อักษรขอมไทย
อักษรขอมไทย | |
---|---|
อักษรขอมไทยในคัมภีร์ทางพุทธศาสนา | |
ชนิด | |
ช่วงยุค | ประมาณ ค.ศ. 1400 - ปัจจุบัน[1] |
ทิศทาง | ซ้ายไปขวา |
ภาษาพูด | บาลี, สันสกฤต, เขมร และไทย |
อักษรที่เกี่ยวข้อง | |
ระบบแม่ | |
ระบบพี่น้อง | สุโขทัย |
[a] ต้นกำเนิดเซมิติกของอักษรพราหมียังไม่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล | |
อักษรขอมไทย เป็นอักษรพราหมีรูปแบบหนึ่งที่ใช้เขียนในประเทศไทยและลาว[2] ซึ่งใช้เขียนภาษาบาลี, สันสกฤต และไทย อักษรดังกล่าวนี้สามารถพบได้ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ตำรายา ตำราคาถาอาคม รูปยันต์ต่าง ๆ โดยมากปรากฏในแถบภาคกลาง และอาจพบได้บ้างในภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
ศัพทมูลวิทยา
[แก้]ในอดีต อักษรนี้มีชื่อว่า อักษรขอม[3] คำว่า ขอม มีหลายความหมาย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๕ ให้ความหมายว่า เขมรโบราณ[4]
พยัญชนะ
[แก้]พยัญชนะมีทั้งหมด 35 ตัว โดยแต่ละตัวมีทั้งรูปตัวเต็มกับตัวเชิงหรือพยัญชนะซ้อน มีการจัดแบ่งเป็นวรรคตามระบบภาษาสันสกฤต
วรรค กะ | ก |
ข |
ค |
ฆ |
ง |
---|---|---|---|---|---|
วรรค จะ | จ |
ฉ |
ช |
ฌ |
ญ |
วรรค ฏะ | ฏ |
ฐ |
ฑ |
ฒ |
ณ |
วรรค ตะ | ต |
ถ |
ท |
ธ |
น |
วรรค ปะ | ป |
ผ |
พ |
ภ |
ม |
เศษวรรค | ย |
ร |
ล |
ว |
ศ |
ษ |
ส |
ห |
ฬ |
อ |
รูปพยัญชนะอักษรขอมไทยน้อยกว่าอักษรไทย 9 ตัว โดยรูปพยัญชนะที่ขาดไป 9 ตัว คือ ฃ ฅ ซ ฎ ด บ ฝ ฟ และ ฮ ซึ่งการเขียนคำที่มีพยัญชนะที่ขาดไปเป็นดังนี้
- ตัว ด ใช้ ฑ หรือ ต แทน เช่น ไฑ หรือ ไต = ได้, เฑากไม่ หรือ เตากไม่ = ดอกไม้
- ตัว ฝ ใช้ ผ แทน เช่น ผี อาจหมายถึง ผี หรือฝี ขึ้นกับบริบท
- ตัว ซ ใช้ ฌ ช หรือ ส เช่น ฌืตฺรง = ซื่อตรง, แลวใส้ย = แล้วไซร้
- ตัว บ และ ฟ นิยมนำรูปตัว (ป) ของอักษรขอมมาเขียนแทน บ และเพิ่มหางขึ้นไปเป็นรูป ตัว (ป) ส่วนตัว ฟ ใช้รูปตัว (พ) ของอักษรขอมมาเติมหางเช่นกันเป็นรูป (ฟ) แต่ในหลายกรณี รูปตัว ป ของอักษรขอมทั้งที่มีหางและไม่มีหางมักใช้ปะปนกัน บางครั้งแทนเสียง ป บางครั้งแทนเสียง บ เช่น เบน หรือ เปน = เป็น, ไฟเผา = ไฟเผา
- รูปตัว ฝ ใช้อักษรขอม ตัว พ เติมหางเช่นเดียวกับตัว ฟ เช่น ฟาย = ฝ่าย
- ตัว ฃ ฅ ฎ ฮ ไม่มีที่ใช้ โดยใช้ ข ค ฏ และ ห แทน
พยัญชนะทุกตัวใช้เป็นพยัญชนะต้นได้ทั้งหมด ในกรณีของอักษรนำและตัวควบกล้ำ ตัวแรกใช้รูปตัวเต็ม ตัวต่อไปใช้รูปตัวเชิง
ตัวสะกด มี/ร
[แก้]นิยมเขียนด้วยรูปตัวเชิงใต้พยัญชนะต้นหรือสระ เว้นแต่พยัญชนะมีรูปสระหรือตัวควบกล้ำอยู่ข้างล่างอยู่แล้วจึงใช้รูปตัวเต็ม
สระ
[แก้]แบ่งเป็นสระลอยกับสระจม รูปสระลอยใช้เขียนคำที่มีเสียง อ มีทั้งหมด 8 ตัว ได้แก่
อะ |
อา |
อิ |
อี |
อุ |
อู |
เอ |
โอ |
รูปสระจมหรือประสมคล้ายกับอักษรไทยปัจจุบัน ที่ต่างไปมีดังนี้
- สระเอีย - นิยมเขียนด้วยตัวเชิงของตัว ย เช่น ดฺยว = เดียว หรือใช้ทั้งสระ เอ + อิ (อี) + ตัวเชิงของ ย เช่น เสิย = เสีย
- สระเอือ - มีทั้งแบบที่ใช้รูปสระ เอ + อิ + อ เช่น เพิอ = เพื่อ และ เอ + อิ (อื) + ตัวเชิงของ อ เช่น เงื่อน = เงื่อน
- สระเออ - ใช้สระ เอ กับตัวเชิงของ อ เมื่อไม่มีตัวสะกด เช่น เธอ = เธอ และใช้สระเอ + อี + ตัวเชิงของ อ เมื่อมีตัวสะกด เช่น เตีอม = เติม หรือตัดตัวเชิงของ อ ใช้ตัวเชิงของตัวสะกดแทน
- สระอัว - ใช้ ไม้หันอากาศกับตัวเชิงของ ว เมื่อไม่มีตัวสะกด หรือใช้ตัวเชิงของ ว อย่างเดียวเมื่อมีตัวสะกด เช่น ตฺวฺย = ด้วย
วรรณยุกต์
[แก้]รูปวรรณยุกต์ของอักษรขอมไทยมีความคล้ายกับวรรณยุกต์ของอักษรไทย[5] โดยมีการใช้งานไม่แน่นอนมีทั้งที่ไม่เติมวรรณยุกต์ ใช้รูปวรรณยุกต์ต่างจากปัจจุบัน หรือใช้เหมือนกัน
ไม้หันอากาศ
[แก้]มีทั้งเขียนบนพยัญชนะต้นและตัวสะกด บางครั้งไม่ใช้ไม้หันอากาศแต่เพิ่มตัวสะกดเป็น 2 ตัวแทน เช่น วนฺน = วัน, ทงั = ทั้ง
การนำเข้าคอมพิวเตอร์
[แก้]อักษรขอมไทยยังไม่ได้รับการบรรจุลงในยูนิโคด แต่สามารถใช้อักษรไทยแสดงรูปอักษรขอมไทยได้
ฟาริดา วิรุฬหผลได้ออกแบบฟอนต์อักษรขอมไทยสามแบบเพื่อวัตถุประสงค์ในการสอน ฟอนต์เหล่านี้สามารถทำให้ผู้พิมพ์อักษรไทยคุ้นเคยกับอักษรขอมไทยเร็วขึ้น[6]
หนังสืออ่านเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Virunhaphol 2017, pp. 154.
- ↑ Igunma 2013, pp. 1.
- ↑ Igunma, Jana. "AKSOON KHOOM: Khmer Heritage in Thai and Lao Manuscript Cultures".
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ "ขอม". พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๕. สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2567.
- ↑ Virunhaphol 2017, pp. 136.
- ↑ Virunhaphol 2017, pp. 111.
ข้อมูล
[แก้]- Virunhaphol, Farida (2017). "Designing Khom Thai Letterforms for Accessibility (Doctoral dissertation). University of Huddersfield" (PDF).
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - Igunma, Jana (2013). "Aksoon Khoom: Khmer Heritage in Thai and Lao Manuscript Cultures. Tai Culture, 23: Route of the Roots: Tai-Asiatic Cultural Interaction".
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - สุจิตต์ วงษ์เทศ. อักษรไทย มาจากไหน. กทม. มติชน. 2548
- อนันต์ อารีย์พงศ์. อักษรขอม. พิมพ์ครั้งที่ 2. มหาวิทยาลัยทักษิณ. 2546. (ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการเขียนและอ่านอักษรขอมไทยและขอมบาลี)