ก้านกล้วย
ก้านกล้วย | |
---|---|
ใบปิดภาพยนตร์ | |
กำกับ | คมภิญญ์ เข็มกำเนิด |
เขียนบท | อีวาน สปิลลิโอโทปูลอส อมราพร แผ่นดินทอง |
สร้างจาก | เจ้าพระยาปราบหงสาวดี โดย อริยา จินตพานิชการ |
อำนวยการสร้าง | อมราพร แผ่นดินทอง |
นักแสดงนำ | |
กำกับภาพ | อมราพร แผ่นดินทอง |
ตัดต่อ | อีวาน สปิลลิโอโทปูลอส |
ดนตรีประกอบ | ชาติชาย พงษ์ประภาพันธ์ |
บริษัทผู้สร้าง | |
ผู้จัดจำหน่าย | สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล |
วันฉาย | 18 พฤษภาคม 2549 |
ความยาว | 95 นาที |
ประเทศ | ไทย |
ภาษา | ไทย |
ทุนสร้าง | 115 ล้านบาท[1] |
ทำเงิน | 196.7 ล้านบาท[2] |
ต่อจากนี้ | ก้านกล้วย ๒ |
ก้านกล้วย เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันสามมิติของไทยที่ออกฉายใน พ.ศ. 2549 ผลิตโดยกันตนาแอนิเมชันและจัดจำหน่ายโดยสหมงคลฟิล์ม ชื่อภาพยนตร์ได้แรงบันดาลใจจากบางส่วนของพงศาวดารว่าลักษณะของเจ้าพระยาปราบหงสาวดี ช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนั้น จะมีหลังโค้งลาดคล้ายก้านกล้วย จึงตั้งชื่อภาพยนตร์และตัวละครเอกว่า ก้านกล้วย ภาพยนตร์เรื่องนี้กำกับโดยคมภิญญ์ เข็มกำเนิด ซึ่งเคยไปศึกษาการทำแอนิเมชันที่สหรัฐและเคยทำภาพเคลื่อนไหวร่วมกับดิสนีย์และบลูสกายสตูดิโอในภาพยนตร์แอนิเมชันอย่างทาร์ซาน, ไอซ์ เอจ และแอตแลนติส[3]
ก้านกล้วยเป็นภาพยนตร์ที่มีเอกลักษณ์ไทย ทั้งภูมิทัศน์ พรรณไม้ ประเพณีไทย และบ้านทรงไทย นอกจากนี้ ยังเป็นแอนิเมชันไทยลำดับต้น ๆ ที่สร้างด้วยคอมพิวเตอร์ต่อจากปังปอนด์และสุดสาครซึ่งเป็นแอนิเมชันสองมิติ ก้านกล้วยถูกดัดแปลงเป็นการ์ตูนทางโทรทัศน์ทางช่อง 7 ที่มีชื่อว่า ก้านกล้วยผจญภัย ซึ่งใช้ตัวละครที่มีอยู่เดิม แต่มีเนื้อหารายละเอียดมากขึ้น
ความสำเร็จของภาพยนตร์ทำให้เกิดภาพยนตร์ภาคต่ออีกสองภาค คือ ก้านกล้วย ๒ และ ก้านกล้วย 3 ภาคต่อในรอบ 14 ปีที่กำลังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา
งานพากย์
[แก้]ตัวละคร | เสียงพากย์ไทย |
---|---|
ก้านกล้วย | อัญญาฤทธิ์ พิทักษ์ติกุล (วัยเด็ก) ภูริ หิรัญพฤกษ์ (วัยผู้ใหญ่) |
ชบาแก้ว | นวรัตน์ เตชะรัตนประเสริฐ (วัยเด็ก) วรัทยา นิลคูหา (วัยผู้ใหญ่) |
จิ๊ดริด | พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ |
แสงดา | นันทนา บุญ-หลง |
พังนวล | จุรี โอศิริ |
คุณตามะหูด | สุเทพ โพธิ์งาม |
สิงขร | รอง เค้ามูลคดี |
งวงแดง | เอกชัย พงศ์สมัย |
นายกองพม่า | ชาญณรงค์ ขันทีท้าว |
หัวหน้าหมู่พม่า | วสันต์ พัดทอง |
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พระองค์ดำ) | บุญชลิด โชคดีภูษิต (วัยเด็ก) สุเมธ องอาจ (วัยผู้ใหญ่) |
พระมหาอุปราชา | สราวุธ เจริญลาภ (วัยเด็ก) กลศ อัทธเสรี (วัยผู้ใหญ่) |
มะโรง | ฤทธิเดช ฤทธิชุ |
มะโหนก | เจริญพร อ่อนละม้าย |
เสริม | วิยะดา จิตมะหิมา |
บักอึด | พุทธิพันธ์ พรเลิศ |
ทหารพม่า | ธงชัย คะใจ |
องอาจ เจียมเจริญพรกุล | |
ธีระวัฒน์ ทองจิตติ |
การเปิดตัว
[แก้]ก้านกล้วย ได้รับการเปิดตัวในรูปแบบดีวีดีที่สหรัฐอเมริกา ในช่วงเดือนกันยายน ค.ศ. 2008 โดยใช้ชื่อในเวอร์ชันอเมริกันคือ The Blue Elephant
บริษัทเพอร์เซ็ปต์พิคเจอร์คอมพานีของอินเดีย ได้ซื้อสิทธิ์ภาพยนตร์และเปิดตัวในเวอร์ชันภาษาฮินดีโดยใช้ชื่อ Jumbo ซึ่งนักแสดงอินเดียชื่อ อักษัย กุมาร เป็นผู้ให้เสียงพากย์ตัวเอกของเรื่องที่ใช้ชื่อในเวอร์ชันนี้ว่า จัมโบ้[4]
รางวัล
[แก้]- ภาพยนตร์เรื่องก้านกล้วย ได้รับรางวัล Best Feature Film จากการประกวดแอนิเมชัน AniMadrid 2006 ที่ประเทศสเปน[5]
- ภาพยนตร์เกียรติยศแห่งปี, ภาพยนตร์ยอดนิยมแห่งปี ที่ทำรายได้สูงสุด, บันทึกเสียงยอดเยี่ยม, ดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี (ตุ๊กตาทอง) ครั้งที่ 28 ประจำปี พ.ศ. 2549[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Khan Kluay (2006) Box Office Mojo". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ 13 June 2016.
- ↑ "Khan Kluay (2006) Box Office Mojo". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ 13 June 2016.
- ↑ "คมภิญญ์ เข็มกำเนิด ผู้นำหนัง "ก้านกล้วย"". Positioning Magazine. 10 กุมภาพันธ์ 2548. สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Akshay Kumar's Jumbo is actually a Thai film", ScreenIndia; retrieved 2008-12-13
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-08. สืบค้นเมื่อ 2006-11-06.
- ↑ รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ครั้งที่ 28 ประจำปี พ.ศ. 2549