เจ้าชายยาซูฮิโกะ อาซากะ
เจ้าชายยาซูฮิโกะ | |
---|---|
อาซากะโนะมิยะ | |
ดำรงพระยศ | 10 มีนาคม ค.ศ. 1906 – 14 ตุลาคม ค.ศ. 1947 |
ผู้นำราชสกุลอาซากะ | |
ดำรงพระยศ | 10 มีนาคม ค.ศ. 1906 – 13 เมษายน ค.ศ. 1981 |
ประสูติ | 20 ตุลาคม ค.ศ. 1887 เกียวโต จักรวรรดิญี่ปุ่น |
สิ้นพระชนม์ | 12 เมษายน ค.ศ. 1981 อาตามิ จังหวัดชิซูโอกะ ประเทศญี่ปุ่น | (93 ปี)
พระชายา | เจ้าหญิงโนบูโกะ ฟูมิโนะมิยะ (ค.ศ. 1909–1933) |
พระบุตร |
|
พระบิดา | เจ้าชายอาซาฮิโกะ คูนิโนะมิยะ |
พระมารดา | ซูงาโกะ สึโนดะ |
ศาสนา | โรมันคาทอลิก (เดิมชินโต) |
เจ้าชายยาซูฮิโกะ อาซากะ | |
---|---|
รับใช้ | ญี่ปุ่น |
แผนก/ | กองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่น |
ประจำการ | 1908–1945 |
ชั้นยศ | นายพล |
บังคับบัญชา | กองทหารรักษาพระองค์แห่งจักรพรรดิญี่ปุ่น กองทัพประจำเซี่ยงไฮ้ |
การยุทธ์ | สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง สงครามโลกครั้งที่สอง |
บำเหน็จ | เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันสูงส่งยิ่งดอกเบญจมาศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย, ชั้นที่ 1 เครื่องราชอิสริยาภรณ์เหยี่ยวทองคำ, ชั้นที่ 1 |
พลเอก เจ้าชายยาซูฮิโกะ อาซากะโนะมิยะ (ญี่ปุ่น: 朝香宮鳩彦王; โรมาจิ: Asaka-no-miya Yasuhiko-ō, 20 ตุลาคม ค.ศ. 1887 – 12 เมษายน ค.ศ. 1981) หรือชื่อต่อมา ยาซูฮิโกะ อาซากะ (朝香鳩彦) เป็นเจ้านายชั้นอนุวงศ์ของราชวงศ์ญี่ปุ่น ทรงดำรงตำแหน่งเป็นนายทหารแห่งกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่น ทั้งยังเป็นพระชามาดาของจักรพรรดิเมจิ และพระปิตุลาของจักรพรรดิโชวะจากการเสกสมรส
เจ้าชายยาซูฮิโกะเป็นผู้บัญชาการของกองทัพญี่ปุ่นในการจู่โจมครั้งสุดท้ายต่อหนานจิง เมืองหลวงของฝ่ายชาตินิยมจีนในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1937 ทรงเป็นผู้ก่อการกระทำการสังหารหมู่หนานจิงในปี ค.ศ. 1937 แต่ทรงไม่เคยถูกตั้งข้อหาว่าเป็นอาชญากรสงครามเลย หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ทรงถูกปลดเป็นสามัญชนโดยฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงที่ญี่ปุ่นถูกยึดครอง พระองค์ทรงใช้ชีวิตอย่างสงบจนกระทั่งสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 1981 มีพระชันษา 93 ปี
อ้างอิง
[แก้]- Ammenthorp, The Generals of World War II
- Chen, World War II Database
- Iris Chang, The Rape of Nanking, 1997, p. 40
- Akira Fujiwara, Nitchû Sensô ni Okeru Horyo Gyakusatsu, Kikan Sensô Sekinin Kenkyû 9, 1995, p. 22
- "Prince Asaka Becomes Catholic" New York Times 18 December 1951
- Royal Decree of 1925/-Mémorial du centenaire de l'Ordre de Léopold. 1832-1932. Bruxelles, J. Rozez, 1933.