ข้ามไปเนื้อหา

เห่าช้าง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เห่าช้าง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordate
ชั้น: Reptilia
อันดับ: Squamata
อันดับย่อย: Sauria
วงศ์: Varanidae
สกุล: Varanus
สกุลย่อย: Empagusia
สปีชีส์: V.  rudicollis
ชื่อทวินาม
Varanus rudicollis
(Gray, 1845)

เห่าช้าง (อังกฤษ: Roughneck monitor lizard; ชื่อวิทยาศาสตร์: Varanus rudicollis) เป็นสัตว์เลื้อยคลานในวงศ์เหี้ย (Varanidae) และ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตาม พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]

โดยชื่อ "เห่าช้าง" มาจากเสียงขู่ศัตรู ฟังดูคล้ายเสียงขู่ของงูเห่า เชื่อกันว่าน้ำลายมีพิษ หากถูกกัดจะเป็นอันตรายถึงตายได้ ที่จริงแล้วเป็นความเชื่อที่ผิด [1]

ลักษณะทั่วไป

[แก้]

ตัวจะเล็กกว่าเหี้ย (V. salvator) มีความยาวประมาณ 1.3 เมตร[2] มีสีดำเข้ม มีลายเลือน ๆ ขวางลำตัว ปากแหลมและเกล็ดบนสั้น เกล็ดบนคอใหญ่เป็นแหลม ๆ คล้ายหนามทุเรียน เฉพาะช่วงคอเกล็ดจะย้อนไปหาส่วนหัว[3] อาศัยอยู่ในป่าทึบและเดินหากินบนพื้นดิน แต่ก็ปีนต้นไม้เก่ง พบในป่าประเภทป่าดิบชื้นและป่าชายเลนในภาคใต้ของประเทศไทยและพม่า, หมู่เกาะสุมาตรา, บอร์เนียว, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์ แต่ก็มีรายงานพบที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมาด้วย[4] อาหารคือ ไก่, นก, ปลา, กบ, เขียด กินได้ทั้งของสด และของเน่า

การผสมพันธุ์

[แก้]

ผสมพันธุ์ในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม โดยวางไข่ตามหลุมที่ขุดเป็นโพรง เมื่อออกไข่แล้วจะไม่ฟักไข่ ลูกฟักออกจากไข่เองตามธรรมชาติ และเมื่อลูกออกจากไข่แล้วก็จะหากินเอง

อุปนิสัย

[แก้]

ดุร้ายกว่าเหี้ยชนิดอื่น ๆ เมื่อเข้าใกล้จะขู่ การเลี้ยงในสภาพที่เลี้ยงทำได้ยาก เนื่องจากเป็นสัตว์ขี้อาย[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "เข้าใจนะ!! "อ.เจษฎา" แจง "เห่าช้าง" ไม่ใช่งู ชี้เป็นสัตว์เลื้อยคลานกลุ่มตะกวด-ไม่มีพิษ!!". ทีนิวส์. 12 June 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-11. สืบค้นเมื่อ 16 June 2016.
  2. 2.0 2.1 "Herpcenter.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-31. สืบค้นเมื่อ 2016-06-16.
  3. "Indonesiatraveling.com".[ลิงก์เสีย]
  4. "Mampam.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2016-06-16.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Varanus rudicollis ที่วิกิสปีชีส์