ข้ามไปเนื้อหา

เทศบาลเมืองแพร่

พิกัด: 18°8′43″N 100°8′31″E / 18.14528°N 100.14194°E / 18.14528; 100.14194
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลเมืองแพร่
จากบนไปล่างและซ้ายไปขวา: คุ้มเจ้าหลวง คุ้มวงศ์บุรี วัดจอมสวรรค์ วัดหลวง และวัดหัวข่วง
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลเมืองแพร่
ตรา
คำขวัญ: 
เทศบาลเมืองแพร่ เมืองน่าอยู่ เชิดชูการศึกษา ก้าวหน้าศิลปวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด สิ่งแวดล้อมไม่เป็นพิษ ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน
ทม.แพร่ตั้งอยู่ในจังหวัดแพร่
ทม.แพร่
ทม.แพร่
ที่ตั้งของเทศบาลเมืองแพร่ในจังหวัดแพร่
พิกัด: 18°8′43″N 100°8′31″E / 18.14528°N 100.14194°E / 18.14528; 100.14194
ประเทศ ไทย
จังหวัดแพร่
อำเภอเมืองแพร่
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีโชคชัย พนมขวัญ
พื้นที่
 • ทั้งหมด9 ตร.กม. (3 ตร.ไมล์)
ความสูง159 เมตร (522 ฟุต)
ประชากร
 (2560)[1]
 • ทั้งหมด15,810 คน
 • ความหนาแน่น1,756.67 คน/ตร.กม. (4,549.8 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04540102
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 12 ถนนไชยบูรณ์ ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
โทรศัพท์0 5451 1060
โทรสาร0 5451 1555
เว็บไซต์www.phraecity.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

แพร่ เป็นเทศบาลเมืองที่ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ มีพื้นที่ 9 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมตำบลในเวียงทั้งตำบล มีประชากรในปี พ.ศ. 2560 จำนวน 15,810 คน[1] ภายในเขตเทศบาลเป็นที่ตั้งของหน่วยงานการบริหาร เช่น เป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดแพร่ รวมไปถึงสถานศึกษา สถานพยาบาลและสาธารณสุข ตลอดจนเป็นศูนย์กลางการคมนาคมของจังหวัดแพร่

ประวัติ

[แก้]

เมืองแพร่เป็นเมืองโบราณสร้างมาช้านานแล้วตั้งแต่อดีตกาล แต่ยังไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างขึ้นในสมัยใดและใครเป็นผู้สร้าง เมืองแพร่เป็นเมืองที่ไม่มีประวัติของตนเองหรือจารึกไว้ในที่ใด ๆ โดยเฉพาะ นอกจากปรากฏในตำนานพงศาวดาร และจารึกของเมืองอื่น ๆ บ้างเพียงเล็กน้อย เช่น หลักฐานจากตำนานเมืองเหนือ พงศาวดารโยนก และศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง  เมืองแพร่น่าจะสร้างยุคเดียวกันกับกรุงสุโขทัย เชียงใหม่ ลำพูน พะเยา น่าน ซึ่งบ้านเมืองของเมืองแพร่ ในยุคนั้นคงไม่กว้างขวางและมีผู้คนมากมายเหมือนปัจจุบัน เมืองแพร่มีชื่อเรียกกันหลายอย่าง ตำนานเมืองเหนือเรียกว่า "พลนคร" หรือ "เมืองพล"

เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2478 พื้นที่ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ได้รับการจัดตั้งให้เป็น "เทศบาลเมืองแพร่"[2]

ภูมิศาสตร์

[แก้]

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

เมืองแพร่ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำยม มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 159 เมตร (522 ฟุต)[3] มีทิวเขาขนาบข้างตัวเมือง ได้แก่ ทิวเขาพลึง หรือเทือกเขาผีปันน้ำตะวันออก มีความสูงประมาณ 800 เมตร (2,600 ฟุต) จากระดับน้ำทะเล ในขณะที่เทือกเขาผีปันน้ำตะวันตกมีความสูงประมาณ 500 เมตร (1,600 ฟุต) จากระดับน้ำทะเล เมืองแพร่มีอาณาเขตติดต่อกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นข้างเคียง ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับเทศบาลตำบลทุ่งกวาว อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
  • ทิศใต้ ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลนาจักร และเทศบาลตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลเหมืองหม้อ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับเทศบาลตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

ภูมิอากาศ

[แก้]
ข้อมูลภูมิอากาศของเทศบาลเมืองแพร่
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 35.6
(96.1)
38.5
(101.3)
41.0
(105.8)
43.6
(110.5)
43.2
(109.8)
38.2
(100.8)
39.2
(102.6)
37.5
(99.5)
35.8
(96.4)
35.0
(95)
35.1
(95.2)
35.9
(96.6)
43.6
(110.5)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 30.7
(87.3)
33.4
(92.1)
36.0
(96.8)
37.3
(99.1)
35.1
(95.2)
33.1
(91.6)
32.4
(90.3)
31.9
(89.4)
32.0
(89.6)
31.9
(89.4)
31.1
(88)
29.9
(85.8)
32.9
(91.22)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 21.9
(71.4)
24.3
(75.7)
28.0
(82.4)
30.3
(86.5)
29.3
(84.7)
28.3
(82.9)
27.8
(82)
27.5
(81.5)
27.2
(81)
26.7
(80.1)
24.3
(75.7)
21.6
(70.9)
26.43
(79.58)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 14.4
(57.9)
16.6
(61.9)
20.2
(68.4)
23.4
(74.1)
24.0
(75.2)
23.9
(75)
23.7
(74.7)
23.6
(74.5)
23.3
(73.9)
22.3
(72.1)
19.1
(66.4)
15.1
(59.2)
20.8
(69.44)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 4.6
(40.3)
8.9
(48)
9.8
(49.6)
15.5
(59.9)
16.1
(61)
20.0
(68)
19.6
(67.3)
20.3
(68.5)
18.5
(65.3)
14.5
(58.1)
8.8
(47.8)
5.0
(41)
4.6
(40.3)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 7
(0.28)
5
(0.2)
21
(0.83)
72
(2.83)
179
(7.05)
122
(4.8)
144
(5.67)
233
(9.17)
191
(7.52)
97
(3.82)
21
(0.83)
3
(0.12)
1,095
(43.11)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) 1 1 2 5 12 12 14 16 14 8 2 1 88
แหล่งที่มา: NOAA[4]

เขตการปกครอง

[แก้]

เทศบาลเมืองแพร่แบ่งออกเป็น 18 ชุมชน ดังนี้

  1. ชุมชนวัดหลวง
  2. ชุมชนพงษ์สุนันท์
  3. ชุมชนพระนอน
  4. ชุมชนศรีบุญเรือง
  5. ชุมชนหัวข่วง
  6. ชุมชนศรีชุม
  7. ชุมชนน้ำคือ
  8. ชุมชนสระบ่อแก้ว
  9. ชุมชนบ้านใหม่สวรรคนิเวศ
  10. ชุมชนเพชรรัตน์
  11. ชุมชนชัยมงคล
  12. ชุมชนเหมืองแดง
  13. ชุมชนเหมืองหิตพัฒนา
  14. ชุมชนเหมืองหิต-ต้นธง
  15. ชุมชนทุ่งต้อม
  16. ชุมชนร่องซ้อ
  17. ชุมชนเชตะวัน
  18. ชุมชนพระร่วง

ประชากร

[แก้]

จำนวนประชาชนในเขตเทศบาลเมืองแพร่ ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 มีจำนวน 15,810 คน แยกเป็นชาย 7,323 คน หญิง 8,487 คน ความหนาแน่นของประชากร 1,905 คนต่อตารางกิโลเมตร จำนวนบ้าน 8,599 หลังคาเรือน[1]

โครงสร้างพื้นฐาน

[แก้]

การขนส่ง

[แก้]

ถนนสายหลักที่ผ่านตัวเมืองแพร่ คือ ถนนยันตรกิจโกศล หรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 ส่วนการขนส่งทางอากาศ เมืองแพร่มีท่าอากาศยาน 1 แห่ง คือ ท่าอากาศยานแพร่ ซึ่งเป็นท่าอากาศยานขนาดเล็ก ตั้งอยู่นอกเขตเทศบาลไปทางทิศตะวันออก (ตำบลเหมืองหม้อ)[5]

การศึกษา

[แก้]

สถานศึกษาในเขตเทศบาลเมืองแพร่ มีดังนี้

สาธารณสุข

[แก้]

มีสถานพยาบาลของรัฐจำนวน 1 แห่ง คือ โรงพยาบาลแพร่ และโรงพยาบาลเอกชน จำนวน 2 แห่ง คือ โรงพยาบาลแพร่คริสเตียน และโรงพยาบาลแพร่-ราม

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2560 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองแพร่ ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง
  2. พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ พุทธศักราช ๒๔๗๘
  3. "Phrae, Thailand". Falling Rain Genomics. สืบค้นเมื่อ 1 February 2013.
  4. "Climate Normals for Phrae". National Oceanic and Atmospheric Administration. สืบค้นเมื่อ 1 February 2013.
  5. "(PRH) Phrae Airport Overview". Flightstats. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-30. สืบค้นเมื่อ 13 May 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]