อัตลักษณ์ทางเพศ
อัตลักษณ์ทางเพศ (อังกฤษ: sexual identity) หมายคือความคิดของบุคคลในแง่ของคนที่ชอบหรือมีเสน่ห์ทางเพศ[1] บางครั้งอัตลักษณ์ทางเพศ อาจส่อถึง รสนิยมทางเพศ เมื่อผู้คนระบุหรือไม่ระบุตัวด้วยรสนิยมทางเพศหรือเลือกที่จะไม่ระบุด้วยรสนิยมทางเพศ[2] อัตลักษณ์ทางเพศและพฤติกรรมทางเพศมีความคล้ายกัน แต่ก็มีความโดดเด่นด้วยอัตลักษณ์ที่อ้างถึงความคิดของแต่ละบุคคลเกี่ยวกับพฤติกรรมของตัวเอง พฤติกรรมที่อ้างถึงการกระทำทางเพศของแต่ละบุคคลและรสนิยมทางเพศหมายถึงความรู้สึกรักใคร่และดึงดูดทางเพศต่อบุคคล เพศตรงข้าม เพศเดียวกัน ทั้งสองเพศ มากกว่าหนึ่งเพศหรือไม่รักใครเลย
อัตลักษณ์ทางเพศ ครอบคลุมถึงสิ่งบ่งชี้ทุกอย่างทั้งทางด้านกายภาพภายนอกซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้โดยง่าย และทางด้านจิตใจที่เป็นนามธรรม เช่น หน้าอก อวัยวะเพศ น้ำเสียง ความสูง ความแข็งแรง ความอ่อนไหว ความอ่อนหวาน ความก้าวร้าว ซึ่งแต่ละเพศจะมีอัตลักษณ์ที่แตกต่างกันไปเป็นลักษณะเฉพาะที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือพันธุกรรม ดังนั้นบุคคลที่มีจิตใจโน้มเอียงไปในทางตรงกันข้ามกับอัตลักษณ์ทางเพศของตนเอง จึงปรารถนาที่จะเปลี่ยนอัตลักษณ์ทางเพศของตนเองไปตามความโน้มเอียงทางเพศของจิตใจ ซึ่งในยุคปัจจุบันอัตลักษณ์ทางเพศที่เห็นเพียงภายนอกอาจมิใช่สิ่งบ่งชี้เพศอย่างแท้จริง เนื่องมีสภาวะเป็นเพียงเพศสภาพ ซึ่งอาจมิใช่เพศวิถี แต่ในโลกยุคใหม่คนส่วนหนึ่งก็ให้การยอมรับในเรื่องดังกล่าวมากขึ้นตามลำดับ ดังนั้นการเลือกปฏิบัติอันเนื่องมาจากมีอัตลักษณ์ทางเพศที่แตกต่างกันจึงมิควรได้รับการยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ควรกระทำได้อีกต่อไป เพราะเป็นการอยุติธรรมต่อบุคคลนั้นๆที่ได้รับการเลือกปฏิบัติที่ไม่เท่าเทียมกันดังเช่นในประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามในหลายๆประเทศ
นิยามและเอกลักษณ์
[แก้]อัตลักษณ์ทางเพศได้รับการอธิบายว่าเป็นส่วนประกอบของอัตลักษณ์ของแต่ละบุคคลที่สะท้อนถึงแนวคิดทางเพศของตนเอง การบูรณาการองค์ประกอบเอกลักษณ์ (จรรยาบรรณ ศาสนา เชื้อชาติ อาชีพ) เป็นอัตลักษณ์โดยรวมมีความสำคัญต่อกระบวนการสร้างแบบจำลองหลายมิติของอัตลักษณ์[3]
อัตลักษณ์ทางเพศสามารถเปลี่ยนไปตลอดชีวิตของแต่ละบุคคลและอาจสอดคล้องกับเพศทางชีวภาพ พฤติกรรมทางเพศหรือความสัมพันธ์ทางเพศที่เกิดขึ้นจริง[4][5][6] ตัวอย่างเช่นเกย์ เลสเบี้ยน และไบเซ็กชวลอาจไม่เปิดเผยตัวตนในประเทศโฮโมโฟเบีย กีดกันรักร่วมเพศหรือในพื้นที่ที่มีประวัติเรื่องสิทธิของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศไม่ดี ในการศึกษา 1990 โดยองค์กรทางสังคมทางเพศ มีผู้หญิงเพียง 16% และผู้ชาย 36% ที่ยอมรับว่ารักใครชอบพอเพศเดียวกันมีอัตลักษณ์แบบรักร่วมเพศหรือรักสองเพศ[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Reiter L (1989). "Sexual orientation, sexual identity, and the question of choice". Clinical Social Work Journal. 17: 138–50.[ลิงก์เสีย] [1]
- ↑ "Appropriate Therapeutic Responses to Sexual Orientation" (PDF). American Psychological Association. 2009: 63, 86. สืบค้นเมื่อ February 3, 2015.
Sexual orientation identity—not sexual orientation—appears to change via psychotherapy, support groups, and life events.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ Luyckx, K., Schwartz, S. J., Goossens, L., Beyers, W., & Missotten, L. (2011). Processes of personal identity formation and evaluation. In S. J. Schwartz, K. Luyckx, & V. L. Vignoles(Eds), Handbook of identity theory and research (Vols 1 and 2) (pp.77-98). New York, NY: Springer Science + Business Media
- ↑ Sinclair, Karen, About Whoever: The Social Imprint on Identity and Orientation, NY, 2013 ISBN 9780981450513
- ↑ Rosario, M.; Schrimshaw, E.; Hunter, J.; Braun, L. (2006). "Sexual identity development among lesbian, gay, and bisexual youths: Consistency and change over time". Journal of Sex Research. 43 (1): 46–58. doi:10.1080/00224490609552298.
- ↑ Ross, Michael W.; Essien, E. James; Williams, Mark L.; Fernandez-Esquer, Maria Eugenia. (2003). "Concordance Between Sexual Behavior and Sexual Identity in Street Outreach Samples of Four Racial/Ethnic Groups". Sexually Transmitted Diseases. American Sexually Transmitted Diseases Association. 30 (2): 110–113. doi:10.1097/00007435-200302000-00003. PMID 12567166.
- ↑ Laumann, Edward O. (1994). The Social Organization of Sexuality: Sexual Practices in the United States. University of Chicago Press. pp. 298–301.