โมโฮ
ความไม่ต่อเนื่องของโมโฮโลวิคซิค (Mohorovicic’s discontinuity) หรือที่รู้จักในชื่อของ ในทางธรณีวิทยาและธรณีฟิสิกส์นั้น โมโฮ คือ รอยต่อระหว่างชั้นเปลือกโลก (crust) กับชั้นเนื้อโลก (mantle) โดยอยู่ที่ความลึกเฉลี่ยประมาณ 7-8 กิโลเมตร ใต้เปลือกโลกภาคพื้นสมุทร และประมาณ 30-50 กิโลเมตรใต้เปลือกโลกภาคพื้นทวีป
ประวัติ
[แก้]ในปี ค.ศ. 1909 แอนดริจา โมโฮโลวิคซิค (Andrija Mohorovicic) นักวิทยาการไหวสะเทือนชาวโครเอเชีย (Croatian seismologist) เชื่อว่ามีรอยแยกใหญ่ลึกประมาณ 50 กิโลเมตรอยู่จริงโดยอาศัยข้อมูลเวลาการเคลื่อนที่ที่วัดได้จากสถานีวัดคลื่นไหวสะเทือนรุ่นแรกๆของยุโรป เขาได้สังเกตพบการก้าวกระโดดของคลื่นปฐมภูมิ (P-wave) และคลื่นทุติยภูมิ (S-wave) ที่มีความสัมพันธ์กับความเร็วของคลื่นไหวสะเทือน, ความหนาแน่นที่เพิ่มขึ้นจากชั้นเปลือกโลก (crust) ไปยังชั้นเนื้อโลก (mantle) ซึ่งราวๆ 15 ปีต่อมา เบนโน กูเต็นเบิร์ก (Benno Gutenberg) ได้ค้นพบปรากฏการณ์ที่ว่านี้เช่นกัน การค้นพบการหักเหของคลื่นไหวสะเทือน (seismic refraction) ที่ได้จากการวัดการระเบิดอย่างรุนแรงในช่วงต้นของ ค.ศ. 1960 ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการศึกษาวิจัยในหัวข้อ “ความไม่ต่อเนื่องของโมโฮโลวิคซิค (Mohorovicic’s discontinuity) ”
การศึกษาโมโฮ
[แก้]ในปัจจุบันได้มีการศึกษาโมโฮในเชิงลึกทำให้ โมโฮ ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ seismological moho โดยอาศัยการศึกษาพฤติกรรมของคลื่นไหวสะเทือน และ petrological moho ซึ่งอาศัยการศึกษาทางศิลาวรรณนา (petrology) โดยในทางทฤษฎีมีความเชื่อว่า petrological moho อยู่ลึกกว่า seismological moho ทั้งนี้ทั้งนั้นยังคงต้องอาศัยข้อทางงานวิจัยต่อไป
อ้างอิง
[แก้]- Meissner, R. and Kern, H. 2005. Institute of Geoscience, Germany, Cristian Albrechts University, Kiel, Geophysical Research Abstracts. Vol. 7
- Herak, D. and Herak, M. 2005. Seismological Research Letters; November/December; v. 78; no. 6; p. 671-674
- http://geology.com/articles/mohorovicic-discontinuity.shtml
- http://www.glossary.oilfield.slb.com/Display.cfm?Term=Mohorovicic%20discontinuity เก็บถาวร 2011-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน