ข้ามไปเนื้อหา

อึ่ง หสิตะเสน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อึ่ง หสิตะเสน
เกิดอึ่ง อภัยกุล ณ อยุธยา
คู่สมรสกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
เปล่ง หสิตะเสน
บุตรปริก หสิตะเสน
แส หสิตะเสน
บิดามารดาหม่อมหลวงชม อภัยกุล

อึ่ง หสิตะเสน เดิมคือ เจ้าจอมอึ่ง เป็นอดีตพระสนมในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ เป็นนางละครในเจ้าคุณจอมมารดาเอม หม่อมครูอึ่งเป็นผู้วางรากฐาน และเป็นผู้ถ่ายทอดท่ารำละครตัวพระ ทั้งหมดของคณะละครวังสวนกุหลาบ ภายหลังจากกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญทิวงคตแล้วได้กราบบังคมทูลลาออกจากพระราชวังบวรสถานมงคล[1]

ประวัติ

[แก้]

อึ่งเป็นธิดาของหม่อมหลวงชม อภัยกุล[ต้องการอ้างอิง] ต่อมาได้เข้ามาเป็นตัวละครในเจ้าคุณจอมมารดาเอม ซึ่งคณะละครนั้นได้ตกทอดไปถึงกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญพระราชโอรสในเจ้าคุณจอมมารดาเอม ต่อมาได้ถวายตัวเป็นพระสนมในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญมีบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าจอมอึ่ง[2]

ต่อมาจากกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญทิวงคตแล้วได้กราบบังคมทูลลาออกจากพระราชวังบวรสถานมงคล ไปสมรสกับเปล่ง หสิตะเสน มีบุตรธิดา 2 คนคือ

  1. ปริก (ช.) เป็นพระอาจารย์สอนตีขิมแก่เจ้านายหลายพระองค์
  2. แส (ญ.)

ภายหลังได้เข้ามาเป็นครูละครวังสวนกุหลาบ เป็นผู้วางรากฐาน และเป็นผู้ถ่ายทอดท่ารำละครตัวพระ ทั้งหมดของคณะละครวังสวนกุหลาบ อึ่งมีความเชี่ยวชาญในกระบวนลีลาท่ารำตัวพระทุกประเภท ได้เป็นครูให้กับละครคณะต่างๆ อาทิ ละครหลวงในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว อึ่งสิ้นชีวิตเมื่อใดไม่ปรากฏ แต่สันนิษฐานว่าสิ้นชีวิตหลังหม่อมครูนุ่ม[3]

ผลงาน

[แก้]
  1. ท่ารำเพลงช้าเพลงเร็วของตัวพระที่เป็นแบบแผนของวิทยาลัยนาฏศิลปในปัจจุบัน ซึ่งคุณครู ลมุล ยมะคุปต์ ได้เป็นผู้วางรูปแบบไว้
  2. กระบวนท่ารำของ พระอรชุน พระอินทร์ ในเรื่องรามเกียรติ์
  3. กระบวนท่ารำของท้าวสามล พระสังข์ ในเรื่องสังข์ทอง
  4. กระบวนท่ารำ พระอุณรุท พระบรมจักรกฤษณ์ ในเรื่องอุณรุท
  5. กระบวนท่ารำ จรกา ในเรื่อง อิเหนา
  6. กระบวนท่ารำ รามปรศุ พระคเณศร์ ในเรื่องอิเหนา

อึ่งมีศิษย์คนสำคัญอาทิ ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี[4] และเฉลย ศุขะวณิช ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง พ.ศ. 2530[5] และครูลมุล ยมะคุปต์

อ้างอิง

[แก้]
  1. "หม่อมครูอึ่ง หสิตะเสน". ช่างรำ. 13 มีนาคม 2555. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. ศันสนีย์ วีระศิลปชัย, อักขรานุกรมประวัติศาสตร์ไทย, หน้า 46
  3. "การสืบทอดท่ารำ". บ้านจอมยุทธ์. 13 มีนาคม 2555. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. หม่อมครูอึ่ง หสิตะเสน[ลิงก์เสีย]
  5. นางเฉลย ศุขะวณิช