ข้ามไปเนื้อหา

จักรพรรดิโกะ-มูรากามิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก จักรพรรดิโกะมุระคะมิ)
จักรพรรดิโกะ-มุระกะมิ
จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น องค์ที่ 97
18 กันยายน ค.ศ. 1339 – 29 มีนาคม ค.ศ. 1368
พิธีขึ้น6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1339
ไดโจไซ6 ธันวาคม ค.ศ. 1340
รัชศกเอ็งเง็ง
โคโคะกุ
โชเฮ
ก่อนหน้าสมเด็จพระจักรพรรดิโกะ-ไดโงะ
ถัดไปจักรพรรดิโชเก

พระราชสมภพค.ศ. 1328
สวรรคต29 มีนาคม ค.ศ. 1368
ฝังพระบรมศพ2 เมษายน ค.ศ. 1368
สุสานหลวงฮิโนะโอะ
พิธีฉลองการเจริญวัย21 เมษายน [ตามปฎิทินเก่า: 10 เดือน 3] 1336
พระราชบิดาจักรพรรดิโกะ-ไดโงะ
พระราชมารดาอะโนะ เรนชิ
พระสนมฟุจิวะระ โนะ โชชิ
พระราชโอรส-ธิดาจักรพรรดิโชเก
จักรพรรดิโกะ-คะเมะยะมะ

จักรพรรดิโกะ-มูรากามิ (ญี่ปุ่น: 後村上天皇โรมาจิGo-Murakami-tennō) (ค.ศ. 1328 – 29 มีนาคม ค.ศ. 1368) เป็นจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่นองค์ที่ 97 ตามธรรมเนียมปฏิบัติดั้งเดิม และเป็นสมาชิกในราชสำนักฝ่ายใต้ระหว่างยุคนัมโบกุโจของราชสำนักฝ่ายเหนือ พระองค์อยู่ในราชสมบัติตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 1339 ถึงวันที่ 29 มีนาคม ค.ศ. 1368 (ปีโชเฮย์ที่ 23, วันที่ 11 เดือน 3) .[1] มีพระนามเดิมว่า "โนริโยชิ" (ญี่ปุ่น: 義良โรมาจิNoriyoshi) พระองค์ปกครองพระราชอาณาเขตนับตั้งแต่เมืองซูมิโยชิ โอซากะ โยชิโนะ นาระ และพื้นที่อื่น ๆ เพียงชั่วคราว

สมเด็จพระจักรพรรดิพระองค์นี้ตั้งพระนามของพระองค์ตามสมเด็จพระจักรพรรดิมูรากามิ จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่นรัชกาลที่ 62 ซึ่งมีพระชนม์ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 10 และเพิ่มคำว่า "โกะ" (後) ไว้หน้าพระนาม คำว่า "โกะ" นี้ ในภาษาญี่ปุ่นแปลตามตัวว่า "หลังจาก, ถัดมา, ต่อมา" ฉะนั้น ในบางครั้งจึงมีการออกพระนามว่า "สมเด็จพระจักรพรรดิมูรากามิองค์ต่อมา" (Later Emperor Murakami) นอกจากนี้คำว่า "โกะ" ยังอาจแปลได้อีกความหมายว่า "ลำดับที่สอง" ในเอกสารเก่าบางเห่งจึงพบการออกพระนามของพระองค์ว่า "สมเด็จพระจักรพรรดิมูรากามิที่ 2" ("Murakami, the second,", "Murakami II")

ในปี ค.ศ. 1911 (ศักราชเมจิที่ 44) รัฐบาลเมจิของจักรพรรดิเมจิได้สร้างความชอบธรรมให้กับราชสำนักใต้ ทำให้พระองค์เป็นจักรพรรดิองค์ที่ 97 ที่สืบเนื่องมาตามลำดับ

พระราชวงศ์

[แก้]

พระองค์เป็นหนึ่งในพระราชโอรสทั้ง 7 พระองค์ของสมเด็จพระจักรพรรดิโกะไดโงะ

  • พระอัครมเหสี (โคโง): สตรีตระกูลฟุจิวะระ (ไม่ทราบพระนาม)
  • พระสนม: ฟุจิวะระ โนะ โชชิ (藤原勝子)
  • พระสนม: มินาโมะโตะ โนะ อะกิโกะ (源顕子)
    • พระราชธิดาพระองค์แรก: เจ้าหญิงโนะริโกะ (憲子内親王) (จักรพรรดินีชินเซ็นโย (新宣陽門院))
  • พระสนม: ธิดาของนะคะฮาระ โนะ โมะโระฮะรุ (中原師治)
    • พระราชโอรสพระองค์ที่ 3: เจ้าชายโกะเระนะริ (惟成親王)
    • พระราชโอรสพระองค์ที่ 5: เจ้าชายโมะโระนะริ (師成親王)
  • พระชายา: ธิดาของโอะชิ อิเอฮิเดะ (越智家栄)
    • พระราชโอรสพระองค์ที่ 6: เจ้าชายคะเนะนะริ (説成親王)
    • พระราชโอรสพระองค์ที่ 7: เจ้าชายโยะชินะริ (良成親王)

เหตุการณ์ในช่วงพระชนม์ชีพ

[แก้]

พระองค์มีพระชนม์ชีพอยู่ระหว่างช่วงที่มีการแย่งชิงอำนาจกันระว่างราชสำนักฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ ช่วงเวลานี้รู้จักกันในชื่อยุคนันโบะกุ-โช เมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิโกะไดโงะ ทรงเริ่มต้นการฟื้นอำนาจยุคเค็มมุ แม้กระนั้นเจ้าชายที่ยังเด็ก ตามด้วยคิทะบะทะเกะ อะกิอิเอะ ในปี 1333 เสด็จไปทางาโจ ที่ในปัจจุบันคือ จังหวัดมิยางิ ที่ในเวลานั้นเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นมัตสึ เพื่อดึงเอาซามูไรทางตะวันออกมาเป็นพวก และทำลายตระกูลโฮโจที่เหลือ อย่างไรก็ตามในปี 1335 เนื่องจากอาซึคางะ ทากาอูจิ ก่อกบฏ จักรพรรดิจึงทรงกลับไปทางตะวันตกรวมทั้งคิทะบะทะเกะ ชิกาฟุสะ ผู้เป็นบิดาของอกิอิเอะ ซึ่งรับพระราชโองการให้ไปปราบทากาอูจิ เมื่อทากาอูจิพ่ายแพ้แก่พวกเขาในเคียวโตะในปี 1336 พวกเขาก็กลับไปแคว้นมัตสึอีกครั้ง ในปี 1337 เนื่องจากทางาโจถูกโจมตี พวกเขาจึงกลับไปทางตะวันตกอีกครั้งหนึ่ง โดยไปที่โยชิโนในขณะที่การรบในสมรภูมิยังไม่มีความเคลื่อนไหว

อีกครั้งในปี 1338 พวกเขาบุกโจมตีทางาโจ แต่ต้องถอยกลับโยชิโนเพราะเกิดพายุ ในปี 1339 พระองค์ก็ทรงได้รับตำแหน่งเจ้าชาย

วันที่ 18 กันยายน ปีเดียวกัน พระองค์ก็ทรงเป็นจักรพรรดิ ด้วยการสละราชสมบัติของ สมเด็จพระจักรพรรดิโกะไดโงะ

ในปี 1348 โค โนะ โมะโระนะโอะ โจมตีโยชิโน และองค์จักรพรรดิเสด็จหนีออกไปยังที่ซึ่งในปัจจุบันคือหมู่บ้านนิชิโยชิโน ในโยชิโนะ จังหวัดนาระ ซึ่งตอนนั้นคือแคว้นยามาโตะ

ในปี 1352 บุกโอะโตะโกะยามา ในแคว้นยามาชิโร ในยุทธการซือชิโจ โอมิยะ คุสุโนะกิ มะสะโนะริยึดเคียวโตะคืนจาก อาซึคางะ โยชิอะกิระ ในเวลาดังกล่าว เหล่าจักรพรรดิที่อยู่อย่างโดเดี่ยวทางเหนือคือ สมเด็จพระจักรพรรดิโคงอน สมเด็จพระจักรพรรดิโคเมียว และ สมเด็จพระจักรพรรดิซุโก ต่างก็ถูกจับเข้าคุกที่โอะโตะโกะยามา อย่างไรก็ตาม เดือนต่อมา พวกเขาก็ทิ้งเมืองเคียวโตะหลังจากที่ถูกตีโต้โดยโชกุนอะซึคางะ

พวกเขาถูกกักขังไว้ที่โอะโตะโกะยามา แต่ก็หนีไปแคว้นคาวาจิ ระหว่างการโจมตีของโยชิอะกิระ และในอีกไม่กี่ดือนต่อมาก็กลับสู่โยชิโน

ในเดือน12 วันที่8 ของปี 1361 โฮโซคะวะ คิโยจิ และ คุสุโนะกิ มะสะโนะริ ผู้กลับไปสวามิภักดิ์กับราชสำนักใต้ ตีเคียวโตะคืนได้เพียงชั่วคราว แต่โยชิอะกิระตอบโต้อย่างรวดเร็ว และทำให้พวกเขาต้องอพยพออกจากเคียวโตะในอีก18วันต่อมา

พวกเขายังพยายามยึดเคียวโตะคืนต่อไป แต่กำลังของราชสำนักใต้ก็อ่อนแอลงแล้ว และการที่จักรพรรดิสวรรคตในปี1368 อาซึคางะ โยชิมิตสุ ได้อำนาจ และราชบัลลังก์ถูกย้ายไปให้สุมิโยชิ

สุสานของพระองค์ที่รู้จักกันในชื่อ ฮิโนะโอะ โนะ มิซะซะกิ (檜尾陵) ตั้งอยู่ในเขตวัดคันชึนจิ (観心寺) ในคาวาจินางาโนะ จังหวัดโอซากะ[2]

คุเกียว

[แก้]

คุเกียว (公卿) เกี่ยวข้องกันกับพวกอำนาจน้อยจนถึงราชสำนักของจักรพรรดิญี่ปุ่นในช่วงก่อนยุคเมจิระหว่างที่มีความเสมอภาคกันระหว่างของอำนาจราชสำนักซึ่งมีอยู่อย่างจำกัดนอกกำแพงวังกับพวกที่ยึดติดกับการปกครองแบบศักดินา

โดยปกติแล้วกลุ่มที่ได้รับการเลือกสรรประกอบด้วยคน3-4คนในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น ส่วนมากเป็นข้าราชสำนักที่มาจากตระกูลใหญ่ที่อยู่เบื้องหลังคงจะยกให้พวกเขาไปสู่จุดสุดยอดของชีวิตการทำงาน ในรัชกาลของพระองค์ ตำแหน่งสูงสุดของไดโจ-คัน ประกอบด้วย

ชื่อปีในรัชกาล

[แก้]

ชื่อปีในรัชกาลสมเด็จพระจักรพรรดิโกะ-มุระกะมิมีดังนี้

ยุคนันโบะกุ-โช ราชสำนักฝ่ายใต้
ยุคนันโบะกุ-โช ราชสำนักฝ่ายเหนือ

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan, p. 158.
  2. Ponsonby-Fane, p. 422.

บรรณานุกรม

[แก้]
ก่อนหน้า จักรพรรดิโกะ-มูรากามิ ถัดไป
สมเด็จพระจักรพรรดิโกะ-ดะอิโงะ
จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น
(ค.ศ. 1339 – ค.ศ. 1368)
สมเด็จพระจักรพรรดิโชเก