ข้ามไปเนื้อหา

อานโตนอฟ อาน-225 มรียา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อานโตนอฟ อาน-225 มรียา

อาน-225 ในลวดลายปี 2009-2022
ข้อมูลทั่วไป
บทบาทอากาศยานขนส่งสินค้าขนาดใหญ่พิเศษ
ชาติกำเนิดสหภาพโซเวียต (โซเวียตยูเครน)
บริษัทผู้ผลิตอานโตนอฟ
สถานะถูกทำลาย
ผู้ใช้งานหลักอานโตนอฟแอร์ไลน์
จำนวนที่ผลิต1
ประวัติ
สร้างเมื่อค.ศ. 1985
เที่ยวบินแรก21 ธันวาคม ค.ศ. 1988
พัฒนาจากอานโตนอฟ อาน-124 รุสลัน
พัฒนาเป็นอานโตนอฟ อาน-325

อานโตนอฟ อาน-225 มรียา (ยูเครน: Антонов Ан-225 Мрія, แปลตรงตัว'ความฝัน' หรือ 'แรงบันดาลใจ'; สัญลักษณ์เนโท: Cossack) เป็นอากาศยานขนส่งสินค้าขนาดใหญ่พิเศษออกแบบและผลิตโดยอานโตนอฟในสหภาพโซเวียต อาน-225 ได้รับการยอมรับโดยทั่วกันว่าเป็นอากาศยานที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกตามน้ำหนักบรรทุก[1]

อาน-225 เดิมได้รับการพัฒนาขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1980 โดยเป็นการขยาย อานโตนอฟ อาน-124 เพื่อจุดประสงค์ในการขนส่งยานอวกาศบูรัน อาน-225 ได้ทำการบินครั้งแรกในวันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ. 1988 อานโตนอฟได้สร้างอาน-225 เพียงลำเดียวเท่านั้น แม้ว่าจะมีการสร้างโครงเครื่องบินที่สองที่มีโครงร่างที่แตกต่างกันเล็กน้อยก็ตาม เพราะไม่มีคำสั่งซื้อจากสายการบินใด หลังจากใช้งานสนับสนุนโครงการอวกาศของสหภาพโซเวียตในช่วงเวลาสั้น ๆ เครื่องบินก็ถูกระงับการใช้งานในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ในช่วงเปลี่ยนศตวรรษ ได้มีการตัดสินใจปรับปรุงอาน-225 และนำกลับมาใช้ใหม่สำหรับการดำเนินการเชิงพาณิชย์ โดยใช้ในการขนส่งสินค้าที่มีขนาดใหญ่พิเศษ อานโตนอฟได้มีการประกาศหลายครั้งเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการสร้างเครื่องบินลำที่สองให้เสร็จ อย่างไรก็ตาม การก่อสร้างส่วนใหญ่ยังคงถูกระงับไว้เนื่องจากขาดเงินทุน ในปี 2009 มีรายงานว่าการก่อสร้างดำเนินการแล้วเสร็จ 60–70%

ด้วยน้ำหนักการบินขึ้นสูงสุดที่ 640 ตัน อาน-225 ได้สร้างสถิติหลายรายการ เช่น เครื่องบินที่มีน้ำหนักมากที่สุด เครื่องบินที่มีพื้นที่ปีกกว้างที่ใหญ่ที่สุด เป็นต้น โดยทั่วไปอาน-225 จะขนส่งวัตถุที่ไม่เคยถูกเคลื่อนย้ายทางอากาศมาก่อน เช่น เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 130 ตัน ใบพัดกังหันลม และหัวรถจักรดีเซล นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ทั้งจีนและรัสเซียได้ประกาศแผนการแยกกันในการปรับแต่งอาน-225 เพื่อใช้ในโครงการอวกาศของตน มรียามักจะดึงดูดความสนใจของสาธารณชนในระดับสูง จากขนาดและความเป็นเอกลักษณ์

เครื่องบิน อาน-225 ลำเดียวที่สร้างเสร็จถูกทำลายในสงครามท่าอากาศยานอันตอนอว์ระหว่างการรุกรานยูเครนของรัสเซียในปี 2022 เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 2022 ประธานาธิบดียูเครน วอลอดือมือร์ แซแลนสกึย ประกาศแผนการที่จะสร้างอาน-225 ลำที่สองให้เสร็จเพื่อทดแทนเครื่องบินที่ถูกทำลาย อานโคนอฟประกาศแผนการสร้างเครื่องบินที่ถูกทำลายขึ้นใหม่ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2022

การพัฒนา

[แก้]

การพัฒนาอานโตนอฟ อาน-225 เริ่มต้นในปี 1984 โดยได้รับการร้องขอจากรัฐบาลโซเวียตสำหรับเครื่องบินลำเลียงขนาดใหญ่เพื่อทดแทน มยาซิชชอฟ เวเอ็ม-เต[2] ด้วยข้อกำหนดเฉพาะของคำขอนี้ คือ อากาศยานนี้ต้องมีน้ำหนักบรรทุกสูงสุด 231,838 กิโลกรัม (511,116 ปอนด์) ในขณะที่จะต้องสามารถขึ้นบินและลงจอดในความยาวทางวิ่ง 3,500 เมตร (11,500 ฟุต) ตามที่กำหนดไว้แต่แรก โดยรวมแล้วภารกิจและวัตถุประสงค์นั้นเหมือนกันกับเครื่องบินบรรทุกกระสวยอวกาศของสหรัฐอเมริกา โดยได้รับการออกแบบให้ขนส่งจรวดเอนเนอร์เจียและยานโคจรชั้นบูรัน สำหรับโครงการอวกาศของโซเวียต[3][2]

อาน-225 ขณะขนส่งยานอวกาศบูรัน (1.01) ในปี 1989

ด้วยเหตุนี้ อานโตนอฟจึงตัดสินใจที่จะผลิตรุ่นแยกของเครื่องบินลำเลียงอานโตนอฟ อาน-124 ที่มีอยู่เดิม แม้ว่าความจุสินค้ามีเพียงครึ่งของความต้องการ[2] เครื่องบินถูกยืดออกโดยการเพิ่มส่วนลำตัวด้านหน้าและท้ายเครื่องบิน ในขณะที่ศูนย์ปีกที่ขยายใหญ่ขึ้นได้รับการออกแบบให้ติดตั้งเครื่องยนต์ Progress D-18T เพิ่มเติมอีกคู่ จากสี่เป็นหกเครื่อง นอกจากนี้ ยังจำเป็นต้องมีส่วนหางใหม่เพื่อรองรับกระแสลมวนที่เกิดจากการบรรทุกสินค้าภายนอกขนาดใหญ่บริเวณลำตัวส่วนบนของเครื่องบิน[3] แม้จะมีความแปลกใหม่ในขนาดของมัน แต่การออกแบบของอาน-225 นั้นไม่ได้มีความแตกต่างจากลำอื่นๆ[4] โครงการนี้มีหัวหน้านักออกแบบ คือ วิคเตอร์ โทลมาชอฟ[5]

อานโตนอฟ อาน-225 กับบูรันที่เลอ บูร์เกต์ในปี 1989

ในวันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ. 1988 อานโตนอฟ อาน-225 ทำการบินเป็นครั้งแรก[6][7] โดยเปิดตัวตัวต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรกนอกสหภาพโซเวียตที่งานปารีสแอร์โชว์ ค.ศ. 1989 โดยมีการนำเสนอขณะบรรทุกยานอวกาศบูรัน[8] หนึ่งปีต่อมา อาน-225 ได้ทำการบินแสดงต่อสาธารณะในงานฟรานโบโรห์แอร์โชว์ ในขณะที่มีการสั่งซื้อเครื่องบินสองลำ มีเพียงลำเดียว (ทะเบียน CCCP-82060 ต่อมาคือ UR-82060[9]) ที่ถูกสร้างขึ้น มันสามารถบรรทุกสินค้าหนักพิเศษและขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักมากถึง 250,000 กก. (550,000 ปอนด์)[3] หรือ 200,000 กก. (440,000 ปอนด์) ที่ลำตัวส่วนบน สินค้าบนลำตัวส่วนบนสามารถมีความยาวได้ถึง 70 ม. (230 ฟุต)[10]

อาน-225 ลำที่สองถูกสร้างขึ้นบางส่วนในช่วงปลายทศวรรษ 1980 สำหรับโครงการอวกาศของสหภาพโซเวียต อย่างไรก็ตาม การทำงานบนโครงเครื่องบินถูกระงับหลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ภายในปี 2000 ความต้องการอาน-225 เพิ่มเติมได้ชัดเจนขึ้น ในช่วงเดือนกันยายน ค.ศ. 2006 มีการตัดสินใจว่าอาน-225 ลำที่สองจะเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งเป็นผลงานที่มีอยู่ช่วงหนึ่งซึ่งมีกำหนดจะเกิดขึ้นประมาณปี 2008 อย่างไรก็ตาม งานดังกล่าวต้องล่าช้าอีก[11] ภายในเดือนสิงหาคม 2009 เครื่องบินยังไม่เสร็จสมบูรณ์และงานถูกละทิ้ง[12][13] ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2011 ซีอีโอของอานโตนอฟรายงานว่าการดำเนินการก่อสรา้งอาน-225 ลำที่สองต้องใช้เงินอย่างน้อย 300 ล้านดอลลาร์ การจัดหาเงินทุนที่เพียงพอจะทำให้สำเร็จลุล่วงได้ภายในสามปี[14] ตามแหล่งข่าวต่างๆ เครื่องบินลำที่สองสร้างเสร็จ 60–70% ภายในปี 2016[15][16][17]

อาน-225 ในงานฟรานโบโรห์แอร์โชว์ ปี1990

การคืนชีพกิจกรรมอวกาศของอาน-225 ได้รับการประกาศซ้ำแล้วซ้ำเล่าและมีการคาดเดาไปมากมาย ในช่วงต้นทศวรรษ 2000 มีการศึกษาเกี่ยวกับการผลิตอานโตนอฟ อาน-325 ซึ่งเป็นการพัฒนาอาน-225 ต่อ จะเป็นรุ่นที่มีแปดเครื่องยนต์ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ร่วมกับยานอวกาศ MAKS ที่กำลังพัฒนาของรัสเซีย[18] ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2013 รัฐบาลรัสเซียได้ประกาศแผนการรื้อฟื้นโครงการส่งทางอากาศในยุคโซเวียต ซึ่งดัดแปลงอาน-225 ให้สามารถใช้งานตามวัตถุประสงค์เพื่อเป็นฐานปล่อยยานกลางอากาศ[19]

ในเดือนพฤษภาคม 2017 จาง ยู-เซิง ประธานบริษัทแอร์สเปซอินดัสทรีคอร์ปอเรชันของจีน (AICC) แจ้งกับนักข่าวบีบีซีว่า AICC ได้พิจารณาความร่วมมือกับอานโตนอฟเป็นครั้งแรกในปี 2009 และติดต่อกับพวกเขาในอีกสองปีต่อมา AICC ตั้งใจที่จะปรับปรุงอาน-225 ลำที่สองที่ยังสร้างไม่เสร็จให้ทันสมัย และพัฒนาให้เป็นฐานปล่อยดาวเทียมกลางอากาศที่ระดับความสูงไม่เกิน 12,000 ม. (39,000 ฟุต)[6] สื่อด้านการบินตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับการเริ่มการผลิตใหม่ โดยคาดการณ์ว่าความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่กำลังดำเนินอยู่จะทำให้ไม่สามารถส่งมอบส่วนประกอบที่จำเป็นต่างๆ ที่มาจากรัสเซียได้ อาจเป็นไปได้ที่จีนจะผลิตแทน[20] โครงการดังกล่าวไม่ได้เดินหน้าต่อไป แต่บริษัท UkrOboronProm ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของอานโตนอฟยังคงหาพันธมิตรเพื่อสร้างโครงเครื่องบินที่สองให้เสร็จ[21]

เมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 2020 อานโตนอฟ อาน-225 ลำแรกได้เริ่มเที่ยวบินทดสอบหลายเที่ยวบินจากท่าอากาศยานฮอสตอแมลใกล้กรุงเคียฟ หลังจากให้บริการมานานกว่าหนึ่งปี เพื่อติดตั้งระบบการจัดการและควบคุมพลังงานที่ออกแบบในประเทศ[22]

รุ่น

[แก้]
อาน-224

เดิมถูกเสนอ โดยมีการติดตั้งประตูสินค้าไว้ด้านหลังของลำ ไม่มีการสร้าง

อาน-225

รุ่นที่ไม่มีประตูสินค้าด้านหลัง สร้าขึ้นหนึ่งลำ อีกหนึ่งลำยังอยู่ระหว่างการสร้าง

อาน-225-100

รุ่นของอาน-225 ในการออกแบบใหม่ในปี 2000 มีการปรับปรุงระบบแจ้งเตือนการชนกันกลางอากาศ (TCAS) ระบบการติดต่อสื่อสาร ระบบนำทาง และการลดเสียงภายในห้องโดยสาร

อาน-325

รุ่นเสนอ โดยจะเป็นการขยายอาน-225 เดิม จะมีการพัฒนาต่อให้มีขนาดใหญ่ขึ้นและมีแปดเครื่องยนต์ โดยจะใช้ในการปล่อยจรวดเข้าสู่วงโคจร เดิมออกแบบมาให้โครงการมากส์ (MAKS) โครงการอาน-325 พัฒนาต่อจนเป็นการร่วมมือระหว่างบริติชแอโรสเปซและกระทรวงการบินของสหภาพโซเวียตในฐานะส่วนหนึ่งของโปรแกรมอินเทอร์ริม เฮชโอโอแอล ไม่มีการสร้าง

ผู้ให้บริการ

[แก้]

สหภาพโซเวียต สหภาพโซเวียต

ยูเครน ยูเครน

ข้อมูลจำเพาะ

[แก้]
แผนภาพเปรียบเทียบอากาศยานขนาดใหญ่ 4 รุ่น:
  อานโตนอฟ อาน-225 มรียา

ข้อมูลจาก อานโตนอฟเฮวีทรานส์ปอร์ต[23], และอื่นๆ[24][25]

  • ลูกเรือ: 6
  • ความจุ: 190 ตัน (420,000 ปอนด์)
  • ความยาว: 84 เมตร (275 ฟุต 7 นิ้ว)
  • ความยาวปีก: 88.4 เมตร (290 ฟุต 0 นิ้ว)
  • ความสูง: 18.1 เมตร (59 ฟุต 5 นิ้ว)
  • พื้นที่ปีก: 905 เมตร2 (9,740 ตารางฟุต)
  • อัตราส่วน: 8.6
  • น้ำหนักเครื่องเปล่า: 285,000 kg (628,317 lb)
  • น้ำหนักขึ้นบินสูงสุด: 640,000 kg (1,410,958 lb)
  • ความจุเช่อเพลิง: มากกว่า 300,000 กิโลกรัม (660,000 ปอนด์) 375,000 ลิตร (82,488 แกลลอน; 99,065 แกลลอนอเมริกัน)
  • ความจุสินค้า: volume 1,300 m3 (46,000 cu ft), 43.35 m (142.2 ft) long × 6.4 m (21 ft) wide × 4.4 m (14 ft) tall
  • เครื่องยนต์: 6 × Progress D-18T turbofans, แรงผลักดัน 229.5 กิโลนอต (51,600 ปอนด์ฟอร์ซ)
  • ความเร็วสูงสุด: 850 กิโลเมตร/ชั่วโมง (530 ไมล์/ชั่วโมง, 460 นอต)
  • ความเร็วขณะบิน: 800 กิโลเมตร/ชั่วโมง (500 ไมล์/ชั่วโมง, 430 นอต)
  • พิสัยการบิน: 15,400 กิโลเมตร (9,600 ไมล์, 8,300 ไมล์ทะเล) ด้วยความจุเชื้อเพลิงสูงสุด; พิสัยการบินด้วยน้ำหนักเครื่อง 200 ตัน: 4,000 กิโลเมตร (2,500 ไมล์)
  • เพดานบิน: 11,000 เมตร (36,000 ฟุต)
  • แรงดันต่อปีก: 662.9 กิโลกรัม/เมตร2 (135.8 ปอนด์/ตารางฟุต)
  • อัตราส่วนแรงดันต่อน้ำหนัก: 0.234

เครื่องบินที่ใกล้เคียงกัน

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Aerospaceweb.org | Ask Us - Largest Plane in the World". aerospaceweb.org.
  2. 2.0 2.1 2.2 Tai, Horng-Jer (July 2007). "Dielectric spectroscopy of poly(butylene succinate) films". Polymer. 48 (15): 4558–4566. doi:10.1016/j.polymer.2007.05.043. ISSN 0032-3861.
  3. 3.0 3.1 3.2 "Antonov Giants: An-22, An-124, & An-225". www.airvectors.net.
  4. Tai, Horng-Jer (July 2007). "Dielectric spectroscopy of poly(butylene succinate) films". Polymer. 48 (15): 4558–4566. doi:10.1016/j.polymer.2007.05.043. ISSN 0032-3861.
  5. "Volga-Dnepr Group Celebrates 80th Birthday of Legendary Chief Designer of the An-124 and An-225 Transport Aircraft". www.volga-dnepr.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 June 2018. สืบค้นเมื่อ 11 June 2023.
  6. 6.0 6.1 Skyba, Christian Borys / Pictures by Anton. "The world's biggest plane may have a new mission". www.bbc.com (ภาษาอังกฤษ).
  7. Tai, Horng-Jer (July 2007). "Dielectric spectroscopy of poly(butylene succinate) films". Polymer. 48 (15): 4558–4566. doi:10.1016/j.polymer.2007.05.043. ISSN 0032-3861.
  8. Tai, Horng-Jer (July 2007). "Dielectric spectroscopy of poly(butylene succinate) films". Polymer. 48 (15): 4558–4566. doi:10.1016/j.polymer.2007.05.043. ISSN 0032-3861.
  9. "Aviation Photo #1154941: Antonov An-225 Mriya - Antonov Design Bureau". Airliners.net.
  10. "AN-225 Mriya". web.archive.org. 28 July 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 July 2012. สืบค้นเมื่อ 11 June 2023.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  11. "Antonov AN-225 MRIYA Russian Cargo 6 Engine Aircraft Information, History, Pictures and Facts". www.aviationexplorer.com.
  12. "VIDEO: World's largest aircraft, An-225, emerges to set new lift record". web.archive.org. 20 August 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 August 2009. สืบค้นเมื่อ 11 June 2023.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  13. "Buran-Energia The Mriya 2". web.archive.org. 18 December 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 December 2014. สืบค้นเมื่อ 11 June 2023.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  14. "Ukrainian Journal". www.ukrainianjournal.com.
  15. "Ukraine may finish the construction of second An-225 Mriya transport aircraft - RUSSIAN AVIATION". www.ruaviation.com.
  16. Trimble2016-08-31T20:28:49+01:00, Stephen. "An-225 revival proposed in new Antonov-China pact". Flight Global (ภาษาอังกฤษ).
  17. Yeo, Mike. "Antonov Sells Dormant An-225 Heavylifter Program to China". Aviation International News (ภาษาอังกฤษ).
  18. Tai, Horng-Jer (July 2007). "Dielectric spectroscopy of poly(butylene succinate) films". Polymer. 48 (15): 4558–4566. doi:10.1016/j.polymer.2007.05.043. ISSN 0032-3861.
  19. Правительство задумалось о "Воздушном старте". Interfax (in Russian). 23 April 2013. Retrieved 29 April 2013.
  20. Staff, Editorial (14 September 2016). "Worlds Largest Airplane Back In Play". AVweb (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  21. "Ukraine mulling to complete the second Antonov An-225 Mriya - AeroTime" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 4 February 2021.
  22. Kaminski-Morrow2020-03-26T16:21:00+00:00, David. "An-225 returns to flight after modernisation". Flight Global (ภาษาอังกฤษ).
  23. Gordon, Yefim; Komissarov, Dmitriy; Komissarov, Sergey (3 September 2004). "The Six-Engined Dream". Antonov's Heavy Transports: Big Lifters for War & Peace. Red Star. Vol. 18. Midland. ISBN 978-1857801828. OCLC 173497301. OL 9001238M.
  24. "An-225 heavy load cargo aircraft, Antonov OKB". web.archive.org. 31 October 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 October 2015. สืบค้นเมื่อ 11 June 2023.
  25. "Antonov An-225 Mriya (Cossack)". www.militaryfactory.com.