จอร์เจ เอมิล ปาลาเด
จอร์เจ ปาลาเด | |
---|---|
เกิด | จอร์เจ เอมิล ปาลาเด 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1912 ยัช ราชอาณาจักรโรมาเนีย |
เสียชีวิต | 8 ตุลาคม ค.ศ. 2008 เดลมาร์ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ | (95 ปี)
สัญชาติ | โรมาเนีย |
ศิษย์เก่า | วิทยาลัยแพทยศาสตร์การอล ดาวีลา |
มีชื่อเสียงจาก | |
คู่สมรส |
|
รางวัล |
|
อาชีพทางวิทยาศาสตร์ | |
สาขา | ชีววิทยาเซลล์ |
สถาบันที่ทำงาน | |
ลูกศิษย์ที่มีชื่อเสียง | กึนเทอร์ โบลเบิล[2] |
จอร์เจ เอมิล ปาลาเด ForMemRS HonFRMS (โรมาเนีย: George Emil Palade, ออกเสียง: [ˈdʒe̯ordʒe eˈmil paˈlade] ( ฟังเสียง); 19 พฤศจิกายน 1912 – 7 ตุลาคม 2008) เป็นนักชีววิทยาเซลล์ชาวโรมาเนีย และได้รับการบรรยายไว้ว่าเป็น "นักชีววิทยาเซลล์ที่มีอิทธิพลที่สุดตลอดกาล"[3] ในปี 1974 เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ ร่วมกับอาลแบร์ โกลด และคริสเชียน เดอ ดูเว จากผลงานการค้นคว้าด้านกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนและการแยกส่วนเซลล์ซึ่งต่อมาถือเป็นรากฐานสำคัญของชีววิทยาเซลล์ระดับโมเลกุลในยุคใหม่[3] ผลงานการค้นพบที่สำคัญที่สุดของเขาคือการค้นพบไรโบโซมบนเอนโดพลาสมิกเรกติคูลัมซึ่งเขาบรรยายไว้ครั้งแรกในปี 1955[4][5][6][7]
ปาลาเดยังได้รับเหรียญเกียรติยศวิทยาศาสตร์จากสหรัฐ ในสาชาวิทยาศาสตร์ชีววิทยา จากผลงาน "เป็นผู้ริเริ่มการค้นพบโครงสร้างอันเป็นระเบียบยิ่งและเป็นพื้นฐานของเซลล์ที่มีชีวิตทั้งหลาย" ในปี 1986 และยังได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติในปี 1961 และในปี 1968 ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์แห่งราชสมาคมจุลทรรศนวิทยา (HonFRMS)[8] ในปี 1984 เขากลายมาเป็นสมาชิกราชสมาคมที่เป็นชาวต่างชาติ (ForMemRS)[1]
ชีวิตช่วงต้นและการศึกษา
[แก้]จอร์เจ เอมิล ปาลาเด เกิดเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 1912 ในเมืองยัช ประเทศโรมาเนีย บิดาเป็นศาสตราจารย์ด้านปรัชญาประจำมหาวิทยาลัยยัช และมารดาเป็นครูโรงเรียนมัธยม ปลาเดจบการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิตในปี 1940 จากวิทยาลัยแพทยศาสตร์การอล ดาวีลา ในบูคาเรสต์
วิชาชีพ
[แก้]ปาลาเดเป็นคณาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยดาวีลาในบูคาเรสต์จนถึงปี 1946 จากนั้นเขาได้เดินทางไปยังสหรัฐ[9] เพื่อทำงานวิจัยหลังปริญญาเอก ขณะช่วยงานรอเบิร์ต เชมเบอส์ ในห้องทดลองชีววิทยาของมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก เขาได้พบกับศาสตราจารย์อาลแบร์ โกลด[10] จากนั้นเขาจึงเข้าร่วมกำงานกับคลอดที่สถาบันวิจัยการแพทย์ร็อกกีเฟลเลอร์[9]
ในปี 1952 ปาลาเดได้รับสถานะพลเมืองสหรัฐ เขาทำงานอยู่ที่สถาบันร็อกกีเฟลเลอร์จากปี 1958–1973 และยังเป็นศาสตราจารย์ประจำที่วิทยาลัยแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเยล (1973–1990) และมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แซนดีเอโก (1990–2008) ขณะประจำที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ปาลาเดมีตำแหน่งวิทยฐานะเป็น Professor of Medicine in Residence (Emeritus) ประจำภาควิชาแพทยศาสตร์ระดับเซลล์และโมเลกุล รวมถึงเป็นคณบดีส่วนกิจการวิทยาศาสตร์ (Dean for Scientific Affairs (Emeritus)) ประจำวิทยาลัยแพทยศาสตร์ลาฮอยา แคลิฟอร์เนีย (School of Medicine at La Jolla, California)[11]
ในปี 1970 เขาได้รับรางวัลลุยซา กรอส ฮอร์วิตซ์ จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ร่วมกับเรนาโต ดุลเบคโค เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ฯ ประจำปี 1975[12] ในปี 1985 เขากลายมาเป็นบรรณาธิการบริหารชุดแรกของวารสาร Annual Review of Cell and Developmental Biology[13]
ในปี 1974 ปาลาเดได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ร่วมกับอาลแบร์ โกลด และคริสเชียน เดอ ดูเว จากผลงานการค้นคว้าด้านกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนและการแยกส่วนเซลล์ซึ่งต่อมาถือเป็นรากฐานสำคัญของชีววิทยาเซลล์ระดับโมเลกุลในยุคใหม่[3] สุนทรพจน์รับรางวัลโนเบลของเขาเมื่อ 12 ธันวาคม 1974 มีชื่อว่า "มุมมองระดับในเซลล์ของขบวนการการหลั่งโปรตีน" ("Intracellular Aspects of the Process of Protein Secretion")[14] และได้รับการตีพิมพ์โดยมูลนิธิรางวัลโนเบลในปี 1992[15][16]
ขณะทำงานอยู่ที่สถาบันร็อกกีเฟลเลอร์ ปาลาเดได้ใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนศึกษาการจัดการโครงสร้างภายในของเซลล์ เช่น ไรโบโซม, ไมโทคอนเดรีย, คลอโรพลาสต์, กอลไจแอปพาราตัส เป็นต้น การค้นพบครั้งสำคัญของเขามาจากการวิเคราะห์พัลส์-เชสซึ่งเขาและเพื่อนร่วมงานประสบความสำเร็จในการยืนยันข้อสันนิษฐานเดิมที่ว่ามีวิถีการคายสาร (secretory pathway) ร่วมระหว่างเอนโดพลาสมิกเรกติคูลัมหยาบกับกอลไจแอปพาราตัส เขาพุ่งเป้าการศึกษาไปที่โครงสร้างที่ปัจจุบันเรียกว่า เวย์เบล-ปาลาเด บอดี (ตามชื่อของเขาและเอวัลท์ ไวเบิล นักสรีรวิทยาชาวสวิส) ซึ่งเป็นออร์กาเนลล์สำหรับเก็บกัก (storage organelle) ที่มีเฉพาะในเนื้อเยื่อบุโพรง และเป็นที่เก็บกักโปรตีนเช่นวอนวิลเลอแบรนด์แฟกเตอร์[17]
ข้อมูลของมูลนิธิโนเบลระบุว่า ผู้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปี 2009 ได้แก่เว็งกัฏรามัณ รามกิรุษณัณ, ทอมัส เอ. สตีตซ์ และอาดา โยนัต ได้รับรางวัลจาก "การศึกษาโครงสร้างและหน้าที่ของไรโบโซม" ที่ปาลาเดได้ค้นพบ[18]
ชีวิตส่วนบุคคล
[แก้]ปาลาเดสมรสกับแมริลิน ฟาร์คูฮาร์ นักชีววิทยาเซลล์ประจำมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แซนดีเอโก[19]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Fellowship of the Royal Society 1660–2015". London: Royal Society. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-15.
- ↑ "The Palade Symposium: Celebrating Cell Biology at Its Best". Molbiolcell.org. Retrieved on 2016-06-10.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "Prof. George Palade: Nobel prize-winner whose work laid the foundations for modern molecular cell biology". The Independent. 22 October 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 19, 2010. สืบค้นเมื่อ 2011-02-09. Archived. (Internet Archive copy)
- ↑ Grens, Kerry (February 1, 2014). "Palade Particles, 1955". The Scientist.
- ↑ Pollack, Andrew (October 9, 2008) George Palade, Nobel Winner for Work Inspiring Modern Cell Biology, Dies at 95. New York Times
- ↑ George E. Palade ที่ Nobelprize.org , accessed 11 ตุลาคม 2563
- ↑ Palade, G. E. (2007). "Tribute to Professor George E. Palade". Journal of Cellular and Molecular Medicine. 11 (1): 2–3. doi:10.1111/j.1582-4934.2007.00018.x. ISSN 1582-1838. PMC 4401215. PMID 17367496.
- ↑ "Honorary Fellows Past and Present". Royal Microscopical Society. สืบค้นเมื่อ 5 June 2018.
- ↑ 9.0 9.1 "George E. Palade – Autobiography". Nobelprize.org. 2008-10-07. สืบค้นเมื่อ 2011-04-03.
- ↑ "George E. Palade - Autobiography". 2006-07-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-07-16. สืบค้นเมื่อ 2019-08-16.
- ↑ Professor George E. Palade – web page at the University of California at San Diego, School of medicine เก็บถาวร มีนาคม 30, 2004 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "The 1974 Nobel Prize for Medicine". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ 2011-04-03.
- ↑ Spudich, James A. (1994). "Preface". Annual Review of Cell Biology. 10. doi:10.1146/annurev.cb.10.111406.100001.
- ↑ "Nobel lecture". Nobelprize.org. 1974-12-12. สืบค้นเมื่อ 2011-04-03.
- ↑ The Nobel Prize Lecture of George E. Palade (Pdf 3.78 MB), (1974) The Nobel Foundation, ISBN 981-02-0791-3
- ↑ Nobel Lectures in Physiology or Medicine เก็บถาวร กรกฎาคม 14, 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Weibel, ER; Palade, GE (1964). "New cytoplasmic components in arterial endothelia". The Journal of Cell Biology. 23 (1): 101–112. doi:10.1083/jcb.23.1.101. PMC 2106503. PMID 14228505.
- ↑ 2009 Nobel Prize in Chemistry, Nobel Foundation
- ↑ y James D. Jamieson (November 8, 2008). "Obituary: "A tribute to George E. Palade". Journal of Clinical Investigation. 118 (11): 3517–3518. doi:10.1172/JCI37749. PMC 2575727. PMID 19065752.
บรรณานุกรม
[แก้]- Singer, Manfred V (2003). "Legacy of a distinguished scientist: George E. Palade". Pancreatology. 3 (6): 518–9. doi:10.1159/000076328. ISSN 1424-3903. PMID 14730177. S2CID 36839347.
- Haulică, I (2002). "[Professor doctor George Emil Palade at 90 years of age]". Revista medico-chirurgicală a Societăţii de Medici şi Naturalişti din Iaşi. 107 (2): 223–5. ISSN 0300-8738. PMID 12638263.
- Tartakoff, Alan M (November 2002). "George Emil Palade: charismatic virtuoso of cell biology". Nature Reviews Molecular Cell Biology. 3 (11): 871–6. doi:10.1038/nrm953. ISSN 1471-0072. PMID 12415304. S2CID 2844447.
- Motta, P M (2001). "George Emil Palade and Don Wayne Fawcett and the development of modern anatomy, histology and contemporary cell biology". Italian Journal of Anatomy and Embryology. 106 (2 Suppl 1): XXI–XXXVIII. ISSN 1122-6714. PMID 11730003.
- Farquhar, M G; Wissig S L; Palade G E (December 1999). "Glomerular permeability I. Ferritin transfer across the normal glomerular capillary wall. 1961". Journal of the American Society of Nephrology. 10 (12): 2645–62. ISSN 1046-6673. PMID 10589706.
- Raju, T N (October 1999). "The Nobel chronicles. 1974: Albert Claude (1899–1983), George Emil Palade (b 1912), and Christian Réne de Duve (b 1917)". The Lancet. 354 (9185): 1219. doi:10.1016/S0140-6736(05)75433-7. ISSN 0140-6736. PMID 10513750. S2CID 54323049.
- Sabatini, D D (October 1999). "George E. Palade: charting the secretory pathway". Trends in Cell Biology. 9 (10): 413–7. doi:10.1016/S0962-8924(99)01633-5. ISSN 0962-8924. PMID 10481180.
- Motta, P M (1998). "George Emil Palade and Don Wayne Fawcett and the development of modern anatomy, histology and contemporary cell biology". Italian Journal of Anatomy and Embryology. 103 (2): 65–81. ISSN 1122-6714. PMID 9719773.
- Porter, K R (July 1983). "An informal tribute to George E. Palade". The Journal of Cell Biology. 97 (1): D3–7. ISSN 0021-9525. PMID 6345553.
- Tashiro, Y (January 1975). "[Accomplishment of Drs. Albert Calude and George E. Palade and the birth of cell biology]". Tanpakushitsu Kakusan Koso. 20 (1): 74–6. ISSN 0039-9450. PMID 1094498.
- Magner, J W; Ritchie E H; Cahill S C (January 1975). "Current medical literature". Journal of the Indian Medical Association. 64 (1): 20–2. ISSN 0019-5847. PMID 1094070.
- "George E. Palade". Triangle. 9 (6): 229–30. 1970. ISSN 0041-2597. PMID 4927031.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- George E. Palade ที่ Nobelprize.org
- Pages with plain IPA
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2455
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2551
- ชาวอเมริกันผู้ได้รับรางวัลโนเบล
- ชาวโรมาเนียผู้ได้รับรางวัลโนเบล
- ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์
- นักชีววิทยาชาวอเมริกัน
- นักชีววิทยาชาวโรมาเนีย
- นักชีววิทยาเซลล์
- บุคคลจากยัช
- บุคคลจากรัฐแคลิฟอร์เนีย
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยร็อกเกอะเฟลเลอร์
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยเยล
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แซนดีเอโก