ยฺเหวียน ชื่อไข่
ยฺเหวียน ชื่อไข่ (จีนตัวย่อ: 袁世凯; จีนตัวเต็ม: 袁世凱; พินอิน: Yuán Shìkǎi; 16 กันยายน ค.ศ. 1859 – 6 มิถุนายน ค.ศ. 1916) เป็นข้าราชการชาวจีนซึ่งขึ้นสู่อำนาจในช่วงปลายราชวงศ์ชิง ก่อตั้งกองทัพแบบใหม่เป็นครั้งแรกในประเทศ และปรับปรุงการปกครองส่วนภูมิภาคในทางเหนือของประเทศ ก่อนที่จักรพรรดิผู่อี๋ (溥儀) จะสละราชสมบัติใน ค.ศ. 1911 และเขาได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดีคนแรกของประเทศเมื่อ ค.ศ. 1912[1] แต่เขาได้รื้อฟื้นระบอบกษัตริย์ขึ้นในช่วง ค.ศ. 1915–1916 โดยตั้งตนเป็น จักรพรรดิหงเซี่ยน (洪憲皇帝)
ยฺเหวียนชื่อไข่ | |
---|---|
袁世凱 | |
ยฺเหวียนชื่อไข่ในปี 1915 | |
ประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีน | |
ดำรงตำแหน่ง 22 มีนาคม 1916 – 6 มิถุนายน 1916 | |
หัวหน้ารัฐบาล | |
รองประธานาธิบดี | หลี ยฺเหวียนหง |
ก่อนหน้า | ตัวเองในฐานะฮ่องเต้ |
ถัดไป | หลี ยฺเหวียนหง |
ดำรงตำแหน่ง 10 มีนาคม 1912 – 12 ตุลาคม 1915 | |
หัวหน้ารัฐบาล |
|
รองประธานาธิบดี | หลี ยฺเหวียนหง |
ก่อนหน้า | ซุน ยัตเซ็น |
ถัดไป | ตัวเองในฐานะฮ่องเต้ |
อัครมหาเสนาบดี | |
ดำรงตำแหน่ง 2 พฤศจิกายน 1911 – 10 มีนาคม 1912 | |
กษัตริย์ | จักรพรรดิเซฺวียนถ่ง |
ก่อนหน้า | ชิ่งจิ้นอ๋องอี้กวง |
ถัดไป | ราชวงศ์ชิงล่มสลาย |
สมุหกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 4 กันยายน 1907 – 2 มกราคม 1909 | |
กษัตริย์ | |
เสนาบดีต่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 4 กันยายน 1907 – 2 มกราคม 1909 | |
กษัตริย์ | |
ก่อนหน้า | หลู่ ไห้หวน |
ถัดไป | เหลียง ตวนเยี่ยน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 16 กันยายน ค.ศ. 1859 Xiangcheng, Henan, Qing Empire |
เสียชีวิต | 6 มิถุนายน ค.ศ. 1916 ปักกิ่ง, Republic of China | (56 ปี)
พรรคการเมือง | |
คู่สมรส |
|
บุตร |
|
อาชีพ | นายพล, นักการเมือง |
รางวัล | |
ลายมือชื่อ | |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ |
|
สังกัด | กองทัพเป่ย์หยาง |
ประจำการ | 1881–1916 |
ยศ | จอมพล |
ผ่านศึก | |
ฮ่องเต้[หมายเหตุ 1] | |
ครองราชย์ | 12 ธันวาคม 1915 – 22 มีนาคม 1916 |
ก่อนหน้า | ตัวเองในฐานะประธานาธิบดี |
ถัดไป | ตัวเองในฐานะประธานาธิบดี |
นายกรัฐมนตรี | ลู่ เจิงเสียง |
ประวัติ
แก้ต้นชีวิต
แก้ยฺเหวียน ชื่อไข่ เกิดในหมู่บ้านจางอิ๋ง (張營村) แห่งนครเซี่ยงเฉิง (项城市), จังหวัดเฉิน (陳州), มณฑลเหอหนาน (河南省) ภายหลังสกุลยฺเหวียนย้ายไปตั้งบ้านเรือนห่างจากเซี่ยงเฉิงไปทางตะวันออกเฉียงใต้ราว 16 กิโลเมตร โดยตั้งหมู่บ้านยฺเหวียนไจ้ (袁寨村) ขึ้นที่นั่น[2]
สกุลยฺเหวียนมีกำลังส่งเสียให้เขาเล่าเรียนตามระบบประเพณี[3] เมื่อยังเด็ก เขาชอบขี่ม้า ชกมวย และสังสรรค์กับเพื่อนฝูง พอเติบใหญ่ ตั้งใจจะรับราชการพลเรือน แต่สอบขุนนางตกสองครั้ง จึงเปลี่ยนใจไปเอาดีด้านการเมืองโดยหวังจะไต่เต้าจากทางทหารแทน จึงไปเข้าทัพหฺวาย (淮軍) ที่มีญาติพี่น้องของตนรับราชการอยู่มากมาย เขาเริ่มเป็นทหารด้วยการซื้อตำแหน่งเล็ก ๆ ใน ค.ศ. 1880 ซึ่งเป็นความประพฤติอันดาษดื่นในยุคสมัยนั้น[4] เขายังเดินทางไปจังหวัดเถิง (滕州) เพื่อหาตำแหน่งใหม่ในกองทัพผ่านเส้นสายของบิดา ต่อมาใน ค.ศ. 1876 เขาสมรสกับหญิงจากสกุลยฺหวี (于) นาม ยฺหวี อี้ช่าง (于義上) ครั้น ค.ศ. 1878 หญิงนั้นให้กำเนิดบุตรชายคนแรกของเขา คือ ยฺเหวียน เค่อติ้ง (袁克定) แต่ยฺเหวียน ชื่อไข่ มิได้มีภริยาเพียงเท่านั้น ตลอดชีวิตของเขา เขายังแต่งอนุภริยาอีกเก้าคน[5]
ช่วงโชซ็อน
แก้ต้นคริสต์ทศวรรษ 1870 เกาหลี ซึ่งเป็นรัฐในอารักขาของราชวงศ์ชิง และมีราชวงศ์โชซ็อน (Joseon Dynasty) เป็นผู้ปกครอง ต้องเผชิญกับการปะทะทางการเมืองของสองขั้วอำนาจ คือ กลุ่มของแทว็อนกุนฮึงซ็อน (Heungseon Daewongun) พระบิดาของจักรพรรดิโคจง (Emperor Gojong) ที่ต้องการให้ปิดประเทศ กับกลุ่มของจักรพรรดินีมย็องซ็อง (Empress Myeongseong) พระมเหสีของจักรพรรดิโคจง ที่ต้องการให้เปิดเสรีทางการค้า เวลาเดียวกัน ในญี่ปุ่นมีการปฏิรูปเมจิ (Meiji Restoration) ที่ส่งผลให้เกิดนโยบายรุกรานต่างประเทศ ญี่ปุ่นจึงเริ่มท้าทายอำนาจของจีนในคาบสมุทรเกาหลี เกาหลีจำต้องทำสนธิสัญญาคังฮวา (Treaty of Ganghwa) กับญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1876 ซึ่งอนุญาตให้ญี่ปุ่นส่งทูตไปประจำฮันซ็อง (Hanseong) และตั้งสถานีการค้าในอินช็อน (Incheon) กับว็อนซัน (Wonsan) ได้ หลี่ หงจาง (李鴻章) ซึ่งเป็นผู้ว่าจื๋อลี่ (直隸總督) ส่งทหารราชวงศ์ชิงจำนวน 3,000 นายเข้าไปยังเกาหลี โดยมียฺเหวียน ชื่อไข่ เป็นผู้บังคับบัญชา
ต่อมาใน ค.ศ. 1885 ยฺเหวียน ชื่อไข่ ได้รับแต่งตั้งเป็นราชทูตประจำ (Imperial Resident) ฮันซ็อง[6] โดยพื้นฐานแล้วตำแหน่งดังกล่าวเทียบเท่าเอกอัครราชทูต แต่ในทางปฏิบัติมีสถานะเป็นที่ปรึกษาสูงสุดเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลเกาหลี ฝ่ายญี่ปุ่นเห็นจีนมีทีท่าจะเพิ่มอิทธิพลในเกาหลี จึงหันไปเสนอต่อจีนให้ร่วมกันปกครองเกาหลีแทน จีนกับญี่ปุ่นทำสนธิสัญญากันว่า จะส่งทหารเข้าไปในเกาหลีต่อเมื่อแจ้งอีกฝ่ายแล้ว ขณะนั้น เกิดกบฏภายใน และจีนส่งทหารเข้าไปป้องกันผลประโยชน์ของจีนในเกาหลี ญี่ปุ่นจึงทำเช่นเดียวกันโดยให้เหตุผลว่า เพื่อป้องกันสถานีการค้าของญี่ปุ่น แต่เมื่อหมดความวุ่นวาย ทั้งสองประเทศไม่ยอมถอนทหารออก ทำให้ความตึงเครียดทวีขึ้นเรื่อย ๆ หลี่ หงจาง ไม่อยากเปิดศึกกับญี่ปุ่น จึงพยายามให้นานาชาติกดดันญี่ปุ่น แต่ไม่เป็นผล ทั้งสองฝ่ายรบกันในที่สุด รัฐบาลจีนเรียกยฺเหวียน ชื่อไข่ กลับเทียนจิน (天津) ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1894 เป็นอันสิ้นสุดหน้าที่ของเขาในเกาหลี ก่อนที่สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่งจะตามมาในปลายเดือนนั้นเอง
ระหว่างอยู่เกาหลี ยฺเหวียน ชื่อไข่ ได้สตรีเกาหลีเป็นอนุภริยาสามคน คนหนึ่งเป็นญาติขององค์หญิงเกาหลี เขาแวะเวียนไปหาหญิงทั้งสามเป็นประจำ จนได้บุตร 15 คน[7][8][9]
ช่วงปลายราชวงศ์ชิง
แก้ในสงครามดังกล่าว ยฺเหวียน ชื่อไข่ ได้บัญชากองกำลังจีนในเกาหลีแต่ในนาม แต่ก็ทำให้เขามีชื่อเสียงขึ้นมา และเหตุที่อยู่ฝ่ายเดียวกับหลี่ หงจาง เขาจึงได้เป็นผู้นำทัพใหม่ (新軍) ที่จัดตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1895 เพื่อปฏิรูปทางทหารแบบสมัยใหม่[10] การปฏิรูปนั้นเองทำให้ยฺเหวียน ชื่อไข่ เกิดมีบารมีทางการเมืองขึ้น ทั้งยังเป็นที่เคารพเลื่อมใส่ของนายทหารรุ่นใหม่ พอ ค.ศ. 1901 ก็ปรากฏว่า ผู้บัญชาการทหารห้าในเจ็ดคน ตลอดจนนายทหารชั้นผู้ใหญ่อีกมาก ต่างอยู่ในอิทธิพลของเขา[4] ราชวงศ์ชิงยังพึ่งพาทหารจากทัพใหม่ของเขาอย่างยิ่ง เพราะเป็นหน่วยที่ฝึกมาดีและมีประสิทธิภาพกว่าใครเพื่อน
เวลานั้น ราชสำนักชิงแบ่งออกเป็นสองฝ่าย คือ ฝ่ายหัวก้าวหน้าของจักรพรรดิกวังซฺวี่ (光緒帝) ผู้จัดการปฏิรูปร้อยวัน (百日維新) กับฝ่ายหัวโบราณของพระนางฉือสี่ไท่โฮ่ว (慈禧太后) ผู้เคยสำเร็จราชการแทนจักรพรรดิ แต่ได้ถอยจากการเมืองไปประทับวังฤดูร้อนอี๋เหอ-ยฺเหวียน (頤和園) เพื่อให้การปฏิรูปดำเนินไป จักรพรรดิกวังซฺวี่เห็นว่า ต้องกำจัดพระนางฉือสี่ จึงเรียกคนสนิท รวมถึงคัง โหย่วเหวย์ (康有為) และถาน ซื่อถง (譚嗣同) เข้ามาช่วยวางแผนการ ถาน ซื่อถง มาเจรจากับยฺเหวียน ชื่อไข่ ให้นำทหารเข้าจัดการขั้นเด็ดขาดกับพระนางฉือสี่ ยฺเหวียน ชื่อไข่ มิได้ให้คำตอบในทางใดอย่างชัดเจน เป็นแต่ยืนยันว่า ตนเองภักดีต่อองค์จักรพรรดิ ครั้นวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 1898 ยฺเหวียน ชื่อไข่ ขึ้นรถไฟไปเทียนจินเพื่อพบกับหรงลู่ (榮祿) คนสนิทของพระนางฉือสี่ ทั้งสองพูดคุยสิ่งใดกันนั้นไม่มีใครล่วงรู้ แต่เช้าตรู่วันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 1898 พระนางฉือสี่นำกำลังบุกเข้าวังหลวง จับจักรพรรดิไปขังไว้ ณ ตำหนักหาน-ยฺเหวียน (涵元殿) บนเกาะอิ๋งไถ (瀛台) กลางสระน้ำในพระที่นั่งจงหนันไห่ (中南海) แล้วกลับเข้าสำเร็จราชการแทนจักรพรรดิอีกครั้ง ส่วนยฺเหวียน ชื่อไข่ ปรากฏว่า ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ตรวจชานตง (山東巡撫)
ในช่วงที่เขาอยู่ชานตงนั้นเอง เกิดกบฏนักมวย (庚子拳亂) ต่อต้านต่างชาติขึ้น และยฺเหวียน ชื่อไข่ ปราบปรามกลุ่มนักมวยในชานตงราบคาบ แต่มิได้จัดการกบฏนอกพื้นที่ตนเองอย่างจริงจังสักเท่าใด นอกจากนี้ ในราชสำนัก เขายังเข้ากับกลุ่มหนุนฝรั่ง ซึ่งมีบุคคลหลัก คือ หลี่ หงจาง, หรงลู่, และชิ่งชินหวัง (慶親王) ยฺเหวียน ชื่อไข่ ปราบปรามกบฏนักมวย และไม่ปฏิบัติตามพระเสาวนีย์ของพระนางฉือสี่ที่ประกาศสงครามกับต่างชาติ[11] ทหารของยฺเหวียน ชื่อไข่ ประหารผู้คนไปหลายหมื่นรายในการปราบกบฏที่จื๋อลี่ (直隸) โดยบัญชาการอยู่ที่เป่าติ้ง (保定)[12] การปราบกบฏของเขาเสร็จสิ้นใน ค.ศ. 1902[13]
ที่ชานตง เขายังก่อตั้งวิทยาลัยประจำมณฑลขึ้นในจี่หนาน (济南) เพื่อจัดการศึกษาแบบตะวันตก ครั้นเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1902 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ว่าจื๋อลี่ (直隸總督) และมหาเสนาพาณิชย์เป่ย์หยาง (北洋通商大臣)[14] เขากู้ยืมเงินจำนวนมากจากต่างชาติมาใช้พัฒนากองกำลังของตนที่เป่ย์หยาง (北洋) จนกลายเป็นกองทหารที่มีอานุภาพมากที่สุดในประเทศ เขายังตั้งกองตระเวน 2,000 นายไปคอยรักษาความเรียบร้อยที่เทียนจิน ซึ่งนับเป็นกองตำรวจกองแรกในประวัติศาสตร์ชาติจีน ทั้งนี้ เพราะพิธีสารนักมวย (Boxer Protocol) ที่ราชวงศ์ชิงทำขึ้นกับต่างชาติหลังจากพ่ายแพ้ในคราวกบฏนักมวย ห้ามมีทหารบริเวณเทียนจินอีก ยฺเหวียน ชื่อไข่ ยังมีบทบาทหลักในการปฏิรูปทางการเมืองช่วงปลายราชวงศ์ชิง เช่น ในการสถาปนากรมศึกษา (學部) และกรมตำรวจ (巡警部) ทั้งยังสนับสนุนความเสมอภาคระหว่างชาวแมนจูผู้ปกครองประเทศกับชาวฮั่นซึ่งเป็นประชากรหลักของประเทศ
ใน ค.ศ. 1905 เขาเสนอให้พระนางฉือสี่ยกเลิกการสอบขุนนางตามประเพณีเดิม และรับสั่งให้กรมศึกษาสร้างระบบการศึกษาสมัยใหม่โดยเอาระบบญี่ปุ่นเป็นแม่แบบ ต่อมาในวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 1908 พระนางยังตราธรรมนูญการปกครองแผ่นดินที่เขาช่วยร่าง ธรรมนูญดังกล่าวให้มีการปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยอ้างอิงแบบญี่ปุ่น ทั้งยังจัดให้มีการร่างรัฐธรรมนูญเพื่อใช้บังคับภายใน ค.ศ. 1916 และให้เลือกตั้งผู้แทนราษฎรภายใน ค.ศ. 1917[15]
เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1908 จักรพรรดิกวังซฺวี่และพระนางฉือสี่สิ้นพระชนม์ในเวลาไล่เลี่ยกัน[6] ร่ำลือกันว่า จักรพรรดิกวังซฺวี่ทำพินัยกรรมรับสั่งให้ประหารชีวิตยฺเหวียน ชื่อไข่ ยฺเหวียน ชื่อไข่ จึงชิงลาออกจากตำแหน่งทั้งปวงในเดือนมกราคม ค.ศ. 1909 อ้างว่า เพื่อไปรักษาโรคเกี่ยวกับเท้าที่หมู่บ้านหฺวันช่าง (洹上村) ในนครอันหยาง (安阳市) โดยให้องค์ชายไจ้เฟิง (載灃) ผู้สำเร็จราชการแทนจักรพรรดิผู่อี๋ พระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ เข้ารับตำแหน่งแทน
ระหว่างลี้ภัยการเมืองนี้ ยฺเหวียน ชื่อไข่ ยังติดต่อกับเพื่อนเก่าอย่างตฺวั้น ฉีรุ่ย (段祺瑞) ผู้คอยรายงานกิจการทหารให้เขาทราบ ยฺเหวียน ชื่อไข่ ยังจัดให้หลานสาวตนเองสมรสกับตฺวั้น ฉีรุ่ย เพื่อเป็นดองกันทางอำนาจ นอกจากนี้ ทหารแห่งทัพเป่ย์หยางก็ยังภักดีต่อเขาดังเดิม
ดูเพิ่ม
แก้เชิงอรรถ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Shan, Patrick Fuliang (2018). Yuan Shikai: A Reappraisal, The University of British Columbia Press. ISBN 9780774837781.
- ↑ "Yuan Shikai | Qing Dynasty | International Politics". Scribd (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-05-23.
- ↑ Bonavia 34
- ↑ 4.0 4.1 Spence, Jonathan D. (1999) The Search for Modern China, W.W. Norton and Company. p. 274. ISBN 0-393-97351-4.
- ↑ 袁世凯:一妻九妾. 网易 (ภาษาจีน). 网易 (163.com). 6 June 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-21. สืบค้นเมื่อ 2 May 2011.
- ↑ 6.0 6.1 Busky, Donald F. (2002) Communism in History and Theory, Praeger/Greenwood. ISBN 0-275-97733-1.
- ↑ MAO Min (2017). The Revival of China, Volume 1. Mao Min. p. 52.
- ↑ Zhong Liu (2004). Thorny Road to Dignity: Surviving Mao: A Chinese Psychiatrist Embraces a Miracle in America. iUniverse. p. 97. ISBN 0595319777.
- ↑ Steven T. Au (1999). Beijing Odyssey: Based on the Life and Times of Liang Shiyi, a Mandarin in China's Transition from Monarchy to Republic (illustrated ed.). Mayhaven Publishing. p. 92. ISBN 1878044680.
- ↑ "Yuan Shikai: The leader of the Beiyang Army". China.org.cn. 18 September 2011. สืบค้นเมื่อ 22 May 2018.
- ↑ Zhitian Luo (30 January 2015). Inheritance within Rupture: Culture and Scholarship in Early Twentieth Century China. BRILL. pp. 19–. ISBN 978-90-04-28766-2.
- ↑ Edgerton, Warriors of the Rising Sun: A History of the Japanese Military, page 94
- ↑ Chʼên, Jerome Yuan Shih-kʻai, page 76-77
- ↑ Bonavia 35
- ↑ Tanner, Harold Miles. China: A History. Hackett Publishing (2009) ISBN 0872209156 Pages 408–410.
บรรณานุกรม
แก้- Barnouin, Barbara and Yu Changgen. Zhou Enlai: A Political Life. Hong Kong: Chinese University of Hong Kong, 2006. p. 14 retrieved 12 March 2011
- Bonavia, David. China's Warlords. New York: Oxford University Press. 1995. ISBN 0-19-586179-5
- Ch'en, Jerome (1961). Yuan Shih-K'ai, 1859–1916: Brutus Assumes the Purple. London: George Allen & Unwin; Reprinted: Stanford University Press, 1971. online free to borrow
- Shan, Patrick Fuliang (2018). Yuan Shikai: A Reappraisal (U of British Columbia Press. ISBN 978-0774837781)
- Spence, Jonathan D. (1999). The Search for Modern China. New York: W.W. Norton & Company. p. 282.
- Zhang, Hong. "Yuan Shikai and the Significance of his Troop Training at Xiaozhan, Tianjin, 1895–1899." Chinese Historical Review 26.1 (2019): 37–54
ดูเพิ่ม
แก้- Clubb, O. Edmund. 20th century China (1965) online pp. 40–60.
- Koji, Hirata. "Britain's Men on the Spot in China: John Jordan, Yuan Shikai, and the Reorganization Loan, 1912–1914." Modern Asian Studies 47.3 (2013): 895–934.
- Lowe, Peter. "Great Britain, Japan and the Fall of Yuan Shih-K'ai, 1915-1916" Historical Journal 13#4 (1970), pp. 706–20 online
- MacKinnon, Stephen R. (1992). Power and Politics in Late Imperial China: Yuan Shikai in Beijing and Tianjin, 1901–08. University of California Press. ISBN 0520040252.
- Palmer. Norman D. "Makers of Modern China: II. The Strong Man: Yuan Shih-kai" Current History (Sep 1948): 15#85 pp. 149–55. in Proquest.
- Putnam Weale, B. L. The Fight For The Republic In China (1917) online
- Rankin, Mary Backus. "State and society in early republican politics, 1912–18." China Quarterly 150 (1997): 260–81. online
- Yim, Kwanha. "Yüan Shih-k'ai and the Japanese." Journal of Asian Studies 24.1 (1964): 63–73 online.
- Young, Ernest P. (1977). The Presidency of Yuan Shih-K'ai: Liberalism and Dictatorship in Early Republican China. Ann Arbor: University of Michigan Press. ISBN 0472089951.
- Zhang, Hong. "Yuan Shikai and the Significance of his Troop Training at Xiaozhan, Tianjin, 1895–1899." Chinese Historical Review 26.1 (2019): 37–54.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Early support for Yuan among overseas Chinese
- The Fight for the Republic in China by Bertram Lenox Simpson ที่ โครงการกูเทนแบร์ก This etext first published in 1917 contains a detailed account of Yuan Shikai, his rise and fall.
- Map of Yuan's mausoleum.
- กฤตภาคจากหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับ ยฺเหวียน ชื่อไข่ ในหอจดหมายเหตุข่าวสารคริสต์ศตวรรษที่ 20 ของ ZBW
อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref>
สำหรับกลุ่มชื่อ "หมายเหตุ" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="หมายเหตุ"/>
ที่สอดคล้องกัน