ข้ามไปเนื้อหา

การอภิปรายไม่ไว้วางใจ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ญัตติไม่ไว้วางใจ หรือ การอภิปรายไม่ไว้วางใจ (อังกฤษ: motion of no-confidence, motion of censure) คือ การที่สมาชิกสภาล่าง (โดยมากเป็นสมาชิกฝ่ายค้าน) เข้าชื่อการเสนอญัตติเพื่อสอบสวนรัฐบาล กระทำเมื่อเห็นว่าการทำงานของรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีไม่เป็นที่พอใจ ในกรณีนี้สมาชิกมีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติไม่ไว้วางใจ ถือเป็นวิธีการหนึ่งในการควบคุมและตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล วิธีอื่นนอกจากนี้ ได้แก่ การตั้งกระทู้ถาม การแสดงบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สิน การถอดถอนจากตำแหน่ง การอภิปรายไม่ไว้วางใจเป็นวิธีที่เห็นผลชัดเจนที่สุด มีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐบาลมากที่สุด และยังเป็นการคานอำนาจของฝ่ายบริหาร (รัฐบาล) โดยฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา) ที่ชัดเจนและได้ผลดีที่สุดด้วย

การอภิปรายไม่ไว้วางใจเป็นไปตามหลักการที่ว่า "ฝ่ายบริหารจะอยู่ได้ก็โดยความไว้วางใจของฝ่ายนิติบัญญัติ" ดังนั้นการอภิปรายไม่ไว้วางใจจะมีขึ้นก็ต่อเมื่อรัฐสภาเห็นว่ารัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีไม่ควรแก่การไว้วางใจให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ซึ่งอาจเกิดจากการตัดสินใจผิดพลาด การใช้อำนาจหน้าที่ในทางมิชอบ เป็นต้น

สหราชอาณาจักร

[แก้]

ตามจารีตประเพณีในระบบเวสต์มินสเตอร์ หากกฎหมายงบประมาณรายจ่ายไม่ผ่านความเห็นชอบของสภาสามัญชน รัฐบาลมีทางเลือกอยู่สองทางคือลาออกหรือเปิดอภิปรายให้จัดการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งคล้ายคลึงกับการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ในสภาวะการณ์เช่นนี้ รัฐบาลในระบบเวสต์มินสเตอร์จะอยู่ในภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกเนื่องจากไม่สามารถใช้จ่ายเงินได้

ประเทศญี่ปุ่น

[แก้]

มาตรา 69 ของรัฐธรรมนูญแห่งประเทศญี่ปุ่น ค.ศ. 1947 บัญญัติว่า "หากสภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบญัตติไม่ไว้วางใจ หรือมีมติไม่เห็นชอบญัตติไว้วางใจ คณะรัฐมนตรีทั้งคณะพึงลาออก เว้นแต่ว่ามีการยุบสภาผู้แทนราษฎรภายในสิบวัน"[a]

ประเทศไทย

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ข้อความต้นฉบับ: "內閣は、衆議院で不信任の決議案を可決し、又は信任の決議案を否決したときは、十日以內に衆議院が解散されない限り、總辭職をしなければならない。"

อ้างอิง

[แก้]