คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 43
หน้าตา
คณะรัฐมนตรีเปรม 2 | |
---|---|
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 43 แห่งราชอาณาจักรไทย | |
พ.ศ. 2526 - 2529 | |
วันแต่งตั้ง | 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 |
วันสิ้นสุด | 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529 (3 ปี 90 วัน) |
บุคคลและองค์กร | |
พระมหากษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
นายกรัฐมนตรี | เปรม ติณสูลานนท์ |
พรรคร่วมรัฐบาล | พรรคกิจสังคม พรรคประชาธิปัตย์ พรรคประชากรไทย พรรคชาติประชาธิปไตย พรรคปวงชนชาวไทย |
ประวัติ | |
การเลือกตั้ง | 18 เมษายน พ.ศ. 2526 |
สิ้นสุดจากการเลือกตั้ง | 22 เมษายน พ.ศ. 2522 |
ก่อนหน้า | คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 42 |
ถัดไป | คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 44 |
คณะรัฐมนตรี คณะที่ 43 ของไทย (30 เมษายน พ.ศ. 2526 – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529)
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2526 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ
ร้อยโท จารุบุตร เรืองสุวรรณ ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
รายชื่อคณะรัฐมนตรี คณะที่ 43 ของไทย
[แก้]ดำรงตำแหน่งเมื่อตั้งคณะรัฐมนตรี (จนสิ้นสุดคณะรัฐมนตรี) |
รัฐมนตรีว่าการ รัฐมนตรีช่วยว่าการ รัฐมนตรีลอย | ||
ออกจากตำแหน่ง | |||
เปลี่ยนแปลง/โยกย้าย | |||
แต่งตั้งเพิ่ม |
การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี
[แก้]เปรม ติณสูลานนท์
พรรค | คะแนน |
---|---|
พรรคประชากรไทย | 36 |
พรรคชาติประชาธิปไตย | 15 |
พรรคกิจสังคม | 101 |
พรรคชาติไทย | 108 |
พรรคประชาธิปัตย์ | 57 |
รวม | 317 |
งดออกเสียง | 7 |
การปรับคณะรัฐมนตรี
[แก้]มีการเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรี ดังนี้
- วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2527 นายโอภาส พลศิลป เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย แทนร้อยตำรวจเอก สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ ที่ออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2527[2]
- วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2528 นายเล็ก นานา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน แทนนายดำรง ลัทธพิพัฒน์ ซึ่งถึงแก่อนิจกรรม[3]
- วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2528[4]
- นายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ไปดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม แทน นายอบ วสุรัตน์ ที่ลาออกจากตำแหน่ง
- นายอนันต์ ฉายแสง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม แทน นายประโยชน์ เนื่องจำนงค์ ที่ลาออกจากตำแหน่ง
- นายมีชัย วีระไวทยะ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2529 มีการปรับปรุงคณะรัฐมนตรี ครั้งใหญ่โดย[5]
- นายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์ พ้นจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี
- พลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา เป็นรองนายกรัฐมนตรี
- ร้อยตำรวจเอก สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ แทนนายโกศล ไกรฤกษ์ ที่ลาออกจากตำแหน่ง
- นายสุบิน ปิ่นขยัน เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
- นายประสพ บุษราคัม เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แทน นายผัน บุญชิต ที่ลาออกจากตำแหน่ง
- นายมนตรี พงษ์พานิช เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย แทนนายโอภาส พลศิลป ที่ลาออกจากตำแหน่ง
- นายอรุณ ภาณุพงศ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- นายอำนวย ยศสุข พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
- วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายปรีดา พัฒนถาบุตร รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย พ้นจากตำแหน่ง
การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรี คณะที่ 43 ของไทย
[แก้]คณะรัฐมนตรีชุดนี้สิ้นสุดลง เนื่องจากมีการยุบสภา เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 มีสาเหตุมาจากการที่รัฐบาลได้เสนอพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 พ.ศ. 2529 เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร แต่สภาผู้แทนราษฎรลงมติไม่อนุมัติพระราชกำหนดดังกล่าว[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออกและตั้งรัฐมนตรี (ร้อยตำรวจเอก สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ลาออก และแต่งตั้ง นายโอภาส พลศิลป ดำรงตำแหน่งสืบแทน)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (นายเล็ก นานา)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และตั้งรัฐมนตรี (นายอบ วสุรัตน์ นายประโยชน์ เนื่องจำนงค์ ลาออก นายจิรายุ อิศรางกูร ฯ พ้นจากตำแหน่งและตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ตั้งนายอนันต์ ฉายแสง นายมีชัย วีระไวทยะ)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งและตั้งรัฐมนตรี (นายโกศล ไกรฤกษ์ นายประยูร จินดาศิลป์ นายผัน บุญชิต นายโอภาส พลศิลป ลาออก นายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และตั้ง พลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา ร้อยตำรวจเอก สุรัตน์ โอสถ
- ↑ คณะกรรมการเตรียมการลงนามความเข้าใจระหว่างหอสมุดรัฐสภาสหรัฐอเมริกาและรัฐสภาไทย, สรรสาระรัฐธรรมนูญไทย, กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, 2548,หน้า 567.