เวอร์จิเนีย วูล์ฟ
เวอร์จิเนีย วูล์ฟ Virginia Woolf | |
---|---|
เกิด | 25 มกราคม ค.ศ. 1882 ลอนดอน, สหราชอาณาจักร |
เสียชีวิต | 28 มีนาคม ค.ศ. 1941 อีสต์ซัสเซ็กซ์, สหราชอาณาจักร |
สัญชาติ | ชาวอังกฤษ |
อาชีพ | นักเขียน |
ยุคสมัย | นักเขียนนวนิยาย และ บทความ, นักพิมพ์ และผู้สนับสนุนสิทธิสตรี |
ผลงานเด่น | “To the Lighthouse” “Mrs Dalloway” “Orlando: A Biography” “A Room of One's Own” |
ตำแหน่ง | นักเขียน |
คู่สมรส | เลนนาร์ด วูล์ฟ |
นักเขียนชาวอังกฤษ |
เวอร์จิเนีย วูล์ฟ (อังกฤษ: Virginia Woolf (ชื่อเดิม Adeline Virginia Stephen)) (25 มกราคม ค.ศ. 1882 - 28 มีนาคม ค.ศ. 1941) เป็นนักเขียนนวนิยาย, เรื่องสั้น และ บทความ, นักพิมพ์ และผู้สนับสนุนสิทธิสตรี (feminist) ชาวอังกฤษคนสำคัญ วูล์ฟถือกันว่าเป็นนักเขียนผู้มีบทบาทสำคัญของวรรณกรรมสมัยใหม่นิยมของคริสต์ศตวรรษที่ 20 คนหนึ่ง และเป็นผู้ริเริ่มใช้แนววิธีการเขียนตามกระแสสำนึก(stream of consciousness)ในการเล่าเรื่อง
ระหว่างสมัยสองสงครามโลก วูล์ฟเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในวงการวรรณกรรมของลอนดอนและเป็นสมาชิกคนหนึ่งของ “กลุ่มบลูมสบรี” (Bloomsbury group) ซึ่งเป็นกลุ่มนักเขียน, ปัญญาชน และศิลปินที่ก่อตัวขึ้นอย่างไม่เป็นทางการ
งานชิ้นสำคัญ ๆ ของวูล์ฟก็ได้แก่นวนิยาย “Mrs Dalloway” (ค.ศ. 1925), “To the Lighthouse” (ค.ศ. 1927) และ “Orlando: A Biography” (ค.ศ. 1928) และบทความขนาดหนังสือ “A Room of One's Own” (ค.ศ. 1929) ที่มีประโยคที่เป็นที่รู้จักว่า “ผู้หญิงต้องมีเงินและห้องที่เป็นของตนเองถ้าจะเขียนนวนิยาย”
ประวัติ
[แก้]เบื้องต้น
[แก้]ชื่อเมื่อแรกเกิดของเวอร์จิเนีย วูล์ฟคืออเดลีน เวอร์จิเนียร์ สตีเฟน วูล์ฟ ผู้เกิดในลอนดอนเมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 1882 เป็นบุตรีของสตรีผู้มีความงามอันเลื่องชื่อ จูเลีย พรินเซ็พ สตีเฟน (ค.ศ. 1846–ค.ศ. 1895) จูเลียเกิดในบริติชอินเดีย เป็นบุตรีของด็อคเตอร์จอห์นและมาเรีย แพทเทิล แจ็คสัน ต่อมาย้ายกลับมาอังกฤษกับแม่มาเป็นนางแบบให้แก่ศิลปินในกลุ่มพรีราฟาเอลไลท์ เช่น เอ็ดเวิร์ด เบิร์น โจนส์[1] บิดาของวูล์ฟ เซอร์เลสลี สตีเฟน เป็นนักประพันธ์มีชื่อ, นักวิพากษ์วรรณกรรม และนักปีนเขา[2] วูล์ฟได้รับการศึกษาได้รับการศึกษาโดยบิดามารดาผู้เป็นผู้มีความรู้ดี และเป็นผู้มีเส้นสายการติดต่อในสังคมดี ทั้งบิดาและมารดาสมรสและเป็นพ่อหม้ายแม่หม้ายมาก่อนที่จะมาสมรสกัน ฉะนั้นครอบครัวของวูล์ฟจึงมีพี่น้องจากสามครอบครัว จูเลียมีบุตรธิดาสามคนกับเฮอร์เบิร์ต ดัควูด สามีคนแรก: จอร์จ, สเตลลา และ เจอราลด์ ดัควูด ส่วนบิดาสมรสกับมินนี แธคเคอเรย์ และมีบุตรีด้วยกันคนหนึ่ง: ลอรา เมคพีส สตีเฟนผู้มีความพิการทางสติปัญญา (Developmental disability) และอยู่กับครอบครัวจนเมื่อถูกส่งตัวไปยังสถาบันสำหรับผู้พิการในปี ค.ศ. 1891[3] เลสลีและจูเลียมีบุตรธิดาด้วยกันสี่คน: วาเนสสา สตีเฟน (ค.ศ. 1879), โทบี สตีเฟน (ค.ศ. 1880), เวอร์จิเนีย (ค.ศ. 1882) และ เอเดรียน สตีเฟน (ค.ศ. 1883)
เซอร์เลสลีเป็นบรรณาธิการ, นักวิพากษ์วรรณกรรม และนักเขียนชีวประวัติผู้มีชื่อ และการมีความเกี่ยวข้องกับวิลเลียม แธคเคอเรย์ (บิดาของภรรยาคนแรก) ทำให้ครอบครัวเติบโตขึ้นมาในสิ่งแวดล้อมของสังคมวรรณกรรมที่มีอิทธิพลของสมัยวิคตอเรีย นักเขียน เฮนรี เจมส์, จอร์จ เฮนรี หลุยส์, จูเลีย มากาเร็ต คาเมรอน และ เจมส์ รัสเซลล์ โลเวลล์ ผู้เป็นพ่อทูลหัวของเวอร์จิเนีย เป็นนักเขียนบางคนที่มาเป็นแขกของครอบครัว จูเลียเองก็มีเส้นสายการติดต่อในสังคมดี และเป็นผู้มีความงดงามพอที่จะเป็นแบบให้จิตรกรพรีราฟาเอลไลท์และช่างถ่ายภาพสมัยแรก นอกจากสิ่งแวดล้อมดังกล่าวแล้ว เวอร์จิเนียและวาเนสสาก็ยังล้อมรอบไปด้วยห้องสมุดขนาดใหญ่ในบ้านของตนเองและได้รับการศึกษาด้านคลาสสิกและวรรณคดีอังกฤษที่บ้าน ซึ่งต่างจากพี่และน้องชายผู้ได้รับการศึกษาในสถาบันการศึกษาอย่างเป็นทางการ
จากบันทึกความทรงจำของวูล์ฟ ความจำแรกที่ฝังใจเมื่อยังเด็กไม่ใช่ความทรงจำของลอนดอน แต่เป็นหมู่บ้านชายทะเล เซนต์ไอฟ์สในคอร์นวอลล์ที่ครอบครัวไปใช้เวลาระหว่างฤดูร้อนทุกปีที่นั่นมาจนกระทั่งปี ค.ศ. 1895 เรือนฤดูร้อนของครอบครัวสตีเฟน “บ้านทาลลาร์ด” ตั้งอยู่เหนืออ่าวพอธมินสเตอร์และยังคงตั้งอยู่จนกระทั่งปัจจุบันนี้ ความทรงจำของช่วงเวลาการพักร้อนของครอบครัว และภูมิทัศน์ของคอร์นวอลล์ โดยเฉพาะประภาคารโกโดรฟวีมามีอิทธิพลต่องานเขียนของวูล์ฟต่อมา โดยเฉพาะในนวนิยายเรื่อง “To the Lighthouse” ที่เขียนในปี ค.ศ. 1927)
การเสียชีวิตอย่างกะทันหันของมารดาในปี ค.ศ. 1895 เมื่อวูล์ฟมีอายุเพียง 13 ปีและของสเตลลาน้องสาวต่างมารดาสองปีต่อมา ทำความกระทบกระเทือนทางจิตใจให้แก่วูล์ฟจนทำให้เกิดความเจ็บป่วยทางอารมณ์และจิตใจ (nervous breakdown) เป็นครั้งแรก เมื่อบิดาเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1904 ก็ยิ่งส่งความกระทบกระเทือนซ้ำซ้อนจนทำให้วูล์ฟต้องถูกส่งตัวไปรักษายังสถานบำบัดผู้เป็นโรคจิตอย่างเป็นทางการ[3]
นักวิชาการสมัยใหม่วินิจฉัย[4] ว่าอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความป่วยทางอารมณ์และจิตใจ และมีอารมณ์ซึมเศร้าที่เกิดขึ้นเป็นช่วง อาจจะมาจากการถูกทำร้ายทางเพศ (Sexual abuse) ที่ทั้งวูล์ฟและพี่สาวได้รับจากพี่ชายต่างมารดา จอร์จและเจอราลด์ (ที่วูล์ฟกล่าวถึงในบทเขียนอัตชีวประวัติ “A Sketch of the Past” และ “22 Hyde Park Gate”)
วูล์ฟได้รับความทรมานจากอาการป่วยทางอารมณ์ของอารมณ์ผันผวน (mood swing) และอาการอื่นที่เกี่ยวข้องตลอดชีวิต แม้ว่าจะขาดความมั่นคงทางอารมณ์ที่มักจะมีผลต่อความสัมพันธ์ทางสังคมกับผู้อื่น แต่งานเขียนของวูล์ฟก็แทบจะมิได้หยุดยั้งลงจนกระทั่งเมื่อมาเสียชีวิตโดยการฆ่าตัวตายเมื่อวันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 1941
งานเขียน
[แก้]นวนิยาย
[แก้]- The Voyage Out (1915)
- Night and Day (1919)
- Jacob's Room (1922)
- Mrs Dalloway (1925) แปลโดย ดลสิทธิ์ บางคมบาง ในชื่อ "คุณนายดัลโลเวย์" สำนักพิมพ์ชมนาด ปี 2550
- To the Lighthouse (1927)
- Orlando (1928)
- The Waves (1931)
- The Years (1937)
- Between the Acts (1941)
รวมเรื่องสั้น
[แก้]- Kew Gardens (1919)
- Monday or Tuesday (1921)
- The New Dress (1924)
- A Haunted House and Other Short Stories (1944)
- Mrs Dalloway's Party (1973)
- The Complete Shorter Fiction (1985)
นวนิยายเชิงชีวประวัติ
[แก้]- Orlando: A Biography (1928, มักจะจัดเป็น นวนิยาย ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากไวตา แซ็ควิลล์-เวสต์)
- Flush: A Biography (1933, งานคาบระหว่าง นวนิยาย และ กระแสสำนึก เล่าโดยสุนัขชื่อฟลัช; ไม่จัดว่าเป็นนวนิยายตรงที่เล่าเรื่องของเจ้าของสุนัขเอลิซาเบธ บาร์เร็ทท์ บราวนิง)
- Roger Fry: A Biography (1940, มักจะไม่จัดว่าเป็นนวนิยายแต่ความสามารถทางการเขียนนวนิยายของวูล์ฟเป็นอุปสรรคต่อการเขียนชีวประวัติอย่างสารคดี[5])
สารคดี
[แก้]- Modern Fiction (1919)
- The Common Reader (1925)
- A Room of One's Own (1929)
- On Being Ill (1930)
- The London Scene (1931)
- The Common Reader: Second Series (1932)
- Three Guineas (1938)
- The Death of the Moth and Other Essays (1942)
- The Moment and Other Essays (1947)
- The Captain's Death Bed And Other Essays (1950)
- Granite and Rainbow (1958)
- Books and Portraits (1978)
- Women And Writing (1979)
- Collected Essays (สี่เล่ม)
บทละคร
[แก้]- Freshwater: A Comedy (แสดงในปี 1923, ปรับปรุงในปี 1935, และพิมพ์ในปี 1976)
งานเขียนอัตชีวประวัติและอนุทิน
[แก้]- A Writer’s Diary (1953) - บทคัดจากอนุทิน
- Moments of Being (1976)
- A Moment's Liberty: the shorter diary (1990)
- The Diary of Virginia Woolf (five volumes) - อนุทินระหว่างปี 1915 ถึง 1941
- Passionate Apprentice: The Early Journals, 1897-1909 (1990)
- Travels With Virginia Woolf (1993) - บันทึกการเดินทางไปกรีซ
- The Platform of Time: Memoirs of Family and Friends, ฉบับขยาย, ตรวจสอบโดย S. P. Rosenbaum (London, Hesperus, 2008)
จดหมาย
[แก้]- Congenial Spirits: The Selected Letters (1993)
- The Letters of Virginia Woolf 1888-1941 (หกเล่ม, 1975-1980)
- Paper Darts: The Illustrated Letters of Virginia Woolf (1991)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Smith College libraries biography of Julia Prinsep Stephen". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-20. สืบค้นเมื่อ 2009-11-13.
- ↑ Alan Bell, ‘Stephen, Sir Leslie (1832–1904)’, Oxford Dictionary of National Biography, Oxford University Press, Sept 2004; online edn, May 2006
- ↑ 3.0 3.1 Robert Meyer, 1998, Case Studies in Abnormal Behaviour, Allyn and Bacon
- ↑ Bell 1996: 44
- ↑ Frances Spalding (ed.), Virginia Woolf: Paper Darts: the Illustrated Letters, Collins & Brown, 1991, (ISBN 1-85585-046-X) (hb) & (ISBN 1-85585-103-2) (pb), pp. 139-140
บรรณานุกรม
[แก้]- Virginia Woolf by Nigel Nicolson. New York, Penguin Group. 2000
- Virginia Woolf: A Biography by Quentin Bell. New York, Harcourt Brace Jovanovich, 1972; Revised editions 1990, 1996
- "Vanessa and Virginia" by Susan Sellers (Two Ravens, 2008; Harcourt 2009) [Fictional biography of Woolf and her sister Vanessa Bell]
- The Unknown Virginia Woolf by Roger Poole. Cambridge UP, 1978.
- The Invisible Presence: Virginia Woolf and the Mother-Daughter Relationship by Ellen Bayuk Rosenman. Louisiana State University Press, 1986.
- Virginia Woolf and the politics of style, by Pamela J. Transue. SUNY Press, 1986. ISBN 0-88706-286-5.
- The Victorian heritage of Virginia Woolf: the external world in her novels, by Janis M. Paul. Pilgrim Books, 1987. ISBN 0-937664-73-1.
- Virginia Woolf's To the lighthouse, by Harold Bloom. Chelsea House, 1988. ISBN 1-55546-034-8.
- Virginia Woolf: the frames of art and life, by C. Ruth Miller. Macmillan, 1988. ISBN 0-333-44880-4.
- Virginia Woolf: The Impact of Childhood Sexual Abuse on Her Life and Work by Louise DeSalvo. Boston: Little Brown, 1989
- A Virginia Woolf Chronology by Edward Bishop. Boston: G.K. Hall & Co., 1989.
- A Very Close Conspiracy: Vanessa Bell and Virginia Woolf by Jane Dunn. Boston: Little, Brown, 1990
- Virginia Woolf: A Writer's Life by Lyndall Gordon. New York: Norton, 1984; 1991.
- Virginia Woolf and war, by Mark Hussey. Syracuse University Press, 1991. ISBN 0-8156-2537-5.
- The Flight of the Mind: Virginia Woolf's Art and Manic-Depressive Illness by Thomas D. Caramago. Berkeley: U of California Press, 1992
- Virginia Woolf by James King. NY: W.W. Norton, 1994.
- Art and Affection: A Life of Virginia Woolf by Panthea Reid. New York: Oxford UP, 1996.
- Virginia Woolf by Hermione Lee. New York: Knopf, 1997.
- Granite and Rainbow: The Hidden Life of Virginia Woolf by Mitchell Leaska. New York: Farrar, Straus and Giroux, 1998.
- The Feminist Aesthetics of Virginia Woolf, by Jane Goldman. Cambridge University Press, 2001. ISBN 0-521-79458-7.
- Virginia Woolf and the nineteenth-century domestic novel, by Emily Blair. SUNY Press, 2002. ISBN 0-7914-7119-5.
- Virginia Woolf: becoming a writer, by Katherine Dalsimer. Yale University Press, 2002. ISBN 0-300-09208-3.
- Virginia Woolf: The Will to Create as a Woman by Ruth Gruber. New York: Carroll & Graf Publishers, 2005
- My Madness Saved Me: The Madness and Marriage of Virginia Woolf by Thomas Szasz, 2006
- Virginia Woolf: An Inner Life, by Julia Briggs. Harcourt, 2006. ISBN 0-15-603229-5.
- The Bedside, Bathtub and Armchair Companion to Virginia Woolf and Bloomsbury by Sarah M. Hall, Continuum Publishing, 2007
- Virginia Woolf and the Visible World, by Emily Dalgarno. Cambridge University Press, 2007. ISBN 0-521-03360-8,.
- A Life of One's Own: A Guide to Better Living through the Work and Wisdom of Virginia Woolf by Ilana Simons, New York: Penguin Press, 2007
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ผลงานของ Virginia Woolf ที่โครงการกูเทินแบร์ค
- Mrs Dalloway e-text
- ผลงานโดย เวอร์จิเนีย วูล์ฟ: Night and Day บนเว็บ LibriVox (หนังสือเสียง ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ)
- Online edition of Woolf's novel Orlando[ลิงก์เสีย]
- Virginia Woolf Quotes เก็บถาวร 2007-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Listen to Virginia Woolf's BBC Broadcast (29 April 1937) 'Words Fail Me'
- Rare recordings of Virginia Woolf, Conan Doyle, and others บนบีบีซี
- Virginia Woolf 'Bookweb' on literary website The Ledge, with suggestions for further reading. เก็บถาวร 2007-09-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Biography of Virginia Woolf เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Spanish
- Virginia Woolf´s class-consciousness: snubbing or helping the masses?
- Mystical Experiences of Virginia Woolf เก็บถาวร 2009-02-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Monk's House information at the National Trust เก็บถาวร 2011-12-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน