ข้ามไปเนื้อหา

กรีซยุคคลาสสิก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รุ่นสำหรับพิมพ์ไม่ได้รับการสนับสนุนอีกต่อไปและอาจมีข้อผิดพลาด โปรดอัปเดตบุ๊กมาร์กและใช้ตัวเลือกสำหรับพิมพ์ที่มีมาให้ในเบราว์เซอร์แทน
ประวัติศาสตร์กรีซ
Coat of Arms of Greece
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทความที่เกี่ยวกับ
ประเทศกรีซ

กรีซยุคสำริด
อารยธรรมเฮลลาดิค
อารยธรรมซิคละดีส
อารยธรรมไมนอส
อารยธรรมไมซีนี
กรีซโบราณ
กรีซยุคมืด
กรีซยุคอาร์เคอิก
กรีซยุคคลาสสิก
กรีซยุคเฮลเลนิสติก
กรีซยุคโรมัน
กรีซยุคกลาง
กรีซยุคไบแซนไทน์
กรีซยุคฟรังโคคราเชีย
กรีซยุคออตโตมัน
กรีซยุคใหม่
สงครามประกาศเอกราชกรีซ
ราชอาณาจักรกรีซ
สาธารณรัฐเฮลเลนิกที่ 2
คณะการปกครอง 4 สิงหาคม
กรีซยุคยึดครองโดยอักษะ
สงครามกลางเมืองกรีซ
กรีซยุคปกครองโดยทหาร ค.ศ. 1967-1974
สาธารณรัฐเฮลเลนิกที่ 3
ประวัติศาสตร์แบ่งตามหัวข้อ

สถานีย่อยกรีซ
เพลโตเดินถกปรัชญาอยู่กับอริสโตเติล (จากภาพ school of Athens โดยราฟาเอล)

กรีซยุคคลาสสิก หรือ กรีซสมัยคลาสสิก เป็นช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ของกรีซโบราณที่อยู่ระหว่าง กรีซสมัยอาร์เคอิก และสมัยเฮลเลนิสติก โดยมีระยะเวลายาวนานประมาณ 200 ปี (ศตวรรษที่ 5 และ 4 ก่อนค.ศ.)[1] ตั้งแต่ชัยชนะของเอเธนส์ที่ซาลามิส ต่ออาณาจักรเปอร์เซีย ในปีที่ 480 ก่อนค.ศ. (บางครั้งก็เริ่มนับตั้งแต่ปีที่ 510 ก่อนค.ศ. อันเป็นปีที่ชาวเอเธนส์กำจัดทรราชคนสุดท้ายลงได้) จนถึงเหตุการณ์สวรรคตของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ในปีที่ 323 ก่อน ค.ศ. ยุคคลาสสิคของกรีซเป็นยุคสมัยที่อารยธรรมกรีกเบ่งบานถึงขีดสุด และเป็นช่วงที่วัฒนธรรมเชิงคุณค่า และสถาบันต่าง ๆ ของชนชาติกรีกได้พัฒนาไปจนถึงขีดสมบูรณ์

กรีซในยุคคลาสสิก มีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่อจักรวรรดิโรมัน และต่อรากฐานของอารยธรรมตะวันตก ระบบความคิดส่วนใหญ่ของโลกตะวันตกสมัยใหม่ ไม่ว่าทางการเมืองการปกครอง, ทางศิลปะ ทางสถาปัตยกรรม, ทางวิทยาศาสตร์, ทางการละคร, ทางวรรณกรรม, และทางปรัชญา ล้วนแต่เป็นสิ่งที่อนุพัทธ์ (derived) หยิบยืม หรือต่อยอดมาจากมรดกทางความคิดของกรีซในช่วงเวลาประวัติศาสตร์นี้ทั้งสิ้น

ศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล

ในศตวรรษนี้นครรัฐเอเธนส์มีความโดดเด่นที่สุด เพราะเอเธนส์ทิ้งงานเขียนทั้งทางประวัติศาสตร์ กฎหมาย และวรรณคดีไว้มากกว่านครรัฐกรีกโบราณอื่นทั้งหมด จึงอาจกล่าวได้ว่าเหตุการณ์สำคัญเหตุการณ์แรกเกิดขึ้นในปีที่ 508 ก่อนค.ศ. เมื่อไคลส์ธีนีส (Cleisthenes) ร่วมมือกับสปาร์ตาโค่น ฮิปปิอัส ทรราชคนสุดท้ายของเอเธนส์ลงจากอำนาจ และสามารถร่วมมือกับสภาห้าร้อยคน (กรีกโบราณ: βουλή); สภาบูแล) ชิงอำนาจมาจากไอซากอรัส (Isagoras) ได้ และเริ่มปฏิรูปเอเธนส์ แต่ถ้ามองให้กว้างออกไปทั่วทั้งแผ่นดินกรีซ ก็อาจพูดได้ว่าการก่อกบฏไอโอเนีย เมื่อปีที่ 500 ก่อนค.ศ. มีความสำคัญในฐานะเหตุการณ์ที่กระตุ้นให้จักรวรรดิเปอร์เซียเปิดฉากรุกรานกรีซในปีที่ 492 ก่อนค.ศ. ทัพของเปอร์เซียถูกพิชิตในปีที่ 492 ก่อนค.ศ. แต่อีกทศวรรษต่อมาเปอร์เซียก็ยกทัพกลับมาอีกเป็นครั้งที่สอง (ในปีที่ 481-479 ก่อนค.ศ.) ทว่าก็ล้มเหลวอีกแม้ว่าจะสามารถเดินทัพเข้าครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของกรีซได้ และได้ชัยชนะทั้งในยุทธการที่เทอร์โมพิลี และยุทธนาวีที่อาร์เตมิเซียม[2] หลังจากเสร็จศึกกับเปอร์เซียแล้ว สันนิบาตดีเลียนก็ถูกสถาปนาขึ้นภายใต้อิทธิพลครอบงำ (hegemon) ของเอเธนส์ และถูกเอเธนส์ใช้เป็นเครื่องมือสร้างอำนาจและความมั่งคั่ง ความไม่รู้จักพอของเอเธนส์ทำให้เกิดการลุกฮือขึ้นในบรรดานครรัฐพันธมิตร ซึ่งล้วนถูกเอเธนส์ใช้กำลังทหารเข้ากำหราบ แต่พลวัตทางอำนาจของเอเธนส์ทำให้สปาร์ตาตื่นขึ้นมา และนำมาซึ่งสงครามเพโลพอนนีเซียน ในปีที่ 431 ก่อนค.ศ. สงครามดำเนินไปในสมรภูมิทั่วทั้งโลกอารยธรรมของกรีซเป็นเวลาเกือบ 30 ปี โดยมีการสงบศึกเพียงช่วงสั้นๆ จนในที่สุดเอเธนส์ก็ถูกพิชิตลงอย่างเด็ดขาด ในปีที่ 404 ก่อนค.ศ. เรื่องราวในศตวรรษที่ 5 ก่อนค.ศ. ของกรีซในยุคคลาสสิกก็ปิดฉากลง ด้วยความวุ่นวายทางการเมืองของเอเธนส์หลังจากนั้น

การเมืองเอเธนส์สมัยไคลส์ธีนีส

สงครามกับเปอร์เซีย หรือสงครามมาราธอน

มหาสงครามเพโลพอนนีส

ศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล

วัฒนธรรมของกรีซยุคคลาสสิค

ศิลปะกรีกยุคคลาสสิค

ปรัชญากรีกยุคคลาสสิค

การละครกรีกยุคคลาสสิค

อ้างอิง

  1. Thomas R. Martin, Ancient Greece, Yale University Press, 1996, p. 94).
  2. Aeschylus,; Peter Burian; Alan Shapiro (17 February 2009). The Complete Aeschylus: Volume II: Persians and Other Plays. Oxford University Press. p. 18. ISBN 978-0-19-045183-7.{{cite book}}: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์)

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น