ข้ามไปเนื้อหา

จักรพรรดิฟรันทซ์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จักรพรรดิฟรันทซ์ที่ 2 และ 1
พระบรมสาทิสลักษณ์
วาดโดยโยเซ็ฟ ครอยท์ซิงเยอร์ ประมาณ ค.ศ. 1815
จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
พระมหากษัตริย์แห่งชาวโรมัน
พระมหากษัตริย์ในเยอรมนี
ครองราชย์5 กรกฎาคม 1792 - สิงหาคม 1806
(14 ปี 26 วัน)
ราชาภิเษก14 กรกฎาคม 1792, แฟรงก์เฟิร์ต
ก่อนหน้าจักรพรรดิเลโอพ็อลท์ที่ 2
ถัดไปนโปเลียน
ในฐานะ ผู้อารักขาสมาพันธรัฐแห่งแม่น้ำไรน์
อาร์ชดยุก/จักรพรรดิแห่งออสเตรีย
ครองราชย์1 มีนาคม 1792/11 สิงหาคม 1804 – 2 มีนาคม 1835
ก่อนหน้าจักรพรรดิเลโอพ็อลท์ที่ 2
ถัดไปจักรพรรดิแฟร์ดีนันท์ที่ 1
นายกรัฐมนตรีคลีแมนท์ ฟ็อน เมทเทอร์นิช
ประธานแห่งสมาพันธรัฐเยอรมัน
ในตำแหน่ง20 มิถุนายน 1815 – 2 มีนาคม 1835
ถัดไปจักรพรรดิแฟร์ดีนันท์ที่ 1
พระมหากษัตริย์แห่งฮังการี, โครเอเชีย
และ โบฮีเมีย
ราชาภิเษก
ก่อนหน้าจักรพรรดิเลโอพ็อลท์ที่ 2
ถัดไปจักรพรรดิแฟร์ดีนันท์ที่ 1
พระมหากษัตริย์แห่งลอมบาร์เดีย-เวนิส
ครองราชย์9 มิถุนายน 1815 – 2 มีนาคม 1835
ถัดไปจักรพรรดิแฟร์ดีนันท์ที่ 1
พระราชสมภพ12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1768(1768-02-12)
ฟลอเรนซ์ แกรนด์ดัชชีตอสคานา จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
สวรรคต2 มีนาคม ค.ศ. 1835(1835-03-02) (67 ปี)
เวียนนา จักรวรรดิออสเตรีย
ฝังพระศพวิหารฮาพส์บวร์ค
ชายา
พระราชบุตร
รายละเอียด
พระนามเต็ม
ฟรันทซ์ โยเซ็ฟ คาร์ล
ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค-ลอแรน
พระราชบิดาจักรพรรดิเลโอพ็อลท์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
พระราชมารดามาเรีย ลุยซา แห่งสเปน
ศาสนาโรมันคาทอลิก
ลายพระอภิไธย

จักรพรรดิฟรันทซ์ที่ 2 (เยอรมัน: Franz II; 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1768 – 2 มีนาคม ค.ศ. 1835) ทรงเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ค.ศ. 1792 - ค.ศ. 1806) และทรงเป็น จักรพรรดิฟรันทซ์ที่ 1 ในฐานะจักรพรรดิออสเตรีย ตั้งแต่ ค.ศ. 1804 จนถึง ค.ศ. 1835 ภายหลังจากที่พระองค์ถูกรุกรานโดยจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 อันนำไปสู่สงครามประสานมิตรครั้งที่สาม ทำให้พระองค์ต้องยุบจักรวรรดิ และเปลี่ยนจักรวรรดิรวมทั้งเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ โดยระหว่างปี ค.ศ. 1804 - ค.ศ. 1806 พระองค์ได้ทรงดำรงตำแหน่งจักรพรรดิ 2 จักรวรรดิเลยทีเดียว โดยหลังจากเปลี่ยนจักรวรรดิแล้ว พระองค์ได้ทรงดำรงตำแหน่งจักรพรรดิแห่งออสเตรีย พระนามว่า จักรพรรดิฟรันทซ์ที่ 1 แห่งออสเตรีย หลังจากนั้น พระองค์ได้ทรงนำกองทัพออสเตรีย ไปชำระแค้นกับจักรวรรดิฝรั่งเศส ในสงครามนโปเลียน แต่ก็ยังปราชัยอยู่ดี พระองค์จึงส่งพระราชธิดาองค์โต อาร์ชดัชเชสมารี หลุยส์ ให้ไปอภิเษกสมรสกับนโปเลียน เพื่อเป็นการถวายเครื่องราชบรรณาการ และเริ่มต้นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศระหว่างจักรวรรดิออสเตรียและจักรวรรดิฝรั่งเศส

พระราชประวัติ

[แก้]

จักรพรรดิฟรันทซ์เสด็จพระราชสมภพ ณ เมืองฟลอเรนซ์, แกรนด์ดัชชีตอสคานา เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1768 เป็นพระราชโอรสองค์โตในจักรพรรดิเลโอพ็อลท์ที่ 2 (ซึ่งขณะนั้น ทรงเป็นแกรนด์ดยุกแห่งตอสคานา) กับ มาเรีย ลุยซา แห่งสเปน (พระราชธิดาในพระเจ้าการ์โลสที่ 3 แห่งสเปน) เมื่อทรงพระเยาว์นั้น พระบรมวงศานุวงศ์รวมทั้งประชาชนได้คาดหมายพระองค์ว่า จะได้เป็นองค์จักรพรรดิในอนาคต เพราะเนื่องจากพระปิตุลาของพระองค์ จักรพรรดิโยเซ็ฟ ไม่มีพระราชโอรสหรือพระราชธิดาเลย แล้วนอกจากนี้ พระราชอนุชาของพระองค์ อาร์ชดยุกเลโอพ็อลท์ ซึ่งก็เป็นพระราชบิดาของจักรพรรดิ ก็ทรงอยู่ในลำดับการสืบสันตติวงศ์ที่ลำดับที่ 1 อีกด้วย ดังนั้น พระองค์จึงต้องไปทรงศึกษาอย่างเคร่งครัด ณ คอร์ตหลวง (Imperial Court) กรุงเวียนนา เพื่อในการเตรียมตัวสำหรับอนาคตของพระองค์

จักรพรรดิโยเซ็ฟ ผู้เป็นพระราชปิตุลา ทรงทราบถึงการพัฒนาการของพระราชนัดดาของพระองค์ และรู้ซึ้งถึงระบอบการปกครองย่างเคร่งครัด ซึ่งแตกต่างจากระบอบการปกครองของแกรนด์ดยุกเลโอพ็อลท์ ผู้เป็นพระราชบิดาของพระองค์ ซึ่งขณะนั้นทรงเป็นองค์พระประมุขแห่งแคว้นตอสคานา อย่างไรก็ตาม ราชปิตุลายังทรงเห็นว่า การศึกษาที่เคร่งครัดและระเบียบวินัยในตัวพระราชนัดดายังไม่เป็นที่น่าพอใจ เนื่องจากพระองค์ถูกแยกให้ศึกษาพระองค์เอง ราชปิตุลาทรงเกรงว่า อาจทำให้พระราชนัดดาล้มเหลวในการพึ่งพาตนเอง เพราะพระองค์ไม่ได้รับการศึกษาพร้อมกับผู้อื่น แต่ถึงอย่างไร ว่าที่จักรพรรดิฟรันทซ์ทรงประทับใจและนับถือราชปิตุลาเป็นพระองค์ตัวอย่าง โดยพระองค์ทรงตั้งอกตั้งใจเข้ารับการศึกษาอย่างเต็มที่ ต่อมา พระองค์ทรงได้เข้ารับการฝึกทหาร และร่วมรบในฮังการี พระองค์จึงทรงซึมซาบความเป็นทหารอย่างเต็มที่...

เมื่อจักรพรรดิโยเซ็ฟเสด็จสวรรคตเมื่อปี ค.ศ. 1790 แกรนด์ดยุกเลโอพ็อลท์ พระราชบิดาได้ทรงสืบราชสมบัติต่อจากพระเชษฐา ซึ่งขณะนั้น พระองค์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในการสะสางความบาดหมางทางการเมืองการปกครอง อาร์ชดยุกฟรันทซ์ จึงทรงได้รับการสถาปนาเป็นมกุฎราชกุมารแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ แต่เมื่อฤดูหนาว ค.ศ. 1891 พระราชบิดามีพระอาการประชวรอย่างหนัก ภาวะตึงเครียดมาถึงพระราชวงศ์ทันที โดยเฉพาะอาร์ชดยุกฟรันทซ์ พระอาการประชวรเลวร้ายลงเรื่อย ๆ จนในที่สุด ช่วงบ่ายของวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 1892 จักรพรรดิเลโอพ็อลท์เสด็จสวรรคตอย่างสงบ ด้วยพระชนมพรรษาเพียง 44 พรรษา อาร์ชดยุกฟรันทซ์จึงทรงได้สืบราชสมบัติต่อจากราชบิดาด้วยพระชนมายุเพียง 24 พรรษา

จักรพรรดิแห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

[แก้]

เมื่อพระองค์ได้ทรงขึ้นครองราชย์เป็นองค์พระประมุขแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์แล้ว วิกฤติแรกในเข้ามาคือ คำขู่จากนโปเลียน โบนาปาร์ต หรือจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 แห่งจักรวรรดิฝรั่งเศส ที่ได้เข้ามาก้าวก่ายการเมืองการปกครองและระบอบต่างในราชสำนักหลายประเทศในทวีปยุโรป รวมทั้งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ด้วย โดยพระองค์ทรงตระหนักถึงภาวะตึงเครียดเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างจักรวรรดิโรมันกับจักรวรรดิฝรั่งเศส เพราะว่าราชปิตุจฉาของพระองค์ ราชินีมารี อ็องตัวแน็ตแห่งฝรั่งเศส ทรงถูกประหารด้วยเครื่องกิโยตินในการปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. 1893 โดยที่พระองค์ไม่ทรงสนพระทัยใยดีและทรงเฉยเมยต่อชะตากรรมของราชปิตุจฉา เพราะเนื่องจากราชินีมารี อ็องตัวแน็ตไม่ทรงสนิทสนมกับพระราชบิดาของพระองค์เท่าใดนัก ทั้งที่เป็นพระกนิษฐภคินีแท้ ๆ ของพระองค์ และทรงเป็นปิตุจฉาของจักรพรรดิฟรันทซ์เสียด้วยซ้ำ ถึงแม้พระองค์จะทรงไม่เคยเห็น จอร์ช แดนตัน ประธานองคมนตรีและสมุหนายก ได้มีการเจรจากับพระองค์ให้ทรงเข้าช่วยเหลือปล่อยราชปิตุจฉาจากที่คุมขัง แต่จักรพรรดิทรงเมินเฉย โดยต่อมา พระองค์ทรงนำกองทัพเข้าร่วมรบในสงครามปฏิวัติฝรั่งเศส โดยกองทัพของพระองค์ถูกโจมตีจากกองทัพของนโปเลียน โดยในสมรภูมิแคมโป ฟอร์มีโอ พระองค์ทรงยอมจำนน ยกไรน์ให้กับฝรั่งเศส เพื่อแลกเปลี่ยนกับเวนิสและแดลเมเชีย แต่ต่อมา พระองค์ทรงนำกองทัพจู่โจมฝรั่งเศสในสมรภูมิเอาสเทอร์ลิทซ์ แต่ได้รับความพ่ายแพ้ไป โดยมีการทำสนธิสัญญาเพรสบูร์กขึ้น ซึ่งเป็นยุบระบอบการปกครองของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ลง และก่อตั้งจักรวรรดิออสเตรียเป็นจักรวรรดิใหม่

เมื่อปี ค.ศ. 1810 พระองค์ได้นำกองทัพเข้าจู่โจมฝรั่งเศสอีกครั้ง เพื่อหวังผลประโยชน์จากสงครามคาบสมุทรที่นโปเลียนสามารถยึดสเปนได้ แต่ก็ถูกโจมตีและได้รับความพ่ายแพ้อีกครั้ง แต่ครั้งนี้ พระองค์ทรงนึกคิดอยากจะกระชับความสัมพันธ์กับจักรวรรดิฝรั่งเศส โดยมีพระมีพระบรมราชโองการให้พระราชธิดาองค์โตของพระองค์ อาร์ชดัชเชสมารี หลุยส์ ไปอภิเษกสมรสกับนโปเลียน แต่นโปเลียนมองการส่งพระราชธิดามาอภิเษกเป็นการส่งราชบรรณาการ ฝรั่งเศสจึงได้ออสเตรียเป็นเมืองประเทศราช เหมือนเมืองทาส เพราะนโปเลียนได้ประเทศอื่น ๆ ในยุโรปเป็นเสมือนทาสรับใช้ เช่น ประเทศในแถบเยอรมัน รวมทั้งปรัสเซียด้วย

ในปี ค.ศ. 1813 ออสเตรียได้เข้าจู่โจมฝรั่งเศสอีกครั้ง ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 4 และเป็นครั้งสุดท้าย โดยครั้งนี้ออสเตรียได้ร่วมมือกับสหราชอาณาจักร รัสเซีย และปรัสเซียโจมตีนโปเลียน โดยออสเตรียได้เปรียบในตอนสุดท้าย คือการตั้งการประชุมใหญ่แห่งเวียนนา (Congress of Vienna) โดยมีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง เจ้าชายคลีเมนส์ เว็นเซิลแห่งเม็ทเตอร์นิชเป็นองค์ประธาน เพื่อช่วยในการปฏิรูประบอบการปกครองของราชอาณาจักรหรือจักรวรรดิต่าง ๆ รวมทั้งมีการก่อตั้งกลุ่มสมาพันธรัฐเยอรมัน เพื่อเป็นหน่วยย่อยในการดูแล ควบคุมระบอบการเมืองการปกครองของกลุ่มประเทศเยอรมัน โดยการประชุมแห่งเวียนนาได้จัดระบบประเทศต่าง ๆ ของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ โดยให้จักรพรรดิฟรันทซ์เป็นองค์ประธานในการประชุมที่เวียนนาและกลุ่มสมาพันธรัฐเยอรมัน โดยพระองค์ทรงเป็นเจ้าภาพร่วมกับพระราชวงศ์ประเทศอื่นในการประชุม แต่อย่างไรก็ตาม พระองค์ได้ทรงตัดความสัมพันธ์กับรัสเซียและปรัสเซีย คือจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย และพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮ็ล์มที่ 3 แห่งปรัสเซีย ในการเจรจาสนธิสัญญาลับในการฟื้นฟูสถาปนาพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 แห่งฝรั่งเศสให้เป็นองค์พระประมุขฝรั่งเศสอีกครั้งหนึ่ง

เหตุการณ์ภายในประเทศ

[แก้]

หลังจากเหตุการณ์ปฏิวัติฝรั่งเศส ซึ่งสร้างความประทับพระทัยต่อพระองค์เป็นอย่างมาก โดยช่วงเวลานั้น ทรงพระอารมณ์ดีตลอดเวลา แต่พระองค์ไม่ทรงไว้ใจพวกหัวรุนแรงในออสเตรียที่ตามมาหลังจากเหตุการณ์ปฏิวัติในฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1794 มีการก่อตั้งกองทัพราชนาวีออสเตรียและฮังการีอย่างลับ ๆ โดยผู้นำได้อยู่ในการพิจารณา แต่คำตัดสินของคณะลูกขุนได้ให้หาทางจัดการกับขอบเขตภายนอกของการก่อตั้งกองทัพอย่างลับ ๆ นี้ อาร์ชดยุกอเล็คซันเดอร์ เลโอพ็อลท์ (ซึ่งขณะนั้นทรงดำรงตำแหน่งสมุหนายกแห่งฮังการี) ทรงเป็นองค์ประธานของคณะลูกขุนที่เข้าจัดการเกี่ยวกับการก่อตั้งกองทัพอย่างลับ ๆ นี้ ซึ่งในที่สุด สามารถจับกุมตัวการทั้งหมดได้ ศาลตัดสินให้ประหารชีวิตบ้าง และจำคุกตลอดชีวิต

จักรพรรดิทรงเป็นคนขี้ระแวง พระองค์ทรงก่อตั้งตำรวจ สายลับในเครือข่ายที่กว้างขวาง เพื่อตรวจสอบสภาพการเมืองทั้งหมดอย่างลับ ๆ อันที่จริงแล้ว พระองค์ทรงสืบสานต่อพระปณิธานพระราชบิดาที่ทรงก่อตั้งสายลับตรวจสอบสภาพการเมืองอย่างลับ ๆ ที่แคว้นตอสคานา โดยการก่อตั้งสายลับนี้ พระราชอนุชาของพระองค์ อาร์ชดยุกคาร์ล และอาร์ชดยุกโยฮันน์ทรงเป็นผู้ร่วมก่อตั้งด้วย นอกจากนี้ พระองค์ก็ทรงนำนโยบายในการบริหารประเทศจากจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์มาใช้ในการปกครองจักรวรรดิด้วย ถึงแม้ว่า ตอนนี้ พระองค์ทรงเป็นจักรพรรดิแห่งออสเตรีย โดยพระองค์ทรงถอดถอนจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ออกจากกลุ่มเยอรมัน ซึ่งสร้างความเคลือบแคลงให้กับสภากฎหมายแห่งรัฐธรรมนูญ

อภิเษกสมรส

[แก้]
จักรพรรดิพร้อมด้วยพระชายาและพระราชบุตร

จักรพรรดิฟรันทซ์ทรงอภิเษกสมรสถึง 4 ครั้ง ดังนี้:

พระราชบุตร

[แก้]

ช่วงสุดท้ายของพระชนม์ชีพ

[แก้]

เมื่อวันที่ 2 มีนาคม ค.ศ. 1835 43 ปีแห่งการครองราชย์ของพระองค์ จักรพรรดิฟรันทซ์เสด็จสวรรคต จากการประชวรไข้อย่างหนัก รวมพระชนมายุได้ 67 พรรษา พระศพถูกจัดขึ้นอย่างสมพระเกียรติ โดยในฐานะจักรพรรดิแห่งออสเตรียและจักรพรรดิแห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ มีการเก็บพระศพของพระองค์ไว้ที่มหาวิหารเซนต์ สตีเฟน กรุงเวียนนา 3 วัน จากนั้นนำไปฝังไว้ที่วิหารฮาพส์บวร์ค ซึ่งเป็นสถานที่ฝังพระศพพระบรมวงศานุวงศ์ออสเตรียมาช้านาน พระศพของพระองค์ถูกฝังไว้ท่ามกลางพระศพของพระชายาทั้ง 4 พระองค์

พระราชอิสริยยศ

[แก้]

ภาษาอังกฤษ: By the grace of god, Franz Joseph Karl, Franz the First, Emperor of Austria; Apostolic King of Hungary, King of Bohemia, Dalmatia, Croatia, Slavonia, Galicia, Lodomeria, and Jerusalem; Archduke of Austria; Duke of Lorraine, Salzburg, Würzburg, Franconia, Styria, Carinthia and Carniola; Grand Duke of Cracow; Grand Prince of Transylvania; Margrave of Moravia; Duke of Sandomir, Masovia, Lublin, Upper and Lower Silesia, Auschwitz and Zator, Teschen and Friule; Prince of Berchtesgaden and Mergentheim; Princely Count of Habsburg, Gorizia and Gradisca and of the Tyrol; and Margrave of Upper and Lower Lusatia and in Istria".

ภาษาไทย: ด้วยอำนาจแห่งองค์พระผู้เป็นเจ้า ฟรันทซ์ โยเซ็ฟ คาร์ล, ฟรันทซ์ที่ 1 จักรพรรดิแห่งออสเตรีย สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งฮังการี ผู้ทรงเปรียบเสมือนอัครสาวกเบื้องขวาแห่งองค์พระผู้เป็นเจ้า สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งโบฮีเมีย ดาลมาเทีย โครเอเชีย สลาโวเนีย กาลิเซีย โลโดมีเรีย และเยรูซาเลม อาร์ชดยุกแห่งออสเตรีย ดยุกแห่งลอร์เรน ซาร์สบูร์ก วืร์ซบูร์ก ฟรานโซเนีย สตีเรีย คารินเธีย และคาร์นิโอล่า แกรนด์ดยุกแห่งคราโคว์ แกรนด์ พรินซ์แห่งทรานซิลวาเนีย มาร์เกรฟแห่งโมราเวีย ดยุกแห่งซานโดเมียร์ โมซาเวีย ลูบลิน อัปเปอร์ และโลเวอร์ ซีลิเซีย ออสวิตส์ และเซเตอร์ เทสเชน และฟริวลี เจ้าชายแห่งเบิร์ชเท็สกาเด็น และเมอร์เจนเธิม เค้านท์แห่งฮาพส์บวร์ค กอริเซีย กราดิสก้า และ ทีรอล มาร์เกรฟแห่งอัปเปอร์ และโลเวอร์ ลูซาเทีย และอิสเตรีย

ราชตระกูล

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
ก่อนหน้า จักรพรรดิฟรันทซ์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ถัดไป
เลโอพ็อลท์ที่ 2 จักรพรรดิแห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
(ค.ศ. 1792 – 1806)
ไม่มี
ยุบจักรวรรดิ
เลโอพ็อลท์ที่ 2 กษัตริย์แห่งฮังการี
กษัตริย์แห่งโบฮีเมีย

(ค.ศ. 1792 – 1835)
แฟร์ดีนันท์ที่ 1
ไม่มี
สถาปนาจักรวรรดิ
จักรพรรดิแห่งออสเตรีย
(ค.ศ. 1804 – 1835)
แฟร์ดีนันท์ที่ 1
นโปเลียนแห่งฝรั่งเศส
ในตำแหน่ง ผู้อารักขาสมาพันรัฐแห่งแม่น้ำไรน์
องค์ประธานสมาพันธรัฐเยอรมัน
(ค.ศ. 1815 – 1835)
แฟร์ดีนันท์ที่ 1 แห่งออสเตรีย