สัณห์ จิตรปฏิมา
พลเอก สัณห์ จิตรปฏิมา (8 มีนาคม พ.ศ. 2465 – 10 ตุลาคม พ.ศ. 2547) เป็นทหารบกชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งสำคัญต่าง ๆ เช่น แม่ทัพภาคที่ 4, เสนาธิการทหารบก, รองผู้บัญชาการทหารบก และเป็นหัวหน้ากบฏยังเติร์ก
สัณห์ จิตรปฏิมา | |
---|---|
แม่ทัพภาคที่ 4 | |
ดำรงตำแหน่ง 18 มกราคม พ.ศ. 2519 – 30 กันยายน พ.ศ. 2519 | |
ก่อนหน้า | ตำแหน่งแรก |
ถัดไป | พลโท ปิ่น ธรรมศรี |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 8 มีนาคม พ.ศ. 2465 อำเภอเมืองสายบุรี จังหวัดสายบุรี ประเทศสยาม (ปัจจุบันคือ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ประเทศไทย) |
เสียชีวิต | 10 ตุลาคม พ.ศ. 2547 (82 ปี) โรงพยาบาลรามคำแหง กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
คู่สมรส | คุณหญิงวรี จิตรปฏิมา (สมรส 2495) |
บุตร | 3 คน |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ยศ | พลเอก |
บังคับบัญชา | กองทัพภาคที่ 4 |
ผ่านศึก | สงครามมหาเอเซียบูรพา สงครามเกาหลี |
ประวัติ
แก้ชีวิตส่วนตัว
แก้พลเอก สัณห์[1] เกิดวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2464 (นับแบบปัจจุบันคือ พ.ศ. 2465) ที่อำเภอเมืองสายบุรี จังหวัดสายบุรี เป็นบุตรของสำเนียง และคิ้ม จิตรปฏิมา
สัณห์ ได้สมรสกับคุณหญิงวรี จิตรปฏิมา ในปี พ.ศ. 2495 ในขณะยังยศ"ร้อยเอก" และบุตรทั้งหมด 3 คน
- พันตำรวจเอก นัฎฐ์ จิตรปฏิมา
- พันเอก ดร.สุวิชา จิตรปฏิมา
- ดร.ชมพูนุช จิตรปฏิมา
การศึกษา
แก้สัณห์ ได้ไปเรียนในโรงเรียนประจำจังหวัดสายบุรี ต่อมาได้มีการยุบจังหวัดสายบุรี ในปี พ.ศ. 2474 สัณห์ได้ย้ายไปเรียนที่จังหวัดนราธิวาส ในโรงเรียนประจำจังหวัดนราธิวาส และเรียนได้ 2 ปี จนจบมัธยมปีที่ 3 สัณห์ได้ไปเรียนในโรงเรียนมหาวชิราวุธ โดยใช้เวลาเพียง 2 ปี (ม.5 - ม.6 ใช้เวลาเรียน 1 ปี) ตลอดการศึกษาตั้งแต่ต้นจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 สัณห์ไล่สอบได้ที่ 1 มาโดยตลอด
ต่อมาสัณห์ไปเรียนที่กรุงเทพมหานคร ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2480 - พ.ศ. 2481 ในปี พ.ศ. 2481 สัณห์ได้มีสิทธิพิเศษเนื่องจากมีผลการศึกษาให้ได้เข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 ก. ซึ่งเป็นชั้นที่จัดไว้เพื่อสอบชิงทุนจากรัฐบาลเพื่อไปศึกษาต่อที่ต่างประเทศโดยเฉพาะ
ปลายปี พ.ศ. 2481 สัณห์ได้สอบเข้าโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า และจบการศึกษาในปี พ.ศ. 2485 เป็นรุ่นที่ 6
ลำดับการศึกษาหลังเข้ารับราชการ
แก้ภายในประเทศ
แก้- พ.ศ. 2492 – โรงเรียนผู้บังคับบัญชากองร้อย
- โรงเรียนผู้บังคับบัญชากองพัน
- พ.ศ. 2498 – โรงเรียนการรบร่วมอากาศ-พื้นดิน
- พ.ศ. 2494 – พ.ศ. 2496 : โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 31
- พ.ศ. 2506 – วิทยาลัยการทัพบก ชุดที่ 4
- พ.ศ. 2509 – วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- พ.ศ. 2514 – ปริญญาโท คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
นอกประเทศ
แก้- พ.ศ. 2497 – โรงเรียนทหารสื่อสาร, ค่ายมอนมัธ กองทัพบกสหรัฐฯ
- พ.ศ. 2502 – วิทยาลัยเสนาธิการทหารบก, ค่ายเลเวนเวิร์ธ กองทัพบกสหรัฐฯ
- พ.ศ. 2503 – หลักสูตรการซ่อมบำรุงด้วยการปกป้อง สำหรับนายทหารชั้นผู้ใหญ่, กองทัพบกสหรัฐฯ
การทำงาน
แก้ราชการทหาร
แก้สัณห์ จิตรปฏิมา ได้ดำรงตำแหน่งแรก คือ ผู้บังคับหมวด กรมจเรทหารสื่อสาร และดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ เช่น[2]
- 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 – นายทหารติดต่อ กรมผสมที่ 21 ในสงครามเกาหลี
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2511 – เสนาธิการ กรมรักษาดินแดน
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2513 – ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 5
- 24 มกราคม พ.ศ. 2518 – แม่ทัพภาคที่ 4
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2522 – เสนาธิการทหารบก
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2523 – รองผู้บัญชาการทหารบก
ราชการพิเศษ
แก้- 13 มิถุนายน พ.ศ. 2520 – นายทหารพิเศษประจำกองพันทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์
- 8 ธันวาคม พ.ศ. 2521 – นายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ และกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์
- 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2522 – นายทหารพิเศษประจำกรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์
- ประธานกรรมการเนชั่นกรุ๊ป (ประเทศไทย)
- ประธานกรรมการซีเอ็ดยูเคชั่น
- กรรมการธนาคารทหารไทย
- กรรมการธนาคารสหธนาคาร
- กรรมการองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย
- กรรมการธนาคารนครหลวงไทย
- กรรมการธนาคารกรุงไทย
- กรรมการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก
- กรรมการองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย
- กรรมการองค์การแก้ว
- กรรมการองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์
- กรรมการสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
การก่อกบฏ
แก้ถึงแก่อนิจกรรม
แก้พลเอก สัณห์ จิตรปฏิมา ได้ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคภาวะการหายใจล้มเหลว เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2547 เวลา 5:00 น. ณ โรงพยาบาลรามคำแหง สิริอายุ 82 ปี 216 วัน มีพิธีพระราชทานเพลิงศพที่เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร[1]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้พลเอก สัณห์ จิตรปฏิมา ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้[1][2]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2523 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2518 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2523 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[5]
- พ.ศ. 2505 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[6]
- พ.ศ. 2496 – เหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี (ช.ส.)[7]
- พ.ศ. 2515 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[8]
- พ.ศ. 2486 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ร.)[9]
- พ.ศ. 2497 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[10]
- พ.ศ. 2517 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[11]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2500 – เหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
เครื่องอิสริยาภรณ์สากล
แก้- สหประชาชาติ :
- พ.ศ. 2496 – เหรียญสหประชาชาติเกาหลี[12]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 (2548). อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก สัณห์ จิตรปฏิมา ม.ป.ช., ม.ว.ม., ท.จ.ว. ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันเสาร์ ที่ 9 เมษายน 2548. นำอักษรการพิมพ์.
- ↑ 2.0 2.1 สัณห์ จิตรปฏิมา, พล. อ., 2464-2547 (2548). ชีวิตและผลงาน พลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา. นำอักษรการพิมพ์.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๑๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๖, ๕ ธันวาคม ๒๕๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๒๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๗, ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๘๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๐, ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๘๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๕, ๘ กันยายน ๒๕๐๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๕๕ ง หน้า ๒๙๙๕, ๒๕ สิงหาคม ๒๔๙๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๑๒๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔๔, ๒๕ สิงหาคม ๒๕๑๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๖๓ ง หน้า ๓๗๑๐, ๓๐ พฤศจิกายน ๒๔๘๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๘๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓๙, ๒๙ ธันวาคม ๒๔๙๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๑๕ มกราคม ๒๕๑๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเหรียญปฎิบัติงานสหประชาชาติ, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๕๕ ง หน้า ๓๐๑๓, ๒๕ สิงหาคม ๒๔๙๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเหรียญอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๕๑ ง หน้า ๑๘๔๗, ๑๗ สิงหาคม ๒๔๙๗
- ↑ SENARAI PENUH PENERIMA DARJAH KEBESARAN, BINTANG DAN PINGAT PERSEKUTUAN TAHUN 1971