ข้ามไปเนื้อหา

หอคอยอาวาลา

พิกัด: 44°41′45.5″N 20°30′52″E / 44.695972°N 20.51444°E / 44.695972; 20.51444
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หอคอยอาวาลา
Авалски торањ
Avalski toranj
หออาวาลาอันปัจจุบัน (ภาพถ่ายปี 2015)
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
สถานะสร้างขึ้นใหม่แล้วเสร็จ
ประเภทส่งสัญญาณ, หอสังเกตการณ์
สถาปัตยกรรมบรูทัลลิสต์
ที่ตั้งเบลเกรด ประเทศเซอร์เบีย
พิกัด44°41′45.5″N 20°30′52″E / 44.695972°N 20.51444°E / 44.695972; 20.51444
เริ่มสร้าง1961 (เดิม)
21 ธันวาคม 2006 (ใหม่)
แล้วเสร็จ1965 (เดิม)
23 ตุลาคม 2009 (ใหม่)
ถูกทำลาย29 เมษายน 1999 (เดิม)
ความสูง
เสาอากาศ204.68 m (672 ft)
ข้อมูลทางเทคนิค
จำนวนชั้น6
ลิฟต์2
การออกแบบและการก่อสร้าง
สถาปนิกอุย์ลเยชา บอกูนอวิช, สะลอบอดัน ยันชิช
อ้างอิง
[1]

หอคอยอาวาลา (ซีริลลิกเซอร์เบีย: Авалски торањ, อักษรโรมัน: Avalski toranj) เป็นหอกระจายสัญญาณความสูง 204.68 m (672 ft) ตั้งอยู่บนเขาอาวาลา ในกรุงเบลเกรด ประเทศเซอร์เบีย หอคอยเดิมสร้างแล้วเสร็จในปี 1965 และถูกทำลายลงเมื่อวันที่ 29 เมษายน 1999 ระหว่างการทิ้งระเบิดในยูโกสลาเวียโดยเนโท หอคอยสร้างขึ้นใหม่ในปี 2006 และเปิดใช้อย่างเป็นทางการในปี 2010[2]

ประวัติศาสตร์

[แก้]

หอคอยเดิม

[แก้]

หอคอยเป็นผลงานออกแบบโดยสถาปนิกอุย์ลเยชา บอกูนอวิช, สะลอบอดัน ยันชิช และวิศวกร มีลัน เคิร์ซทิช (Milan Krstić) ก่อสร้างโดยบริษัทรัด ("Rad") เริ่มต้นก่อสร้างเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 1961 ใช้เวลาก่อสร้างนานสี่ปี แล้วเสร็จในปี 1965[3] ด้วยน้ำหนัก 4,000 ตัน (3,900 long ton; 4,400 short ton) และมีจุดสังเกตการณ์บริเวณความสูง 102 m (335 ft) ถึง 135 m (443 ft) เข้าถึงได้ที่ลิฟต์โดยสารจากความสูง 122 m (400 ft) แปลนตัดขวางของหอคอยนี้เป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ถือเป็นหอคอยเดียวในโลกที่เป็นลักษณะนี้ รวมถึงลักษณะของหอคอยซึ่งมีขารับน้ำหนักแทนที่การฝังลงไปในดิน ก็ถือว่ามีไม่กี่หอคอยในโลกที่ทำเช่นนี้เช่นกัน ลักษณะขาของหอคอยเป็นลักษณะสามขา ซึ่งสอดคล้องกับสัญลักษณ์แทนเก้สอี้สามขาของเซอร์เบียที่เรียกว่าทรอนอชัซ (tronožac)[3]

ยอดสุดของหอคอยเป็นเสากระจายสัญญาณซึ่งแรกเริ่มใช้ส่งสัญญาณโทรทัศน์ขาวดำ ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นเสาสัญญาณโทรทัศน์สีในปี 1971 ต่อมายังมีการกระจายสัญญาณโทรทัศน์ดิจิทัลภาคพื้นดินเป็นครั้งแรกในเซอร์เบียจากหอคอยนี้ด้วย[3]

การทำลายในปี 1999

[แก้]

หอคอยอาวาลาถูกทำลายลงมาในวันที่ 29 เมษายน 1999[3] จากการทิ้งระเบิดทางอากาศในกรุงเบลเกรดโดยเนโท ในส่วนหนึ่งของปฏิบัติการเพื่อปิดการแพร่สัญญาณจากองค์การวิทยุโทรทัศน์เซอร์เบีย (RTS) เป็นการถาวรตลอดช่วงสงคราม หอคอยนี้ถือเป็นหนึ่งในสิ่งปลูกสร้างที่ใหญ่ที่สุดที่ถูกทำลายโดยเนโทในระหว่างสงคราม ระเบิดที่ใช้ในการทำลายคือระเบิดนำทางด้วยเลเซอร์ GBU-27 ซึ่งระเบิดใส่ขาหนึ่งของหอคอย ทำให้หอคอยถล่มลงมาทั้งหมด

หอคอยเดิมนี้ถือเป็นจุดหมายตาของเบลเกรด และยังเป็นสัญลักษณ์และความภาคภูมิใจหนึ่งของเซอร์เบียไปจนถึงของยูโกสลาเวีย

การก่อสร้างใหม่

[แก้]

แนวคิดำารสร้างหอคอยขึ้นมาใหม่ด้วยลักษณะเดิมทั้งหมดบนจุดเดิมที่ถูกทิ้งระเบิดไปนั้นเริ่มต้นมาจากสมาคมนักหนังสือพิมพ์เซอร์เบีย (Journalists' Association of Serbia) ในปลายปี 2002 และในต้นปี 2004 RTS ได้เข้าร่วมกับแนวคิดนี้ โดยจัดารรณรงค์ทางสื่อเพื่อระดมทุน และยังได้รับการสนับสนุนโดยคนสำคัญของเซอร์เบียจากหลายภาคส่วนและอุตสาหกรรม มีการประมาณว่ามีคนมีส่วนร่วมผ่านช่องทางต่าง ๆ ในการระดมทุนก่อสร้างหอคอยใหม่รวมแล้วกว่าหนึ่งล้านคน[4] ด้วยเงินระดมทุนรวมแล้วมากกว่า 1 ล้านยูโร

ซากปรักหักพังเดิมเริ่มต้นขนย้ายออกจากพื้นที่ในปี 2005 โดยรวมซากของหอเดิมที่ต้องขนย้ายออกราวหนึ่งตัน จากนั้นในปี 2006 ได้มีการตรวจสอบทางธรณีวิทยาเพื่อเตรียมการก่อสร้าง[4] หอคอยสร้างแล้วเสร็จในปี 2009 ล่าช้าจากกำหนดการเดิมในปี 2008 ไป ตรงกับการครบรอบสิบปีที่หอคอยถูกทำลาย[5]

พิธีเปิดมีขึ้นในวันที่ 21 เมษายน 2010 ด้วยความสูงสุดท้ายของหอคอยที่ 204.68 m (671.5 ft) สูงขึ้นจากเดิม 2 m (6 ft 7 in)[3] โดยส่วนหอกระจายสัญญาณสูง 68 เมตร (223 ฟุต)[4]

ในปัจจุบัน

[แก้]

ในปี 2016 มีรายงานจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมหอคอยอยู่ที่ 137,000 คน[6] 155,000 in 2017[7] และเพิ่มเป็น 185,000 คนในปี 2018[8] ในปี 2017 ได้มีการเปิดตัวหมู่อาคารสนับสนุนการท่องเที่ยวใต้หอคอย ซึ่งมีทั้งภัตตาคาร ส่วนจัดแสดงทางชาติพันธุ์ ร้านของฝาก และลานกีฬา[9] รวมถึงยังมีการติดตั้งภาพพิมพ์คอนกรีต 105 ภาพแสดงรูปบุคคลที่มีส่วนร่วมใยการช่วยก่อสร้างหอคอยใหม่ เช่น นอวัค จอคอวิค และอานา จอคอวิค[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Emporis building ID 1151753". Emporis. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 March 2016.
  2. "Naš toranj". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 April 2017. สืบค้นเมื่อ 21 April 2010.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 Dejan Aleksić (8 August 2017), "Sve više turista pohodi emisiono srce Srbije", Politika (ภาษาเซอร์เบีย), p. 16
  4. 4.0 4.1 4.2 Miloš Bato Milatović (23 April 2021). Феникс с Авале плаве [Phoenix from Avala blue]. Politika (ภาษาเซอร์เบีย). p. 14.
  5. RTS article on tower completion เก็บถาวร 28 ธันวาคม 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, (in Serbian).
  6. Milan Janković (12 June 2017), "Uređen turistički kompleks oko Avalskog tornja", Politika (ภาษาเซอร์เบีย), p. 16
  7. Ana Vuković; Dejan Aleksić; Daliborka Mučibabić (6 January 2018). "Razbijanje straha od visine i planinarenje". Politika (ภาษาเซอร์เบีย). p. 20.
  8. "Девети рођендан Авалског торња" [Avala Tower's 9th birthday]. Politika (ภาษาเซอร์เบีย). 22 April 2019. p. 15.
  9. Ana Vuković (10 June 2017), "Kompleks na Avali dobio novi izgled", Politika (ภาษาเซอร์เบีย), p. 14

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]