ข้ามไปเนื้อหา

กรุง ศรีวิไล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กรุงศรีวิไล สุทินเผือก
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ
ดำรงตำแหน่ง
23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 – 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
เขตเลือกตั้งเขต 2
ดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2562 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566
เขตเลือกตั้งเขต 5
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
นที สุทินเผือก

7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 (78 ปี)
อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ประเทศไทย
สัญชาติไทย
พรรคการเมืองพลังประชาชน (2550–2551)
เพื่อไทย (2551–2553)
ภูมิใจไทย (2553–2561)
พลังประชารัฐ (2561–ปัจจุบัน)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (2550–2553)
คู่สมรสพรรณวิภา สุทินเผือก; รวมถึงอดีตภรรยาอีก 2 คน
บุตร5 คน; รวมถึง กมลวรรณ ศรีวิไล
การศึกษาโรงเรียนบางพลีน้อย
โรงเรียนช่างกลปทุมวัน
มหาวิทยาลัยปทุมธานี (ร.บ.)
อาชีพนักการเมือง นักแสดง นักร้อง นักธุรกิจ พนักงานราชการ
ทรัพย์สินสุทธิ26 ล้านบาท (2563)
ชื่อเล่นเอ๊ด
อาชีพแสดง
ชื่ออื่นกรุง ศรีวิไล
ปีที่แสดงพ.ศ. 2513 – ปัจจุบัน
ผลงานเด่นกรุง - ลูกยอด (2514)
เทพ - ชู้ (2515)
ศาสตรา - ทอง (2516)
นัฑ - คืนนี้ไม่มีพระจันทร์ (2518)
ซี - ตัดเหลี่ยมเพชร (2518)
พงษ์เทพ - มีนัดไว้กับหัวใจ (2518)
ยอดธง - เสาร์ห้า (2519)
แมงดาปีกทอง (2519)
เพศสัมพันธ์อันตราย (2519)
กรุง - ซุปเปอร์ลูกทุ่ง (2521)
รางวัล
พระสุรัสวดีนักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2517 - ชู้
ฐานข้อมูล
IMDb
ThaiFilmDb

กรุง ศรีวิไล มีชื่อจริงว่า กรุงศรีวิไล สุทินเผือก[1] ชื่อเล่น เอ๊ด เกิดวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 ที่อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เป็นนักแสดงชาวไทย มีผลงานอย่างเช่นเรื่อง ลูกยอด, ชู้, ทอง, ตัดเหลี่ยมเพชร, ซุปเปอร์ลูกทุ่ง, คืนนี้ไม่มีพระจันทร์, มีนัดไว้กับหัวใจ, เสาร์ห้า, เพศสัมพันธ์อันตราย, แมงดาปีกทอง และ สาวแรงสูง

ประวัติ

[แก้]

กรุง ศรีวิไล เข้าเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนบางพลีน้อย หลังจากนั้นก็ต่อชั้นมัธยมปลายในตัวอำเภอ โดยอาศัยอยู่ในวัด จนเมื่อเรียนจบชั้น ม.6 ได้ย้ายไปต่อที่โรงเรียนในตัวจังหวัด เพื่อเรียนชั้น ม.7 ยังไม่จบชั้น ม.8 ดีจึงได้ตัดสินใจเข้าสู่กรุงเทพมหานคร สอบเข้าโรงเรียนช่างกลปทุมวัน เรียนได้อยู่ 2 ปีเศษก็ถูกสั่งให้ออก ได้เรียนภาษาอังกฤษ และพิมพ์ดีดเพิ่มเติมหลังจากถูกสั่งออก จนได้รู้จักกับผู้ใหญ่คนหนึ่งซึ่งได้ฝากเข้าทำงานให้กับกรมศุลกากร เป็นฝ่ายติดต่อราชการ งานด้านชิปปิ้ง ทำได้ 4 ปีได้ตัดสินใจเปิดร้านขายผ้าไหมส่งออกที่โรงแรมแมนดาริน และต่อยอดทำธุรกิจเพิ่มโดยเปิดร้านจิวเวลรี่ แต่พอย่างเข้าปีที่ 4 กิจการเริ่มไปไม่ไหว เพื่อนที่เป็นหุ้นส่วนก็หนีไปฮ่องกงพร้อมกับเงินสดในร้าน จนต้องปิดกิจการไปลงในที่สุด

กรุงเข้าสู่วงการโดยการชักนำของ ประมินทร์ จารุจารีต เล่นหนังเรื่อง ลูกยอด เป็นเรื่องแรกคู่กับ เพชรา เชาวราษฎร์ ซึ่งเป็นช่วงที่มิตร ชัยบัญชาเสียชีวิตแล้ว ทำให้บรรดาผู้สร้างหนังต่างก็พากันปั้นพระเอกใหม่กันอย่างคึกคัก แต่ก่อนที่จะมาเป็นพระเอกนั้น กรุง เคยแสดงเป็นตัวประกอบมาก่อนในภาพยนตร์หลายเรื่องแต่ที่มีหลักฐานคือภาพยนตร์เรื่อง ลูกแมว ในบทเพื่อนเจ้าบ่าวฉากงานแต่งงานของ มิตร ชัยบัญชา และ กิ่งดาว ดารณี โดยปรากฏเพียงฉากเดียวและไม่มีบทพูด และมาดังมากกับภาพยนตร์เรื่อง ทอง ภาค 1 กับเรื่อง ชู้ ซึ่งภาพยนตร์เรื่องชู้นี้ทำให้ได้รางวัลตุ๊กตาทอง และได้รางวัลดารานำชายยอดเยี่ยมของเอเชีย จากภาพยนตร์เรื่อง ทอง ภาค 1 ที่ส่งไปประกวดที่ไทเป หรือไต้หวันในปัจจุบัน และ กรุง ศรีวิไล ได้แสดงนำคู่กับนางเอกดังมากมาย เช่น เพชรา อรัญญา นามวงศ์ วันดี ศรีตรัง, ทัศน์วรรณ เสนีย์วงศ์, เนาวรัตน์ ยุกตะนันทน์, ธัญรัตน์ โลหะนันท์ มีผลงานอีกมากมายอย่าง ตามรักตามล่า (2515), สะท้านกรุง (2515), สวรรค์เวียงพิงค์ (2516), อีหนู (2516), จ้าวทุ่ง (2516), ขัง 8 (2517), รสรักลมสวาท (2517), ผู้ชายขายตัว (2517), กราบที่ดวงใจ (2517), ตัดเหลี่ยมเพชร (2518), รักข้ามโลก (2519), ซุปเปอร์ลูกทุ่ง (2520) เป็นต้น

โดยชื่อ "กรุง ศรีวิไล" ตั้งโดยเลียว ศรีเสวก (อรวรรณ) มาจากชื่อตัวละคร "กรุง ศรีวิลัย" ตัวเอกในเรื่อง ลูกยอด ที่ตีพิมพ์ในนิตยสาร บางกอก และถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกในชีวิตการแสดงของกรุง[2]

นอกจากนั้น กรุง ศรีวิไล ยังมีโอกาสได้เล่นกับดาราต่างประเทศอย่างเช่นเรื่องทองที่แสดงร่วมกับเกริก มอริส Greg Moris และคริส มิตชั่น พระเอกจากฮอลลีวูด ในเรื่องตัดเหลี่ยมเพชร เป็นต้น หลังจากนั้นก็ได้ห่างหายจากวงการบันเทิงไประยะหนึ่ง แต่ต่อมาไม่นานก็มีผู้ตามตัวเพื่อให้เล่นภาพยนตร์เรื่อง ซุปเปอร์ลูกทุ่ง ร่วมแสดงกับนักแสดงตลกชื่อดัง ล้อต๊อก จากภาพยนตร์เรื่องนี้ทำให้กรุงได้รับฉายาว่า "พระเอกซุปเปอร์ลูกทุ่ง" และได้เริ่มมีการออกโชว์ตัวตามจังหวัด เมื่อเห็นว่าไปได้ดีจึงฟอร์มวงดนตรี ใช้ชื่อเดียวกับหนัง คือ "ซุปเปอร์ลูกทุ่ง-กรุง ศรีวิไล" ซึ่งก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เดินสายเล่นดนตรีอยู่ได้ 5 ปี 8 เดือน เขาก็ตัดสินใจยุบวง และหยุดจากวงการบันเทิงไป 5 ปี จึงเริ่มหวนสู่จอแก้วอีกครั้ง ในช่วงแรกรับเล่นละครแนวจักรๆ วงศ์ๆ และเริ่มพลิกบทบาทจากพระเอกมาเล่นเป็น บทตัวร้าย จนถึงปัจจุบัน กรุง ศรีวิไล ก็ยังคงมีงานแสดงอยู่ตลอดเช่นเรื่อง อังกอร์ ภาค 2, เหล็กไหล, ดวง, สุภาพบุรุษตีนควาย, บอดี้การ์ดแดดเดียว ฯลฯ

ทางด้านกิจการส่วนตัว เป็นผู้จัดการทั่วไป บริษัท A.G.Car และยังเป็นผู้จัดการหมู่บ้านจัดสรรที่บางใหญ่ หมู่บ้านเมืองเพชรวิลเลจ 5 และยังเป็นประธานกรรมการของสถานตากอากาศไทรโยก ริเวอร์วิว รีสอร์ทด้วย ส่วนทางด้านชีวิตครอบครัว กรุง ศรีวิไลมีบุตรทั้งหมด 5 คน จากภรรยา 3 คน โดยภรรยาคนปัจจุบันชื่อ พรรณวิภา (เหมียว) มีบุตรด้วยกัน 2 คน เป็นหญิง 1 ชาย 1 โดยบุตรสาว คือ กมลวรรณ ศรีวิไล (แอล) ปัจจุบันเป็นนางแบบและนักแสดงสังกัดช่อง 7 และบุตรชาย คือ ศวกร สุทินเผือก

การเมือง

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2550 ได้ขึ้นเวทีปราศรัยที่ท้องสนามหลวงของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) ต่อมาลงรับสมัครรับเลือกตั้งในวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ที่จังหวัดสมุทรปราการ บ้านเกิด ในนามพรรคพลังประชาชน และได้รับเลือกตั้ง แต่ต่อมา กรุง ศรีวิไล ถูกคณะกรรมการการเลือกตั้งให้ใบเหลืองโดยอ้างว่า เจ้าตัวทุจริตการเลือกตั้งและสั่งเลือกตั้งใหม่ในเขตนั้น แต่ศาลได้ยกคำร้อง ต่อมาหลังจากที่พรรคพลังประชาชนถูกยุบ เจ้าตัวก็ได้ย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อไทย

ต่อมาในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2553 กรุง ศรีวิไล ได้ประกาศย้ายไปร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับพรรคภูมิใจไทย โดยเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พรรคเพื่อไทยได้ติดประกาศหน้าพรรคห้ามกรุง และ ส.ส. ของพรรคอีก 3 คน เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับพรรค ส่วนกรุงและเพื่อน ส.ส. อีกหนึ่งคน และอดีต ส.ส. จากพรรคเพื่อแผ่นดินอีกหนึ่งคน ได้เข้าสมัครเป็นสมาชิกพรรคภูมิใจไทยในวันเดียวกัน[3]

ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2554 กรุง ศรีวิไล ได้ลงสมัครเลือกตั้งใน จังหวัดสมุทรปราการ เขต 5 ในสังกัดพรรคภูมิใจไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับ สลิลทิพย์ สุขวัฒน์ ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย โดยก่อนการเลือกตั้งครั้งนี้เจ้าตัวได้เปลี่ยนชื่อจริงตัวเองมาเป็น กรุงศรีวิไล สุทินเผือก อย่างในปัจจุบัน [1]

กระทั่งวันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 กรุง ศรีวิไล ได้เดินทางไปยัง สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. เพื่อยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคภูมิใจไทยเพื่อย้ายไปสังกัด พรรคพลังประชารัฐ [4] และได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 แต่ต่อมาในวันที่ 2 ธันวาคม ปีเดียวกัน ศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง ได้รับคำร้องของ กกต. กรณีบุคคลใกล้ชิดของกรุง ศรีวิไล นำเงินใส่ซองช่วยเหลืองานศพ ส่งผลให้ กรุง ศรีวิไล ต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราว จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา[5] ซึ่งต่อมาในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563 ศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งได้พิพากษาให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดยกรุง ศรีวิไล ยังสามารถสมัครรับเลือกตั้งในคราวนี้ได้[6]

ผลงานภาพยนตร์

[แก้]
  • พ.ศ. 2519 - ไอ้เพชร รับบท เพชร
  • พ.ศ. 2519 - ไอ้แสบ รับบท เทวินทร์
  • พ.ศ. 2519 - ภัยมืด
  • พ.ศ. 2519 - ลูกเมียเช่า
  • พ.ศ. 2519 - ปลัดปืนโหด รับบท นที
  • พ.ศ. 2519 - พ่อไก่แจ้
  • พ.ศ. 2519 - เสือ 4 แคว รับบท เพลิง ปากน้ำโพ
  • พ.ศ. 2519 - วัยอันตราย
  • พ.ศ. 2519 - แม่ดอกรักเร่
  • พ.ศ. 2519 - แมงดาปีกทอง
  • พ.ศ. 2519 - ลูกหลง
  • พ.ศ. 2519 - ขยะ รับบท ทิวา
  • พ.ศ. 2519 - ชุมเสือ รับบท ศักดา
  • พ.ศ. 2519 - เพื่อนคู่แค้น
  • พ.ศ. 2519 - ดรรชนีไฉไล รับบท ราชิต
  • พ.ศ. 2519 - เสือกเกิดมาจน รับบท เหิม
  • พ.ศ. 2519 - จระเข้ฟาดหาง
  • พ.ศ. 2519 - แดงอังคาร รับบท แดง อังคาร
  • พ.ศ. 2519 - ไอ้ปืนแฝด รับบท แมน
  • พ.ศ. 2519 - ไอ้แมงดา รับบท หมอชัย
  • พ.ศ. 2519 - ตามล่า อ.ต.ล. รับบท เมือง ลับแล
  • พ.ศ. 2519 - นักเลงสามสลึง รับบท เกตุ
  • พ.ศ. 2519 - สวรรค์ยังมีชั้น
  • พ.ศ. 2519 - ทองลูกบวบ
  • พ.ศ. 2519 - ชาติเกลือ รับบท รักชาติ ชาวเพชร
  • พ.ศ. 2519 - 5 ผู้ยิ่งใหญ่
  • พ.ศ. 2519 - เดียมห์ รับบท มังกรกรรฐ์
  • พ.ศ. 2519 - คนบาป รับบท ภีม
  • พ.ศ. 2519 - ป่าอันตราย
  • พ.ศ. 2519 - เพศสัมพันธ์อันตราย
  • พ.ศ. 2519 - รถไฟเรือเมล์ลิเกตำรวจ
  • พ.ศ. 2520 - เศษมนุษย์
  • พ.ศ. 2520 - เมียรายเดือน
  • พ.ศ. 2520 - ขบวนการสามสลึง รับบท ดอน
  • พ.ศ. 2520 - หนึ่งต่อเจ็ด รับบท อัคคี เมฆยันต์
  • พ.ศ. 2520 - อีเสือ รับบท ฤทธิรณ
  • พ.ศ. 2520 - รุกฆาต รับบท ธงรบ ชายไทย
  • พ.ศ. 2520 - ไอ้คุณเฉิ่ม รับบท ชอบ ขยันขัด
  • พ.ศ. 2520 - ตามล่า 20000 ไมล์ รับบท ดอนเจดีย์
  • พ.ศ. 2520 - ตาปีอีปัน รับบท แหลม
  • พ.ศ. 2520 - 1-2-3 ด่วนมหาภัย รับบท เอกสิทธิ์
  • พ.ศ. 2520 - ล่าเพชฌฆาต รับบท โซน ชาตรี
  • พ.ศ. 2520 - สิงห์สลาตัน รับบท สิงห์
  • พ.ศ. 2520 - 12 สิงห์สยาม รับบท นาวิน
  • พ.ศ. 2520 - ผู้ยิ่งใหญ่ชายแดน รับบท กรด
  • พ.ศ. 2520 - ดับเครื่องชน รับบท มือปีนรับจ้าง
  • พ.ศ. 2520 - ทางเสือผ่าน รับบท เกรียง
  • พ.ศ. 2520 - ทางชีวิต รับบท ร ต ท วัฒนา
  • พ.ศ. 2520 - ใครจะอยู่ค้ำฟ้า รับบท พ ต ต เฟื่องยศ
  • พ.ศ. 2520 - ห้าแฉก รับบท กลด บางปะกง
  • พ.ศ. 2520 - กูซิใหญ่ รับบท เสือพราย
  • พ.ศ. 2520 - ทีใครทีมัน รับบท สวนจอห์น
  • พ.ศ. 2520 - ถล่มมาเฟีย รับบท ยอด บารมี
  • พ.ศ. 2520 - 7 ประจัญบาน รับบท อัคคี เมฆยันต์
  • พ.ศ. 2520 - ลุยแหลก รับบท ช่าส์
  • พ.ศ. 2520 - เหยียบหัวสิงห์ รับบท กิ่ง
  • พ.ศ. 2520 - นางฟ้าท่าเรือ
  • พ.ศ. 2520 - สองเสือใจสิงห์ รับบท กรุง
  • พ.ศ. 2520 - ขยี้มือปืน
  • พ.ศ. 2520 - วีรบุรุษกุ๊ย รับบท พุธ ทองผาภูมิ
  • พ.ศ. 2520 - 9 พยัคฆราช รับบท กรุง
  • พ.ศ. 2520 - คู่ทรหด รับบท ยศ
  • พ.ศ. 2520 - เด็ดสะระตี่ รับบท พราน
  • พ.ศ. 2520 - 5 แผ่นดินเพลิง
  • พ.ศ. 2520 - นักเลงไม่มีอันดับ
  • พ.ศ. 2520 - ไอ้ตีนโต
  • พ.ศ. 2520 - ไอ้สากเหล็ก รับบท ตะลุมบอน
  • พ.ศ. 2520 - เทพบุตรเสเพล
  • พ.ศ. 2520 - ปืนมีตีน รับบท กาญจน์
  • พ.ศ. 2521 - เอ็ม 16
  • พ.ศ. 2521 - สิงห์สั่งป่า รับบท แชน มีเชิง
  • พ.ศ. 2521 - ยมบาลจ๋า
  • พ.ศ. 2521 - 7 อาถรรพณ์ รับบท ธงชัย
  • พ.ศ. 2521 - เพชฌฆาตทอง
  • พ.ศ. 2521 - ถล่มดงนักเลง รับบท มูล
  • พ.ศ. 2521 - พ่อเสือลูกสิงห์
  • พ.ศ. 2521 - เสือเผ่น รับบท หนอม
  • พ.ศ. 2521 - รักข้ามโลก รับบท สารวัตรต้น
  • พ.ศ. 2521 - นักเลงกตัญญู
  • พ.ศ. 2521 - เสือ สิงห์ กระทิง แรด
  • พ.ศ. 2521 - เพชรมหากาฬ
  • พ.ศ. 2521 - ซุปเปอร์ลูกทุ่ง รับบท กรุง
  • พ.ศ. 2521 - ศศิมาบ้าเลือด
  • พ.ศ. 2521 - สามร้อยยอด รับบท เทวา รักทะเล
  • พ.ศ. 2521 - ขุนกระทิง รับบท มหาชาติ
  • พ.ศ. 2521 - เดนนรก รับบท พายัพ
  • พ.ศ. 2521 - ข้ามาจากเมืองนคร
  • พ.ศ. 2521 - เจ้าสาวคืนเดียว
  • พ.ศ. 2521 - มือปืนเลือดเดือด
  • พ.ศ. 2521 - ไอ้นก
  • พ.ศ. 2521 - อีโล้นซ่าส์ รับบท หัตกร
  • พ.ศ. 2521 - ดวงเพชฌฆาต รับบท สิงห์
  • พ.ศ. 2521 - ขุนดอน รับบท ขุนดอน กระดูกแดง/ พ.ต.อ.ภราดร
  • พ.ศ. 2521 - เขาใหญ่
  • พ.ศ. 2521 - อะไรกันว๊ะ รับบท สมชาย
  • พ.ศ. 2521 - 2 พยัคฆ์ชาตินักสู้ (รับเชิญ)
  • พ.ศ. 2521 - แม่ยอดสร้อยพ่อยอดแซว รับบท คำรณ
  • พ.ศ. 2521 - เจ้าป้าบ้าจี้
  • พ.ศ. 2521 - นักล่าผาทอง
  • พ.ศ. 2521 - ตามล่ามนุษย์ทองคำ
  • พ.ศ. 2521 - มือปืนสติเฟื่อง
  • พ.ศ. 2521 - ลูกทุ่งปืนคด
  • พ.ศ. 2521 - หอหญิง รับบท วุฒิ
  • พ.ศ. 2521 - กุ๊ยบางกอก รับบท พุธ ทองผาภูมิ
  • พ.ศ. 2521 - มือปืนนักบุญ
  • พ.ศ. 2522 - หักเหลี่ยมนักเลงปืน
  • พ.ศ. 2522 - นักเลงบ้านนอก
  • พ.ศ. 2522 - อวนดำ รับบท ดอน มะโนรา
  • พ.ศ. 2522 - รักพี่ต้องหนีพ่อ รับบท ประหลาด
  • พ.ศ. 2522 - บี้ บอด ใบ้
  • พ.ศ. 2522 - ไอ้ติงต๊อง รับบท ต๊อง
  • พ.ศ. 2522 - หักเหลี่ยมคนดัง รับบท ยอดรัก
  • พ.ศ. 2522 - เลือดบ้า รับบท ร.ต.อ. พงษ์พันธ์ พิชิตชัย
  • พ.ศ. 2522 - ตลุมบอน
  • พ.ศ. 2522 - มนต์เพลงลูกทุ่ง
  • พ.ศ. 2522 - โป่งกระทิง รับบท ตำรวจ
  • พ.ศ. 2522 - ไอ้ฟ้าผ่า รับบท พายุ
  • พ.ศ. 2522 - ถล่มจอมอิทธิพล รับบท ไอ้ยอด
  • พ.ศ. 2522 - นรกแตก รับบท เชิญ มหัพภาค
  • พ.ศ. 2522 - มัจจุราชผู้น่ารัก
  • พ.ศ. 2522 - ถล่มแหลมทองคำ
  • พ.ศ. 2522 - คนละเกมส์ รับบท ประสาท
  • พ.ศ. 2522 - สิงห์ล่าสิงห์ รับบท อินทรเดช
  • พ.ศ. 2522 - เจ้าพ่อมหาหิน รับบท น้อย
  • พ.ศ. 2522 - ชาติหินดินระเบิด รับบท จ.ส.ต. สุชาติ ดาวเรือง
  • พ.ศ. 2522 - ลูกชั่ว
  • พ.ศ. 2523 - อินทรีแดง ตอนพรายมหากาฬ รับบท โรม ฤทธิไกร / อินทรีแดง
  • พ.ศ. 2523 - สู้อย่างสิงห์
  • พ.ศ. 2523 - แข่งรถแข่งรัก
  • พ.ศ. 2523 - ไอ้ขุนเพลง รับบท กรุง
  • พ.ศ. 2523 - จอมราวี รับบท รักแน่ นรสิงห์
  • พ.ศ. 2523 - สิงห์แม่น้ำแคว
  • พ.ศ. 2523 - ตาพระยาบ้าเลือด
  • พ.ศ. 2524 - กามนิต วาสิฎฐี รับบท สาตาเคียร
  • พ.ศ. 2525 - ทอง ภาค 2 รับบท ศาสตรา
  • พ.ศ. 2525 - เล็บครุฑ 78 รับบท ชีพ ชูชัย / คมน์ สุรคุปต์
  • พ.ศ. 2526 - เหยี่ยวดง
  • พ.ศ. 2526 - สัญชาติราชสีห์ รับบท ไอ้วุฒิ
  • พ.ศ. 2526 - ล่าข้ามโลก
  • พ.ศ. 2526 - สงครามเพลง รับบท คฑา
  • พ.ศ. 2526 - นักเลงมหาหิน
  • พ.ศ. 2526 - มรกตดำ รับบท แม่กิน
  • พ.ศ. 2526 - ขุนโจร 5 นัด
  • พ.ศ. 2526 - เดี่ยวกระดูกเหล็ก (รับเชิญ)
  • พ.ศ. 2526 - พิษรัก (รับเชิญ)
  • พ.ศ. 2527 - นักเพลงผู้ยิ่งใหญ่ รับบท กรุง
  • พ.ศ. 2527 - สวนทางปืน รับบท ชัช
  • พ.ศ. 2527 - ชี รับบท ไอ้เฮีย
  • พ.ศ. 2527 - ไอ้โหด .357 รับบท ตำรวจ
  • พ.ศ. 2527 - นักรบประจัญบาน รับบท เต็ด
  • พ.ศ. 2527 - สัจจะมหาโจร รับบท สุชาติ
  • พ.ศ. 2527 - นักสู้หน้าเซ่อ
  • พ.ศ. 2527 - ซากุระ
  • พ.ศ. 2527 - ดับเจ้าพ่อ
  • พ.ศ. 2527 - ผ่าโลกบันเทิง รับบท ขุนพล
  • พ.ศ. 2527 - ยอดนักเลง
  • พ.ศ. 2527 - บ้านสีดอกรัก รับบท ผู้ชาย (รับเชิญ)
  • พ.ศ. 2528 - ไอ้หนูภูธร รับบท ทหารเก่า
  • พ.ศ. 2528 - ปล้นลอยฟ้า รับบท อิมาดู
  • พ.ศ. 2528 - ทับพญาเสือ รับบท เยี่ยม
  • พ.ศ. 2529 - นักเลงเรียกพ่อ รับบท ยันต์
  • พ.ศ. 2529 - สิงห์ต้องสู้
  • พ.ศ. 2529 - ยิ้ม
  • พ.ศ. 2529 - สิงห์ตีนสั่ง
  • พ.ศ. 2529 - มือปืนคนใหม่ รับบท กำนัน
  • พ.ศ. 2530 - ปล้นข้ามโลก รับบท กำธร
  • พ.ศ. 2530 - เสือภูพาน รับบท ภูพาน
  • พ.ศ. 2531 - สองตระกูลดิบ
  • พ.ศ. 2531 - คู่แค้นปืนเดือด รับบท ดอน
  • พ.ศ. 2531 - เพชรพยัคฆราช รับบท รุต
  • พ.ศ. 2531 - ทอง 3 รับบท ศาสตรา
  • พ.ศ. 2533 - เจ้าพ่อ รับบท โชติ
  • พ.ศ. 2534 - ผ่าปืน 91 รับบท อาวุธ
  • พ.ศ. 2534 - ทะนง (ระห่ำสะท้านโลก) รับบท พล่ำ
  • พ.ศ. 2536 - ลูกบ้าเที่ยวล่าสุด (รับเชิญ)
  • พ.ศ. 2538 - คู่รักคู่กรรม รับบท กำนัน
  • พ.ศ. 2540 - อันดากับฟ้าใส
  • พ.ศ. 2541 - โก๊ะตี๋ วีรบุรุษอารามบอย รับบท หลวงพ่อ
  • พ.ศ. 2544 - มือปืน/โลก/พระ/จัน รับบท แป๊ะ ประตูผี
  • พ.ศ. 2544 - สุริโยไท รับบท ออกญาพิชัย
  • พ.ศ. 2546 - ดึก ดำ ดึ๋ย รับบท หลวงพ่อ
  • พ.ศ. 2546 - ทอง 7 รับบท ศาสตรา
  • พ.ศ. 2546 - คนปีมะ รับบท อำนาจ
  • พ.ศ. 2546 - ชีวิตเดียว
  • พ.ศ. 2546 - ลูกทุ่งผ่าโลก
  • พ.ศ. 2546 - พันธุ์ร็อกหน้าย่น รับบท พลวงพ่อ (รับเชิญ)
  • พ.ศ. 2546 - แฟนฉันต้องหาร 2 รับบท กำนันโล้น
  • พ.ศ. 2546 - The Legend of Suriyothai รับบท ออกญาพิชัย
  • พ.ศ. 2547 - 2508 ปิดกรมจับตาย รับบท เสือเปรี้ยว
  • พ.ศ. 2547 - มนต์รักร้อยล้าน รับบท กำนันเทือก
  • พ.ศ. 2547 - หัวใจทรนง
  • พ.ศ. 2548 - เสือภูเขา รับบท ท่านอ้วน
  • พ.ศ. 2548 - มนต์รักลูกทุ่ง รับบท จอม
  • พ.ศ. 2550 - ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๑ องค์ประกันหงสา รับบท พระยาพิชัย
  • พ.ศ. 2550 - ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๒ ประกาศอิสรภาพ รับบท พระยาพิชัย
  • พ.ศ. 2554 - ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๔ ศึกนันทบุเรง รับบท พระยาพิชัย
  • พ.ศ. 2557 - แผลเก่า รับบท หลวงตา
ปี เรื่อง แสดงเป็น หมายเหตุ
2509 แสงเทียน นักเต้น นักแสดงตัวประกอบ
2511 ลูกแมว เพื่อนเจ้าบ่าว
2514 ลูกยอด กรุง ศรีวิลัย พระเอกเต็มตัวเรื่องแรก
ล่าสมิง ถ่ายทำเสร็จแล้วแต่ไม่ได้ออกฉาย
2515 ตามรักตามล่า
สะท้านกรุง
ชู้ เทพ
2516 2 ชาติสมิง
อีหนู (13 สาว 11 บริสุทธิ์)
สวรรค์เวียงพิงค์
จ้าวทุ่ง
ทอง ศาสตรา
2517 ขัง 8 ชุมพล
รสรักลมสวาท
ผู้ชายขายตัว
กราบที่ดวงใจ
หัวใจ 100 ห้อง กลม
ข้ามาจากแม่น้ำแคว
2518 แบ๊งค์ โพธิ์
ครรภ์ผี เชกเฉียว
รางวัลชีวิต
เหยื่ออารมณ์
วิวาห์เงินผ่อน
ลูกผู้ชาย
ไฟรักสุมทรวง โกวิทย์
7 ดอกจิก
ชายชาติเสือ ทวีฤทธื์
สาวแรงสูง
คืนนี้ไม่มีพระจันทร์ นัฑ
ไอ้เหล็กไหล แฉ ชูเพลิง
ประสาท นพ
แม่นาคอเมริกา
ตัดเหลี่ยมเพชร ซี
มีนัดไว้กับหัวใจ พงษ์เทพ
2519 บ้องไฟ
นักเลงมหากาฬ
คมกุหลาบ
เสาร์ ๕ เทิด ยอดธง
อัศวิน 19
สัตว์มนุษย์ ชัย

กำกับภาพยนตร์

[แก้]
  • พ.ศ. 2527 - นักเพลงผู้ยิ่งใหญ่
  • พ.ศ. 2527 - นักสู้หน้าเซ่อ

ละครโทรทัศน์

[แก้]
ปี พ.ศ. เรื่อง ออกอากาศ บทบาท หมายเหตุ
2531 พยัคฆ์สองแผ่นดิน ช่อง 3
2533 หน้ากากทอง ช่อง 3
คนเหนือดวง ช่อง 7
มนต์นาคราช ช่อง 7 หิรัญไกรศรี
2534 ดิน น้ำ ลม ไฟ ช่อง 7 วิชิตชัย
สุดถนนบนทางเปลี่ยว ช่อง 3
2535 เมืองโพล้เพล้ ช่อง 7
ยอพระกลิ่น ช่อง 7
ภูตแม่น้ำโขง ช่อง 7 หลวงพ่อจูม
2536 วันนี้ที่รอคอย ช่อง 7 นายพลจัตุรัส
บัลลังก์เมฆ ช่อง 5 ชูนาม ดิเรกวิทยา
จันทโครพ ช่อง 7
2537 แม่นาคพระโขนง ช่อง 5
กระสือ ช่อง 7
สนทนาประสาจน ช่อง 5
ฟ้าเพียงดิน ช่อง 3
2538 เกราะเพชรเจ็ดสี ช่อง 7
เจ้าพ่อจำเป็น ช่อง 5
ผู้กองยอดรัก ช่อง 9
ชมรมขนหัวลุก FRIDAY ตอน เวรกรรมตามทัน ช่อง 5
สายโลหิต ช่อง 7 พระยายมราช รับเชิญ
พี่รักน้องเลี้ยง ช่อง 7 รับเชิญ
ภูตพิศวาส ช่อง 7 รับเชิญ
2539 รัตนโกสินทร์ ช่อง 7
แผ่นดินของเรา ช่อง 5
2540 นางสาวไม่จำกัดนามสกุล ช่อง 5
สิงหไกรภพ ช่อง 7
บิ๊กเสี่ย ช่อง 7
ชุมทางเขาชุมทอง ช่อง 5
ไอ้แก่น ช่อง 3
2541 โรงแรมผี ช่อง 9 นายปั้น
ระย้า ช่อง 7 พัน รับเชิญ
ชวนฝันพนันรัก ช่อง 7 รับเชิญ
สี่ไม้คาน ช่อง 3
ผัวรสมะนาว ช่อง 5
แม่ดอกกระถิน ช่อง 3
ซุปเปอร์ลูกทุ่ง ช่อง 9
2542 เกิดแต่ชาติปางไหน ช่อง 3
18 มงกุฎสะดุดรัก ช่อง 5
มะปรางข้างรั้ว ช่อง 7
โซดากับชาเย็น ช่อง 5 กอบเกื้อ
ระเบิดเถิดเทิง ตอน นักร้องจำเป็น ช่อง 9
ซื่อ…ไม่บื้อรัก ช่อง 7
แม่ปูเปรี้ยว ช่อง 3
พ่อดอกประดู่ ช่อง 5
อรุณสวัสดิ์ ช่อง 3
2543 อังกอร์ ช่อง 7
ทองหลังพระ ช่อง 7
แม่นากพระโขนง ช่อง 3
คู่รักคู่รบ ช่อง 5
หงส์เหนือมังกร ช่อง 5
เพชรรุ้งไฟ ช่อง 7
สาวใช้หัวใจชิคาโก้ ช่อง 5
รักซึมลึก ช่อง 7
2544 เจ้าแม่จำเป็น ช่อง 5 เสี่ยนุ้ย
รักเกิดในตลาด ช่อง 7 รับเชิญ
หน้าต่างบานแรก ช่อง ITV
อะเมซซิ่งโคกเจริญ ช่อง 3
ทอง 5 ช่อง 7
แม่โขง ช่อง 7
2545 หัวใจไกลปืนเที่ยง ช่อง 7 รับเชิญ
กระตุกหนวดเสือ ช่อง 7 ท่าน ผู้ว่าฯ
5 คม ช่อง 3 หมากเส็ง
เฮฮาคาเฟ่ ช่อง 5
ศึกรบ ศึกรัก ช่อง 3
จารชนยอดรัก ช่อง 7 รับเชิญ
มนต์รักแม่น้ำมูล ช่อง 5
ล่าสุดขอบฟ้า ช่อง 7
นิราศสองภพ ช่อง 3 เจ้าคลัวไห รับเชิญ
หาดหรรษา ช่อง 7
บัวกลางบึง ช่อง 7
แม่ยายที่รัก ช่อง 3
จ้าวไตรภพ ช่อง 3
2546 นายร้อยสอยดาว ช่อง 7 รับเชิญ
ผู้ใหญ่ลีกับนางมา ช่อง ITV
พุทธานุภาพ ช่อง 3 จันทร์สิงห์ รับเชิญ
อลวนคนไร่ส้ม ช่อง 3 กำนันเอนก
ทับเทวา ช่อง 7 รับเชิญ
ศิลปินเถื่อน ช่อง 7
เพลงรักเพลงปืน ช่อง 3
เลือดขัตติยา ช่อง 5
พ่อดอกรักเร่ ช่อง 3
2547 เขยมะริกัน ช่อง 3
ไอ๊หยา อาตือ ช่อง 3
ระเบิดเถิดเทิง ตอน เฒ่าหัวงู ช่อง 9
นางนกต่อ ช่อง 7 รับเชิญ
บ้านภูตะวัน ช่อง 7 รับเชิญ
คุณชายจอมยุ่ง ช่อง 3
มาทาดอร์ ช่อง 7
2548 ทางหลวงทางรัก ช่อง 3
อังกอร์ 2 ช่อง 7 เสือเดี่ยว
เป็นต่อ ตอน ลูกผู้ชายตัวจริง ช่อง 3
โคกคูนตระกูลไข่ ตอน ลายแทง ช่อง 3 ซินแสวิสุทธิ์
สุภาพบุรุษตีนควาย ช่อง 3
บอดี้การ์ดแดดเดียว ช่อง 3
เทพธิดาโรงงาน ช่อง 9
2549 คุณนายสายลับ ช่อง 5 สันติ
นรกตัวสุดท้าย ช่อง 5 รับเชิญ
เหล็กไหล ช่อง 7
รักติดลบ ช่อง 7
ต่างฟ้าตะวันเดียว ช่อง 3 ผู้ใหญ่แดง
ทะเลใจ ช่อง 7 รับเชิญ
เงินปากผี ช่อง ITV อาคม
ดวง ช่อง 7
รังนกบนปลายไม้ ช่อง 3
สายน้ำ สามชีวิต ช่อง 7
2550 ตากสินมหาราช ช่อง 3 เจ้าพระฝาง
ผู้กองเจ้าเสน่ห์ ช่อง 3 พง
ชุมแพ ช่อง 7 ลุงพลอย
รักนี้หัวใจเราจอง ช่อง 3 ลุงชม รับเชิญ
เขาหาว่าหนูเป็นเจ้าหญิง ช่อง 7
สตรีที่โลกลืม ช่อง 7
หุบเขากินคน ช่อง 3 รับเชิญ
บางรักซอย 9 ช่อง 9 กิตติ รับเชิญ
2551 ผ่าโลกบันเทิง ช่อง 7 ตาน้ำ
เสี่ยงลวงเสี่ยงรัก ช่อง 7
ทอง 9 ช่อง 7 นายพลเหงียนวันตรี
2552 สายลับเดอะซีรีส์ กับ 24 คดีสุดห้ามใจ ตอน พี่จ๋า..หาพ่อให้หน่อย ช่อง 9
2553 เสาร์ ๕ ช่อง 7 พ.ท.เติมพงศ์
(แต้ม)
ชิงชัง ช่อง 5 หลวงลุง
มนต์รักลูกทุ่ง ช่อง 3
นักฆ่าขนตางอน ช่อง 7
2554 เสาร์ ๕ ตอน ทับทิมสยาม ช่อง 7 ลุงแต้ม
เรือนแพ ช่อง 5
เมียไม่ใช่เมีย ช่อง 5
2555 พ่อตาปืนโต ช่อง 7
2556 คู่กรรม ช่อง 5
เลือดเจ้าพระยา ช่อง 7 มหา
2557 เพลงรักผาปืนแตก ช่อง 7 หลวงพ่อสิน
2558 เพื่อนแพง ช่อง 7 สมภารบุญ
ยอดมนุษย์ดาบเทวดา ช่อง 7 ฤๅษีศาสตรา
2559 ทอง 10 ช่อง 7 นายพลลี
กองพันหรรษา ช่อง 7
2560 มอม ช่องไทยพีบีเอส หลวงตา
ทิวลิปทอง ช่อง 7 พี่ปลื้ม
2561 นักสู้สะท้านฟ้า ช่อง 7 หลวงพ่อเข้ม
สาปกระสือ ช่อง 8 หลวงปู่คำ รับเชิญ
นายร้อยสอยดาว ช่อง 8 กำนันโด่ง (พ่อของกึกก้อง)
พ่อตาปืนโต 2 หลานข้าใครอย่าแตะ ช่อง 7 หลวงตากล้า / เสือกล้า
2563 มังกรเจ้าพระยา ช่อง 7 เสี่ยเฉิน
เพลงรักเจ้าพระยา ช่องวัน 31 หลวงพ่อแคล้ว รับเชิญ

ละครเทิดพระเกียรติ

[แก้]

คอนเสิร์ต

[แก้]
  • คอนเสิร์ต 60 ปี ธรรมศาสตร์ (26 กันยายน พ.ศ. 2536)

เพลง

[แก้]
  • ซูปเปอร์ลูกทุ่ง กรุง ศรีวิไล ชุด ไอ้หนุ่มเครื่องไฟ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "นที"เปลี่ยนชื่อเป็น"กรุงศรีวิไล"หวั่น ปชช.จำไม่ได้[ลิงก์เสีย] จากมติชน[ลิงก์เสีย]
  2. ณรงค์ จันทร์เรือง. วิชิต โรจนประภา ราชา "บางกอก". กรุงเทพฯ : แสงดาว, 2542. 104 หน้า. ISBN 974-7343-75-4
  3. เพื่อไทยประชุมขับ "กรุง ศรีวิไล"[ลิงก์เสีย]
  4. 'กรุง ศรีวิไล' ปาดน้ำตาอำลา 'ภูมิใจไทย' ซบ 'พลังประชารัฐ'
  5. ศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง สั่ง “กรุง ศรีวิไล” หยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส. ปมคนใกล้ชิดใส่ซองงานศพ
  6. ศาลสั่งเลือกตั้งซ่อม ส.ส.เขต 5 สมุทรปราการ
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๒, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๓, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]