ข้ามไปเนื้อหา

ของเหลว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ของเหลว(อังกฤษ: Liquid) เป็นสถานะของไหล ซึ่งปริมาตรจะถูกจำกัดภายใต้สภาวะคงที่ของอุณหภูมิและความดัน และรูปร่างของมันจะถูกกำหนดโดยภาชนะที่บรรจุมันอยู่ ยิ่งไปกว่านั้นของเหลวยังออกแรงกดดันต่อภาชนะด้านข้างและบางสิ่งบางอย่างในตัวของของเหลวเอง ความกดดันนี้จะถูกส่งผ่านไปทุกทิศทาง

ถ้าของเหลวอยู่ในระเบียบของสนามแรงโน้มถ่วง ความดัน ที่จุดใด ๆ สามารถแสดงเป็นสูตรทางคณิตศาสตร์ได้ดังนี้

โดย เป็น ความหนาแน่นของของเหลว (ซึ่งเป็นค่าคงที่) และ คือความลึก ณ จุดใต้พื้นผิวของเหลวนั้น สังเกตว่าในสูตรนี้กำหนดให้ความดันที่ผิวบนเท่ากับ 0 และไม่ต้องคำนึงถึงความตึงผิวของเหลวมีลักษณะเฉพาะของแรงตึงผิว (surface tension) และแรงยกตัว (capillarity) โดยทั่วไปของเหลวจะขยายตัวเมื่อถูกความร้อนและหดตัวเมื่อถูกความเย็น วัตถุที่จมอยู่ในของเหลวจะมีปรากฏการณ์ที่เรียกว่าแรงลอยตัว (buoyancy)

ของเหลวเมื่อได้รับความร้อนจนถึงจุดเดือดจะเปลี่ยนสถานะเป็นก๊าซ และเมื่อทำให้เย็นจนถึงจุดเยือกแข็งก็จะเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง

ดูเพิ่ม

[แก้]