เดอะชาร์ด
51°30′16″N 0°5′12″W / 51.50444°N 0.08667°W
The Shard เดอะชาร์ด | |
---|---|
เดอะชาร์ดในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555 | |
ข้อมูลทั่วไป | |
ที่ตั้ง | ถนนลอนดอนบริดจ์ เขตซัทเธิร์ค ลอนดอน สหราชอาณาจักร |
ก่อสร้าง | มีนาคม พ.ศ. 2552 |
เปิดตัว | กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 |
การใช้งาน | การประชุม โรงแรม ห้องสมุด สังเกต สำนักงาน ที่อยู่อาศัย รันอาหาร เป็นต้น[1] |
ความสูง | |
เสาอากาศ / ยอด | 309.6 เมตร (1,016 ฟุต) |
หลังคา | 304.1 เมตร (998 ฟุต) |
รายละเอียด | |
จำนวนชั้น | 95 ชั้น (รวมชั้นห้องเครื่อง) 72 ชั้น (ที่อยู่อาศัย) |
พื้นที่ชั้น | 1,200,000 ตารางฟุต (110,000 ตารางเมตร) |
มูลค่า | 428 ล้านปอนด์[1] |
บริษัท | |
สถาปนิก | เรนโซ เปียโน |
วิศวกร | Turner & Townsend (ผู้จัดการโครงการ) WSP Cantor Seinuk (วิศวกรรมโครงสร้าง) Robert Bird Group (งานชั่วคราวคอนกรีต) Ischebeck Titan (งานคอนกรีตสำหรับชั้น 40 ขึ้นไป) อารัป (วิศวกรรมระบบ) |
อ้างอิง: [2] |
เดอะชาร์ด (อังกฤษ: The Shard) หรือมีชื่อก่อนหน้านี้ว่า Shard London Bridge, London Bridge Tower[3][4] และ Shard of Glass[5][6] เป็นตึกระฟ้าที่สูงที่สุดในทวีปยุโรป ตั้งอยู่ที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร มีความสูงเหนือพื้นดิน 309.6 เมตร จำนวนชั้นทั้งหมด 72 ชั้น เดอะชาร์ดเป็นตึกระฟ้าที่สูงที่สุดในทวีปยุโรปตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555 และเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงเป็นอันดับสองของสหราชอาณาจักร รองจากหอโทรคมนาคมเอ็มเลย์มัวร์ที่มีความสูง 330 เมตร พื้นที่ของเดอะชาร์ดเดิมเป็นที่ตั้งของอาคารซัทเธิร์ค (Southwark Towers) ที่มีความสูง 24 ชั้น ก่อสร้างตั้งแต่ปี ค.ศ. 1975 ก่อนจะถูกรื้อถอนเมื่อปี ค.ศ. 2008[7] เพื่อสร้างเดอะชาร์ดขึ้นแทน
ตึกระฟ้าแห่งนี้มีความสูง 72 ชั้น โดยชั้นที่ 72 ทำเป็นระเบียงตากอากาศใช้สำหรับชมทัศนียภาพของกรุงลอนดอน ที่ความสูง 245 เมตร ซึ่งเป็นบริเวณชมทิวทัศน์ที่อยู่สูงที่สุดของสหราชอาณาจักร[8] เดอะชาร์ดถูกออกแบบให้มีรูปทรงเป็นทรงพีระมิดไม่สม่ำเสมอ (irregular pyramidal) ที่ติดกระจกทั้งหลัง
เดอะชาร์ดเริ่มเปิดตัวเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 และมีกำหนดการเปิดอย่างเป็นทางการในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556[9][10]
ประวัติ
[แก้]ตึกระฟ้าแห่งนี้ออกแบบในปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) โดยเรนโซ เปียโน สถาปนิกชาวอิตาลี ที่รู้จักกันในฐานะเป็นผู้ออกแบบปองปิดูเซ็นเตอร์ในปารีส ร่วมกับริชาร์ด โรเจอร์ส สถาปนิกชาวอังกฤษ เบื้องหลังคือ ในปีนั้น เออร์ไวน์ เซลลาร์ ผู้ประกอบการที่มีฐานอยู่ในลอนดอน ตัดสินใจรื้อถอนอาคารสำนักงานซัทเธิร์กเพื่อพัฒนาพื้นที่ใหม่ อาคารแห่งนี้สร้างเมื่อคริสต์ทศวรรษที่ 1970 และตั้งอยู่ถัดจากสถานีรถไฟลอนดอนบริดจ์ ต่อมาเขาได้ไปกรุงเบอร์ลินเพื่อร่วมรับประทานอาหารกลางวันกับเรนโซ เปียโน พร้อมกับปรึกษาหารือในเรื่องการพัฒนาพื้นที่ เซลลาร์อ้างว่า ระหว่างรับประทานอาหาร เรนโซ เปียโนได้กล่าวตำหนิดูถูกในเรื่องอาคารสูงทั้งหลาย จากนั้นเขาก็วาดแบบร่างประติมากรรมรูปร่างคล้ายภูเขาน้ำแข็งยอดแหลม โผล่พ้นแม่น้ำเทมส์ลงบนรายการอาหาร[11] และบอกอีกว่า เขาได้รับแรงบันดาลใจจากเส้นทางรถไฟใกล้กับงานก่อสร้าง รวมไปถึง ยอดแหลมแห่งลอนดอน ที่พรรณนาโดยกานาเลตโต จิตรกรชาวเวนิสสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 และจากเสากระโดงเรือสำเภาอีกด้วย[12]
เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) จอห์น เพรสคอตต์ รองนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรสั่งการให้ตรวจสอบแผนงานก่อสร้างอาคารเดอะชาร์ด หลังถูกคัดค้านโดยเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นและฝ่ายอนุรักษ์ เป็นต้นว่ามูลนิธิรอยัลพาร์ค และองค์การอนุรักษ์แห่งอังกฤษ[13][14] การตรวจสอบดำเนินไปในเดือนเมษายนและพฤษภาคมปี พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003)[15][16] หลังจากนั้นในวันที่ 19 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน สำนักรองนายกรัฐมนตรีจึงออกคำสั่งอนุญาตให้ดำเนินโครงการก่อสร้างเดอะชาร์ดต่อไปได้[17]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 The Shard จากเว็บไซต์ Mace, บริษัทรับเหมาก่อสร้างหลักของเดอะชาร์ด, สืบค้นวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
- ↑ The Shard จากเว็บไซต์เอ็มโพริส (Emporis)
- ↑ "London Bridge Tower, London". Designbuild-network.com. 2011-06-15. สืบค้นเมื่อ 2012-07-06.
- ↑ "Shard funding crisis: Tower finances cast shadow over project". World Architecture News. 10 September 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-29. สืบค้นเมื่อ 7 July 2010.
- ↑ Bar-Hillel, Mira (24 February 2009). "£28bn Shard of Glass to start its ascent". London Evening Standard. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-27. สืบค้นเมื่อ 7 July 2010.
- ↑ "Work starts on Shard of Glass". New Civil Engineer. 2 April 2009. สืบค้นเมื่อ 7 July 2010.
- ↑ Southwark Towers, London จากเว็บไซต์ Skyscraperpage, สืบค้นวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
- ↑ "Shard observation deck to be Europe's highest" เก็บถาวร 2012-04-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. CNPlus.co.uk, 20 May 2009. Retrieved 2 February 2012.
- ↑ "Prince Andrew and Qatari prime minister to open Shard on 5 July"
- ↑ "Qatar's Shard the tallest building in Europe now"
- ↑ Bourke, Chris (20 January 2010). Shard Developer Sellar to Seek Highest Office Rents Since 1980s. Bloomberg (New York). Retrieved 7 July 2010.
- ↑ "Why do tall buildings have such silly names?". BBC News. 26 November 2010. สืบค้นเมื่อ 27 November 2010.
- ↑ Milmo, Cahal (25 July 2002). "London's 'Shard of Glass' must face public inquiry". The Independent. London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-16. สืบค้นเมื่อ 7 July 2010.
- ↑ "'The Shard' set to change the London skyline". Londonoffices.com. 2011-02-24. สืบค้นเมื่อ 2012-07-06.
- ↑ Weaver, Matt (15 April 2003). "Battle begins for London Bridge Tower". The Guardian. London.
- ↑ Sudjic, Deyan (18 May 2003). "Sold down the river". The Observer. London.
- ↑ Weaver, Matt (19 November 2003). "'Shard of glass' set to join London skyline". The Guardian. London.