ข้ามไปเนื้อหา

เอชไอวี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไวรัสภูมิคุ้มกันบกพร่อง
ไวรัสภูมิคุ้มกันเสื่อมในคน
ภาพสแกนของเซลล์ภายในร่างกายที่เผยให้เห็นการแตกตัวของไวรัส เอชไอวี
การจำแนกชนิดไวรัส
Group: Group VI (ssRNA-RT)
วงศ์: เรโทรไวรัส (Retroviridae)
สกุล: Lentivirus
สปีชีส์
  • ไวรัสภูมิคุ้มกันบกพร่องของมนุษย์ 1
  • ไวรัสภูมิคุ้มกันบกพร่องของมนุษย์ 2

เอชไอวี (อังกฤษ: Human immunodeficiency virus, HIV) ไวรัสตระกูล เรโทรไวรัส เป็นสาเหตุของโรคภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ในกรณีของมนุษย์ จะทำให้ระบบภูมิต้านทานล้มเหลว และทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ชื่อเดิมของไวรัสนี้ ได้แก่ human T-lymphotropic virus-III (HTLV-III) , lymphadenopathy-associated virus (LAV) , และ AIDS-associated retrovirus (ARV).

เชื้อเอชไอวีสามารถติดต่อได้ทาง เลือด อสุจิ สารคัดหลั่งในช่องคลอด หรือน้ำนม ซึ่งภายในของเหลวที่ร่างกายสร้างขึ้นนี้ เชื้อเอชไอวีสามารถอยู่ได้ทั้งในสภาพอิสระในตัว และอยู่ในเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ติดเชื้อ สาเหตุใหญ่ของการแพร่กระจายเชื้อ คือ การมีเพศสัมพันธ์โดยที่ไม่ได้ป้องกัน เข็มฉีดยาที่ปนเปื้อน การติดเชื้อจากแม่สู่ลูกผ่านทางการให้น้ำนม เลือดที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสเอชไอวีจากการบริจาคให้ธนาคารเลือด

ในขณะนี้การติดเชื้อเอชไอวี ในมนุษย์จัดได้ว่าเป็นโรคระบาดร้ายแรง ซึ่งเมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 2006 องค์กรความร่วมมือเกี่ยวกับ HIV/AIDS (UNAIDS) และองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประมาณการไว้ว่ามีผู้เสียชีวิตจากเอดส์มากกว่า 25 ล้านคนจากการตรวจพบในวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1981 ทำให้เชื้อ HIV เป็นหนึ่งในการแพร่ระบาดที่เป็นสาเหตุการตายของมนุษย์ ที่ร้ายแรงที่สุดในหน้าประวัติศาสตร์อีกเหตุการณ์หนึ่ง

นับจากภายหลังกาฬมรณะที่คร่าชีวิตประชากรยุโรปในสมัยกลางไปถึง 1 ใน 3 เชื้อ HIV ยังเป็นสาเหตุของการตายของมนุษย์ที่มีความเสียหายมากที่สุดในปี ค.ศ. 2005 มีการคาดการณ์ว่า มีผู้ติดเชื้อประมาณ 2.4 และ 3.3 ล้านคนที่ยังมีชีวิตอยู่ และจำนวนมากกว่า 570,000 คนเป็นเด็ก

ไวรัสเอชไอวี

[แก้]

ไวรัสโรคเอดส์หรือเชื้อไวรัสเอชไอวีเป็นไวรัสในกลุ่ม เรโทรไวรัส มีสายพันธุกรรมหรือยีนเป็น อาร์เอ็นเอ แทนที่จะเป็น ดีเอ็นเอ เหมือนกับเซลล์ของสิ่งมีชีวิตชั้นสูงทั่วไป ซึ่งไวรัสในกลุ่มนี้มีหลายตัวด้วยกัน และมีการค้นพบมานานแล้ว โดยพบในสัตว์ หลายชนิด เช่น ม้า หนู เป็ด ไก่ เป็นต้น แต่ไวรัสโรคเอดส์เป็นไวรัสที่พบใหม่ เชื่อกันว่าเป็นไวรัสที่มีวิวัฒนาการ และพัฒนา ตัวเองมาจากไวรัสที่แต่เดิมทำให้เกิดโรคเฉพาะในสัตว์เท่านั้น ไม่สามารถทำให้เกิดโรคในคนได้ แต่ต่อมาเมื่อเชื้อมีวิวัฒนาการ จากการได้รับ อาร์เอ็นเอ ในไวรัสจำพวกแตกตัวอีกหลายชนิด จนมีระบบการทำงานในสัตว์ที่มีระบบน้ำเหลืองและระบบการแต่งตัวของเซลล์ จนสามารถทำให้เกิดโรคในสัตว์ที่ใกล้เคียงกับคน เช่น ลิง โดยเฉพาะลิงเขียวในทวีปแอฟริกา (African Green Monkey) หรือลิงชิมแปนซี (Chimpanzee) เป็นต้น หลังจากนั้นไวรัสเหล่านั้นอาจติดเข้ามาในคน โดยในระยะแรกเป็นไวรัสที่ ทำให้เกิดเป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในคนเท่านั้น ต่อมาจึงเกิดเป็นโรคเอดส์ที่เป็นเฉพาะในคนเท่านั้น

การแบ่งประเภทของเอชไอวี

[แก้]

ส่วนประกอบและการแบ่งตัวของไวรัส

[แก้]

โครงสร้างของไวรัส HIV

[แก้]

ด้านนอกสุดเป็นเปลือกหุ้มเรียกว่า envelope มีโครงสร้างแบบ lipid bilayer ซึ่งเป็นเยื่อหุ้มเซลล์ของ host และมี envelope ไกลโคโปรตีนกระจายอยู่ลักษณะเป็นปุ่มยื่นออกมาโดยรอบเรียกว่า surface protein (gp 120) ส่วน core ประกอบด้วย capsid protein (gp 24) และมี อาร์เอ็นเอโดย อาร์เอ็นเอจะเป็น 2 copies ที่เหมือนกันอยู่ในไวรัสตัวเดียวกัน นอกจากนี้ภายใน capsid ยังประกอบด้วยเอนไซม์ต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ Reverse transcriptase (ทำหน้าที่เปลี่ยน อาร์เอ็นเอของไวรัสเป็น ดีเอ็นเอ), integrase (ทำหน้าที่รวม ดีเอ็นเอของไวรัส เข้ากับ ดีเอ็นเอของ host) และ protease (ทำหน้าที่ตัดสายโปรตีนเพื่อให้เป็นองค์ประกอบที่สมบูรณ์ของไวรัส)

การเพิ่มจำนวนไวรัส

[แก้]

เริ่มแรกส่วนไกลโคโปรตีนที่ผิวของไวรัส จะจับกับโปรตีนบนเม็ดเลือดขาวอย่างจำเพาะ และหลอมรวม envelope เข้ากับเยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดขาวของ host ทำให้ capsid หลุดเข้าสู่ ไซโทพลาสซึมของ host หลังจากนั้น อาร์เอ็นเอและเอนไซม์ต่าง ๆ ของ ไวรัสจะหลุดออกมาจาก capsid เมื่อเข้ามาสู่ ไซโทพลาสซึมแล้วเอนไซม์ Reverse transcriptase จะเปลี่ยน อาร์เอ็นเอของไวรัสให้เป็น ดีเอ็นเอโดยใช้ Nucleoside (หรือ nucleotides) ของ host เอง หลังจากนั้น ดีเอ็นเอของไวรัสจะรวมกับ ดีเอ็นเอของ host โดยเอนไซม์ integrase แล้วจะมีการกระตุ้นให้เกิดการ translation ในตำแหน่งที่ ดีเอ็นเอของไวรัสแทรกตัวอยู่ออกมาเป็นโปรตีนสายยาว ๆ ที่ทำหน้าที่ไม่ได้ของไวรัส หลังจากนั้นเอนไซม์ protease จะเข้ามาตัดโปรตีนสายยาวนี้ ทำให้ได้โปรตีนที่พร้อมจะประกอบเป็นตัวไวรัสตัวใหม่ขึ้น

อาการและอาการแสดง

[แก้]

กลุ่มอาการติดเชื้อเอชไอวีแบบเฉียบพลัน

[แก้]

ระยะแฝง

[แก้]


เอดส์

[แก้]

พยาธิสรีรวิทยา

[แก้]

การติดต่อ

[แก้]

ระบบการติดต่อนั้นมีหลายส่วน โดยระบบของไวรัสนั้นจะแบ่งตัวในเซลล์ที่มีของเหลว และระบบการทำงานส่วนของน้ำและสารเหลวที่ถูกผลิตขึ้นภายในร่างกายได้ทั้งหมด

ทางเพศสัมพันธ์

[แก้]

การคัดหลั่งสารและน้ำเชื้อมีโอกาสที่ไวรัสจะอยู่ในระบบมากที่สุด เนื่องจากเป็นส่วนที่มีผลิตสารอยู่เกือบตลอดเวลา

เลือดหรือส่วนประกอบของเลือด

[แก้]

น้ำเลือดและของเหลวในเลือดส่วนมากก็มีการแพร่กระจายตัวของเซลล์ออกไปตามส่วนต่างเช่นกัน

จากแม่สู่ลูก

[แก้]

โดยการแลกเปลี่ยนสารเหลวภายในร่างกายทารกและร่างกายมารดา แต่มีโอกาสที่จะมีการติดเชื้อจากการคลอดโดยมีการปนเปื้อนของเลือดมารดาไปสู่ทารก โดยในปัจจุบันมีการพัฒนาระบบยาต้านไวรัสเพื่อให้เด็กไม่มีการติดเชื้อ

การติดเชื้อซ้ำซ้อน

[แก้]

การติดเชื้อซ้ำซ้อนอันเนื่องมาจากการที่ไวรัสทำการแตกตัวรหัสในสารพันธุกรรม อาร์เอ็นเอ และ ดีเอ็นเอ เข้าไปในเซลล์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเม็ดเลือดขาว และ ที-เซลล์ รวมไปถึง แมสต์เซลล์ ทำให้เกิดระบบการซ่อมแซ่มร่างกายเกิดการทำลายตัวเอง ทำให้เกิดการเปลี่ยนระบบการจดจำคุณลักษณะของเซลล์ในร่างกายตนเองไม่ได้ ทำให้เกิดการลดลงของเซลล์เม้ดเลือดขาว และระบบคุ้มกันภายในร่างกายลดลง

โครงสร้างและจีโนม

[แก้]

เอชไอวี มีความแตกต่างทางโครงสร้างจาก เรโทรไวรัส ชนิดอื่น ๆ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 120 นาโนเมตร (1 ใน 120 พันล้านส่วนของ 1 เมตร; เล็กกว่าเม็ดเลือดแดงประมาณ 60 เท่า) และ มีรูปทรงกลม มีจีโนมเป็นอาร์เอ็นเอ

การโน้มตอบสนอง (Tropism)

[แก้]

วงจรการเพิ่มจำนวน

[แก้]

การเข้าสู่เซลล์

[แก้]

การถ่ายแบบ (Replication) และการถอดรหัส (Transcription)

[แก้]

ความหลากหลายทางพันธุกรรม

[แก้]

การตรวจหาเชื้อเอชไอวีและเอดส์ทำได้ด้วยการเจาะเลือด ซึ่งแบ่งเป็นการตรวจหาปริมาณ CD4 (CD4 Count) เป็นการตรวจเซลล์เม็ดเลือดขาวที่อยู่ในเลือด เพื่อดูความเสียหายที่เกิดจากไวรัสเอชไอวีทำลายเม็ดเลือดขาว ซึ่งเป็นที่อยู่ของระบบภูมิคุ้มกัน การตรวจหาปริมาณไวรัสที่อยู่ในเลือด (Viral Load:  VL) และการตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัส (Nucleic Acid Test: NAT)

การรักษา

[แก้]

การรักษาที่อยู่ในระหว่างการพัฒนา

[แก้]

แหล่งกักเชื้อระยะแฝง

[แก้]

พยากรณ์โรค

[แก้]

ระบาดวิทยา

[แก้]

ประวัติศาสตร์

[แก้]

การค้นพบ

[แก้]

แนวคิดปฏิเสธเอดส์

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  • นิตยสาร หมอชาวบ้าน ฉบับที่ 12 ปีที่ 2
  • เอกสารประกอบคำบรรยาย เรื่อง เอดส์และการป้องกัน ของ กรมอนามัย