ข้ามไปเนื้อหา

Agaricus bisporus

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Agaricus bisporus
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: เห็ดรา
Fungi
หมวด: Basidiomycota
Basidiomycota
ชั้น: Agaricomycetes
Agaricomycetes
อันดับ: Agaricales
Agaricales
วงศ์: Agaricaceae
Agaricaceae
สกุล: Agaricus
Agaricus
(J.E.Lange) Imbach (1946)[1]
สปีชีส์: Agaricus bisporus
ชื่อทวินาม
Agaricus bisporus
(J.E.Lange) Imbach (1946)[1]
ชื่อพ้อง
  • Psalliota hortensis f. bispora J.E.Lange (1926)

Agaricus bisporus เป็นเห็ดกินได้ในไฟลัม Basidiomycota มีถิ่นกำเนิดในทุ่งหญ้าในทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ มีการเพาะปลูกในมากกว่าเจ็ดสิบประเทศ[2] และเป็นหนึ่งในเห็ดที่มีการบริโภคมากที่สุดในโลก

A. bisporus มีสีและชื่อแตกต่างกันมากมายตามวิธีการปลูก เช่น เห็ดทั่วไป, เห็ดสีขาว, เห็ดกระดุม[3], เห็ดแชมปิญอง (อังกฤษ: common mushroom, white mushroom, button mushroom, champignon mushroom ตามลำดับ) เมื่อยังอ่อนและมีสีขาว เห็ดสีน้ำตาลสวิส, เห็ดสีน้ำตาลโรมัน, เห็ดสีน้ำตาลอิตาลี (อังกฤษ: Swiss/Roman/Italian brown mushroom) เมื่อยังอ่อนและมีสีน้ำตาล และพอร์เทอเบลโล[4][5] (อังกฤษ: portobello) เมื่อโตเต็มที่แล้วเป็นต้น

คำอธิบาย

[แก้]

หมวกเห็ดของสปีชีส์ป่าดั้งเดิมมีสีน้ำตาลเทาอ่อน เริ่มแรกมีรูปร่างครึ่งวงกลมก่อนจะแบนขึ้นเมื่อโตเต็มที่ มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 5–10 เซนติเมตร (2–4 นิ้ว) ครีบเห็ดแคบ หนาแน่น แยกกัน เริ่มแรกจะเป็นสีชมพู ก่อนกลายเป็นสีน้ำตาลแดง และสุดท้ายเป็นสีน้ำตาลเข้มตามอายุ ก้านเห็ดเป็รทรงกระบอกสูงไม่เกิน 6 ซm (2 12 in) กว้าง 1–2 ซm (1234 in) และมีวงแหวนหนา ลายสปอร์ (spore print) เป็นสีน้ำตาล สปอร์เป็นรูปวงรีถึงกลมและมีขนาดประมาณ 4.5–5.5 μm × 5–7.5 μm

เห็ดชนิดนี้พบได้ทั่วไปทั่วโลกตามทุ่งนาและสนามหญ้าหลังฝนตก ตั้งแต่ปลายฤดูใบไม้ผลิถึงฤดูใบไม้ร่วง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปุ๋ยคอก ในหลายส่วนของโลกมีการเก็บและรับประทานกันอย่างแพร่หลาย

ประวัติการเพาะปลูก

[แก้]
A. bisporus ระหว่างการเพาะปลูก

คำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดของการเพาะปลูก A. bisporus ในเชิงพาณิชย์เขียนขึ้นโดยนักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส Joseph Pitton de Tournefort ในปี 1707[6] Olivier de Serres เกษตรกรชาวฝรั่งเศสตั้งข้อสังเกตว่าการปลูกถ่ายไมซีเลียจะนำไปสู่การขยายพันธุ์ของเห็ดมากยิ่งขึ้น

ในขั้นต้น สามารถเพาะปลูกได้อย่างไม่มั่นคง เนื่องจากผู้ปลูกเห็ดจะรอดูเห็ดในทุ่งก่อนที่จะขุดไมซีเลียมและปลูกใหม่บนปุ๋ยหมักหรือ 'อิฐ' จากขยะอัด ดินร่วน และปุ๋ยคอก ก้อนเห็ดที่เก็บด้วยวิธีนี้มีเชื้อโรคและเห็ดโดยทั่วไปจะติดเชื้อหรือไม่เติบโตเลย[7] ในปี 1893 สถาบันปาสเตอร์ในกรุงปารีสได้ค้นพบและผลิตก้อนเห็ดที่ฆ่าเชื้อหรือบริสุทธิ์เพื่อเพาะเลี้ยงโดยใช้ปุ๋ยคอกม้า[8]

เห็ด agaricus ทั่วไปในเชิงพาณิชย์ในปัจจุบันเริ่มแรกมีสีน้ำตาลอ่อน เห็ดขาวถูกค้นพบในปี 1925 โดยเติบโตท่ามกลางเห็ดสีน้ำตาลที่ฟาร์ม Keystone Mushroom ในเมืองโคตส์วิลล์, รัฐเพนซิลเวเนีย Louis Ferdinand Lambert เจ้าของฟาร์มและนักวิทยาเห็ดราโดยการฝึก นำเห็ดขาวกลับไปที่ห้องทดลองของเขา เนื้องจากเนื้อสีขาวซึ่งถูกมองว่าเป็นอาหารที่น่าดึงดูด จึงได้มีการนำมาเติบโตและแจกจ่าย[9]

รายละเอียดทางโภชนาการ

[แก้]
Agaricus bisporus, white raw
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
พลังงาน93 กิโลจูล (22 กิโลแคลอรี)
3.26 g
น้ำตาล1.98 g
ใยอาหาร1 g
0.34 g
3.09 g
วิตามิน
ไทอามีน (บี1)
(7%)
0.081 มก.
ไรโบเฟลวิน (บี2)
(34%)
0.402 มก.
ไนอาซิน (บี3)
(24%)
3.607 มก.
(30%)
1.497 มก.
วิตามินบี6
(8%)
0.104 มก.
โฟเลต (บี9)
(4%)
17 μg
วิตามินบี12
(2%)
0.04 μg
วิตามินซี
(3%)
2.1 มก.
วิตามินดี
(1%)
0.2 μg
แร่ธาตุ
เหล็ก
(4%)
0.5 มก.
แมกนีเซียม
(3%)
9 มก.
ฟอสฟอรัส
(12%)
86 มก.
โพแทสเซียม
(7%)
318 มก.
โซเดียม
(0%)
3 มก.
สังกะสี
(5%)
0.52 มก.
องค์ประกอบอื่น
น้ำ92.45 g

ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่
แหล่งที่มา: USDA FoodData Central

เห็ดสีขาว 100 กรัมให้พลังงานอาหาร 93 กิโลจูล (22 กิโลแคลอรี) และเป็นแหล่งดีเยี่ยม (> 19% ของปริมาณที่แนะนำต่อวันหรือ DV) ของวิตามินบี ไรโบเฟลวิน ไนอาซิน และกรดแพนโทเทนิก นอกจากนี้เห็ดสดยังเป็นแหล่งที่ดีของเกลือแร่อย่างฟอสฟอรัส (10–19% DV)

ในขณะที่ A. bisporus สดมีวิตามินดีแบบเออร์โกแคลซิเฟอรอล (วิตามิน D2) เพียง 0.2 ไมโครกรัม (8 IU) ปริมาณของเออร์โกแคลซิเฟอรอลจะเพิ่มขึ้นอย่างมากหลังจากสัมผัสกับรังสียูวี[10][11]

ระเบียนภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Imbach EJ (1946). "Pilzflora des Kantons Luzern und der angrenzen Innerschweiz". Mitteilungen der naturforschenden Gesellschaft Luzern (ภาษาเยอรมัน). 15: 5–85.
  2. Cappelli A. (1984). Fungi Europaei:Agaricus (ภาษาอิตาลี). Saronno, Italy: Giovanna Biella. pp. 123–25.
  3. "White Button". Fresh Mushrooms. Mushroom Council. n.d. สืบค้นเมื่อ 29 February 2020.
  4. GourmetSleuth (11 November 2013). "Portobello (Portobella) Mushrooms". Gourmet Sleuth. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-10. สืบค้นเมื่อ 9 January 2019.
  5. "portobello | Definition of portobello by Lexico". Lexico Dictionaries | English (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-31. สืบค้นเมื่อ 2019-08-31.
  6. Spencer DM (1985). "The mushroom–its history and importance". ใน Flegg PB, Spencer DM, Wood DA (บ.ก.). The Biology and Technology of the Cultivated Mushroom. New York: John Wiley and Sons. pp. 1–8. ISBN 0-471-90435-X.
  7. Genders 1969, p. 19
  8. Genders 1969, p. 18
  9. Genders 1969, p. 121
  10. "Mushrooms and vitamin D". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ 23 August 2003.
  11. Koyyalamudi SR, Jeong SC, Song CH, Cho KY, Pang G (April 2009). "Vitamin D2 formation and bioavailability from Agaricus bisporus button mushrooms treated with ultraviolet irradiation". Journal of Agricultural and Food Chemistry. 57 (8): 3351–5. doi:10.1021/jf803908q. PMID 19281276.

อ่านเพิ่ม

[แก้]