หมู่เกาะบังกาเบอลีตุง
จังหวัดเกอปูเลาวันบังกาเบอลีตุง Provinsi Kepulauan Bangka Belitung (อินโดนีเซีย) | |
---|---|
จังหวัด | |
เรียงตามเข็มนาฬิกา จากบนซ้าย: หาดปาไร, วัด Fuk Tet Che, เกาะเลิงกูวัซ, หาดมาตรัซ, หาดปาซีร์ปาดี, หาดตันจุงติงกี, หาดตันจงเปอโซนา | |
คำขวัญ: | |
ที่ตั้งจังหวัดเกอปูเลาวันบังกาเบอลีตุงในประเทศอินโดนีเซีย | |
ประเทศ | อินโดนีเซีย |
เมืองหลัก | ปังกัลปีนัง |
ก่อตั้ง | 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 2000 |
การปกครอง | |
• องค์กร | รัฐบาลประจำภูมิภาค |
• ผู้ว่าการ | ซัฟรีซัล ซาการียา อาลี (รักษาการ) |
• รองผู้ว่าการ | ตำแหน่งว่าง |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 16,424.14 ตร.กม. (6,341.40 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | อันดับที่ 27 |
ความสูงจุดสูงสุด | 669 เมตร (2,195 ฟุต) |
ประชากร (ค.ศ. 2015)[1] | |
• ทั้งหมด | 1,372,813 คน |
• อันดับ | อันดับที่ 29 |
• ความหนาแน่น | 84 คน/ตร.กม. (220 คน/ตร.ไมล์) |
เดมะนิม | Bangka-Belitungese Warga Bangka-Belitung (ภาษาอินโดนีเซีย) |
ประชากรศาสตร์ | |
• กลุ่มชาติพันธุ์ | มลายู (52.5%), จีน (29.1%), บูกีส(0.3%) , อื่น ๆ |
• ศาสนา | อิสลาม (60%), พุทธ (22.2%), ขงจื๊อ (8.3%), โปรเตสแตนต์ (4.8%), คาทอลิก (1.2%), ฮินดู (0.1%)[2] |
• ภาษา | อินโดนีเซีย, ภาษามลายูบังกา, Hakka, bugis |
เขตเวลา | UTC+7 (Indonesia Western Time) |
รหัสไปรษณีย์ | 30xxx, 31xxx, 32xxx |
รหัสพื้นที่ | (62)7xx |
ทะเบียนรถ | BN |
เอชดีไอ | 0.682 (ปานกลาง) |
อันดับ | อันดับที่ 15 (2014) |
เมืองที่ใหญ่ที่สุด (พื้นที่) | ปังกัลปีนัง - 118.80 ตารางกิโลเมตร (45.87 ตารางไมล์) |
เมืองที่ใหญ่ที่สุด (ประชากร) | ปังกัลปีนัง - (174,838 คน - ค.ศ. 2010) |
อำเภอที่ใหญ่ที่สุด (พื้นที่) | อำเภอบังกาใต้ - 3,607.08 ตารางกิโลเมตร (1,392.70 ตารางไมล์) |
อำเภอที่ใหญ่ที่สุด (ประชากร) | อำเภอบังกา - (2,029,308 คน - ค.ศ. 2010) |
เว็บไซต์ | babelprov |
หมู่เกาะบังกาเบอลีตุง | |||||||||||||||||||
ภาษาจีน | 邦加-勿里洞 | ||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
หมู่เกาะบังกาเบอลีตุง, เกอปูเลาวันบังกาเบอลีตุง (อินโดนีเซีย: Kepulauan Bangka Belitung) หรือ บังกาเบอลีตุง[3] เป็นจังหวัดหนึ่งในประเทศอินโดนีเซีย และเคยเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดสุมาตราใต้ ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะสุมาตรา ประกอบด้วยเกาะหลักสองแห่ง ได้แก่ เกาะบังกาและเกาะเบอลีตุง ซึ่งคั่นด้วยช่องแคบกัซปาร์ จังหวัดนี้ถูกแยกจากเกาะสุมาตราโดยช่องแคบบังกา จังหวัดนี้ติดกับทะเลนาตูนาทางทิศเหนือ ติดกับทะเลชวาทางทิศใต้ ติดกับช่องแคบการีมาตาทางทิศตะวันออก และติดกับจังหวัดสุมาตราใต้ทางทิศตะวันตก เมืองหลักคือปังกัลปีนัง ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการปกครอง เมืองอื่น ๆ ที่สำคัญ ได้แก่ ซูไงลียัต ตันจงปันดัน และมังการ์ สำหรับในปี ค.ศ. 2015 มีประชากร 1,372,813 คน ตัวจังหวัดตั้งอยู่บริเวณเส้นศูนย์สูตร จึงมีสภาพภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น จุดที่สูงที่สุดคือภูเขามารัซ สูง 699 เมตร แม่น้ำสายสำคัญได้แก่ แม่น้ำเซอบูกู แม่น้ำบาตูรูซา และแม่น้ำเมนโด
หน่วยการบริหาร
[แก้]พื้นที่จังหวัดเกอปูเลาวันบังกาเบอลีตุงแบ่งออกเป็น 6 อำเภอหรือกาบูปาเต็น 1 นครหรือโกตา และ 47 ตำบลหรือเกอจามาตัน[4][5]
- อำเภอ
- อำเภอบังกา (Kabupaten Bangka)
- อำเภอบังกากลาง (Kabupaten Bangka Tengah)
- อำเภอบังกาตะวันตก (Kabupaten Bangka Barat)
- อำเภอบังกาใต้ (Kabupaten Bangka Selatan)
- อำเภอเบอลีตุง (Kabupaten Belitung)
- อำเภอเบอลีตุงตะวันออก (Kabupaten Belitung Timur)
- นคร
- ปังกัลปีนัง (Pangkal Pinang; เมืองหลัก)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Central Bureau of Statistics: Census 2010 เก็บถาวร 2017-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, retrieved 17 January 2011 (อินโดนีเซีย)
- ↑ "Hasil Sensus Penduduk 2010".
- ↑ "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
- ↑ Statistik Indonesia 2021 (ภาษาอินโดนีเซีย). สำนักงานสถิติแห่งประเทศอินโดนีเซีย. 2021-02-26. pp. 45–47. สืบค้นเมื่อ 2021-12-05.
- ↑ "Peraturan Kepala Badan Pusat Statistik Nomor 120 Tahun 2020 Tentang Klasifikasi Desa Perkotaan dan Perdesaan di Indonesia Tahun 2020" (PDF) (ภาษาอินโดนีเซีย). สำนักงานสถิติแห่งประเทศอินโดนีเซีย. สืบค้นเมื่อ 2021-12-05.
หนังสืออ่านเพิ่มเติม
[แก้]- Somers Heidhues, Mary F.(1992)Bangka tin and Mentok pepper : Chinese settlement on an Indonesian island Singapore : Social Isuues in Southeast Asia, Institute of Southeast Asian Studies. ISBN 981-3035-99-4