จักรพรรดินีโกะ-ซากูรามาจิ
จักรพรรดินีโกะ-ซะกุระมะชิ | |
---|---|
พระสาทิสลักษณ์จักรพรรดินีโกะ-ซะกุระมะชิ | |
จักรพรรดินีนาถแห่งญี่ปุ่น องค์ที่ 117 | |
ครองราชย์ 15 กันยายน [ตามปฎิทินเก่า: 27 สิงหาคม] 2305 - 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2314 | |
ก่อนหน้า | จักรพรรดิโมโมโซโนะ |
ถัดไป | จักรพรรดิโกะ-โมโมโซโนะ |
พระบรมนามาภิไธย | โทะชิโกะ (智子) |
พระอิสริยยศ | เจ้าอิเสะ เจ้าอาเกะ |
พระราชสมภพ | 23 กันยายน พ.ศ. 2283 |
สวรรคต | 24 ธันวาคม พ.ศ. 2356 |
พระราชบิดา | สมเด็จพระจักรพรรดิซะกุระมะชิ |
พระราชมารดา | นิโจ อิเอะโกะ |
จักรพรรดินีโกะ-ซากูรามาจิ (ญี่ปุ่น: 後桜町天皇; โรมาจิ: Go-Sakuramachi-tennō; ทับศัพท์: โกะ-ซากูรามาจิ-เท็นโน, 23 กันยายน พ.ศ. 2283 - 24 ธันวาคม พ.ศ. 2356) ทรงเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งญี่ปุ่นพระองค์ที่ 117[1] อันเนื่องมาจากการสืบราชสันตติวงศ์ตามโบราณราชประเพณี[2] จักรพรรดินีโกะ-ซากูรามาจิครองราชย์ตั้งแต่พ.ศ. 2305 ถึงพ.ศ. 2314[3] เป็นระยะเวลา 9 ปี
ในศตวรรษที่ 18 สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถทรงตั้งพระนามในรัชสมัยของพระองค์ตามจักรพรรดิซากูรามาจิพระราชบิดา จักรพรรดิในรัชกาลที่ 115 และคำว่า "โกะ-"(後) ในภาษาญี่ปุ่นมีความหมายว่า "หลังจาก","ถัดมา" หรือ "ต่อมา" ในบางครั้งจึงมีการออกพระนามว่า "สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถซะกุระมะชิองค์ต่อมา" (Later Empress Regnant Sakuramachi) นอกจากนี้คำว่า "โกะ" ยังอาจแปลได้อีกความหมายว่า "ลำดับที่สอง" ในเอกสารเก่าบางเห่งจึงพบการออกพระนามของพระองค์ว่า "สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถซะกุระมะชิที่ 2" ("Sakuramachi, the second,", "Sakuramachi II")
ในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น จักรพรรดินีโกะ-ซะกุระมะชิเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถพระองค์สุดท้ายจากพระจักรพรรดินีนาถทั้ง 8 พระองค์ สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถทั้ง 7 พระองค์ก่อนรัชสมัยของพระนางได้แก่ จักรพรรดินีซุอิโกะ, จักรพรรดินีโคเงียวกุหรืออีกพระนามหนึ่งคือ สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถไซเม, จักรพรรดินีจิโต, จักรพรรดินีเก็มเม, จักรพรรดินีเก็นโช, จักรพรรดินีโคเก็งหรืออีกพระนามหนึ่งคือ สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถโชโตะคุ และสมเด็จพระจักรพรรดินีเมโช
พงศาวลี
[แก้]ก่อนที่จักรพรรดินีโกะ-ซะกุระมะชิจะสืบพระราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ พระนามเดิมของพระนางคือ เจ้าหญิงโทะชิโกะ (智子)[4] และพระอิศริยยศก่อนที่จะสืบราชบัลลังก์ของพระนางคือ อิสะ-โนะ-มิยะ(以茶宮) และพระอิศริยยศต่อจากนั้นคือ อะเกะ-โนะ-มิยะ(緋宮)
พระนางเป็นพระราชธิดาพระองค์ที่สองใน สมเด็จพระจักรพรรดิซะกุระมะชิ พระราชมารดาของพระนางคือ พระสนมนิโจ อิเอะโกะ(二条 舎子) พระเชษฐภคินีของพระนางสิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์ และพระอนุชาของพระนางคือ สมเด็จพระจักรพรรดิโมะโมะโซะโนะ องค์จักรพรรดินีนาถและพระจักรพรรดิพระอนุชาของพระนางทรงเป็นสายสุดท้ายในการสืบราชสันตติวงศ์สายตรงจากสมเด็จพระจักรพรรดินะกะมิกะโดะ[5]
พระราชวงศ์ของจักรพรรดินีโกะ-ซะกุระมะชิประทับร่วมกับพระจักรพรรดินีนาถในไดริแห่งพระราชวังหลวงเฮอัง
เหตุการณ์ในพระชนม์ชีพของจักรพรรดินีโกะ-ซะกุระมะชิ
[แก้]เจ้าหญิงโทชิโกะทรงสืบราชบัลลังก์เมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิโมะโมะโซะโนะทรงสละราชสมบัติให่แก่พระเชษฐภคินีองค์โปรด[4] พระราชโอรสของจักรพรรดิโมะโมะโซะโนะคือ เจ้าชายฮิเดะฮิโตะ(ต่อมาทรงเป็นที่รู้จักในพระนาม สมเด็จพระจักรพรรดิโกะ-โมะโมะโซะโนะ)ซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 5 พรรษา องค์จักรพรรดินีนาถผู้เป็นพระปิตุจฉาของเจ้าชายฮิเดะฮิโตะทรงเห็นว่าพระนางควรจะยึดราชบัลลังก์ไว้จนกว่าพระนัดดาพระองค์นี้จะมีวุฒิภาวะและความรับผิดชอบเพียงพอจะบริหารราชการแผ่นดินได้
- 23 กันยายน พ.ศ. 2283: เจ้าหญิงโทะชิโกะเสด็จพระราชสมภพ[6]
- 15 กันยายน พ.ศ. 2305(ปีโฮเระกิที่ 12): ทรงสืบราชบัลลังก์เป็นจักรพรรดินีโกะ-ซะกุระมะชิเมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิโมะโมะโซะโนะพระอนุชาทรงสละราชสมบัติ[7]
- พ.ศ. 2306(ปีโฮเระกิที่ 13): สมาคมพ่อค้าผู้นำเข้าโสมเกาหลีได้ก่อตั้งที่เขตคันดะในเอะโดะ[8]
- พ.ศ. 2308(ปีเมวะที่ 2): เหรียญห้า momme ถูกนำออกใช้
- พ.ศ. 2309(ปีเมวะที่ 3): เกิดเหตุการณ์เมวะซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการวางแผนและกิจกรรมต่างๆมีความพยายามที่จะล้มล้างรัฐบาลโชกุนและฟื้นฟูพระราชอำนาจขององค์จักรพรรดินีนาถ แต่แผนการได้รั่วไหลจึงถูกสกัดกั้นไว้[9]
- พ.ศ. 2311(ปีเมวะที่ 5): ยกเลิกใช้เหรียญห้า momme
- พ.ศ. 2313(ปีเมวะที่ 7): พายุไต้ฝุ่นทำลายพระราชวังจนสิ้นซากและมีการสร้างพระราชวังใหม่[10]
- พ.ศ. 2313(ปีเมวะที่ 7): ดาวหางขนาดใหญ่(ดาวหางเล็กเซล)ด้วยหางที่ยาวปรากฏสว่างจ้าบนท้องฟ้ากลางคือนตลอดฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วง[10]
- พ.ศ. 2313(ปีเมวะที่ 7): ถึงแม้ว่าจะไม่มีใครทราบเวลาที่แน่นอนในสมัยนั้น ซึ่งเป็นครั้งแรกในความแห้งแล้งที่ติดต่อกันเป็นเวลา 15 ปีของญี่ปุ่น[10]
- 9 มกราคม พ.ศ. 2314: หลังจากทรงครองสิริราชสมบัติเป็นระยะเวลา 9 ปี จักรพรรดินีโกะ-ซะกุระมะชิทรงสละราชบัลลังก์แก่พระนัดดาองค์โปรด[6] นับเป็นจุดสิ้นสุดรัชสมัยของสตรีที่ขึ้นมาเป็นองค์จักรพรรดินีนาถพระองค์สุดท้ายของญี่ปุ่น
สมเด็จพระจักรพรรดิโกะ-โมะโมะโซะโนะทรงครองราชสมบัติเพียงระยะเวลาสั้นๆ ซึ่งสิ้นสุดในปีพ.ศ. 2322 เมื่อจักรพรรดิโกะ-โมะโมะโซะโนะเสด็จสวรรคตโดยปราศจากรัชทายาท เมื่อพระราชนัดดาเสด็จสวรรคต อดีตจักรพรรดินีนาถโกะ-ซะกุระมะชิ หรือ องค์ไดโจ เทนโนทรงปรึกษากับข้าราชการผู้อาวุโสและราชองครักษ์ในราชสำนัก ทรมีพระประสงค์ที่จะรับเจ้าชายฟุชิมิ-โนะ-มิยะเป็นพระโอรสบุญธรรม แต่ในที่สุดมีการตัดสินใจเลือกเจ้าชายโมะโระฮิโตะ(師仁) พระโอรสองค์ที่หกในเจ้าชายคันอิน-โนะ-มิยะ สุเคะฮิโกะ(閑院宮典仁) ผู้ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากโคะโนะเอะ อุจิซะกิ ผู้เป็นหัวหน้าคณะที่ปรึกษาองค์จักรพรรดิ(เซ็สโซ และ คัมปะกุ) เจ้าชายโมะโระฮิโตะได้ถูกรับเป็นพระโอรสบุญธรรมของจักรพรรดิโกะ-โมะโมะโซะบนพระแท่นบรรทมซึ่งต่อมาเสด็จสวรรคตในทันที พระโอรสบุญธรรมจึงได้ครองราชย์สืบต่อเป็น สมเด็จพระจักรพรรดิโคคะกุ
หลังจากพระราชบัลลังก์ได้ถูกเปลี่ยนสายสืบราชสันตติวงศ์ อดีตจักรพรรดินีโกะ-ซะกุระมะชิทรงดำรงพระอิศริยยศเป็น อดีตจักรพรรดินีนาถ ซึ่งทรงมีฐานะเป็นผู้คุ้มครองพระประมุขซึ่งยังทรงพระเยาว์ จากบทบาทนี้ในปีพ.ศ. 2332 เกิดเรื่องอื้อฉาวอันเป็นที่ส่งผลถึงพระเกียรติยศโดย พระนางทรงก้าวก่ายราชกิจและทรงกล่าวตักเตือนองค์จักรพรรดิด้วยพระนางเอง อีกทั้งมีพระราชอำนาจเหนือองค์จักรพรรดิจนกระทั่งพระนางเสด็จสวรรคต
สิ่งตกทอด
[แก้]ถึงแม้ว่าจะมีสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถถึง 7 พระองค์อื่นๆ รัชทายาทส่วนใหญ่มักเป็นบุรุษและเลือกจากสายวงศ์บุรุษ ที่ซึ่งทำไมภูมิปัญญาแบบอนุรักษนิยมได้พยายามโต้เถียงถึงการครองราชย์ของสตรีในยุคสมัยใหม่และกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์โดยบุรุษเพียงเท่านั้นยังคงใช้อยู่ในศตวรรษที่ 21[11] จักรพรรดินีเก็มเม ทรงให้พระราชธิดาสามารถสืบราชสมบัติต่อจากพระนางได้เป็นจักรพรรดินีเก็นโช ยังคงเป็นข้อยกเว้นสำหรับข้อถกเถียงนี้
อดีตจักรพรรดินีโกะ-ซะกุระมะชิทรงพระราชนิพนธ์หนังสือชื่อ สถานการณ์รายปีในราชสำนัก(禁中年中の事 คินชู-เน็นจู โนะ โกะโตะ) เป็นหนังสือที่ประกอบไปด้วยบทกวี,จดหมายเหตุหลวงและพระราชพงศาวดาร
- 24 ธันวาคม พ.ศ. 2356: อดีตจักรพรรดินีโกะ-ซะกุระมะชิเสด็จสวรรคต สิริพระชนมายุ 73 พรรษา[6]
พระบรมศพและดวงพระวิญญาณ(คะมิ)ของจักรพรรดินีโกะ-ซะกุระมะชิได้ถูกปกป้องไว้เป็นพิเศษที่สุสานหลวง(มิซะซะกิ),สึกิ โนะ วะ โนะ มิซะซะกิ ณ วัดเซ็นเนียว-จิ บริเวณฮะกะชิยะมะ-คุ, เกียวโต ซึ่งเป็นที่ฝังพระบรมศพและพระวิญญาณขององค์จักรพรรดิหลายพระองค์ตั้งแต่สมัยจักรพรรดิโกะ-มิซึโนะโอะ ได้แก่ สมเด็จพระจักรพรรดินีเมโช, จักรพรรดิโกะ-โคเมียว, จักรพรรดิโกะ-ไซ, จักรพรรดิเรเงง, จักรพรรดิฮิงะชิยะมะ, จักรพรรดินะกะมิกะโดะ, จักรพรรดิซะกุระมะชิและจักรพรรดิโมะโมะโซะโนะ และอีกจักรพรรดิทั้งสี่พระองค์หลังรัชสมัยของพระนางได้แก่ จักรพรรดิโกะ-โมะโมะโซะโนะ, จักรพรรดิโคคะกุ, จักรพรรดินินโก และจักรพรรดิโคเม[12]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Imperial Household Agency (Kunaichō): 後桜町天皇 (120)
- ↑ Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan, p. 120.
- ↑ Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du Japon, pp. 419–420.
- ↑ 4.0 4.1 Titsingh, p. 419.
- ↑ Brinkley, Frank. (1907). A History of the Japanese People, p. 621.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 Meyer, Eva-Maria. (1999). Japans Kaiserhof in der Edo-Zeit, p. 186.
- ↑ Meyer, p. 186; Titsingh, p. 419.
- ↑ Hall, John. (1988). The Cambridge History of Japan, p. xxiii.
- ↑ Screech, T. Secret Memoirs of the Shoguns, pp. 139–145.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 Hall, John. (1955). Tanuma Okitsugu, 1719–1788, p. 120.
- ↑ "Life in the Cloudy Imperial Fishbowl," Japan Times. 27 March 2007.
- ↑ Ponsonby-Fane, Richard. (1959). Imperial House, p. 423.
- Brinkley, Frank. (1907). A History of the Japanese People from the Earliest Times to the End of the Meiji Era. New York: Encyclopædia Britannica. OCLC 413099
- Hall, John Whitney. (1988). The Cambridge History of Japan, Vol. 4. Early Modern Japan. Cambridge: Cambridge University Press. 10-ISBN 0-521-22355-5; 13-ISBN 978-0-521-22355-3; OCLC 489633115
- Meyer, Eva-Maria. (1999). Japans Kaiserhof in der Edo-Zeit: unter besonderer Berücksichtigung der Jahre 1846 bis 1867. Münster: LIT Verlag. 10-ISBN 3-8258-3939-7, 13-ISBN 978-3-8258-3939-0; OCLC 42041594
- Ponsonby-Fane, Richard Arthur Brabazon. (1956). Kyoto: The Old Capital of Japan, 794–1869. Kyoto: Ponsonby Memorial Society. OCLC 182637732
- __________. (1959). The Imperial House of Japan. Kyoto: Ponsonby Memorial Society. OCLC 194887
- Screech, Timon. (2006). Secret Memoirs of the Shoguns: Isaac Titsingh and Japan, 1779–1822. London: RoutledgeCurzon. 10-ISBN 0-203-09985-0, 13-ISBN 978-0-203-09985-8; OCLC 65177072
- Titsingh, Isaac. (1834). Nihon Odai Ichiran; ou, Annales des empereurs du Japon. Paris: Royal Asiatic Society, Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland. OCLC 5850691.
ก่อนหน้า | จักรพรรดินีโกะ-ซากูรามาจิ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
จักรพรรดิโมะโมะโซะโนะ | จักรพรรดินีแห่งญี่ปุ่น (15 กันยายน ค.ศ. 1762 - 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1771) |
จักรพรรดิโกะ-โมะโมะโซะโนะ |