ข้ามไปเนื้อหา

เซอร์แคสเซีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เซอร์แคสเซีย

?–ค.ศ. 1864
ตราอาร์มเซอร์แคสเซียในเอกสารรัสเซีย
ตราแผ่นดิน
คำขวัญ"ศักดิ์ศรีมาก่อนชีวิต"
(อะดีเกยาและคาบาร์เดีย: Псэм ипэ напэ)
ขอบเขตของเซอร์แคสเซีย
ขอบเขตของเซอร์แคสเซีย
เขตการปกครองที่ปรับปรุงใหม่ใน ค.ศ. 1860 ตามกฤษฎีกาฉบับหนึ่งของรัฐสภาแห่งเอกราช
เขตการปกครองที่ปรับปรุงใหม่ใน ค.ศ. 1860 ตามกฤษฎีกาฉบับหนึ่งของรัฐสภาแห่งเอกราช
ถิ่นพำนักของผู้นำ (เมืองหลวง)
เมืองใหญ่สุดชาชา
ภาษาราชการภาษากลุ่มเซอร์แคสเซีย
ภาษาอื่น ๆ
ศาสนา
การปกครองสหภาพสภาภูมิภาค[1][2]
สภานิติบัญญัติLepq Zefes
รัฐสภาแห่งเอกราช (ค.ศ. 1860–1864)
ประวัติศาสตร์ 
• ก่อตั้ง
?
ค.ศ. 1763–1864
• สิ้นสุด
ค.ศ. 1864
พื้นที่
• รวม
82,000 ตารางกิโลเมตร (32,000 ตารางไมล์)
ประชากร
• ประมาณ
1,625,000 คน (ก่อนการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวเซอร์แคสเซีย)
86,655 คน (หลังการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวเซอร์แคสเซีย)[3][4][5][6][7]
สกุลเงินไม่มีสกุลเงินอย่างเป็นทางการ เหรียญออตโตมันเป็นสกุลเงินโดยพฤตินัย
Location of เซอร์แคสเซีย
เซอร์แคสเซียในรัชสมัยของเยอนาลผู้แผ่รัศมี (ราว ค.ศ. 1450)
ก่อนหน้า
ถัดไป
ซีคีอา
จักรวรรดิรัสเซีย
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย
จอร์เจีย

เซอร์แคสเซีย (อังกฤษ: Circassia), เชียร์เคสเซีย (อังกฤษ: Cherkessia), ซีคีอา (กรีก: Ζιχία),[8][9][10] อาเดอฆาฆัก (อะดีเกยาและคาบาร์เดีย: Адыгэ Хэку; แปลว่า บ้านเกิดเซอร์แคสเซีย) หรือ ฆาเกฺวิฌ (อะดีเกยาและคาบาร์เดีย: Хэкужъ; แปลว่า บ้านเกิดโบราณ) เป็นภูมิภาคประวัติศาสตร์ทางด้านเหนือของเทือกเขาคอเคซัส ตั้งอยู่ตลอดแนวชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของทะเลดำ[11][12]

ประวัติศาสตร์ยุคแรกเริ่มของชนชาติเซอร์แคสเซียค่อนข้างคลุมเครือ พวกเขาได้รับการกล่าวถึงครั้งแรกเมื่อสหัสวรรษที่ 1 ก่อนคริสต์ศักราช[13] แม้ว่าชาวกรีกจะไม่ได้จัดตั้งอาณานิคมภายในดินแดนเซอร์แคสเซีย แต่พวกเขาก็เข้ามาติดต่อทำการค้าและมีอิทธิพลอย่างชัดเจนในแถบชายฝั่งทะเลดำของเซอร์แคสเซีย[14] หลังจากนั้นเซอร์แคสเซียก็ได้รับอิทธิพลหรือตกอยู่ภายใต้การควบคุมของชนชาติอื่น ๆ ซึ่งได้แก่ชาวโรมัน ชาวคาซาร์ ชาวมองโกล ชาวตาตาร์ไครเมีย ชาวเติร์ก และชาวรัสเซีย[14]

ในสมัยกลาง แว่นแคว้นน้อยใหญ่ในเซอร์แคสเซียจะเลือกตั้งเจ้าชายพระองค์หนึ่งขึ้นมาเป็นผู้ปกครองสูงสุดในนาม โดยแว่นแคว้นและเผ่าชนแต่ละแห่งในพื้นที่มีความเป็นอิสระสูง ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ภูมิภาคคอเคซัสถูกจักรวรรดิมองโกลรุกราน จากนั้นก็ตกอยู่ภายใต้อำนาจของรัฐข่านไครเมียอยู่นานหลายร้อยปีจนกระทั่งชาวเซอร์แคสเซียลุกขึ้นต่อต้านใน ค.ศ. 1708 ส่วนจักรวรรดิรัสเซียเริ่มสนใจขยายอำนาจเหนือคอเคซัสอย่างจริงจังในสมัยจักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1[14] ถึงกระนั้น สนธิสัญญาเบลเกรดซึ่งได้รับการลงนามเมื่อ ค.ศ. 1739 ก็เปิดโอกาสให้ชาวเซอร์แคสเซียตะวันออก (ชาวคาบาร์เดีย) มีอิสระในการปกครองตนเองในระดับหนึ่ง

ก่อนการลงนามในสนธิสัญญาเอเดรียโนเปิลเมื่อ ค.ศ. 1829 แม่น้ำคูบันทำหน้าที่เป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างรัสเซียกับเซอร์แคสเซีย อย่างไรก็ตาม ตามสนธิสัญญานี้ จักรวรรดิออตโตมันยอมสละอิทธิพลเหนือภูมิภาคคอเคซัสโดยเปิดทางให้แก่รัสเซีย ชาวเซอร์แคสเซียถือว่าความตกลงดังกล่าวเป็นโมฆะเนื่องจากเห็นว่าจักรวรรดิออตโตมันไม่มีสิทธิ์ยกดินแดนที่ตนเองไม่เคยเป็นเจ้าของให้แก่ใคร[15][16] ในขณะเดียวกันรัสเซียก็ถือว่าพื้นที่นี้เป็นดินแดนรัสเซียที่อยู่ภายใต้การยึดครองของกลุ่มกบฏ ถึงแม้ตนเองจะไม่เคยควบคุมหรือเป็นเจ้าของพื้นที่บริเวณนี้มาก่อนเช่นกัน[17] รัสเซียส่งทหารเข้าปราบปรามและกำจัดกลุ่มชนคอเคซัสที่ต่อต้านการผนวกดินแดน[18] ส่งผลให้ชาวเซอร์แคสเซียประมาณร้อยละ 90 ถูกเนรเทศหรือไม่ก็ถูกสังหารหมู่ระหว่างการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวเซอร์แคสเซีย[19][20][21][22][23]

แม้ว่าเซอร์แคสเซียจะเป็นบ้านเกิดดั้งเดิมของชาวเซอร์แคสเซีย แต่ทุกวันนี้ชาวเซอร์แคสเซียส่วนใหญ่อาศัยอยู่ต่างถิ่นซึ่งเป็นผลมาจากเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ดังกล่าว[24][25][26][27] ในรัสเซีย ชาวเซอร์แคสเซียจำนวนมากอาศัยอยู่ในพื้นที่ราบทางตอนเหนือของเทือกเขาคอเคซัส ในขณะที่บางส่วนอาศัยอยู่บริเวณเชิงเขาและส่วนน้อยอาศัยอยู่บนพื้นที่สูงและภูเขา วิถีชีวิตดั้งเดิมของพวกเขาเกี่ยวข้องกับการทำปศุสัตว์ การทำไร่ และการปลูกไม้ผล[14]

อ้างอิง

[แก้]
  1. เซอร์แคสเซียมีลักษณะเป็นสมาพันธรัฐที่ประกอบด้วยรัฐบาลสี่ระดับ ได้แก่ สภาหมู่บ้าน สภาเขต สภาแคว้น และสภาประชาชน เซอร์แคสเซียไม่มีผู้ปกครองกลางจนกระทั่งคริสต์ทศวรรษ 1800 โดยเริ่มมีผู้นำเชิงสัญลักษณ์ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1800 และรัฐบาลกลางเริ่มก่อตัวขึ้นในช่วงกลางถึงปลายคริสต์ทศวรรษ 1800
  2. "Dünyayı yıkımdan kurtaracak olan şey : Çerkes tipi hükümet sistemi". Ghuaze. 5 November 2022.
  3. “Алфавитный список народов, обитающих в Российской Империи” เก็บถาวร 5 กุมภาพันธ์ 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Демоскоп Weekly, № 187 - 188, 24 января - 6 февраля 2005 ve buradan alınma olarak: Papşu, Murat. Rusya İmparatorluğu’nda Yaşayan Halkların Alfabetik Listesinde Kafkasyalılar เก็บถาวร 18 เมษายน 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. Genel Komite, HDP (2014). "The Circassian Genocide". www.hdp.org.tr (ภาษาตุรกี). สืบค้นเมื่อ 2020-09-26.
  5. Richmond, Walter (2013-04-09). The Circassian Genocide (ภาษาอังกฤษ). Rutgers University Press. ISBN 978-0-8135-6069-4.
  6. Geçmişten günümüze Kafkasların trajedisi: uluslararası konferans, 21 Mayıs 2005 (ภาษาตุรกี). Kafkas Vakfı Yayınları. 2006. ISBN 978-975-00909-0-5.
  7. "Tarihte Kafkasya - ismail berkok - Nadir Kitap". NadirKitap (ภาษาตุรกี). สืบค้นเมื่อ 2020-09-26.
  8. де Галонифонтибус И., 1404, I. Таты и готы. Великая Татария: Кумания, Хазария и другие. Народы Кавказа (Гл. 8), Прим. 56..
  9. де Галонифонтибус И., 1404, II. Черкесия (Гл. 9).
  10. Хотко С. К. Садзы-джигеты.
  11.  Chisholm, Hugh, บ.ก. (1911). "Circassia" . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 6 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. pp. 380–381.
  12. Evliya Çelebi, Seyahatnâme, II, 61-70; VII, 265-295
  13. Jaimoukha, Amjad (2014). The Circassians: A Handbook. Routledge. p. 11.
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 "Circassian". Britannica. Encyclopaedia Britannica. สืบค้นเมื่อ 2023-05-05.
  15. Bashqawi, Adel (2017-12-05). "The Treaty of Adrianople – The Trojan Horse to Occupy Circassia". LinkedIn (ภาษาอังกฤษ).
  16. King, Charles. The Ghost of Freedom: A History of the Caucasus. pp. 92–93.
  17. Richmond, Walter (9 April 2013). The Circassian Genocide. Rutgers University Press. ISBN 978-0-8135-6069-4.
  18. Jaimoukha, Amjad (2005). The Chechens: A Handbook. Routledge. p. 44.
  19. Genel Komite, HDP (2014). "The Circassian Genocide". www.hdp.org.tr (ภาษาตุรกี). สืบค้นเมื่อ 2020-09-26.
  20. Richmond, Walter (2013-04-09). The Circassian Genocide (ภาษาอังกฤษ). Rutgers University Press. ISBN 978-0-8135-6069-4.
  21. Geçmişten günümüze Kafkasların trajedisi: uluslararası konferans, 21 Mayıs 2005 (ภาษาตุรกี). Kafkas Vakfı Yayınları. 2006. ISBN 978-975-00909-0-5.
  22. "UNPO: The Circassian Genocide". unpo.org. สืบค้นเมื่อ 2020-09-26.
  23. "Tarihte Kafkasya - ismail berkok | Nadir Kitap". NadirKitap (ภาษาตุรกี). สืบค้นเมื่อ 2020-09-26.
  24. Richmond, Walter (2013). The Circassian Genocide. Rutgers University Press. p. 130. ISBN 978-0813560694.
  25. Zhemukhov, Sufian (2008). "Circassian World Responses to the New Challenges" (PDF). PONARS Eurasia Policy Memo No. 54: 2. สืบค้นเมื่อ 8 May 2016.
  26. Danver, Steven L. (2015). Native Peoples of the World: An Encyclopedia of Groups, Cultures and Contemporary Issues. Routledge. p. 528. ISBN 978-1317464006.
  27. "single | The Jamestown Foundation". Jamestown. Jamestown.org. 7 May 2013. สืบค้นเมื่อ 20 August 2013.