบิร์ต แอล. วอร์เดน ได้กล่าวว่า ลัทธิมากซ์–เลนินในเกาหลีเหนือนั้นถูกละทิ้งทันที หลังการเริ่มต้นล้มล้างอิทธิพลของสตาลินในสหภาพโซเวียต และถูกแทนที่โดยชูเชตั้งแต่ราว ค.ศ. 1974 เป็นต้นมา[41]
- ↑ บางครั้งรู้จักกันว่าเสรีรัฐประชาชนไบเอิร์น (เยอรมัน: Freier Volksstaat Bayern) หรือต่อมาเรียกอย่างง่ายว่า "Freistaat Bayern" (ปัจจุบันคือชื่ออย่างเป็นทางการของรัฐไบเอิร์น) อีกทั้งชื่อของรัฐยังแปลได้อีกว่าสาธารณรัฐไบเอิร์นและสาธารณรัฐประชาชนไบเอิร์น
- ↑ ศัพท์ในภาษาอาหรับที่แปลจากคำว่าสาธารณรัฐคือ Jamahiriya ซึ่งเป็นศัพท์สร้างใหม่ที่ตีความได้อย่างกว้างว่า "รัฐแห่งมวลชน"
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Åslund, Anders (2009). How Ukraine Became a Market Economy and Democracy. Peterson Institute. p. 12. ISBN 9780881325461.
- ↑ Minahan, James (2013). Miniature Empires: A Historical Dictionary of the Newly Independent States. Routledge. p. 296. ISBN 9781135940102.
- ↑ Tunçer-Kılavuz, Idil (2014). Power, Networks and Violent Conflict in Central Asia: A Comparison of Tajikistan and Uzbekistan. Routledge advances in Central Asian studies. Vol. 5. Routledge. p. 53. ISBN 9781317805113.
- ↑ Khabtagaeva, Bayarma (2009). Mongolic Elements in Tuvan. Turcologica Series. Vol. 81. Otto Harrassowitz Verlag. p. 21. ISBN 9783447060950.
- ↑ Macdonald, Fiona; Stacey, Gillian; Steele, Philip (2004). Peoples of Eastern Asia. Vol. 8: Mongolia–Nepal. Marshall Cavendish. p. 413. ISBN 9780761475477.
- ↑ White, Stephen (2002). Communism and Its Collapse. Routledge. p. 13. ISBN 9781134694235.
- ↑ Gjevori, Elvin (2018). Democratisation and Institutional Reform in Albania. Springer. p. 21. ISBN 9783319730714.
- ↑ Stankova, Marietta (2014). Bulgaria in British Foreign Policy, 1943–1949. Anthem Series on Russian, East European and Eurasian Studies. Anthem Press. p. 148. ISBN 9781783082353.
- ↑ Müller-Rommel, Ferdinand; Mansfeldová, Zdenka (2001). "Chapter 5: Czech Republic". ใน Blondel, Jean; Müller-Rommel, Ferdinand (บ.ก.). Cabinets in Eastern Europe. Palgrave Macmillan. p. 62. doi:10.1057/9781403905215_6. ISBN 978-1-349-41148-1.
- ↑ Hajdú, József (2011). Labour Law in Hungary. Kluwer Law International. p. 27. ISBN 9789041137920.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Frankowski, Stanisław; Stephan, Paul B. (1995). Legal Reform in Post-Communist Europe: The View from Within. Martinus Nijhoff. p. 23. ISBN 9780792332183.
- ↑ Paquette, Laure (2001). NATO and Eastern Europe After 2000: Strategic Interactions with Poland, the Czech Republic, Romania, and Bulgaria. Nova. p. 55. ISBN 9781560729693.
- ↑ Lampe, John R. (2000). Yugoslavia as History: Twice There Was a Country. Cambridge University Press. p. 233. ISBN 9780521774017.
- ↑ "The Chinese Revolution of 1949". Office of the Historian, Bureau of Public Affairs. United States Department of State.
- ↑ Kihl, Young Whan; Kim, Hong Nack (2014). North Korea: The Politics of Regime Survival. Routledge. p. 8. ISBN 9781317463764.
- ↑ Webb, Adrian (2008). The Routledge Companion to Central and Eastern Europe Since 1919. Routledge Companions to History. Routledge. pp. 80, 88. ISBN 9781134065219.
- ↑ Da Graça, John V (2000). Heads of State and Government (2nd ed.). St. Martin's Press. p. 56. ISBN 978-1-56159-269-2.
- ↑ Wilczynski, J. (2008). The Economics of Socialism after World War Two: 1945-1990. Aldine Transaction. p. 21. ISBN 978-0202362281.
Contrary to Western usage, these countries describe themselves as 'Socialist' (not 'Communist'). The second stage (Marx's 'higher phase'), or 'Communism' is to be marked by an age of plenty, distribution according to needs (not work), the absence of money and the market mechanism, the disappearance of the last vestiges of capitalism and the ultimate 'whithering away' of the State.
- ↑ Steele, David Ramsay (September 1999). From Marx to Mises: Post Capitalist Society and the Challenge of Economic Calculation. Open Court. p. 45. ISBN 978-0875484495.
Among Western journalists the term 'Communist' came to refer exclusively to regimes and movements associated with the Communist International and its offspring: regimes which insisted that they were not communist but socialist, and movements which were barely communist in any sense at all.
- ↑ Rosser, Mariana V. and J Barkley Jr. (23 July 2003). Comparative Economics in a Transforming World Economy. MIT Press. pp. 14. ISBN 978-0262182348.
Ironically, the ideological father of communism, Karl Marx, claimed that communism entailed the withering away of the state. The dictatorship of the proletariat was to be a strictly temporary phenomenon. Well aware of this, the Soviet Communists never claimed to have achieved communism, always labeling their own system socialist rather than communist and viewing their system as in transition to communism.
- ↑ Williams, Raymond (1983). "Socialism". Keywords: A Vocabulary of Culture and Society (revised ed.). Oxford University Press. p. 289. ISBN 978-0-19-520469-8.
The decisive distinction between socialist and communist, as in one sense these terms are now ordinarily used, came with the renaming, in 1918, of the Russian Social-Democratic Labour Party (Bolsheviks) as the All-Russian Communist Party (Bolsheviks). From that time on, a distinction of socialist from communist, often with supporting definitions such as social democrat or democratic socialist, became widely current, although it is significant that all communist parties, in line with earlier usage, continued to describe themselves as socialist and dedicated to socialism.
- ↑ Nation, R. Craig (1992). Black Earth, Red Star: A History of Soviet Security Policy, 1917-1991. Cornell University Press. pp. 85–6. ISBN 978-0801480072. สืบค้นเมื่อ 19 December 2014.
- ↑ Wegs, J. Robert (1996). Europe Since 1945: A Concise History. Macmillan International Higher Education. pp. 28–29. ISBN 9781349140527.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Popular Movement for the Liberation of Angola". Encyclopaedia Britannica.
- ↑ Hughes, Arnold (2015). Marxism's Retreat from Africa. Routledge. pp. 10–11. ISBN 9781317482369.
- ↑ Shinn, David H.; Ofcansky, Thomas P. (2013). Historical Dictionary of Ethiopia. Scarecrow Press. p. 105. ISBN 9780810874572.
- ↑ Schliesinger, Joachim (2015). Ethnic Groups of Cambodia. Vol. 1: Introduction and Overview. Booksmango. p. 75. ISBN 9781633232327.
- ↑ Anderson, Ewan W. (2014). Global Geopolitical Flashpoints: An Atlas of Conflict. Routledge. p. 194. ISBN 9781135940942.
- ↑ Wilczynski, Jozef (1981). An Encyclopedic Dictionary of Marxism, Socialism and Communism. Macmillan International Higher Education. p. 318. ISBN 9781349058068.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Busky, Donald F. (2002). Communism in History and Theory: Asia, Africa, and the Americas. Greenwood Publishing Group. p. 73. ISBN 9780275977337.
- ↑ Europe Review 2003/04: The Economic and Business Report. World of Information. Kogan Page Publishers. 2003. p. 3. ISBN 9780749440671.
- ↑ Dimitrov, Vesselin (2013). Bulgaria: The Uneven Transition. Postcommunist States and Nations. Routledge. p. ix. ISBN 9781135136772.
- ↑ Yup, Xing (2017). Language and State: An Inquiry Into the Progress of Civilization. Rowman & Littlefield. p. 138. ISBN 9780761869047.
- ↑ "Polska. Historia". Internetowa encyklopedia PWN [PWN Internet Encyklopedia] (ภาษาโปแลนด์). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 October 2006. สืบค้นเมื่อ 11 July 2005.
- ↑ Bulag, Uradyn E. (2010). Collaborative Nationalism: The Politics of Friendship on China's Mongolian Frontier. Rowman & Littlefield Publishers. p. 65. ISBN 9781442204331.
- ↑ Rupnik, Jacques (July 2018). "Explaining Eastern Europe: The Crisis of Liberalism". Journal of Democracy. National Endowment for Democracy and Johns Hopkins University Press. 29 (3): 24–38. doi:10.1353/jod.2018.0042. S2CID 158078514.
- ↑ Sargent, Lyman Tower (2008). Contemporary Political Ideologies: A Comparative Analysis (14th ed.). Wadsworth Publishing. p. 117. ISBN 9780495569398.
Because many communists now call themselves democratic socialists, it is sometimes difficult to know what a political label really means. As a result, social democratic has become a common new label for democratic socialist political parties.
- ↑ Lamb, Peter (2015). Historical Dictionary of Socialism (3rd ed.). Rowman & Littlefield. p. 415. ISBN 9781442258266.
In the 1990s, following the collapse of the communist regimes in Eastern Europe and the breakup of the Soviet Union, social democracy was adopted by some of the old communist parties. Hence, parties such as the Czech Social Democratic Party, the Bulgarian Social Democrats, the Estonian Social Democratic Party, and the Romanian Social Democratic Party, among others, achieved varying degrees of electoral success. Similar processes took place in Africa as the old communist parties were transformed into social democratic ones, even though they retained their traditional titles [...].
- ↑ Dae-Kyu, Yoon (January 2003). "The Constitution of North Korea: Its Changes and Implications". Fordham International Law Journal. 27 (4): 1289–1305. สืบค้นเมื่อ 17 February 2020.
- ↑ Petrov, Leonid (11 October 2009). "DPRK has quietly amended its Constitution". Leonid Petrov's Korea Vision. Blogger. สืบค้นเมื่อ 17 February 2020.
- ↑ Worden, Robert L. (2008). North Korea: A Country Study (PDF) (5th ed.). Washington, D. C.: Library of Congress. p. 206. ISBN 978-0-8444-1188-0.
- ↑ Magocsi, Paul R. (2010). A History of Ukraine: The Land and Its Peoples. University of Toronto Press. pp. 545–6. ISBN 9781442610217.
- ↑ Smele, Jonathan D. (2015). Historical Dictionary of the Russian Civil Wars, 1916-1926. Historical Dictionaries of War, Revolution, and Civil Unrest. Vol. 2. Rowman & Littlefield. p. 636. ISBN 9781442252813.
- ↑ Herb, Guntram H.; Kaplan, David H. (2008). Nations and Nationalism: A Global Historical Overview. ABC-CLIO. p. 713. ISBN 9781851099085.
- ↑ Smele 2015, p. 183.
- ↑ Smele 2015, pp. 1309–1310.
- ↑ Plaček, Michal; Ochrana, František; Půček, Milan Jan; Nemec, Juraj (2020). Fiscal Decentralization Reforms: The Impact on the Efficiency of Local Governments in Central and Eastern Europe. Public Administration, Governance and Globalization. Vol. 19. Springer Nature. p. 73. ISBN 9783030467586.
- ↑ Merz, Johannes (1997). "'Freistaat Bayern': Metamorphosen eines Staatsnamen" (PDF). Vierteljahrshefte für Zeitgeschichte (ภาษาเยอรมัน). 45: 121–142. สืบค้นเมื่อ 5 August 2020.
- ↑ Byrne, Jeffrey James (2016). Mecca of Revolution: Algeria, Decolonization, and the Third World Order. Oxford studies in international history. Oxford University Press. p. 2. ISBN 9780199899142.
- ↑ Obaidullah, A. T. M. (2018). Institutionalization of the Parliament in Bangladesh. Springer. p. 21. ISBN 9789811053177.
- ↑ Massey, A. (2011). International Handbook on Civil Service Systems. Elgar Original Reference Series. Edward Elgar Publishing. p. 178. ISBN 9781781001080.
- ↑ St John, Ronald Bruce (2015). Libya: Continuity and Change. Routledge. p. 60. ISBN 9781135036546.
- ↑ Luhn, Alec (6 November 2014). "Ukraine's rebel 'people's republics' begin work of building new states". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 17 February 2020.
- ↑ Jack, Victor; Busvine, Douglas (22 February 2022). "Putin recognizes separatist claims to Ukraine's entire Donbass region". Politico. สืบค้นเมื่อ 28 February 2022.
- ↑ "Ukraine crisis: Russia orders troops into rebel-held regions". BBC News. 21 February 2022. สืบค้นเมื่อ 8 March 2022.
- ↑ Lawler, Dave (21 February 2022). "Putin orders Russian "peacekeeping operations" in eastern Ukraine". Axios. สืบค้นเมื่อ 8 March 2022.