ข้ามไปเนื้อหา

การบ่อนทำลาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การบ่อนทำลาย (อังกฤษ: subversion) หมายถึง ความพยายามเปลี่ยนแปลงระเบียบสังคมและโครงสร้างอำนาจ อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายและลำดับชั้นบังคับบัญชาของสังคมอันเป็นที่ยอมรับ การบ่อนทำลายยังหมายถึง กระบวนการซึ่งค่านิยมและหลักของระบบที่มีอยู่ถูกขัดแย้งหรือสวนทาง การบ่อนทำลายใช้เป็นเครื่องมือบรรลุเป้าหมายทางการเมือง เพราะโดยทั่วไปมีความเสี่ยง ราคาและความยากน้อยกว่า ซึ่งตรงข้ามกับการเป็นคู่สงครามอย่างเปิดเผย ยิ่งไปกว่านั้น การบ่อนทำลายยังเป็นการสงครามรูปแบบที่ค่อนข้างราคาถูกซึ่งไม่ต้องอาศัยการฝึกมากนัก[1] โดยทั่วไป กลุ่มก่อการร้ายไม่ใช้การบ่อนทำลายเป็นเครื่องมือบรรลุเป้าหมายของตน การบ่อนทำลายเป็นกิจกรรมที่เน้นกำลังคนและหลายกลุ่มขาดกำลังคนและเครือข่ายการเมืองและสังคมเพื่อดำเนินกิจกรรมบ่อนทำลาย ทว่า การกระทำของผู้ก่อการร้ายอาจมีผลบ่อนทำลายต่อสังคม การบ่อนทำลายยังส่อความการใช้วิธีแอบแฝง ไม่ซื่อสัตย์ การเงินหรือรุนแรงเพื่อนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงเช่นว่า

การบ่อนทำลายขัดกับการประท้วง รัฐประหาร หรือการดำเนินผ่านวิธีดั้งเดิมที่มีอยู่ในระบบการเมืองหนึ่งเพื่อนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลง ยิ่งไปกว่านั้น การบ่อนทำลายภายนอก คือ การที่ "รัฐผู้รุกรานพยายามเกณฑ์และสนับสนุนตัวแสดงทางการเมืองและทหารพื้นเมืองเพื่อโค่นรัฐบาลของตนโดยรัฐประหาร" หากการบ่อนทำลายไม่อาจบรรลุเป้าหมายการนำมาซึ่งรัฐประหารได้[2] เป็นไปได้ว่าตัวแสดงและการกระทำของกลุ่มบ่อนทำลายอาจเปลี่ยนเป็นการก่อการกบฏ และ/หรือ การสงครามกองโจรได้[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Hosmer, Stephen T. and George K. Tanham. Countering Covert Aggression. Santa Monica, CA: RAND Corporation, 1986.Pg. 3-4. http://www.rand.org/pubs/notes/N2412
  2. Hosmer, Countering Covert Aggression, pg. 1.
  3. Kitson, Frank, Low Intensity Operations: Subversion, Insurgency and Peacekeeping (London: Faber and Faber Limited, 1971), Pg. 6.