ราชวงศ์
ราชวงศ์ (อังกฤษ: dynasty) คือ วงศ์ตระกูลของกษัตริย์[1]หรือผู้ปกครองจากตระกูลเดียวกัน[2] มักปรากฏอยู่ในบริบทของระบบเจ้าขุนมูลนายและระบอบราชาธิปไตย แต่ในบางโอกาสก็ปรากฏอยู่ในระบอบสาธารณรัฐที่มีการเลือกตั้งด้วยเช่นกัน ถือเป็นวงศ์ตระกูลชนชั้นสูง[3]ที่สืบวงศ์พระมหากษัตริย์ เจ้าผู้ครองนคร ขุนนาง หรืออื่น ๆ ขึ้นอยู่กับว่าผู้นำหรือสมาชิกของตระกูลเกิดมาด้วยฐานันดรเช่นใด เจ้านายในราชวงศ์เรียกว่า "พระราชวงศ์"[4] นักประวัติศาสตร์หลายคนยังพิจารณาประวัติศาสตร์ของรัฐอธิปไตยแห่ง เช่น อียิปต์โบราณ จักรวรรดิการอแล็งเฌียง หรือจักรวรรดิจีน ภายใต้กรอบแนวคิดของลำดับราชวงศ์ผู้ปกครอง ดังนั้นบริบทของ "ราชวงศ์" จึงสามารถใช้อ้างถึงยุคสมัยที่แต่ละตระกูลปกครอง ทั้งยังเป็นบริบทที่ใช้อธิบายเหตุการณ์ แนวโน้ม และศิลปวัตถุของแต่ละยุคสมัยนั้น ๆ ได้ เช่น แจกันราชวงศ์หมิง ซึ่งบริบทของราชวงศ์มักจะถูกลดทอนลงจากการอ้างอิงคุณศัพท์ดังกล่าว
จนกระทั่งในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่บริบทนี้ถูกนำไปใช้อ้างอิงการแผ่ขยายพระราชตระกูลโดยชอบด้วยกฎหมายของพระมหากษัตริย์ ผ่านการขยายดินแดน พระราชทรัพย์ และพระราชอำนาจของสมาชิกราชวงศ์ของพระองค์[5] ทั้งนี้ราชวงศ์ที่ยังคงสืบทอดต่อเนื่องมาอย่างยาวนานที่สุดในโลกปัจจุบันคือ ราชวงศ์ญี่ปุ่น ที่ทรงปกครองตามพระราชประเพณีมาตั้งแต่ 660 ปีก่อนคริสต์ศักราช
ตามประเพณีแล้ว ราชวงศ์ทั่วโลกมักถูกนับตามพระประยูรวงศ์ของบุรุษเพศเป็นหลัก (Patrilineality) เช่น ภายใต้กฎหมายแซลิกของชาวแฟรงก์ ดังนั้นลำดับการสืบสันตติวงศ์ผ่านสตรีเพศมักถูกนับเป็นราชวงศ์ใหม่ภายใต้ราชวงศ์ของพระสวามี แต่ปรากฏบางกรณีเช่นในทวีปแอฟริกา (ราชวงศ์ผู้ปกครองของบาโลเบดู) ที่นับสายราชวงศ์ตามพระประยูรวงศ์ของสตรีเพศเป็นหลัก (Matrilineality) ซึ่งผู้ปกครองในลำดับถัดมาจะใช้พระราชสันตติวงศ์ของพระมารดาเป็นหลัก เช่น ราชวงศ์ออเรนจ์ของเนเธอร์แลนด์ ราชวงศ์บรากาติโอนีของจอร์เจีย และราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค-ลอแรน
ในบางครั้งคำว่า "ราชวงศ์" ยังใช้อย่างไม่เป็นทางการกับบุคคลที่ไม่ได้มีเชื้อเจ้านายราชวงศ์แต่อย่างใด เช่น สมาชิกของตระกูลผู้ทรงอำนาจและอิทธิพลในขอบเขตอื่น ๆ ที่ไม่ใช่การเมืองการปกครองอย่างลำดับตระกูลของผู้บริหารหรือเจ้าของบริษัทขนาดใหญ่ เป็นต้น แม้กระทั่งใช้กับกลุ่มบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องกับราชวงศ์แต่อย่างใด เช่น ลำดับกวีชั้นครูจากแหล่งเดียวกัน หรือลำดับคณะนักกีฬาของกีฬาบางประเภท เป็นต้น[2] จนมีการนำไปตั้งชื่อละครโทรทัศน์เกี่ยวกับตระกูลหรือครอบครัวของกลุ่มบุคคลดังกล่าว
ราชวงศ์ของแต่ละชาติ
แก้- ราชวงศ์ดูกูวา (ประมาณ พ.ศ. 1243-พ.ศ. 1618)
- ราชวงศ์เซฟาวา (พ.ศ. 1618-พ.ศ. 2389)
- ราชวงศ์ซากวี (ประมาณ พ.ศ. 1443-พ.ศ. 1813)
- ราชวงศ์โซโลมอนิก (พ.ศ. 1813-พ.ศ. 2517)
- ราชอาณาจักรฮาวาย (พ.ศ. 2338 - พ.ศ. 2436)
- ราชวงศ์คาเมฮาเมฮา (ประมาณ พ.ศ. 2388 - พ.ศ. 2415)
- ราชวงศ์กาลากาอัว (ประมาณ พ.ศ. 2417 - พ.ศ. 2436)
- ราชวงศ์กาวานานาโกอา (ประมาณ พ.ศ. 2411 - ?)
- ราชวงศ์กาโลกูโอกามาอีเล (ประมาณ พ.ศ. 2403 - ?)
- จักรวรรดิตูอีโตงา (ประมาณ พ.ศ. 1493 - พ.ศ. 2369)
- ราชวงศ์ตูอิตองงา (ประมาณ พ.ศ. 1493 - พ.ศ. 2408)
- ราชวงศ์ตูอิฮาอะตากาลาอัว (ประมาณ พ.ศ. 2013 - พ.ศ. 2320)
- ราชวงศ์ตูอิกาโนกูโปลู (ประมาณ คริสต์ศตวรรษที่ 17 - พ.ศ. 2388)
- ราชอาณาจักรตองงา (พ.ศ. 2388-ปัจจุบัน)
- ราชวงศ์ตูปู (พ.ศ. 2388-ปัจจุบัน)
- ราชวงศ์เต เวโรเวโร (พ.ศ. 2399 - ปัจจุบัน)
- ราชอาณาจักรตาฮีติ
- ราชวงศ์โปมาเร (พ.ศ. 2331 - พ.ศ. 2423)
- ราชวงศ์วังชุก (พ.ศ. 2450-ปัจจุบัน)
- ราชวงศ์ชิลลา (พ.ศ. 487-พ.ศ. 1478)
- ราชวงศ์โครยอ (พ.ศ. 1478-พ.ศ. 1935)
- ราชวงศ์โชซอน (พ.ศ. 1935-พ.ศ. 2453)
- ราชวงศ์พุกาม (พ.ศ. 1587-พ.ศ. 1830) (อาณาจักรพุกาม)
- ราชวงศ์ตองอู (พ.ศ. 2029-พ.ศ. 2295) (อาณาจักรตองอู-หงสาวดี)
- ราชวงศ์โก้นบอง (พ.ศ. 2295-พ.ศ. 2428) (อาณาจักรพม่ายุคที่ 3)
- ราชวงศ์เซี่ย (1662 ปีก่อนพุทธศักราช–1223 ปีก่อนพุทธศักราช)
- ราชวงศ์ซาง (1223 ปีก่อนพุทธศักราช–503 ปีก่อนพุทธศักราช)
- ราชวงศ์โจว (579 ปีก่อนพุทธศักราช–พ.ศ. 288)
- ราชวงศ์ฉิน (พ.ศ. 323–พ.ศ. 338)
- ราชวงศ์ฮั่น (พ.ศ. 338–พ.ศ. 763)
- ยุคสามก๊ก (พ.ศ. 763–พ.ศ. 823)
- ราชวงศ์จิ้น (พ.ศ. 808–พ.ศ. 963)
- ยุคราชวงศ์เหนือ-ใต้ (พ.ศ. 963–พ.ศ. 1132)
- ราชวงศ์สุย (พ.ศ. 1124–พ.ศ. 1161)
- ราชวงศ์ถัง (พ.ศ. 1161–พ.ศ. 1450)
- ห้าราชวงศ์และสิบอาณาจักร (พ.ศ. 1450-พ.ศ. 1503)
- ราชวงศ์ซ่ง (พ.ศ. 1503–พ.ศ. 1822)
- ราชวงศ์เหลียว (พ.ศ. 1450-พ.ศ. 1668)
- ราชวงศ์หยวน (พ.ศ. 1814–พ.ศ. 1911)
- ราชวงศ์หมิง (พ.ศ. 1911–พ.ศ. 2187)
- ราชวงศ์ชิง (พ.ศ. 2187–พ.ศ. 2455)
- ราชวงศ์ญี่ปุ่น (พ.ศ. 823-ปัจจุบัน)
- ราชวงศ์สิงหนวัติ (พ.ศ. 1200-พ.ศ. 1650) (อาณาจักรโยนกนคร)
- ราชวงศ์ลาว (พ.ศ. 1181-พ.ศ. 1805) (อาณาจักรเงินยาง)
- ราชวงศ์หริภุญชัย (พ.ศ. 1206-พ.ศ. 1836) (อาณาจักรหริภุญชัย)
- ราชวงศ์ขุนหลวงพล (พ.ศ. 1371-พ.ศ. 1719) (นครรัฐแพร่)
- ราชวงศ์โกชกเวียงปฤกษา (พ.ศ. 1552-พ.ศ. 1645) (เวียงปรึกษา)
- ราชวงศ์พริบพรี (ไม่ปรากฏ-พ.ศ. 1887) (อาณาจักรพริบพรี)
- ราชวงศ์ภูคา (พ.ศ. 1825-พ.ศ. 2004) (นครรัฐน่าน)
- ราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช (พ.ศ. 1830-พ.ศ. 1931) (อาณาจักรศรีธรรมราช)
- ราชวงศ์ศรีนาวนำถุม (สมัยที่ 1 ประมาณ พ.ศ. 1700-พ.ศ. 1724,สมัยที่ 2 พ.ศ. 1866 - พ.ศ. 1890) (อาณาจักรสุโขทัย)
- ราชวงศ์พระร่วง (พ.ศ. 1792-พ.ศ. 1981) (อาณาจักรสุโขทัย)
- ราชวงศ์ศรีวังสา (พ.ศ. 2000-พ.ศ. 2231) (อาณาจักรปัตตานี)
- ราชวงศ์มังราย (พ.ศ. 1804-พ.ศ. 2121) (อาณาจักรล้านนา)
- ราชวงศ์อู่ทอง (พ.ศ. 1893-พ.ศ. 1913, พ.ศ. 1931-พ.ศ. 1952) (อาณาจักรอยุธยา)
- ราชวงศ์สุพรรณภูมิ (พ.ศ. 1913-พ.ศ. 1931, พ.ศ. 1952-พ.ศ. 2112) (อาณาจักรอยุธยา)
- ราชวงศ์สุโขทัย (พ.ศ. 2112-พ.ศ. 2172) (อาณาจักรอยุธยา)
- ราชวงศ์ปราสาททอง (พ.ศ. 2172-พ.ศ. 2231) (อาณาจักรอยุธยา)
- ราชวงศ์บ้านพลูหลวง (พ.ศ. 2231-พ.ศ. 2310) (อาณาจักรอยุธยา)
- ราชวงศ์แสนทิพย์นาบัว (พ.ศ. 2250-พ.ศ. 2475) (หัวเมืองลาวอีสาน)
- ราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ (พ.ศ. 2269-พ.ศ. 2474) (นครน่าน)
- ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (พ.ศ. 2275- พ.ศ. 2475) (นครเชียงใหม่ นครลำปาง และนครลำพูน)
- ราชวงศ์มังไชย (ก่อน พ.ศ. 2309-พ.ศ. 2330) (นครแพร่)
- ราชวงศ์ธนบุรี (พ.ศ. 2310-พ.ศ. 2325) (อาณาจักรธนบุรี)
- ราชวงศ์แสนซ้าย (พ.ศ. 2330-พ.ศ. 2445) (นครแพร่)
- ราชวงศ์เจ้าจารย์แก้ว (พ.ศ. 2256-พ.ศ. 2475) (เมืองท่งศรีภูมิ)
- ราชวงศ์เจ้าโสมพะมิตร (พ.ศ. 2336 -พ.ศ. 2475) (เมืองกาฬสินธุ์)
- ราชวงศ์เจ้าจันทรสุริยวงษ์ (พ.ศ. 2256 -พ.ศ. 2475) (เมืองมุกดาหาร)
- ราชวงศ์ศรีโคตรบูร (ก่อนพุทธศตวรรษที่ 8 -พ.ศ. 2475) (เมืองนครพนม)
- ราชวงศ์จักรี (พ.ศ. 2325- ปัจจุบัน) (ราชอาณาจักรสยาม หรือ อาณาจักรรัตนโกสินทร์ ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น ราชอาณาจักรไทย)
- ราชวงศ์ขุนบรมราชาธิราช (ราวพุทธศตวรรษที่ 13-พ.ศ. 1896) (นครเชียงทอง)
- ราชวงศ์ล้านช้าง (พ.ศ. 1896-พ.ศ. 2250) (อาณาจักรล้านช้าง)
- ราชวงศ์ล้านช้างเวียงจันทน์ (พ.ศ. 2250-พ.ศ. 2370) (อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์)
- ราชวงศ์ล้านช้างจำปาศักดิ์ (พ.ศ. 2256-พ.ศ. 2489) (อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์)
- ราชวงศ์ล้านช้างหลวงพระบาง (พ.ศ. 2246-พ.ศ. 2518) (อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบางและเปลี่ยนเป็นพระราชอาณาจักรลาว)
- ราชวงศ์เกาฑิณยะ-จันทรวงศ์ (ครั้งที่ 1 พ.ศ.611-1170), (ครั้งที่ 2 พ.ศ.1123-1553)
- ราชวงศ์กัมโพช-สุริยวงศ์ (ครั้งที่ 1 คริสต์ศตวรรษที่ 1 - พ.ศ.1103), (ครั้งที่ 2 พ.ศ.1118-1123)
- ราชวงศ์ศรวะ (พ.ศ.1549-1623)
- ราชวงศ์มหิธรปุระ (ครั้งที่ 1 พ.ศ.1623-1709), (ครั้งที่ 2 พ.ศ.1724-1879)
- ราชวงศ์ตรีภูวนาทิตย์ (พ.ศ.1709-1720)
- ราชวงศ์ตรอซ็อกผแอม (ครั้งที่ 1 พ.ศ.1833-1894), (ครั้งที่ 2 พ.ศ.1900-1936), (ครั้งที่ 3 พ.ศ.1964-2051), (ครั้งที่ 4 พ.ศ.2081-ปัจจุบัน)
- ราชวงศ์อู่ทอง (พ.ศ.1895-1900)
- ราชวงศ์สุพรรณภูมิ (พ.ศ.1937-1964)
- ราชวงศ์พระเสด็จกัน (พ.ศ.2051-2081)
- ราชวงศ์ซาอุด (พ.ศ. 2475-ปัจจุบัน)
- ราชวงศ์ฮาพส์บวร์คหรือราชวงศ์ออสเตรีย (พ.ศ. 2059-พ.ศ. 2243)
- ราชวงศ์บูร์บง (พ.ศ. 2243-พ.ศ. 2411, พ.ศ. 2417-พ.ศ. 2474, พ.ศ. 2518-ปัจจุบัน)
- ราชวงศ์โบนาปาร์ต (พ.ศ. 2351-พ.ศ. 2356)
- ราชวงศ์ซาวอย (พ.ศ. 2414-พ.ศ. 2416)
- ราชวงศ์การอแล็งเฌียง (พ.ศ. 1386-พ.ศ. 1530)
- ราชวงศ์กาเปเซียง (พ.ศ. 1530-พ.ศ. 2335, พ.ศ. 2357-พ.ศ. 2391)
- ราชวงศ์กาเปเซียงสายตรง (พ.ศ. 1530-พ.ศ. 1871)
- ราชวงศ์วาลัวแห่งราชวงศ์คาเปเทียง (พ.ศ. 1871-พ.ศ. 2132)
- ราชวงศ์บูร์บง (พ.ศ. 2132-พ.ศ. 2335, พ.ศ. 2357-พ.ศ. 2391)
- ราชวงศ์โบนาปาร์ต (พ.ศ. 2347-พ.ศ. 2357, พ.ศ. 2395-พ.ศ. 2413)
- ราชวงศ์รูริโควิช (พ.ศ. 1405-พ.ศ. 2141, พ.ศ. 2149-พ.ศ. 2153)
- ราชวงศ์โรมานอฟ (พ.ศ. 2156-พ.ศ. 2460)
- ราชวงศ์อัลปิน (พ.ศ. 1386-พ.ศ. 1577)
- ราชวงศ์ดันเคลด์ (พ.ศ. 1577-พ.ศ. 1583, พ.ศ. 1601-พ.ศ. 1829)
- ราชวงศ์เบลเลียว (พ.ศ. 1835-พ.ศ. 1839)
- ราชวงศ์บรูซ (พ.ศ. 1849-พ.ศ. 1914)
- ราชวงศ์สจวต (พ.ศ. 1914-พ.ศ. 2250)
- ราชวงศ์เว็สเซ็กซ์ (พ.ศ. 1372-พ.ศ. 1559, พ.ศ. 1585-พ.ศ. 1609)
- ราชวงศ์ฮาร์ธาคานูท (พ.ศ. 1556-พ.ศ. 1557, พ.ศ. 1559-พ.ศ. 1585)
- ราชวงศ์นอร์มัน (พ.ศ. 1609-พ.ศ. 1678)
- ราชวงศ์บลัว (พ.ศ. 1678-พ.ศ. 1697)
- ราชวงศ์แพลนทาเจเน็ท (พ.ศ. 1678-พ.ศ. 1697)
- ราชวงศ์อานเจวิน (พ.ศ. 1697-พ.ศ. 1942)
- ราชวงศ์ลางเคสเตอร์ (พ.ศ. 1942-พ.ศ. 2004, พ.ศ. 2013-พ.ศ. 2014)
- ราชวงศ์ยอร์ก (พ.ศ. 2004-พ.ศ. 2013, พ.ศ. 2014-พ.ศ. 2028)
- ราชวงศ์ทิวดอร์ (พ.ศ. 2028-พ.ศ. 2146)
- ราชวงศ์สจวต (พ.ศ. 2146-พ.ศ. 2257)
- ราชวงศ์ฮันโนเฟอร์ (พ.ศ. 2257-พ.ศ. 2444)
- ราชวงศ์ซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา (พ.ศ. 2444-ปัจจุบัน)
- ราชวงศ์วินด์เซอร์ (พ.ศ. 2460-ปัจจุบัน) เปลี่ยนชื่อราชวงศ์ในปี พ.ศ. 2460 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
อ้างอิง
แก้- ↑ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554, หน้า 996
- ↑ 2.0 2.1 Oxford English Dictionary, 1st ed. "dynasty, n." Oxford University Press (Oxford), 1897.
- ↑ Oxford English Dictionary, 3rd ed. "house, n.¹ and int, 10. b." Oxford University Press (Oxford), 2011.
- ↑ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554, หน้า 811
- ↑ Thomson, David (1961). "The Institutions of Monarchy". Europe Since Napoleon. New York: Knopf. pp. 79–80.