ข้ามไปเนื้อหา

สีเขียว (มุทราศาสตร์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
“Vert” สีเขียวทางซ้าย หรือ ขีดทแยงทางขวา

สีเขียว (อังกฤษ: Vert) เป็นภาษามุทราศาสตร์ที่บรรยายลักษณะของผิวตรา (Tincture) ที่เป็นสีเขียว ที่อยู่ในกลุ่มผิวตราสีหนักที่เรียกว่า “สี” ถ้าเป็นการแกะพิมพ์ “Vert” ก็จะเป็นขีดทแยงจากมุมซ้ายบนลงมายังมุมขวาล่าง หรืออาจจะจารึกด้วยอักษรย่อ “vt.” ของคำว่า “Vert”

คำว่า “Vert” มาจากภาษาฝรั่งเศส ที่แปลว่า “เขียว” ในมุทราศาสตร์ฝรั่งเศสผิวสีนี้เรียกว่า “Sinople” ตั้งแต่อย่างน้อยก็ราวปี ค.ศ. 1415 ในภาษาฝรั่งเศสเก่าและตำราก่อนหน้านั้น “Vert” แปลว่า “เขียว” ขณะที่ “Sinople” เป็นสีแดงตามชื่อสีโลหะ แต่ไม่ทราบว่าการเปลี่ยนชื่อสีมาจากสาเหตุใด

สีเขียวเป็นสีที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ของศรัทธามุสลิมและเป็นสีหนึ่งของสีกลุ่มอาหรับ (Pan-Arab colors) ฉะนั้นประเทศอิสลามหลายประเทศจึงใช้สีเขียวเป็นสีหนึ่งในธงชาติ นอกจากนั้นสีเขียวก็ยังเป็นสีที่นิยมใช้กันในธงของประเทศในแอฟริกาที่เป็นสัญลักษณ์ของความเขียวชอุ่มของแผ่นดินของประเทศที่เป็นเจ้าของธง

นิยามที่สั้นที่สุดของตราอาร์มในภาษาอังกฤษคือ “สีเขียว” ซึ่งเป็นนิยามของตราแห่ง Pupellin และของธงชาติลิเบีย

ผิวตราสีเขียวเป็นสัญลักษณ์ของ:

อ้างอิง

[แก้]
  • Brault, Gerard J. (1997). Early Blazon: Heraldic Terminology in the Twelfth and Thirteenth Centuries, (2nd ed.). Woodbridge, UK: The Boydell Press. ISBN 0-85115-711-4.

ดูเพิ่ม

[แก้]