เขตชูโอ (โตเกียว)
เขตชูโอ 中央区 | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
Chūō City นครชูโอ | |||||||||||
ทิวทิศน์ของเขตชูโอริมแม่น้ำซูมิดะ | |||||||||||
ที่ตั้งของเขตชูโอ (เน้นสีม่วง) ในมหานครโตเกียว | |||||||||||
พิกัด: 35°40′N 139°46′E / 35.667°N 139.767°E | |||||||||||
ประเทศ | ญี่ปุ่น | ||||||||||
ภูมิภาค | คันโต | ||||||||||
จังหวัด | มหานครโตเกียว | ||||||||||
การปกครอง | |||||||||||
• นายกเทศมนตรี | ไทโตะ ยามาโมโตะ (山本 泰人) | ||||||||||
พื้นที่ | |||||||||||
• ทั้งหมด | 10.21 ตร.กม. (3.94 ตร.ไมล์) | ||||||||||
ประชากร (1 พฤษภาคม 2015) | |||||||||||
• ทั้งหมด | 141,454 คน | ||||||||||
• ความหนาแน่น | 13,850 คน/ตร.กม. (35,900 คน/ตร.ไมล์) | ||||||||||
เขตเวลา | UTC+09:00 (JST) | ||||||||||
ที่อยู่สำนักงานเขต | Tsukiji 1-1-1 Chuo-ku, Tokyo 104-8404 | ||||||||||
เว็บไซต์ | www | ||||||||||
|
เขตชูโอ (ญี่ปุ่น: 中央区; โรมาจิ: Chūō-ku) เป็น 1 ใน 23 เขตพิเศษของโตเกียว ชูโอเป็นเขตศูนย์กลางพาณิชย์กรรมที่สำคัญของโตเกียวมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ถึงแม้ว่าจะมีย่านชินจูกุซึ่งถูกพัฒนาขึ้นมาภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองขึ้นมาแทนก็ตาม สถานที่ที่มีชื่อเสียงที่สุดในเขตนี้คือ ย่านกินซะ (銀座) ซึ่งในอดีตเคยเป็นโรงกษาปณ์มาก่อน โดยที่ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นก็ตั้งอยู่ในเขตนี้
ในปี พ.ศ. 2551 เขตชูโอมีจำนวนประชากรประมาณ 108,943 คน มีความหนาแน่นประชากร 9,654 คนต่อตารางกิโลเมตร อย่างไรก็ตามด้วยการเป็นศูนย์กลางอาคารสำนักงานและธุรกิจการค้าที่สำคัญ ในช่วงเวลากลางวันอาจจะมีจำนวนประชากรกว่า 650,000 คน ในเขตชูโอ
ภูมิศาสตร์
[แก้]ชูโอตั้งอยู่ใจกลางโตเกียว มีอาณาเขตติดกับเขตการปกครองอื่น คือ ชิโยดะ มินาโตะ ไทโต ซูมิดะ และโคโต ในด้านการบริหาร แบ่งการปกครองออกเป็น 3 พื้นที่ คือ นิฮมบาชิ เคียวบาชิ และสึกิชิมะ โดยสองพื้นที่แรกเป็นศูนย์กลางพาณิชยกรรมที่สำคัญ ประกอบด้วยสถานที่ที่มีชื่อเสียงเช่น แขวงกินซะและแขวงสึกิจิ ส่วนพื้นที่สึกิชิมะเป็นเกาะแยกออกจากแผ่นดินใหญ่เป็นย่านที่พักอาศัยหนาแน่น
เศรษฐกิจ
[แก้]ชูโอเป็นเขตที่ตั้งของอาคารสำนักงานใหญ่หลายบริษัท เช่น บริษัทริโคห์[1], กลุ่มซุมิโตะโมะ[2], บริษัทมิตซุย ฟุโดะซัน[3], หนังสือพิมพ์อาซาฮีชิมบุน, บริษัทอะซัตซุ ดีเค, บริษัทนิฮน เอดี ซิสเต็ม[4][5][6], บริษัทโอเรียนท์บริวเวอร์รี[7], บริษัทอายิโนะโมะโต๊ะ[8], กลุ่มบริษัทโนะมุระ[9] นอกจากนี้ยังมีบริษัทข้ามชาติอีก เช่น โตเกียวป็อป[10] และไอบีเอ็มสาขาประเทศญี่ปุ่น[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Company Data เก็บถาวร 2009-02-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน." Ricoh. สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2009.
- ↑ "Corporate Profile." Sumitomo Corporation. สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2009.
- ↑ "Corporate Data." Mitsui Fudosan. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2009.
- ↑ "会社概要." Asahi Shimbun. สืบค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2010.
- ↑ "会社概要 เก็บถาวร 2011-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน." Nihon Ad Systems. สืบค้ยเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2010.
- ↑ "Relation เก็บถาวร 2009-10-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน." Asatsu DK. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2009.
- ↑ "会社概要 - オリオンビール." Orion Breweries. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2009.
- ↑ "Toward the realization of "Ajinomoto Group Zero Emissions" Chuo Ace Logistics Corporation achieves "Green Management Certification" Chuo Ace Logistics Corporation promotes environmentally friendly logistics เก็บถาวร 2017-09-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน." Ajinomoto. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2010.
- ↑ "Nomura Group." Nomura Group. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2010.
- ↑ "Contact Us เก็บถาวร 2009-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน." Tokyopop. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2009.
- ↑ "IBM Japan." IBM. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2009.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Chūō, Tokyo
- คู่มือการท่องเที่ยว Chuo จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)
- เว็บไซต์ทางการเขตชูโอ (ในภาษาญี่ปุ่น)
- สมาคมการท่องเที่ยวเขตชูโอ (ในภาษาญี่ปุ่น)