สมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี
สมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี หรือ นักองด้วง หรือ พระองค์ด้วง (เขมร: ព្រះបាទ អង្គ ឌួង; พระบาทองค์ด้วง) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 108 แห่งกัมพูชา
พระบาทสมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดี | |||||
---|---|---|---|---|---|
รูปหล่อของพระบาทสมเด็จพระนโรดม หริรักษ์รามาธิบดี | |||||
พระมหากษัตริย์แห่งกัมพูชา | |||||
ครองราชย์ | พ.ศ. 2383 – 19 ตุลาคม 2403 | ||||
ราชาภิเษก | 7 มีนาคม 2391 | ||||
ก่อนหน้า | พระองค์เจ้ามี | ||||
ถัดไป | พระบาทสมเด็จพระนโรดม | ||||
พระราชสมภพ | 12 มิถุนายน พ.ศ. 2339 อุดงมีชัย อาณาจักรเขมร | ||||
สวรรคต | 19 ตุลาคม พ.ศ. 2403 (64 พรรษา) อุดงมีชัย อาณาจักรเขมร | ||||
พระราชบุตร | พระบาทสมเด็จพระนโรดม พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ | ||||
| |||||
ราชวงศ์ | ตรอซ็อกผแอม | ||||
พระราชบิดา | สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีศรีสุริโยพรรณ | ||||
พระราชมารดา | สมเด็จพระมไหยิกา ขัติยาวงษ์ศิริเสโฐวโรดม | ||||
ศาสนา | ศาสนาพุทธ |
พระองค์ทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรกัมพูชาสมัยใหม่เป็นพระมหากษัตริย์ผู้กอบกู้เอกราชของกัมพูชา ซึ่งท่ามกลางการต่อสู้ระหว่างราชอาณาจักรสยาม และญวน
พระราชประวัติ
แก้พระมหากษัตริย์แห่งกัมพูชายุคใหม่ | |
---|---|
สมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี | |
พระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตาร | |
พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ | |
พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ | |
พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ (ครั้งที่ 1) | |
พระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต | |
พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ (ครั้งที่ 2) | |
พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี | |
เสด็จพระราชสมภพเมี่อ พ.ศ. 2339 และสวรรคตเมี่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2403[1]
สมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดี หรือ นักองค์ด้วง พระราชสมภพเมี่อ พ.ศ. 2339[1] เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีศรีสุริโยพรรณ (นักองเอง) ประสูติแต่นักนางรศ[2] และพระราชอนุชาในสมเด็จพระอุไทยราชาธิราชรามาธิบดี (นักองจันทร์)
เมื่อครั้งที่สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีเสด็จสวรรคตนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ นักองจันทร์ อภิเษกขึ้นครองราชย์ที่เขมรพระราชทานนามว่า สมเด็จพระอุทัยราชา แต่เมื่อสมเด็จพระอุทัยราชาขึ้นครองราชย์แล้วมีใจออกห่างกรุงสยามโดยหันไปพึ่งญวนแทน ในช่วงนั้นเจ้านายและขุนนางเขมรจึงแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย กล่าวคือ ฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับสมเด็จพระอุทัยราชา ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยนั้น ซึ่งรวมทั้ง นักองด้วง จึงต้องหนีเข้ามายังกรุงเทพมหานครในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ตั้งแต่มีพระชนมายุ 16 พรรษา โดยเข้ามาพำนัก ณ วังเจ้าเขมร ซึ่งเป็นวังที่สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดี พระบิดาเคยพำนักอยู่[3]
ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อนักองด้วงมีพระชนมายุ 43 พรรษา หลังจากที่ทรงพำนักอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลา 27 ปี จึงเดินทางกลับเขมรพร้อมกับกองทัพเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เพื่อรบกับญวนที่กำลังแผ่อำนาจเข้าสู่เขมรในช่วงนั้น โดยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการว่า "หากเขมรสงบเรียบร้อยเมื่อใดให้อภิเษกพระองค์ด้วงขึ้นครองเขมร" ดังนั้น เมื่อกองทัพของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) สามารถจัดการเหตุการณ์ในเขมรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงมีการอภิเษกนักองค์ด้วงขึ้นครองราชสมบัติที่เขมรเมื่อพระชนมายุ 51 พรรษา[4] มีพระนามว่า "พระหริรักษ์รามาธิบดี ศรีสุริโยพันธุ ธรรมมิกวโรดม บรมศรีอินทรา มหาจักรพรรดิราช บรมนารถบรมบพิตร สถิตย์เป็นอิศวรกัมพูชารัตนราช โอภาศชาติวรวงศ์ ดำรงกัมพูชามหาประเทศราชนคร บวรวิวัฒนาดิเรก เอกอัครมหาเขมราธิบดินทร นรินทรวิสุทธิอุดม บรมบพิตร เจ้ากรุงกัมพูชา" เมื่อวันพฤหัสบดีเดือน 4 ขึ้น 4 ค่ำ ปีมะแม จุลศักราช 1209 ตรงกับวันพุธที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2390[5][6]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2394 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แก้สร้อยพระนามของสมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดี ตามที่ทรงมีศุภอักษรเข้ามาขอเปลี่ยน เป็น "องค์พระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี ศรีสุริโยประพันธ์ ธรรมิศวโรดม บรมศิรินทร บวรมหาจักรพรรดิราช พิกาศนารถบพิตร สถิตยเป็นอิศรกัมพูชารัตนราช โอภาศชาติวรวงศ์ ดำรงกัมพูชามหาประเทศราชนคร บวรวิวัฒนาดิเรก เอกอัครมหาเขมราธิบดินทร นรินทรวิสุทธิอุดม บรมบพิตร"[7]
สมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดี เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2403 ที่กรุงอุดง
พระราชบุตร
แก้ตามพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ระบุพระนามพระราชโอรสและพระราชธิดาไว้รวม 18 พระองค์ ดังนี้[8]
พระราชโอรส 7 พระองค์ ได้แก่
- นักองค์ราชาวดี (ต่อมาคือ พระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตาร) ประสูติแต่นักแป้น พระสนมชั้นแม่นาง ธิดาพระยาสุภาธิบดี[9]
- นักองค์ศรีสวัสดิ์ (ต่อมาคือ พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์) ประสูติแต่นักเภา พระสนมชั้นแม่นาง ธิดาพระมนตรีธิราช[10]
- นักองค์วัตถา (นักองค์ศรีวัตถา) ประสูติแต่นักขำ ธิดาพระยาธรรมาเดโช[11]
- นักองค์ศิริวงศ์
- นักองค์แก้วมโนหอ
- นักองค์สุวรรณหงส์
- นักองค์ดรอหุก
พระราชธิดา 11 พระองค์ ได้แก่
- นักองค์จงกลนี
- นักองค์พระราชธิดา
- นักองค์ศรีวรกษัตริย์
- นักองค์อุบลปรีดา
- นักองค์กระเบน
- นักองค์สรออุก
- นักองค์กระเมียด
- นักองค์ดอกเดื่อ
- นักองค์ตรอลน
- นักองค์มุม
- นักองค์เภา
ส่วน ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา แปลโดยหลวงเรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนะรัชต์) ระบุรายนามพระสนมและพระราชบุตรเมื่อครั้งเสด็จประทับอยู่ที่กรุงเทพมหานครไว้ ดังนี้[12]
- นักองค์กระมล ต่อมามีพระนามว่า สมเด็จพระราชธิดามหากระษัตรี[2] ประสูติแต่นักนางแอว บุตรีพระพิพิธฤทธี
- นักองค์อู ประสูติแต่นักนางแอว
- นักองค์จรอเลิ้ง (แปลว่า งามกลม) ต่อมามีพระนามว่า พระองค์ราชาวดี ประสูติแต่นักนางแป้น (ต่อมาเป็น พระปิโยบรมท้าวธิดา)[2]
- พระองค์ศรีสวัสดิ ประสูติแต่นักนางเภา (ต่อมาเป็น พระปิโยบรมอัจฉราอับศร)[2]
- พระองค์วัตถา ประสูติแต่นักนางคำ
และมีพระราชบุตรที่ไม่ได้ประสูติในกรุงเทพมหานคร แต่ปรากฏพระนามในราชพงศาวดารได้แก่[13]
- พระองค์เจ้าขลิบ ภายหลังได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระบรมมงคลเทวี[2]
- พระองค์เจ้าจอจแรด ต่อมาพระราชทานนามว่า ศิริวงษ์[14] ประสูติแต่พระแม่นางผลทิพย์สุวรรณ (เขียว)[15]
- พระองค์เจ้าสัตรีอุบล (แฝด) ประสูติแต่นักแม่นางมณีโชติ
- พระองค์เจ้ากระมล (แฝด) ประสูติแต่นักแม่นางมณีโชติ
- พระองค์เจ้าไหหงษ์ ประสูติแต่นักแม่นางจันทรทุรส
- พระองค์เจ้าตรอหุก ประสูติแต่นักแม่นางนวน
- พระองค์เจ้าสรออุก ประสูติแต่นักแม่นางลันแต
- พระองค์เจ้าแก้วมโนหอ ประสูติแต่พระแม่นางสุชาตินารี
- พระองค์เจ้าตรอลน ประสูติแต่นักแม่นางเฉิดโฉม
- พระองค์เจ้าเภา ประสูติแต่นักแม่นางอิ่ม
- พระองค์เจ้าจงกลนี ประสูติแต่พระปิโยบรมท้าวธิดา เป็นพระชายาในพระองค์เจ้าศรีสวัสดิ พระเชษฐาต่างพระชนนี[16]
พงศาวลีของสมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 HM King ANG DUONG
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 เรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนะรัชต์), นายพันตรี. ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา. กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006) จำกัด, 2563, หน้า 267-268
- ↑ จุลลดา ภักดีภูมินทร์, "นักองเอง" เก็บถาวร 2005-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน,สกุลไทย, ฉบับที่ 2499, ปีที่ 48, ประจำวันอังคารที่ 10 กันยายน 2545
- ↑ จุลลดา ภักดีภูมินทร์, นักองเอง เก็บถาวร 2011-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สกุลไทย, ฉบับที่ 2605, ปีที่ 50, ประจำวันอังคารที่ 21 กันยายน 2547
- ↑ พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ 3 ฉะบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ตอนที่ 234. พระองค์ด้วงเป็นพระเจ้ากรุงกัมพูชา ในราชพงศาวดารกรุงกัมพูชาระบุว่า “พระหริรักษ์รามาอิศราธิบดี พระศรีสุริโยพรรณ ธรรมิกวโรดม บรมสุรินทรา มหาจักรพรรดิราช บรมนาถบรมบพิตร สถิตย์เป็นอิศวรยอดรัฐราษฎร์ โอภาษชาติวงษ์ บำรุงกัมพูชามหาอินทปัตนคร บวรอดิเรกเอกราช วัติโยมหาธิบดินทร์ นรินทรวิสุทธิอุดมบรมบพิตร”
- ↑ จุลลดา ภักดีภูมินทร์, พระองค์ด้วง เก็บถาวร 2004-12-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สกุลไทย, ฉบับที่ 2606, ปีที่ 50, ประจำวันอังคารที่ 28 กันยายน 2547
- ↑ พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ 4 พ.ศ. 2394 – 2411 ฉะบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ตอนที่ 16 ทรงแก้สร้อยพระนาม องค์สมเด็จหริรักษรามา เจ้ากรุงกัมพูชา
- ↑ พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ 4 พ.ศ. 2394 – 2411 ฉะบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ตอนที่ 86. องค์พระหริรักษ์ เจ้ากรุงกัมพูชา สุรคต
- ↑ ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3. กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006), 2560, หน้า 177
- ↑ ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3. กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006), 2560, หน้า 234
- ↑ ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3. กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006), 2560, หน้า 255
- ↑ เรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนะรัชต์), นายพันตรี. ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา. กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006) จำกัด, 2563, หน้า 186
- ↑ เรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนะรัชต์), นายพันตรี. ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา. กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006) จำกัด, 2563, หน้า 283-284
- ↑ เรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนะรัชต์), นายพันตรี. ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา. กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006) จำกัด, 2563, หน้า 291
- ↑ เรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนะรัชต์), นายพันตรี. ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา. กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006) จำกัด, 2563, หน้า 305
- ↑ เรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนะรัชต์), นายพันตรี. ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา. กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006) จำกัด, 2563, หน้า 294
ก่อนหน้า | สมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมเด็จพระมหาราชินีองค์มี | พระมหากษัตริย์กัมพูชา (ราชวงศ์วรมัน) (พ.ศ. 2384 – 19 ตุลาคม พ.ศ. 2403) |
พระบาทสมเด็จพระนโรดม |