เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเบอร์ลิน
Berlinale Palast ระหว่างแบร์ลีนาเลอ 2017 | |
สถานที่ | เบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี |
---|---|
ก่อตั้ง | ค.ศ. 1951 |
ล่าสุด | ค.ศ. 2021 |
รางวัล | หมีทองคำ, หมีเงิน |
ผู้กำกับศิลป์ | Carlo Chatrian |
ลำดับภาพยนตร์ | 441 เรื่อง (945 รอบ) ใน ค.ศ. 2014 |
เว็บไซต์ | berlinale |
เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเบอร์ลิน (เยอรมัน: Internationale Filmfestspiele Berlin) หรือที่เรียกกันว่า แบร์ลีนาเลอ (Berlinale; ล้อชื่อบีเยนนาเลที่เวนิส) เป็น 1 ใน 3 เทศกาลภาพยนตร์ชั้นนำ เคียงข้างเทศกาลที่เวนิสและกาน[1] เทศกาลนี้จัดเป็นประจำในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปีที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ตั้งแต่ ค.ศ. 1951 คณะกรรมการของเทศกาลให้ความสำคัญเป็นพิเศษในการนำเสนอภาพยนตร์จากทุกภูมิภาคในโลก
รางวัลหลักของเทศกาลนี้ชื่อว่า "หมีทองคำ" (ก็อลเดอเนอร์แบร์) และ "หมีเงิน" (ซิลเบอร์เนอร์แบร์) (หมีเป็นสัญลักษณ์ของเบอร์ลิน) รางวัลหมีทองคำเป็นรางวัลสำหรับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (Best Motion Picture) และรางวัลหมีทองคำเกียรติยศป็นรางวัลสำหรับผู้ที่อุทิศชีวิตให้แก่ภาพยนตร์ (Lifetime Achivement) ส่วนรางวัลหมีเงินมอบให้แก่สาขาย่อยอื่น ๆ เช่น ผู้กำกับยอดเยี่ยม นักแสดงยอดเยี่ยม ฯลฯ
ภาพยนตร์ไทยในแบร์ลีนาเลอ
[แก้]- นางทาษ ของละโว้ภาพยนตร์ กำกับโดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ เป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่เข้าประกวดเมื่อ พ.ศ. 2504[2]
- แพรดำ ของหนุมานภาพยนตร์ กำกับโดยรัตน์ เปสตันยี เป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องที่สองที่เข้าประกวด เมื่อ พ.ศ. 2505[2]
- เด็กหอ เข้าประกวดในสายหนังเด็ก ของ Berlinale ครั้งที่ 57 พ.ศ. 2550 ได้รับสองรางวัล[3][4]
- ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (ทรงยศ สุขมากอนันต์) - รางวัลหมีแก้ว (Crystal Bear) สาย Generation Kplus - ตัดสินโดยกรรมการเด็ก 11 คน
- ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม รองอันดับ 1 (ทรงยศ สุขมากอนันต์) - รางวัล Special Mention of Deutsches Kinderhilfswerk (องค์การสนับสนุนเด็กเยอรมัน) สาย Generation Kplus ตัดสินโดยกรรมการผู้ใหญ่ 7 คน จากนานาชาติ
- คำพิพากษาของมหาสมุทร กำกับโดย เป็นเอก รัตนเรือง เข้าประกวด Berlinale ครั้งที่ 56 พ.ศ. 2549[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ภาพยนตร์จีนชนะรางวัลที่เบอร์ลิน ข่าวจากบีบีซี
- ↑ 2.0 2.1 โรม บุนนาค. แวดวงบันเทิงเมื่อวันวาน สุดยอดเรื่องเด็ดในวงการบันเทิงไทยตั้งแต่ยุคเริ่มหนังไทย. กรุงเทพฯ : สยามบันทึก, 2551. 232 หน้า. ISBN 978-974-06-6637-0
- ↑ Awards for Dek hor (2006), IMDb
- ↑ เด็กหอ ได้รับรางวัลหมีแก้ว จากเทศกาลหนังเบอร์ลินสายหนังเด็ก
- ↑ Berlinale 2006: First Competition Titles Include One Debut and Six World Premieres เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 20 ธ.ค. 2548