โซมาลีแลนด์
9°45′N 45°58′E / 9.750°N 45.967°E
สาธารณรัฐโซมาลีแลนด์ Jamhuuriyadda Soomaaliland (โซมาลี) | |
---|---|
คำขวัญ: "ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระเจ้า มุฮัมมัดเป็นศาสนทูตของพระเจ้า" (อาหรับ: لا إله إلا الله محمد رسول الله) | |
ดินแดนที่ควบคุม ดินแดนที่อ้างสิทธิ์แต่ไม่ได้ควบคุม | |
ที่ตั้งของ โซมาลีแลนด์ (เขียวอ่อน) ในแอฟริกา (ฟ้า) | |
สถานะ | รัฐที่ไม่ได้รับการรับรอง; สหประชาชาติรับรองว่าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศโซมาเลียโดยนิตินัย |
เมืองหลวง และเมืองใหญ่สุด | ฮาร์เกย์ซา 9°33′N 44°03′E / 9.550°N 44.050°E |
ภาษาราชการ | โซมาลี |
ภาษาที่สอง | อาหรับ,[1] อังกฤษ |
การปกครอง | รัฐเดี่ยว สาธารณรัฐในระบบประธานาธิบดี |
Muse Bihi Abdi | |
Abdirahman Saylici | |
Abdirisak Khalif[2][3] | |
Adan Haji Ali | |
สภานิติบัญญัติ | รัฐสภา |
• สภาสูง | House of Elders |
• สภาล่าง | สภาผู้แทนราษฎร |
ความเป็นอิสระที่ไม่ได้รับรอง จากโซมาเลีย | |
ป. 2500 ปีก่อน ค.ศ. | |
1185 | |
1750–1884 | |
• การจัดตั้งบริติชโซมาลีแลนด์ | 1884 |
• รัฐโซมาลีแลนด์เป็นเอกราช | 26 มิถุนายน 1960[1] |
1 กรกฎาคม 1960[1] | |
18 พฤษภาคม 1991[1] | |
พื้นที่ | |
• รวม | 177,000[4] ตารางกิโลเมตร (68,000 ตารางไมล์) |
ประชากร | |
• 2020 ประมาณ | 4,171,898[5] (อันดับที่ 113) |
28.27[4] ต่อตารางกิโลเมตร (73.2 ต่อตารางไมล์) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 2018 (ประมาณ) |
• รวม | 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[6] |
• ต่อหัว | 675 ดอลลาร์สหรัฐ[4] |
สกุลเงิน | ชิลลิงโซมาลีแลนด์ |
เขตเวลา | UTC+3 (เวลาแอฟริกาตะวันออก) |
รูปแบบวันที่ | ว/ด/ปป (ค.ศ.) |
ขับรถด้าน | ขวามือ |
รหัสโทรศัพท์ | +252 (โซมาเลีย) |
โซมาลีแลนด์ (อังกฤษ: Somaliland; โซมาลี: Soomaaliland; อาหรับ: صوماليلاند, أرض الصومال) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐโซมาลีแลนด์ (อังกฤษ: Republic of Somaliland; โซมาลี: Jamhuuriyadda Soomaaliland; อาหรับ: جمهورية صوماليلاند) เป็นรัฐโดยพฤตินัยในจะงอยแอฟริกา ซึ่งนานาชาติถือเป็นส่วนหนึ่งของประเทศโซมาเลีย[7][8][9] โซมาลีแลนด์ตั้งอยู่ที่จะงอยแอฟริกาซึ่งอยู่ทางใต้ของอ่าวเอเดน มีชายแดนทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับจิบูตี ทางใต้และตะวันตกติดกับเอธิโอเปีย และทางตะวันออกติดกับบริเวณที่ไม่มีข้อพิพาทของโซมาเลีย[10] ดินแดนที่อ้างสิทธิ์นี้มีพื้นที่ 176,120 ตารางกิโลเมตร (68,000 ตารางไมล์)[11] และพลเมืองประมาณ 5.7 ล้านคนใน ค.ศ. 2021[12] ดินแดนนี้มีฮาร์เกย์ซาเป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่สุด รัฐบาลโซมาลีแลนด์ถือตนเองเป็นรัฐสืบทอดจากบริติชโซมาลีแลนด์ซึ่งเป็นรัฐโซมาลีแลนด์ที่เป็นเอกราชช่วงหนึ่งแล้วรวมเข้ากับดินแดนในภาวะทรัสตีโซมาเลีย (อดีตอิตาเลียนโซมาลีแลนด์) ใน ค.ศ. 1960 ก่อให้เกิดสาธารณรัฐโซมาลี[13]
นับตั้งแต่ ค.ศ. 1991 ดินแดนนี้ได้รับการบริหารจากรัฐบาลที่ผ่านการเลือกตั้งตามหลักประชาธิปไตยที่ต้องการการยอมรับจากนานาชาติในฐานะรัฐบาลสาธารณรัฐโซมาลีแลนด์[14][15][16][17] รัฐบาลกลางยังคงความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นทางการกับรัฐบาลต่างชาติบางประเทศที่ส่งคณะผู้แทนไปที่ฮาร์เกย์ซา[18][19][20] เอธิโอเปียยังคงมีสำนักงานการค้าในภูมิภาคนี้[21] อย่างไรก็ตาม ไม่มีประเทศใดหรือองค์การนานาชาติใด ๆ ยอมรับคำประกาศเอกราชของโซมาลีแลนด์อย่างเป็นทางการ[18][22][23] ดินแดนนี้เป็นสมาชิกองค์การชาติและประชาชนที่ไม่มีผู้แทนซึ่งเป็นกลุ่มผู้สนับสนุนที่มีสมาชิกประกอบด้วยชนเผ่าพื้นเมือง ชนกลุ่มน้อย และดินแดนที่ถูกยึดครองหรือไม่ได้รับการรับรอง[24]
ประวัติศาสตร์
[แก้]สิ่งประดิษฐ์มนุษย์ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศคือ ภาพเขียนที่ถ้ำ Laas Geel เมื่อ 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่การเกษตร[25] ชาวมุสลิม ได้ย้ายถิ่นฐานเข้ามาในบริเวณนี้เมื่อศตวรรษที่ 7-10 และรัฐอาหรับเล็ก ๆ ก็ถูกก่อตั้งขึ้น ใน ค.ศ. 1548 อาณาจักรออตโตมัน ได้เข้ายึดครองบริเวณโซมาลีแลนด์ตะวันตกในปัจจุบัน หลังการลงนามสนธิสัญญาที่ต่อเนื่องกับการพิพากษาแล้วภาษาโซมาลี Sultans เช่น Mohamoud Ali ไชร์ของรัฐสุลต่าน อังกฤษก่อตั้งดินแดนนี้ เรียกว่า บริติชโซมาลีแลนด์[26]
การเมือง
[แก้]การเมืองปกครองภายใต้ระบอบรัฐธรรมนูญ ปกครองแบบระบอบสาธารณรัฐ
พรรคการเมือง
[แก้]- พรรคสหประชาธิปไตย
- พรรคสันติภาพ สามัคคี และการพัฒนา
- พรรคความยุติธรรมและการพัฒนา
ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
[แก้]โซมาลีแลนด์ ได้ทำการสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ เช่น เอธิโอเปีย[27][28] จิบูตี[29] เบลเยียม[30] ฝรั่งเศส[31] กานา[32] เคนยา[33] แอฟริกาใต้[34] สวีเดน[35][36] สหราชอาณาจักร[37] และไต้หวัน เป็นต้น
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]สาธารณรัฐโซมาลีแลนด์แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 แคว้น ได้แก่ เอาดัล, ซาฮิล, Maroodi Jeeh, Togdheer, ซะนากและซูล แคว้นเหล่านี้แบ่งออกเป็น 18 เขต
แคว้นและอำเภอ
[แก้]แคว้นด้านล่างนี้นำข้อมูลจาก Michael Walls: State Formation in Somaliland: Bringing Deliberation to Institutionalism ใน ค.ศ. 2011 Somaliland: The Strains of Success ใน ค.ศ. 2015 และ ActionAID องค์กรมนุษยชนที่ดำเนินกิจการในโซมาลีแลนด์[38][39][40]
แคว้น | พื้นที่ (ตารางกิโลเมตร) | เมืองหลัก | เขต | |
---|---|---|---|---|
เอาดัล | 16,294 | Borama | Baki, Borama, Zeila, Lughaya | |
ซาฮิล | 13,930 | Berbera | Sheikh, Berbera | |
Maroodi Jeeh | 17,429 | Hargeisa | Gabiley, Hargeisa, Salahlay, Baligubadle | |
Togdheer | 30,426 | Burao | Oodweyne, Buhoodle, Burao | |
ซะนาก | 54,231 | Erigavo | Garadag, El Afweyn, Erigavo, Lasqoray | |
ซูล | 39,240 | Las Anod | Aynabo, Las Anod, Taleh, Hudun |
ภูมิศาสตร์
[แก้]อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของโซมาเลีย ละติจูดที่ 08°00' – 11°30' ลองจิจูดที่ 42°30' – 49°00' มีชายฝั่งยาว 740 กิโลเมตร พื้นที่ 137,600 ตารางกิโลเมตร ฤดูกาลในโซมาลีแลนด์ ได้แก่ ฤดูแล้ง และ ฤดูฝน ภาคเหนือเป็นหุบเขา สูง 900-2,100 จากระดับน้ำทะเล
เศรษฐกิจ
[แก้]โซมาลีแลนด์ใช้เงินทั้งสกุลชิลลิงโซมาลีแลนด์ (อังกฤษ: Somaliland shilling, โซมาลี: Soomaaliland shilin) ซึ่งประเทศอื่นโดยส่วนใหญ่ยังไม่ยอมรับเงินสกุลนี้ และเงินสกุลชิลลิงโซมาเลีย ที่ได้รับการยอมรับนอกประเทศมากกว่า
ประชากร
[แก้]ปี | ประชากร | ±% |
---|---|---|
1899 | 246,000 | — |
1960 | 650,000 | +164.2% |
1997 | 2,000,000 | +207.7% |
2006 | 3,500,000 | +75.0% |
2013 | 4,500,000 | +28.6% |
2021 | 5,700,000 | +26.7% |
ข้อมูล: หลายแหล่ง[41][42][43][44] |
ดินแดนนี้ไม่มีสำมะโนอย่างเป็นทางการนับตั้งแต่สำมะโนโซมาเลียใน ค.ศ. 1975 โดยข้อมูลสำมะโน ค.ศ. 1986 ยังไม่ได้รับการเผยแพร่เป็นสาธารณสมบัติ[45] กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติจัดการประมาณการประชากรใน ค.ศ. 2014 โดยประมาณการว่ามีประชากรในโซมาลีแลนด์ที่ 3.5 ล้านคน[46] รัฐบาลโซมาลีแลนด์ระบุจำนวนประชากรโดยประมาณที่ 5.7 ล้านคนใน ค.ศ. 2021[12]
นอกจากนี้ยังมีผู้พลัดถิ่นจากโซมาลีแลนด์ประมาณ 600,000[47] ถึงล้านคน[48] ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในยุโรปตะวันตก ตะวันออกกลาง อเมริกาเหนือ และประเทศในแอฟริกาหลายแห่ง[47][48]
ศาสนา
[แก้]ชาวโซมาลีในโซมาลีแลนด์และที่อื่น ๆ ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ส่วนใหญ่อยู่ในนิกายซุนนีและสำนักชาฟิอี[49]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
วัฒนธรรม
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 website, Somallilandlaw.com – an independent non-for-profit. "Somaliland Constitution". www.somalilandlaw.com. สืบค้นเมื่อ 2017-07-02.
- ↑ "Somaliland parliament elects Abdirisak khalif as new speaker". 3 August 2021.
- ↑ "Golaha Wakiilada Somaliland oo doortay guddoomiye".
- ↑ 4.0 4.1 4.2 "Republic of Somaliland - Country Profile 2021" (PDF). March 2021.
- ↑ Somaliland Central Statistics Department เก็บถาวร 2022-08-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, retrieved 2 July 2022.
- ↑ "The Somaliland Health and Demographic Survey 2020". Central Statistics Department, Ministry of Planning and National Development, Somaliland Government: 35.
- ↑ Mylonas, Harris. "De Facto States Unbound - PONARS Eurasia". ponarseurasia.org (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-04-08.
- ↑ Ker-Lindsay, James (2012). The foreign policy of counter secession: preventing the recognition of contested states (1st ed.). Oxford University Press. pp. 58–59. ISBN 978-0-19-161197-1. OCLC 811620848.
- ↑ Samkharadze, Nikoloz (2021). Russia's recognition of the independence of Abkhazia and South Ossetia : analysis of a deviant case in Moscow's foreign policy behavior. Stephen Neil MacFarlane. Stuttgart. p. 83. ISBN 978-3-8382-1414-6. OCLC 1225067431.
- ↑ "Analysis: Time for jaw-jaw, not war-war in Somaliland". สืบค้นเมื่อ 28 March 2016.
- ↑ Lansford, Tom (2015-03-24). Political Handbook of the World 2015 (ภาษาอังกฤษ). CQ Press. ISBN 9781483371559.
- ↑ 12.0 12.1 "Republic of Somaliland: Country Profile 2021" (PDF). gollisuniversity.com (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-12-23. สืบค้นเมื่อ 2021-08-24.
- ↑ The New Encyclopædia Britannica (2002), p. 835.
- ↑ "Country Profile". somalilandgov.com. Government of Somaliland. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 January 2013. สืบค้นเมื่อ 8 July 2012.
- ↑ "De Facto Statehood? The Strange Case of Somaliland" (PDF). Journal of International Affairs. Yale University. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 18 April 2010. สืบค้นเมื่อ 2 February 2010.
- ↑ Schoiswohl, Michael (2004). Status and (Human Rights) Obligations of Non-Recognized De Facto Regimes in International Law. University of Michigan: Martinus Nijhoff Publishers. p. 351. ISBN 978-90-04-13655-7.
- ↑ "Regions and Territories: Somaliland". BBC News. 25 September 2009. สืบค้นเมื่อ 2 February 2010.
- ↑ 18.0 18.1 Lacey, Marc (5 June 2006). "The Signs Say Somaliland, but the World Says Somalia". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2 February 2010.
- ↑ "Chronology for Issaq in Somalia". Minorities at Risk Project. United Nations Refugee Agency. 2004. สืบค้นเมื่อ 2 February 2010.
- ↑ "Interview with Ambassador Brook Hailu Beshah". International Affairs Review. 8 November 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 May 2009. สืบค้นเมื่อ 2 February 2010.
- ↑ "Trade office of The FDRE to Somaliland- Hargeysa". mfa.gov.et. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 March 2012.
- ↑ "Reforming Somaliland's Judiciary" (PDF). UN.org. United Nations. 9 January 2006. สืบค้นเมื่อ 2 February 2010.
- ↑ "Arab League condemns Israel over Somaliland recognition". ethjournal.com. 7 มีนาคม 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 มิถุนายน 2010. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2010.
- ↑ "UNPO REPRESENTATION: Government of Somaliland". UNPO.org (ภาษาอังกฤษ). 2017-02-01. สืบค้นเมื่อ 12 March 2020.
- ↑ http://wysinger.homestead.com/punt.html
- ↑ Hugh Chisholm (ed.), The encyclopædia Britannica: a dictionary of arts, sciences, literature and general information, Volume 25, (At the University press: 1911), p.383.
- ↑ http://somalilandpress.com/9356/ethiopia-appoints-new-representative-to-somaliland-upgrades-the-office/
- ↑ http://www.afrol.com/articles/25633
- ↑ http://www.afrol.com/articles/23556
- ↑ http://www.afrol.com/articles/25633
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-15. สืบค้นเมื่อ 2012-06-30.
- ↑ http://www.afrol.com/articles/25633
- ↑ http://somalilandpress.com/10344/kenyan-deputy-speaker-addresses-somaliland-parliament/
- ↑ http://www.afrol.com/articles/25633
- ↑ http://www.afrol.com/articles/25633
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-10. สืบค้นเมื่อ 2012-06-30.
- ↑ http://www.publications.parliament.uk/pa/cm200304/cmhansrd/vo040204/halltext/40204h03.htm
- ↑ "Somaliland: Where we Work". Action Aid. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 January 2017.
ActionAid International Somaliland (AAIS) supports poor and marginalised communities in three of six Somaliland administrative regions...
- ↑ State Formation in Somaliland: Bringing Deliberation to Institutionalism. Michael Walls, Planning Unit, UCL February 2011
- ↑ "Somaliland: The Strains of Success Crisis Group Africa Briefing N°113 Nairobi/Brussels, 5 October 2015" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-01-21. สืบค้นเมื่อ 2022-08-14.
- ↑ Drake-Brockman, Ralph Evelyn (1912). British Somaliland (ภาษาอังกฤษ). Hurst & Blackett. p. 18.
- ↑ "Somaliland MDG Report, 2010" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-05-06. สืบค้นเมื่อ 2022-08-14.
- ↑ Ambroso, Guido (August 2002). "Pastoral society and transnational refugees: population movements in Somaliland and eastern Ethiopia 1988 - 2000" (PDF). UNHCR.
- ↑ "Post-Conflict Education Development in Somaliland" (PDF).
- ↑ "POPULATION ESTIMATION SURVEY 2014". NBS. Somalia NSB. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-08. สืบค้นเมื่อ 8 March 2022.
- ↑ "UNFPA Population Estimate" (PDF). UNFPA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-03-08. สืบค้นเมื่อ 8 March 2022.
- ↑ 47.0 47.1 "Member Profile Somaliland: Government of Somaliland" (PDF). Unrepresented Nations and Peoples Organization: 4. January 2017.
- ↑ 48.0 48.1 "When is a nation not a nation? Somaliland's dream of independence". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2018-07-20. สืบค้นเมื่อ 2022-03-04.
- ↑ Mohamed Diriye Abdullahi, Culture and Customs of Somalia, (Greenwood Press: 2001), p.1
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Wikimedia Atlas of Somaliland
- โซมาลีแลนด์ แหล่งข้อมูลบนเครือข่ายเว็บจัดทำโดย GovPubs ที่หอสมุดมหาวิทยาลัยโคโลราโด โบลเดอร์
- โซมาลีแลนด์ ที่เว็บไซต์ Curlie
- Somaliland official website
- Somaliland BBC Country Profile
- Update on the Situation in the Somaliland