วงศ์นกกระเต็น
วงศ์นกกระเต็น | |
---|---|
นกกินเปี้ยว (Todiramphus chloris) ที่แหลมผักเบี้ย จังหวัดเพชรบุรี | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Aves |
อันดับ: | Coraciiformes |
อันดับย่อย: | Alcedines |
วงศ์: | Halcyonidae |
สกุล | |
วงศ์นกกระเต็น หรือ วงศ์นกกระเต็นใหญ่ (อังกฤษ: Tree kingfishers, Wood kingfishers, Larger kingfishers) เป็นวงศ์ของนกกระเต็นวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Halcyonidae (หรือข้อมูลอดีตจัดเป็นวงศ์ย่อย Halcyoninae[1])
นกกระเต็นในวงศ์นี้มีขนาดเล็กถึงขนาดกลาง (20 – 36 เซนติเมตร) มีหัวขนาดใหญ่ จะงอยปากยาว และแบนข้างค่อนข้างมาก สันปากบนค่อนข้างมน ร่องทางด้านข้างไม่เด่นชัด หางสั้นถึงยาวปานกลาง ขาสั้น มี 4 นิ้ว หลายชนิดมีหลากสีสัน มักพุ่งตัวจากที่เกาะลงไปในน้ำเพื่อจับปลา, กบ, เขียด และปู นอก จากนี้ยังกินสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็กและแมลงตามพื้นดิน ปกติอาศัยและหากินใกล้แหล่งน้ำ แต่หลายชนิดก็อาศัยและหากินในปลาซึ่งห่างไกลจากแหล่งน้ำพอสมควร ชอบส่งเสียงตลอดเวลา ทำรังโดยขุดโพรงในดินตามชายฝั่งแม่น้ำ, เนินดิน, จอมปลวก หรือตามโพรงไม้
จำแนกออกได้เป็น 12 สกุล ทั้งหมด 61 ชนิด ในประเทศไทยพบ 4 สกุล 8 ชนิด ได้แก่[2] [3]
- นกกระเต็นลาย (Lacedo pulchella)
- นกกระเต็นใหญ่ปีกสีน้ำตาล (Pelargopsis amauropterus)
- นกกระเต็นใหญ่ธรรมดา (Pelargopsis capensis)
- นกกระเต็นแดง (Halcyon coromanda)
- นกกระเต็นอกขาว (Halcyon smyrnensis)
- นกกระเต็นหัวดำ (Halcyon pileata)
- นกกินเปี้ยว (Todiramphus chloris)
- นกกระเต็นสร้อยคอสีน้ำตาล (Actenoides concretus)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Halcyonidae". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.
- ↑ Moyle, Robert G. (2006): "molecular phylogeny of kingfishers (Alcedinidae) with insights into early biogeographic history.[ลิงก์เสีย]" Auk 123(2): 487–499.
- ↑ Fry, C. Hilary; Fry, Kathie and Harris, Alan (1992). Kingfishers, Bee-eaters and Rollers. London: Christopher Helm. ISBN 0-7136-1410-8.