ข้ามไปเนื้อหา

เหตุเพลิงไหม้ไรชส์ทาค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เหตุเพลิงไหม้ไรชส์ทาค
อาคารไรชส์ทาคขณะเพลิงกำลังลุกไหม้
วันที่27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1933
ที่ตั้งอาคารไรชส์ทาค กรุงเบอร์ลิน ไรช์เยอรมัน
ผู้เข้าร่วมมารีนึส ฟัน เดอร์ลึบเบอ
ผล

เหตุเพลิงไหม้ไรชส์ทาค (เยอรมัน: Reichstagsbrand) เป็นการลอบวางเพลิงอาคารไรชส์ทาค ในกรุงเบอร์ลินเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1933 มารีนึส ฟัน เดอร์ลึบเบอ (Marinus van der Lubbe) หนุ่มนักสภาคอมมิวนิสต์ชาวดัตช์ ถูกจับได้ ณ ที่เกิดเหตุและถูกจับกุมจากอาชญากรรมดังกล่าว ฟัน เดอร์ลึบเบอเป็นช่างอิฐว่างงานที่เพิ่งเข้าประเทศเยอรมนี เขาประกาศว่าเขาก่อเพลิงและถูกพิจารณาคดีในศาลและถูกพิพากษาลงโทษประหารชีวิต พรรคนาซีใช้เหตุเพลิงไหม้ดังกล่าวเป็นหลักฐานว่านักคอมมิวนิสต์กำลังคบคิดโค่นรัฐบาลเยอรมัน ถือกันว่าเหตุการณ์นี้มีความสำคัญยิ่งในการสถาปนานาซีเยอรมนี

เพลิงเริ่มในอาคารไรชส์ทาค ที่ประชุมไรชส์ทาค สถานีดับเพลิงเบอร์ลินได้รับการเรียกฉุกเฉินว่าอาคารนั้นเกิดเพลิงไหม้เมื่อเวลา 21.25 น.[1] เมื่อตำรวจและนักผจญเพลิงมาถึง สภาผู้แทนราษฎรหลักก็ถูกไฟคลอกหมดแล้ว ตำรวจค้นหาอย่างถี่ถ้วนในอาคารและพบฟัน เดอร์ลึบเบอ เขาถูกจับกุม เช่นเดียวกับผู้นำคอมมิวนิสต์อีกสี่คนต่อมา

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ซึ่งสาบานตนเป็นนายกรัฐมนตรีสี่สัปดาห์ก่อน เมื่อวันที่ 30 มกราคม กระตุ้นให้ประธานาธิบดีเพาล์ ฟ็อน ฮินเดินบวร์ค ผ่านกฤษฎีกาฉุกเฉินเพื่อระงับเสรีภาพของพลเมืองเพื่อตอบโต้การเผชิญหน้าอย่างโหดร้ายของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเยอรมนี[2] หลังผ่านกฤษฎีกาแล้ว รัฐบาลจับกุมนักคอมมิวนิสต์ครั้งใหญ่ ซึ่งรวมผู้แทนในไรชส์ทาคของพรรคคอมมิวนิสต์ทุกคน เมื่อนักคอมมิวนิสต์คู่แข่งที่ขมขื่นของพวกตนไม่อยู่และที่นั่งว่างแล้ว พรรคนาซีกลายจากพรรคการเมืองพหุนิยมกลายเป็นฝ่ายข้างมาก ทำให้ฮิตเลอร์รวบอำนาจของเขาได้

ผู้ใดรับผิดชอบเหตุเพลิงไหม้ไรชส์ทาคนั้นยังเป็นหัวข้อถกเถียงและวิจัยที่กำลังดำเนินอยู่[3][4] นักประวัติศาสตร์ยังไม่ตกลงกันว่าฟัน เดอร์ลึบเบอลงมือคนเดียวตามที่เขาว่าเพื่อประท้วงสภาพของชนชั้นแรงงานเยอรมัน พรรคนาซีกล่าวหาโคมินเทิร์นด้วยเหตุนี้ นักประวัติศาสตร์บางส่วนสนับสนุนทฤษฎีที่พรรคคอมมิวนิสต์เสนอ[5] ว่าเหตุลอบวางเพลิงนั้นพรรคนาซีวางแผนและสั่งเป็นปฏิบัติการธงหลอก (false flag) แต่ไม่ว่าความจริงเป็นอย่างไร พรรคนาซีใช้เหตุนี้รวบอำนาจของตนและกำจัดนักคอมมิวนิสต์ซึ่งเป็นคู่แข่งทางการเมือง

อ้างอิง

[แก้]
  1. Tobias (1964), pp. 26–28.
  2. "History of the Reichstag Fire in Berlin Germany".
  3. "The Reichstag Fire". Holocaust Encyclopedia. United States Holocaust Memorial Museum. สืบค้นเมื่อ 12 August 2013.
  4. DW Staff (27 February 2008). "75 Years Ago, Reichstag Fire Sped Hitler's Power Grab". Deutsche Welle. สืบค้นเมื่อ 12 August 2013.
  5. "Who started the Reichstag Fire?". OUPblog. December 14, 2013.