ข้ามไปเนื้อหา

แมคดอนเนลล์ ดักลาส เอฟ-15 อีเกิล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
F-15 EAGLE
เอฟ-15ซีบินเหนือกรุงวอชิงตัน ดีซี
ข้อมูลทั่วไป
บทบาทเครื่องบินขับไล่ครองความได้เปรียบทางอากาศ
ชาติกำเนิด สหรัฐ
บริษัทผู้ผลิตMCDONNELL DOUGLAS /BOEING
สถานะอยู่ในประจำการ
ผู้ใช้งานหลักกองทัพอากาศสหรัฐ
กองทัพอากาศอิสราเอล
กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น
กองทัพอากาศซาอุดิอาระเบีย
ประวัติ
เริ่มใช้งาน9 มกราคม 1976
สายการผลิตF-15E STRIKE EAGLE
F-15ESMP

F-15K SLAM EAGLE
F-15J EAGLE

F-15S STRIKE EAGLE

เอฟ-15 อีเกิล (อังกฤษ: F-15 Eagle) เป็นเครื่องบินขับไล่สองเครื่องยนต์ทางยุทธวิธีทุกสภาพอากาศที่ถูกออกแบบมาเพื่อทำหน้าที่ครองความได้เปรียบทางอากาศ มันถูกพัฒนาให้กับกองทัพอากาศสหรัฐและได้ทำการบินครั้งแรกเมื่อเดือนมิถุนายน ปี 1975 มันเป็นหนึ่งในเครื่องบินขับไล่ที่โดดเด่นที่สุดในสมัยใหม่ เอฟ-15อี สไตรค์อีเกิลเป็นแบบดัดแปลงสำหรับทำหน้าที่.ขับไล่.และ.โจมตีทุกสภาพซึ่งได้เข้าประจำการในปี 1976 กองทัพอากาศสหรัฐฯ วางแผนที่จะใช้ F-15 ไปจนถึงปี 2025 [1]

การพัฒนา

[แก้]

ในช่วงสงครามเวียดนาม เมือกองทัพเรือและกองทัพอากาศสหรัฐกำลังแข่งขันกันเพื่อกำหนดอนาคตของเครื่องบินขับไล่ ทางยุทธวิถี เมื่อรัฐมนตรีกลาโหม Robert McNamara กดดันให้สองเล่าทัพใช่อากาศที่เป็น Common Fleet > (การใช้งานอากาศยานแบบเดียวกันเพื่อลดค่าใช้จ่าย ในการใช้งาน ที่ถึงแม้จะกระทบถึงความสามารถในการรบ).และในช่วงนันต้องการหา.เครื่องบินขับไล่มาต่อกรกับ MIG-25 ของโซเวียต.

ด้วยนโยบายของ กลาโหม กองทัพเรือและกองทัพอากาศจึงดำเนินโครงการ TF-X จึงกล้ายมาเป็นเครืองบิน F-111 แต่ในเดือนมกราคมปี 1965 รัฐมนตรีกลาโหม Robert McNamara  ได้ให้กองทัพอากาศตัดสินใจ สำหรับโครงการเครื่องบินขับไล่ราคาประหยัดแบบใหม่ ที่มีระยะทำการสันลง และรองรับภารกิจ Close air support  ที่จะมาแทนที่เครืองบินหลายๆแบบ ทั่ง  

NORTH AMERICA F-100D SUPER SADRE   และเครื้องบินทิ้งระเบิดเบาอีกหลายๆแบบ โดยในการทดแทนนี้มีเครื่องบินหลายลำที่ถูกเลือกเข้ามา. กองทัพเรือได้เลือก Douglas A-4 SKYHAWK  และ LTV A-7 CORSAIR II  ที่เป็นเครื่องบินโจมตีเบาแบบเพียวๆ  แต่กองทัพอากาศ กลับให้ความสนใจกับ Northrop F-5 ที่เป็นเครืองบินขับไล่และสามารถทำภารกิจโจมตีภาคพื่นได้เป็นภารกิจรอง  เนื่องจากถ้ากองทัพอากาศเลือกเครื่องบินทำภารกิจโจมตีภาคพื่นเป็นภารกิจหลัก พวกเขาจำเป็นต้องหาเครื่องบินขับไล่อีกแบบหนึ่ง เพื่อความเป็นต่อในการครองอากาศ แต่ในท้ายที่สุด ก็เหลือตัวเลือกเครืองบินขนาดเบาทางยุทธวิถี แบบ F-5 และ A-7 เท่านันที่จะถูกตัดสินใจ โดยไปให้ความสัมพันธ์กับการออกแบบเครื่องบินขับไล่ครองอากาศ ที่มี สมรรถนะสูงกว่านี้ เนื่องจากตั่งแต่เหตุการณ์ที่ F-105  ถูกยิงตกโดยเครื่องบินขับไล่อย่าง MIG-17 ในปี 1965

เดือน เมษายนปี 1965 Harold  Brown  ผู้อำนวยการ Director of Department Of Defense Research and Engineering  ได้ให้มีการเริ่มต้นศึกษาโครงการ  เครื่องบินขับไล่ F-X ที่ได้คาดหวังไว้ว่า จะถูกผลิตออกมา 800 ถึง 1000 ลำ โดยถูกเน้นไปที่ความคล่องตัวแทนความเร็วที่สูงและจะไม่สามารถการโจมตีภาคพื่นดิน โดยความต้งการของโครงการ F-X ถูกกำหนดขึ้นในเดือน ตุลาคมปี 1965 และถูกไปเป็น คำร้องขอข้อเสนอ Request For Proposals ถึง 13 บริษัท ผู้พัฒนาอากาศยาน. ในวันที่  8 ธันวาคม ปี 1965 ในตอนนันเองกองทัพอากาศก็ได้เลือกเครื่องบิน A-7 ในการที่เป็นเครื่องบินที่ขาดคุณลักษณะในการต่อสู้ทางอากาศ และมาคาดหวังความสามารถใยการครองอากาศจากโครงการ F-X แทน

มี 8 บริษัทที่ตอบรับข้อเสนอในครั้งนี้.แต่จากการคัดเลือกมีเพียง 4 บริษัทที่ให้ดำเนินการต่อในการเสนอเครื้องบินต้นแบบ มีการออกแบบที้มากถึง 500 แบบ ในช่วงเวลานี้.โดยการออกแบบส่วนใหญ่จะใช่เครื่องบินที่สามารถพับปีกได้.มีน้ำหนักลำตัวมากกว่า  60000 ปอนด์และมีความเร็วที้มากกว่ามัค 2.7 และมีอัตราสวน TTVLS อยู่ที่ 0.75 การศึกษาดำเนินการมาจนถึงปี 1966 ตัวเครื่องบินนันดูจะมีน้ำหนักมากๆพอกับ F-111 AARDVARK

ซึ่งนันจะทำให้มันไม่มีคุณสมบัติมากพอสำหรับเครื่องบินขับไล่ครองอากาศ ช่วงที่กำลังวิจัยโครงการ บทเรียนจากการรบในสงครามเวียดนาม..ได้ก่อให้เกิดเป็นความกังวลจำนวนมาก.โดยกำหนดให้เครื่องบินเน้นไปที่การต่อสู้โจมตีอากาศสู้อากาศตั่งแต่ระยะไกล โดยทำให้เครื่องบินขับไล่ยุคก่อนนันถูกออกแบบมาให้มีเรดาห์ขนาดใหญ่ และมีความเร็วที่สูง แต่ก็มีข้อจำกัดในความคล่องตัว.และขาดการติดตั่งอาวุธดังเดิมอย่างปืนกลอากาศ ดังตัวอย่างที่เครื่องบินขับไล่ที่สหรัฐใช่อย่าง MCDONNELL DOUGLAS F-4 PHANTOM II ที่ใช่งานทั้งในกองทัพอากาศ กองทัพเรือ.และนาวิกโยธิน.สหรัฐ มีนเป็นเครื่องบินเพียงแบบเดียวที่พอจะรับมือกับภัยคุมคามอย่างเครื่องบินขับไล่ MIG ในสงครามเวียดนาม.แต่ด้วยขนาดที่ใหญ่ของ PHANTOM ทำให้เสียเปลี่ยนกับเครื่องบินขับไล่ที่เล็งอย่าง MIG-21 MIG-17 และ MIG-15 ในการรบระยะประชิด และจรวดนำวิถีอากาศสู้อากาศในขณะนันมีผลงานต้ำกว่าที่ขาดไว้.จึงถือกำเนิดและหลักการฝึกแบบใหม่ของนักบินเครื่องบินขับไล่สหรัฐที่ถูกสอนหลังจากช่วงเวลานัน รวมถึงการนำปืนใหญ่อากาศแบบ M61 VULCAN  มาติดตั่ง กลับมาติดตั่งบนเครื่องบิน F-4

จากปัญหานี้ JOHN BOYD อดีตนักบินเครื่องบินขับไล่ของสหรัฐ จึงได้ตั่งทฎษภี Energy-Maneuverubility(U) ที่ได้กล่าวไว้ว่า

"พลังงานที่มากกว่า และความคล่องตัวจะเป็นปัจจัยสำคัญในการออกแบบเครื่องบินขับไล่ที่สูงกว่าของเครื่องบินนัน."

ทำให้ในต้นปี 1967 ความต้องการของโครงการ ได้ถูกเปลียนให้ เปลี่ยนให้มี

อัตราส่วนแรงขับต่อน้ำหนักเท่าก้บ   1.1

ความเร็วสูงสุด    มัค  2.3

น้ำหนัก             40,000 ปอนด์  

ปีกรองรับน้ำหนักบรรทุดได้สูงสุด  80 ปอนด์/ต่อตารางฟุต

ในช่วงเวลาเดียวกับกาาพัฒนา สหภาพโซเวียตก็ได้เผยให้เห็นถึงเครื่องบินขับไล่ MIG-25 ที่สนามบิน โดโมเดโดโว่ ใกล้กับ Moscow  โดยเครื่องบิน MIG-25 นี้

ถูกออกแบบให้มีความเร็วและเพดานสูงสำหรับการเป็นเครื่องบินขับไล่สกัดกันโดยการออกแบบของเครื่องบินที่มีความเร็วมากกว่ามัค 2.8  ทำให้เครื่องบินลำนี้ต้องใช่วัสดุอย่างสแตนเลส steel แทนที่เครื่องบินขับไล่ปกติเขาใช้กันในการสร้างเครื่องบินขับไล่น้ำหนักเบาและมีปีกขนาดใหญ่สำหรับเพดานบินที่สูง ลักษณะภายนอกของ mig-25 มันมีลักษณะคล้ายกับเครื่องบินต้นแบบในโครงการ F-X แต่มีขนาดใหญ่กว่าจึงนำไปสู้ความกังวลร้ายแรงทั่วกระทรวงกลาโหมสหรัฐ.ในเวลานัน.

เดือนกันยายนปี  1968 คำขอข้อเสนอได้ถูกส่งให้ไปย้ง บริษัทผลิตอากาศยาน 4 บริษัทด้วยกัน โดย กำหนดไว้ว่า  เป็น

เครื่องบินขับไล่ครองอากาศ ที่นั่งเดียว

น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด. คือ 40,000 ปอนด์

มีความเร็วสูงสุดคือ มัค 2.5

อัตราส่วนแรงขับต่อน้ำหนัก  1.1

มีเครื่องยนต์ 2 ตัว  ในเครื่องบิน 1 ลำ ที่คล้ายกับโครงการ VF-X ของกองทัพเรือ

ในเวลาเดียวกัน กระทรวงกลาโหมของสหรัฐได้ร้องของให้ NASA ตอบรับข้อเสนอของโครงการ VF-X  ในลักษณะของคู่สัญญาจ้าง ทางอุตสาหกรรมโดยผู้อยู่เบื่องหลังกับการทำงานของนาซ่านี้คือ

John Foster ผู้อำนวยการ Defense  Department Reseearch and Engineering  ด้วยเหตุผลสองข้อ โดยประการแรกการออกแบบจาก Nasa จะเป็นการรวมเอาเทคโนโลยี ขั้นก้าวหน้า อุตสาหกรรม มาปรับใช่  สอง ด้วยประสบการณ์ ของ Nasa อาจจะช่วยให้ลดความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในการพัฒนาภายหลังได้

การออกแบบคอนเซป 4 ตัว สำหรับเครื่องบินขับไล่นี้ มีชื่อว่า Langley Fighter/Attack Experimental  หรือ [LFAX]

ซึ่ง มีต้นแบบทั่ง 4 แบบคือ

LFAX-4 (แบบที่ใช้ปีกพับปรับองศาได้)

LFAX-8  เครื่องต่อยอดมาจาก LFAX-4 แต่มีปีกแบบตายตัว

LFAX-9  มีแบบเครื่องยนต์ที่ติดตั่งทีาใต้ปีก

LFAX-10 มีรูปร่างภายนอกคล้ายกับ MIG-25 ของโซเวียต

ทีมพัฒนาของ McDonnell Douglas ได้ให้ความสนใจ LFAX-8 เป็นพิเศษ  และมีผลต่อการออกแบบเครื่องบินของบริษัทนี้ โดย McDonnell Douglas ได้ทำการดัดแปลงรูปทรงของปีกเครื่องบินเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการบังคับทิศทางในช่วงความเร็วต่ำกว่าเสียง

ในเดือนตุลาคมปี 1969 กองทัพอากาศสหรัฐ ได้เปลี่ยนชื่อโครงการ F-X เป็น ZF-15A จาก 4 บริษัท ที่ตอบรับมา กองทัพอากาศ ได้ตัด General Dynamics  ออก จึงเหลือเพียง Fairchild Republic  

North America Rockwell และ MCDONNELL DOUGLAS เพื่อให้ทั่ง 3 บริษัทส่งข้อเสนอทางด้านเทคโนโลยี.ในเดือนมิถุนายนปี 1969 และในวันที่ 23 ธันวาคม  1969 กองทัพอากาศก็ได้ประกาศให้ MCDonnell Douglas เป็นผู้ชนะโครงการ F-15

การเข้าร่วม.ปฎิบัติการของ F-15

[แก้]

แต้มการสอยแรกเครื่องบินของ F-15 เริ่มต้นโดยกองทัพอากาศอิสราเอล ในปี 1979 ในการบุกโจมตีกรุงปาเลนสไตน์ ในเลบาลอน ปี 1979 ถึง 1981 โดยยิงเครื่องบินของซีเรียตกที่ประกอบไปด้วย MIG-21 13 ลำ และ MIG-25 อีก 2 ลำ ในสงครามเลบาบอนปี 1982 ก็ยังมีแต้มสังหาเครื่องบินรบของซีเรียอีกกว่า 40 ลำ อีกทั่งอิสราเอล และ ญี่ปุ่น เป็นประเทศที่ดัดแปลง F-15 ให้สามารถทำภารกิจโจมตีภาคพื่นได้

ในปี 1984 มีรายงานว่า F-15C ของซาอุได้ยิง F-4E PHAMTON II สองลำของอิหร่านตก

ในช่วงปี 1984 ถึง 1986  มีการนำจรวดต่อต้านดาวเทียมมีติดตั้งบน F-15 อย่าง ASM-135 ASAT โดยติดตั้งที่กึ่งกลางใต้ท้อง เพื่อหวังทำลายดาวเทียมสอดแนมวงโครงจรต่ำ ในการทดสอบนักบินจะไต่ระดับขึ้น 65 องศา ไปยังจุดที่คำนวณไว้ เมื่อถึงระดับความสูง 38,100 ฟุต และความเร็วมัค 1.22 นักบินจะยิงลูกจรวดออกไปใส่ยังดาวเทียม ในการทดสอบคร้งที่ 3 ในการยิงดาวเทียมปลดประจำการ T-78-1 หรือโซวิน ที่อยู่ห่างจากพื่นโลก  555 กิโลเมตรจากพื่นดิน ทำให้นักบินนาวาอากาศตรี Wilbert D. "Doug" Pearson เป็นนักบินเพียงคนเดียวที่ประสบความสำเร็จ ในการยิงดาวเทียมด้วย F-15  เพราะหลังจากนันไม่นานโครงการนี้ก็ได้ถูกปิดตัวลง

ในปฎิบัติการพายุทะเลทรายสงครามอ่าวในปี 1991 F-15C/D ของสหรัฐ ได้เข้าร่วมรบทางอากาศ 36 ครั้งจากทังหมด 39 ครั่งตลอดช่วงของสงคราม  ข้อมูลจากกองทัพอากาศสหรัฐ ยื่นยันว่าเครื่องบินอิรักถูกทำลายโดย F-15C จำนวน 34 ลำ ซึงประกอบไปด้วย MIG-29 MIG-25 MIG-21 SU-25 SU-22 SU-7 Mirage F-1 รวมไปถึงเครื่องบินลำเลียง เครื่องบินฝึกและ ฮอ  

ในส่วน ซาอุ อาจเป็นผู้ใช้งาน F-15  ที่ใช้ไม่ได้เต็มดีพอสมควร โดยวันที่ 11 พฤศจิกายน ปี 1990 มีนักบินของซาอุที่แปรพันต์นำเครื่องบินของ F-15C  ไปลงจอดที่ซูดาน  ทางรัฐบาลซาอุได้จ่ายเงินถึง 50 ล้านเหรียญ เพื่อขอซื้อเครื่องบิน คืน และในช่วงสงครามอ่าว  วันที่ 13 กุมภาพันธ์ ปี 1991 มีรายงานว่า F-15 ของซาอุ ตกที่สนามบิน คามิมูซาอิ โดยในภายหลังอิรักอ้างว่า เป็นผู้ที่ยิงเครื่องบินลำนี้ด้วย MIG-25PD แต่ข้อมูลนี้ไม่มีการยื่นยันอีกทั้งในช่วง เวลานันกองกำลังพันธมิตร ของสหรัฐ ได้ทำรายระบบป้องกันภัยทางอากาศของอิรักไปจนหมดแล้ว

ในสงครามโคโซโว F-15C ของกองทัพอากาศสหรัฐ ยังมีผลงานในการสอยเครื่องบิน MIG-29 อีก 1 ลำ

แบบต่างๆ

[แก้]

แบบต่างๆของ F-15

[แก้]
F-15A
เป็นเครื่องบินขับไล่แบบหนึ่งที่นั่ง รุ่นแรก. สร้างออกมา 384 ลำตั้งแต่ปีพ.ศ. 2515-2522[2]
F-15B
แบบสองที่นั่งสำหรับการฝึก เดิมทีใช้ชื่อ TF-15A สร้างออกมา 61 ลำตั้งแต่ปีพ.ศ. 2515-2522[2]
F-15C
เป็นเครื่องบินขับไล่ครองความได้เปรียบทางอากาศในทุกสภาพอากาศแบบหนึ่งที่นั่งที่ได้รับการพัฒนาเพิ่ม สร้างออกมา 483 ลำตั้งแต่ปีพ.ศ. 2522-2528[2]
F-15D
แบบสองที่นั่งสำหรับการฝึก สร้างออกมา 92 ลำตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522-2528[2]
F-15J
เป็นเครื่องบินขับไล่แบบหนึ่งที่นั่งสำหรับกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศของญี่ปุ่น สร้างออกมา 139 ลำภายใต้ใบอนุญาตโดยบริษัท มิตซูบิชิตั้งแต่ปีพ.ศ. 2524-2540 [2]
F-15DJ
แบบเครื่องบินรุ่นสองที่นั่งที่ออกแบบ.มาใช้ในฝูงบินข้าศึกสมมุติของญี่ปุ่น.และเป็นรุ่นฝึกของญี่ปุ่นในเวลาเดียวกัน[2]
F-15NPS
เป็นแบบที่เสนอให้ในปี 1970 ให้กับกองทัพเรือสหรัฐ F-15NPS ที่สามารถติดขีปนาวุธเอไอเอ็ม-54 ฟีนิกซ์. ได้เหมือนกับ F-14 TOMCAT ทุกรุ่น.แต่กองทัพเรือสหรัฐก็ปฎิเสธ.[3]
F-15E STRIKE EAGLE
เอฟ-15อี สไตรค์อีเกิล เป็นรุ่นที่พัฒนาต่อมาจากF-15C EAGLE ให้สามารถทำภารกิจได้หลากหลายนอกจากการเป็นเครื่องบินขับไล่.แต่ต่างประเทศนันสนใจในรุ่นนี้...ก็เลยมีรุ่นแยกย่อยเช่น F-15K F-15I

แบบการวิจัยและทดสอบ

[แก้]
เอฟ-15 สตรีคอีเกิล (72-0119)
เป็นเอฟ-15เอที่ใช้เพื่อสาธิตการเร่งความเร็วของเครื่องบิน มันได้ทำลายสถิติการไต่ระดับด้วยเวลาไป 8 ครั้งระหว่างวันที่ 16 มกราคมและ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 มันถูกส่งมอบให้กับพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2523[4]
เอฟ-15 เอส/เอ็มทีดี (71-0290)
เป็นเอฟ-15บีลำแรกที่ถูกดัดแปลงให้วิ่งขึ้นและลงจอดในระยะสั้น มันเป็นเครื่องบินสาธิตเทคโนโลยีกระบวนท่า[5] ในปลายทศวรรษที่ 1980 มันได้รับการติดตั้งปีกเสริมพร้อมกับท่อไอเสียทรงสี่เหลี่ยม มันใช้เทคโนโลยีกระบวนท่าและวิ่งขึ้นระยะสั้นหรือเอสเอ็มทีดี (short-takeoff/maneuver-technology, SMTD) [6]
เอฟ-15 แอคทีฟ (71-0290)
เอฟ-15 เอส/เอ็มทีดีที่ต่อมาถูกดัดแปลงให้เป็นเครื่องบินวิจัยเทคโนโลยีควบคุมการบิน[5]
เอฟ-15 ไอเอฟซีเอส (71-0290)
เอฟ-15 แอคทีฟต่อมาถูกดัดแปลงให้เป็นเครื่องบินวิจัยระบบควบคุมการบินด้วยปัญญาประดิษฐ์ เอฟ-15บี หมายเลขเครื่อง 71-0290 เป็นเอฟ-15 ที่ยังทำการบินอยู่โดยมีอายุมากที่สุดในเดือนมกราคม พ.ศ. 2551[6]
เอฟ-15 เอ็มเอเอ็นเอ็กซ์
เป็นชื่อของเอฟ-15 แอคทีฟที่ไม่มีหาง แต่ก็ไม่เคยถูกสร้างขึ้นมา
เอฟ-15 สำหรับวิจัยการบิน (71-0281 และ 71-0287)
เอฟ-15เอสองลำถูกใช้ทดลองโดยศูนย์วิจัยการบินดรายเดนของนาซ่า การทดลองรวมทั้ง การควบคุมอิเลคทรอนิกดิจิตอลรวมหรือไฮเดก (Highly Integrated Digital Electronic Control, HiDEC) ระบบควบคุมเครื่องยนต์หรือเอเดกส์ (Adaptive Engine Control System, ADECS) ระบบควบคุมการบินค้นหาและซ่อมแซมตัวเองหรือเอสอาร์เอฟซีเอส (Self-Repairing and Self-Diagnostic Flight Control System, SRFCS) และระบบเครื่องบินควบคุมการเคลื่อนที่หรือพีซีเอ (Propulsion Controlled Aircraft System, PCA)[7] เครื่องหมายเลข 71-0281 ถูกส่งกลับให้กองทัพอากาศและถูกนำไปจัดแสดงที่ฐานทัพอากาศแลงลีย์ในปีพ.ศ. 2526
เอฟ-15บี รีเซิร์จเทสท์เบด (74-0141)
ในปีพ.ศ. 2536 เอฟ-15บีลำหนึ่งถูกดัดแปลงและใช้โดยนาซ่าเพื่อทำการทดสอบการบิน[8]

ประเทศผู้ใช้งาน

[แก้]
ประเทศผู้ใช้งานเอฟ-15 อีเกิล ในปีพ.ศ. 2550

สำหรับแบบที่มาจากเอฟ-15อีดูที่เอฟ-15อี สไตรค์อีเกิล

ธงของประเทศอิสราเอล อิสราเอล
  • กองทัพอากาศอิสราเอลใช้เอฟ-15 มาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2520 ในปัจจุบันเครื่องบินเหล่านี้จัดเป็นเอฟ-15/เอบีสองฝูงบินและเอฟ-15ซี/ดี หนึ่งฝูงบิน เอฟ-15เอ/บี 15 ลำแรกมีโครงสร้างที่ผลิตโดยสหรัฐอเมริกา[9] การส่งครั้งที่สองถูกหยุดชั่วคราวเพราะได้รับผลกระทบจากสงครามเลบานอน [10]
ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
  • กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศของญี่ปุ่นได้รับเอฟ-15เจ 202 ลำและเอฟ-15ดี 20 ลำตั้งแต่ปีพ.ศ. 2524 ซึ่งเอฟ-15เจสองลำและเอฟ-15ดีเจ 12 ลำถูกสร้างขึ้นในสหรัฐและที่เหลือถูกสร้างโดยมิตซูบิชิ ในปัจจุบันเครื่องบินเหล่านี้ ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550 กองกำลังป้องกันทางอากาศได้ตัดสินใจที่จะพัฒนาเอฟ-15 ให้ใช้กระเปาะเรดาร์สังเคราะห์ เครื่องบินเหล่านี้จะถูกแทนที่โดยอาร์เอฟ-4 ที่ในปัจจุบันอยู่ในประจำการ[11]
ธงของประเทศซาอุดีอาระเบีย ซาอุดีอาระเบีย
 สหรัฐ
  • กองทัพอากาศสหรัฐมีเอฟ-15 630 ลำในเดือนกันยายน พ.ศ. 2551[12] เอฟ-15 นั้นกำลังจะถูกแทนที่โดยเอฟ-22 แร็พเตอร์

เหตุการณ์และอุบัติเหตุครั้งสำคัญ

[แก้]
  • เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 ขณะที่กองทัพอากาศอิสราเอลกำลังทำการซ้อมรบทางอากาศ เอฟ-15ดีหนึ่งลำได้ชนเข้ากับเอ-4 สกายฮอว์ค นักบินซิวิ เนดิวิและนักบินร่วมของเขาไม่รู้ว่าปีกของเอฟ-15นั้นถูกฉีกออกสองฟุตจากตัวถัง เอฟ-15 หมุนอย่างควบคุมไม่ได้หลังจากถูกชน ซิวิตัดสินใจที่จะพยายามควบคุมเครื่องและใช้สันดาปท้ายเพื่อเพิ่มความเร็ว ทำให้เขาควบคุมเครื่องได้อีกครั้ง เพราะว่าการยกตัวที่เกิดจากพื้นที่ผิวหน้าขนาดใหญ่ของตัวถัง ปีหส่วนหาง และพื้นที่ปีกที่เหลือ เอฟ-15 ได้ลงจอดด้วยความเร็วสองเท่าจากปกติเพื่อสร้างแรงยกและตะขอที่หางของมันหลุดออกไปในตอนที่ลงจอด นักบินสามารถหยุดเอฟ-15 6 เมตรก่อนสุดทางวิ่ง ต่อมาเขาได้กล่าวว่า "ผมน่าจะดีดตัวออกมาถ้ารู้ว่ามันเกิดขึ้น"[13][14]
  • ในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2533 เอฟ-15 ลำหนึ่งที่ฐานทัพอากาศเอลเมนดอล์ฟ ได้เกิดยิงเอไอเอ็ม-9เอ็มใส่เอฟ-15 อีกลำหนึ่งโดยอุบัติเหตุ เครื่องบินที่ได้รับความเสียหายสามารถลงจอดได้อย่างปลอดภัย ต่อมามันได้รับการซ่อมแซมและเข้าประจำการต่อ[15]
  • ในวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 ในขณะซ้อมการเข้าสกัดกั้นเหนือทะเลญี่ปุ่น เอฟ-15เจลำหนึ่งถูกยิงตกโดยขีปนาวุธเอไอเอ็ม-9 ที่ยิงโดยลูกหมู่ของเขาโดยอุบัติเหตุเหมือนกับที่เกิดขึ้นในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2533 นักบินดีดตัวได้อย่างปลอดภัย[16]
  • เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2544 ขณะการซ้อมบินระดับต่ำเหนือสกอตแลนด์ เอฟ-15ซีสองลำของกองทัพอากาศสหรัฐได้ตกลงใกล้กับยอดเขาแห่งหนึ่ง[17] นักบินทั้งสองเสียชีวิตในอุบัติเหตุซึ่งต่อมาส่งผลต้องนำตัวผู้ควบคุมการจราจรทางอากาศของกองทัพอากาศอังกฤษไปขึ้นศาล แต่เขาก็บริสุทธิ์ [18]
  • ในวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เอฟ-15ซีตกลงขณะทำการซ้อมรบใกล้กับเซนท์หลุยส์รัฐมิสซูรี นักบินดีดตัวได้แต่ได้รับบาดเจ็บสาหัส การตกมาจากโครงสร้างที่เกิดเสียหายขณะทำการบิน ในวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เอฟ-15 ทั้งหมดถูกระงับการบินหลังจากทำการสืบสวนหาสาเหตุของการตก[19] และวันต่อมาก็ได้ทำการระงับเอฟ-15 ที่ทำการรบอยู่ในตะวันออกกลาง[20] เมื่อถึงวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เอฟ-15 มากกว่า 1,100 ลำถูกระงับการบินทั่วโลกเช่นเดียวกับอิสราเอล ญี่ปุ่น และซาอุดิอาระเบีย[21] เอฟ-15 ได้รับการอนุญาตให้บินขึ้นอีกครั้งในวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550[22] ในวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2551 กองทัพอากาศสหรัฐให้เครื่องเอฟ-15เอ-ดี 60% กลับไปทำการบินได้[23] ในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2551 มีการเปิดเผยว่าเกิดจากโครงสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน[24] กองทัพอากาศอนุญาตให้เอฟ-15เอ-ดีทั้งหมดขึ้นบินอีกครั้งในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551[25] ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2551 นักบินที่ได้รับบาดเจ็บได้ทำการฟ้องบริษัทโบอิงที่ผลิตเอฟ-15[26]

รายละเอียด เอฟ-15ซี อีเกิล

[แก้]
  • ลูกเรือ นักบิน 1 นาย
  • ความยาว 19.43 เมตร
  • ระยะระหว่างปลายปีกทั้งสองข้าง 13.05 เมตร
  • ความสูง 5.63 เมตร
  • พื้นที่ปีก 56.5 ตารางเมตร
  • น้ำหนักเปล่า 12,700 กิโลกรัม
  • น้ำหนักบรรทุก 20,200 กิโลกรัม
  • น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด 30,845 กิโลกรัม
  • ขุมกำลัง เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนแพรทท์แอนด์วิทนีย์ เอฟ100-100 หรือ-220 จำนวน 2 เครื่อง ให้แรงขับเครื่องละ 17,450 ปอนด์ เมื่อไม่ใช้สันดาปท้าย, 25,000 ปอนด์ เมื่อใช้สันดาปท้าย
  • ความเร็วสูงสุด
    • ระดับสูง 2.5 มัค (2,650 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
    • ระดับต่ำ 1.2 มัค (1,470 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
  • รัศมีทำการรบ 1,967 กิโลเมตร
  • ระยะทำการขนส่ง 5,550 กิโลเมตร (มีถังเชื้อเพลิงเพิ่ม)
  • เพดานบินทำการ 65,000 ฟุต
  • อัตราการไต่ระดับ 50,000 ฟุตต่อนาที
  • บินทน: 5.25 ขั้วโมง เมื่อไม่ได้เติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ และ 9.7 ชั่วโมง เมื่อเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ
  • อาวุธ

[27][28][29][30][31]

เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนแพรทท์แอนด์วิทนีย์ เอฟ100 ของเอฟ-15ซี อีเกิล

ดูเพิ่ม

[แก้]

การพัฒนาที่เกี่ยวข้อง

เครื่องบินที่เทียบเท่า

อ้างอิง

[แก้]
  1. Tirpak, John A. "Making the Best of the Fighter Force". Air Force magazine, March 2007.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ davies_2002
  3. Jenkins 1998, pp. 71–72.
  4. McDonnell Douglas F-15 Streak Eagle fact sheet, National Museum of the United States Air Force.
  5. 5.0 5.1 Jenkins 1998, pp. 65–70.
  6. 6.0 6.1 "Sonic Solutions". Aviation Week & Space Technology, 5 January 2009, p. 53. (online version, subscription required)[ลิงก์เสีย]
  7. F-15 Flight Research Facility fact sheet เก็บถาวร 2011-01-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Dryden Flight Research Center.
  8. F-15B Research Testbed fact sheet เก็บถาวร 2010-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Dryden Flight Research Center.
  9. "An Eagle evolves", Boeing, January 2004.
  10. Gething 1983
  11. "Lockheed Martin to Upgrade Radar for Reconnaissance Version of Japan's F-15" เก็บถาวร 2007-11-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Lockheed Martin press release, June 19, 2007.
  12. Mehuron, Tamar A., Assoc. Editor. 2009 USAF Almanac, Fact and Figures. Air Force Magazine, May 2009.
  13. No Wing F15 - crew stories - USS Bennington Retrieved 31 July 2006.
  14. F-15 flying with one wing by an Israeli pilot
  15. Jet Pilot Accidentally Fired Live Missile, Air Force Says. New York Times
  16. F-15 Eagle Losses and Ejections เก็บถาวร 2018-02-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Retrieved: 2 March 2008.
  17. body found at F-15 crash site Retrieved 8 March 2009.
  18. controller found not guilty Retrieved 8 March 2009.
  19. Air Force suspends some F-15 operations, U.S. Air Force, 4 November 2007.
  20. "Air Force grounds F-15s in Afghanistan after Missouri crash", CNN, 5 November 2007.
  21. Warwick, Graham. "F-15 operators follow USAF grounding after crash." Flight International, 14 November 2007.
  22. "Officials begin to clear F-15Es to full-mission status", U.S. Air Force, 15 November 2007.
  23. "Air Combat Command clears selected F-15s for flight", Air Force, January 9, 2008.
  24. "F-15 Eagle accident report released", US Air Force, 10 January 2008. Retrieved 26 January 2008.
  25. "ACC issues latest release from stand down for F-15s", Air Force, 15 February 2008.
  26. Lawsuit
  27. อภิวัตน์ โควินทรานนท์,อากาศยาน1979ฉบับเครื่องบิน,เอวิเอชั่น ออบเซิร์ฟเวอร์,กรุงเทพ,2522
  28. F-15 Eagle fact sheet, USAF, March 2008.
  29. Lambert 1993, p. 522.
  30. Davies 2002, Appendix 1.
  31. F-15 Eagle GlobalSecurity.org. Retrieved 27 January 2008.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Bowman, Martin W. US Military Aircraft. London: Bison Books Ltd., 1980. ISBN 0-89009-292-3.
  • Braybrook, Roy. F-15 Eagle. London: Osprey Aerospace, 1991. ISBN 1-85532-149-1.
  • Crickmore, Paul. McDonnell Douglas F-15 Eagle (Classic Warplanes series). New York: Smithmark Books, 1992. ISBN 0-8317-1408-5.
  • Davies, Steve. Combat Legend, F-15 Eagle and Strike Eagle. London: Airlife Publishing, Ltd., 2002. ISBN 1-84037-377-6.
  • Davies, Steve and Doug Dildy. F-15 Eagle Engaged, The World's Most Successful Jet Fighter. Osprey Publishing, 2007. ISBN 978-1-84603-169-4.
  • Drendel, Lou. Eagle (Modern Military Aircraft Series). Carrollton, Texas: Squadron/Signal Publications, 1985. ISBN 0-89747-168-1
  • Drendel, Lou and Don Carson. F-15 Eagle in action. Carrollton, Texas: Squadron/Signal Publications, 1976. ISBN 0-89747-023-0.
  • Eden, Paul and Soph Moeng, eds. The Complete Encyclopedia of World Aircraft. London: Amber Books Ltd., 2002. ISBN 0-7607-3432-1.
  • Fitzsimons, Bernard. Modern Fighting Aircraft, F-15 Eagle. London: Salamander Books Ltd., 1983. ISBN 0-86101-182-1.
  • Gething, Michael J. F-15 Eagle (Modern Fighting Aircraft). New York: Arco, 1983. ISBN 0-668-05902-8.
  • Gething, Michael J. and Paul Crickmore. F-15 (Combat Aircraft series). New York: Crescent Books, 1992. ISBN 0-517-06734-X.
  • Green, William and Gordon Swanborough. The Complete Book of Fighters. New York: Barnes & Noble Inc., 1988. ISBN 0-07607-0904-1.
  • Gunston, Bill. American Warplanes. New York: Crescent Books. 1986. ISBN 0-517-61351-4.
  • Huenecke, Klaus. Modern Combat Aircraft Design. Annapolis, Maryland: Naval Institute Press, 1987. ISBN 0-87021-426-8.
  • Jenkins, Dennis R. McDonnell Douglas F-15 Eagle, Supreme Heavy-Weight Fighter. Arlington, TX: Aerofax, 1998. ISBN 1-85780-081-8.
  • Kinzey, Bert. The F-15 Eagle in Detail & Scale (Part 1, Series II). El Paso, Texas: Detail & Scale, Inc., 1978. ISBN 0-8168-5028-3.
  • Lambert, Mark, ed. Jane's All the World's Aircraft 1993-94. Alexandria, Virginia: Jane's Information Group Inc., 1993. ISBN 0-7106-1066-1.
  • Scutts, Jerry. Supersonic Aircraft of USAF. New York: Mallard Press, 1989. ISBN 0-7924-5013-2.
  • Spick, Mike. The Great Book of Modern Warplanes. St. Paul Minnesota: MBI, 2000. ISBN 0-7603-0893-4.