ข้ามไปเนื้อหา

จังหวัดตราด

พิกัด: 12°14′N 102°30′E / 12.23°N 102.5°E / 12.23; 102.5
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จังหวัดตราด
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Trat
เกาะหมาก
เกาะหมาก
คำขวัญ: 
เมืองเกาะครึ่งร้อย พลอยแดงค่าล้ำ
ระกำแสนหวาน หลังอานหมาดี
ยุทธนาวีเกาะช้าง สุดทางบูรพา
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดตราดเน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดตราดเน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดตราดเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ ณัฐพงษ์ สงวนจิตร[1]
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2566)
พื้นที่[2][3]
 • ทั้งหมด2,819.0 ตร.กม. (1,088.4 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 62
ประชากร
 (พ.ศ. 2566)[4]
 • ทั้งหมด227,052 คน
 • อันดับอันดับที่ 73
 • ความหนาแน่น80.54 คน/ตร.กม. (208.6 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 61
รหัส ISO 3166TH-23
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้หูกวาง
 • ดอกไม้กฤษณาชนิด Aquilaria subintegra
 • สัตว์น้ำปลากะรังจุดฟ้าจุดเล็ก
ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้งถนนราษฎร์นิยม ตำบลบางพระ อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด 23000
 • โทรศัพท์0 3951 1282
เว็บไซต์http://www.trat.go.th/
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ตราด เป็นจังหวัดชายฝั่งทะเลทางภาคตะวันออกของประเทศไทย มีเนื้อที่ 2,819 ตารางกิโลเมตร ตราดนับเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกในช่วงปลายอยุธยา สินค้าที่ส่งออกขายยังแดนไกล โดยเฉพาะของป่า เช่น เขากวาง หนังสัตว์ ไม้หอม และเครื่องเทศต่าง ๆ ล้วนมาจากเขตป่าเขาชายฝั่งทะเลตะวันออก แถบระยอง จันทบุรี ตราด โดยลำเลียงสินค้าผ่านมาตามแม่น้ำเขาสมิง ออกสู่ปากอ่าวตราด ติดต่อกับจังหวัดจันทบุรีและประเทศกัมพูชา

ที่มาของชื่อ

[แก้]

ในเอกสารประวัติศาสตร์สะกดแตกต่างกัน 3 แบบ คือ "ตราษ" "ตราด" และ "กราด" คำว่า "ตราษ" เป็นคำที่เก่าที่สุดเท่าที่ตรวจสอบได้จากเอกสารประวัติศาสตร์ ปรากฏในจดหมายเหตุรัชกาลที่ 3 จ.ศ. 1206 (พ.ศ. 2387) หนังสือไปเมืองตราษว่าด้วย เกลือไม่ส่งไปเมืองพนมเปน และจดหมายเหตุรัชกาลที่ 3 จ.ศ. 1207 (พ.ศ. 2388) ใบบอกเรื่อง สืบราชการลับเมืองเขมร[5]

ในสมัยรัชกาลที่ 4 พบคำว่า "ตราษ" และ "ตราด" ดังปรากฏในราชกิจจานุเบกษาตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2401–2402 ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 5 พบว่าเมืองตราดสะกดว่า "ตราด" ส่วนคำว่า "กราด" พบในหนังสือ ทำเนียบหัวเมือง ตอนที่ 1–3 ร.ศ. 119 คำว่า "ตราด" หรือ "ตราษ" นี้อาจจะมีชื่อเรียกเพี้ยนมาจากภาษาเขมรเรียก ត្រាច ตฺราจ หมายถึง ยางกราด เป็นไม้พื้นเมืองในแถบนี้[6]

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

[แก้]

ภูมิศาสตร์

[แก้]

อาณาเขตติดต่อ

[แก้]

อุทยานแห่งชาติ

[แก้]

ประวัติศาสตร์

[แก้]

กรุงศรีอยุธยา

[แก้]

ไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดว่า เมืองตราดมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอย่างไร แต่เท่าที่ค้นพบในสมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (ปี พ.ศ. 1991–2031) ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการปรับปรุงเป็นบ้านเมืองครั้งใหญ่ขึ้น โดยจัดแบ่งการบริหารราชการแผ่นดินออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ส่วนกลางประกอบไปด้วย ฝ่ายทหาร และพลเรือน ส่วนภูมิภาคแบ่งเมืองต่าง ๆ ออกเป็น หัวเมืองเอก หัวเมืองโท หัวเมืองตรี และหัวเมืองจัตวา ตามลำดับ อย่างไรก็ตามในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ก็ไม่ปรากฏชื่อของเมืองตราดแต่อย่างใดเพียงแต่บอกว่า "หัวเมืองชายทะเลหรือบรรดาหัวเมืองชายทะเล" เท่านั้น

ต่อมาในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ปรากฏว่า บรรดาหัวเมืองชายทะเลแถบตะวันออกนั้นเรียกแต่เพียงว่า "บ้านบางพระ" ในตอนปลายของกรุงศรีอยุธยา ได้ปรากฏหลักฐานในพระราชพงศาวดารว่าบรรดาเสนาบดีจัตุสดมภ์ทั้งหลาย ได้พากันแบ่งหัวเมืองต่าง ๆ ให้ไปขึ้นกับสมุหนายก สมุหพระกลาโหมและโกษาธิบดี ทำการติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศทางทะเล เมืองตราดเป็นเมืองสำคัญซึ่งขึ้นอยู่กับฝ่ายการคลังของประเทศมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าปราสาททองแล้ว

กรุงธนบุรี

[แก้]

จนกระทั่งก่อนจะเสียกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2310 พระเจ้าตากสินได้รวบรวมกำลังทหารจำนวนหนึ่ง ตีฝ่าวงล้อมของพม่าหนีออกจากกรุงศรีอยุธยา เดินทางไปรวมตัวกันทางทิศตะวันออก โดยยกทัพไปถึงเมืองตราดซึ่งปรากฏในพงศาวดารว่า " ...หลังจากพระเจ้าตากสินตีเมืองจันทบุรีได้แล้ว เมื่อวันอาทิตย์เดือน 7 ปีกุน พ.ศ. 2310 ก็ได้เกลี้ยกล่อมผู้คนให้กลับคืนมายังภูมิลำเนาเดิม... "ครั้นเห็นว่าเมืองจันทบุรีเรียบร้อยอย่างเดิมแล้ว จึงยกกองทัพเรือไปยังเมืองตราด พวกกรมการและราษฎรก็พากันเกรงกลัวยอมอ่อนน้อมโดยดีทั่วทั้งเมือง และขณะนั้นมีสำเภาจีนมาทอดอยู่ที่ปากน้ำเมืองตราดหลายลำ พระเจ้าตากให้ไปเรียกนายเรือมาเฝ้าพวกจีนขัดขืน แล้วกลับยิงเอาข้าหลวง พระเจ้าตากทรงทราบก็ลงเรือที่นั่งคุม เรือรบลงไปล้อมสำเภาไว้แล้ว บอกให้พวกจีนอ่อนน้อมโดยดีพวกจีนก็หาฟังไม่กลับเอาปืนใหญ่น้อยระดมยิงรบกันอยู่ครึ่งวัน พระเจ้าตากก็ตีได้เรือสำเภาจีนทั้งหมด ได้ทรัพย์สิ่งของเป็นกำลังการทัพเป็นอันมาก พระเจ้าตากจัดการเมืองตราดเรียบร้อยแล้ว ก็กลับขึ้นมาตั้งอยู่ ณ เมืองจันทบุรี"

กรุงรัตนโกสินทร์

[แก้]

เมื่อปี พ.ศ. 2446 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประเทศไทยได้เสียดินแดนให้แก่ประเทศฝรั่งเศส เนื่องมาจากการตกลงทำสนธิสัญญากับฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 (ร.ศ. 122) ซึ่งทำให้ไทยจำต้องยกดินแดนจังหวัดตราด และเกาะต่าง ๆ ตั้งแต่อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรีไปจนถึงเกาะกูด และจังหวัดปัจจันตคิรีเขตร หรือเกาะกงให้แก่ฝรั่งเศสเพื่อแลกเปลี่ยนให้ฝรั่งเศสถอนกองทหารไปจากจันทบุรี โดยสัญญาฉบับนี้ได้ให้สัตยาบันต่อกันและมีผลทำให้กองทหารฝรั่งเศสถอนออกไปจากเมืองจันทบุรีตามสัญญา เมื่อ 12 มกราคม พ.ศ. 2447[8]

รัฐบาลไทยได้รับมอบจังหวัดตราดคืนจากรัฐบาลฝรั่งเศสกลับมาเป็นพระราชอาณาเขตตามเดิมใน พ.ศ. 2450 (ร.ศ.126) ตามสัญญาแบ่งปันดินแดนกันขึ้นใหม่ตามสนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 125 ทั้งนี้ยังได้เกาะทั้งหลายภายใต้แหลมลิงลงไปจนถึงเกาะกูดให้แก่รัฐบาลสยาม[9]

การเมืองการปกครอง

[แก้]

รายชื่อผู้ว่าราชการจังหวัดตราด

[แก้]
ทำเนียบผู้ว่าราชการจังหวัดตราด[10]
พระนาม/ชื่อ เข้ารับตำแหน่ง สิ้นสุดการดำรงตำแหน่ง
1. พระยาวิเศษสิงหนาท 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2450 6 เมษายน พ.ศ. 2452
2. พระยาสุนทราธรธุรกิจ 7 เมษายน พ.ศ. 2452 30 มกราคม พ.ศ. 2456
3. พระตราษบุรีศรีสมุทเขตต์ (ธน ณ สงขลา) 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456 26 สิงหาคม พ.ศ. 2464
4. พระยาประเสริฐสุนทราศรัย (กระจ่าง สิงหเสนี) 26 สิงหาคม พ.ศ. 2464 17 กันยายน พ.ศ. 2467
5. พระยาชุมพรบุรีศรีสมุทเขตต์ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2467 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470
6. พระยาตราษบุรีศรีสมุทเขตต์ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474
7. พระยาบริหารเทพธานี 20 มีนาคม พ.ศ. 2474 18 มกราคม พ.ศ. 2475
8. พระวุฒิภาคภักดี 18 มกราคม พ.ศ. 2475 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476
9. นาวาโท พระประยุทธชลธี (แป๊ะ วีราสา) ร.น. 22 มีนาคม พ.ศ. 2476 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2480
10. พระศรีพิชัยบริบาล 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 18 เมษายน พ.ศ. 2482
11. ขุนภูมิประศาสน์ 19 เมษายน พ.ศ. 2482 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2484
12. หลวงนรนิติผดุงการ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 1 มกราคม พ.ศ. 2486
13. ร้อยเอก สุรจิตต์ อินทรกำแหง 1 มกราคม พ.ศ. 2486 7 มกราคม พ.ศ. 2486
14. ขุนปัญจพรรคพิบูล 7 มกราคม พ.ศ. 2486 18 มกราคม พ.ศ. 2490
15. ขุนสนิทประชาราษฎร์ 18 มกราคม พ.ศ. 2490 1 ตุลาคม พ.ศ. 2491
16. นายบรรณการ สร้อยทอง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2491 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2492
17. นายอารี บุปผเวส 18 มกราคม พ.ศ. 2490 1 ตุลาคม พ.ศ. 2491
18. นายประกอบ ทรัพย์มณี 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 6 กันยายน พ.ศ. 2494
19. พันตำรวจโท นายราชภักดี 6 กันยายน พ.ศ. 2494 12 เมษายน พ.ศ. 2497
20. นายสุทิน วิวัฒนะ 12 เมษายน พ.ศ. 2497 27 เมษายน พ.ศ. 2498
21. นายประพันธ์ ณ พัทลุง 27 เมษายน พ.ศ. 2498 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2501
22. นายจรัส เทศวิศาล 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2501 2 ตุลาคม พ.ศ. 2511
23. นายอเนก แก้วลาย 2 ตุลาคม พ.ศ. 2511 15 เมษายน พ.ศ. 2513
24. นายวิจิตร แจ่มใส 15 เมษายน พ.ศ. 2513 1 ตุลาคม พ.ศ. 2514
25. นายกนกศักดิ์ วรรณกนก 1 ตุลาคม พ.ศ. 2514 30 กันยายน พ.ศ. 2516
26. นายพฤทธิพงศ์ ชัยยะโสตถิ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2516 30 กันยายน พ.ศ. 2518
27. นายพิสนธ์ สุนทรธรรม 1 ตุลาคม พ.ศ. 2518 30 กันยายน พ.ศ. 2521
28. นายปัญญา ฤกษ์อุไร 1 ตุลาคม พ.ศ. 2521 11 มิถุนายน พ.ศ. 2522
29. นายประกิต อุตตะโมท 14 มิถุนายน พ.ศ. 2522 30 กันยายน พ.ศ. 2522
30. นายสุนทร บำรุงพงศ์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2522 30 กันยายน พ.ศ. 2523
31. นายสมพงศ์ พันธ์สุวรรณ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2523 30 กันยายน พ.ศ. 2527
32. นายทองดำ บานชื่น 1 ตุลาคม พ.ศ. 2527 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531
33. ร้อยตรี ปรีดี ตันติพงศ์ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 30 กันยายน พ.ศ. 2533
34. นายอมร อนันตชัย 1 ตุลาคม พ.ศ. 2533 30 กันยายน พ.ศ. 2536
35. นายไพโรจน์ ปรียารัตน์ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2536 30 กันยายน พ.ศ. 2538
36. นายผไท วิจารณ์ปรีชา 1 ตุลาคม พ.ศ. 2538 30 กันยายน พ.ศ. 2541
37. นายสุรอรรถ ทองนิรมล 1 ตุลาคม พ.ศ. 2541 30 กันยายน พ.ศ. 2542
38. นายสงคราม กอสุทธิธีรกุล 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542 29 ธันวาคม พ.ศ. 2544
39. นายสมบูรณ์ งามลักษณ์ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 30 กันยายน พ.ศ. 2547
40. นายบุญช่วย เกิดสุคนธ์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 30 กันยายน พ.ศ. 2550
41. นายแก่นเพชร ช่วงรังษี 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 30 กันยายน พ.ศ. 2553
42. นางสาวเบญจวรรณ อ่านเปรื่อง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 30 กันยายน พ.ศ. 2557
43. นายณรงค์ ธีรจันทรางกูร 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 30 กันยายน พ.ศ. 2558
44. นายชาญนะ เอี่ยมแสง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 30 กันยายน พ.ศ. 2560
45. นายประเสริฐ ลือชาธนานนท์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 30 กันยายน พ.ศ. 2562
46. ว่าที่ร้อยตรี พิเชียน ลิมป์หวังอยู่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562 30 กันยายน พ.ศ. 2563
47. นายภิญโญ ประกอบผล 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 30 กันยายน พ.ศ. 2564
48. นายชำนาญวิทย์ เตรัตน์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 30 กันยายน พ.ศ. 2566
49. นายณัฐพงษ์ สงวนจิตร 17 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ปัจจุบัน

หน่วยการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]
จวนเรซิดังกัมปอต
จวนเรซิดังกัมปอต เทศบาลเมืองตราด

การปกครองแบ่งออกเป็น 7 อำเภอ 38 ตำบล 261 หมู่บ้าน

  1. อำเภอเมืองตราด
  2. อำเภอคลองใหญ่
  3. อำเภอเขาสมิง
  4. อำเภอบ่อไร่
  5. อำเภอแหลมงอบ
  6. อำเภอเกาะกูด
  7. อำเภอเกาะช้าง
 แผนที่

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

จังหวัดตราดมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมด 44 แห่ง ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดตราด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับพื้นฐาน 43 แห่ง แบ่งออกเป็น เทศบาลเมือง 1 แห่ง, เทศบาลตำบล 14 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 28 แห่ง

เทศบาลในจังหวัดตราด
ชื่อ อำเภอที่ตั้ง อาณาเขตการปกครอง
เทศบาลเมืองตราด เมืองตราด ตำบลบางพระทั้งตำบล และบางส่วนของตำบลวังกระแจะ
เทศบาลตำบลท่าพริกเนินทราย เมืองตราด ตำบลท่าพริกทั้งตำบล และบางส่วนของตำบลเนินทราย
เทศบาลตำบลชำราก เมืองตราด ตำบลชำรากทั้งตำบล
เทศบาลตำบลตะกาง เมืองตราด ตำบลตะกางทั้งตำบล
เทศบาลตำบลหนองเสม็ด เมืองตราด ตำบลหนองเสม็ดทั้งตำบล
เทศบาลตำบลเขาสมิง เขาสมิง บางส่วนของตำบลเขาสมิงและตำบลทุ่งนนทรี
เทศบาลตำบลแสนตุ้ง เขาสมิง บางส่วนของตำบลแสนตุ้ง
เทศบาลตำบลบ่อพลอย บ่อไร่ บางส่วนของตำบลบ่อพลอย
เทศบาลตำบลหนองบอน บ่อไร่ ตำบลหนองบอนทั้งตำบล
เทศบาลตำบลแหลมงอบ แหลมงอบ บางส่วนของตำบลแหลมงอบ
เทศบาลตำบลน้ำเชี่ยว แหลมงอบ ตำบลน้ำเชี่ยวทั้งตำบล
เทศบาลตำบลเกาะช้าง เกาะช้าง ตำบลเกาะช้างทั้งตำบล
เทศบาลตำบลเกาะช้างใต้ เกาะช้าง ตำบลเกาะช้างใต้ทั้งตำบล
เทศบาลตำบลคลองใหญ่ คลองใหญ่ บางส่วนของตำบลคลองใหญ่
เทศบาลตำบลหาดเล็ก คลองใหญ่ ตำบลหาดเล็กทั้งตำบล

การศึกษา

[แก้]

ขั้นพื้นฐาน

[แก้]

อุดมศึกษา

[แก้]

การขนส่ง

[แก้]

ทางอากาศ

[แก้]

ท่าอากาศยานตราด ตั้งอยู่บริเวณ บ้านสลัก ระหว่างรอยต่ออำเภอเขาสมิงและอำเภอแหลมงอบ มีเที่ยวบินสายการบิน Bangkok Airways เส้นทาง กรุงเทพ-ตราด ทุกวัน วันละ 3 เที่ยวบิน และเส้นทาง ตราด-สมุย สัปดาห์ละ 3 วัน

สนามบินเกาะไม้ซี้ อยู่ห่างจากเกาะกูดเล็กน้อย สนามบินดังกล่าวมีความยาวทางวิ่ง 800 เมตร ก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2551[11]

ระยะทางจากตัวจังหวัดไปอำเภอต่าง ๆ

[แก้]

สถานที่ท่องเที่ยว

[แก้]
  • ชุมชนหมู่บ้านชาวประมงคลองมะขาม บ้านคลองสน ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่
  • หาดบานชื่น อำเภอคลองใหญ่
  • ตลาดชายแดนไทย-กัมพูชา บ้านหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่
  • พิพิธภัณฑ์ยุทธนาวี เกาะช้าง

บุคคลที่มีชื่อเสียง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 318 ง หน้า 14 วันที่ 19 ธันวาคม 2566
  2. กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร. สำนักงานจังหวัดตราด. "ที่ตั้งและอาณาเขต." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.trat.go.th/data_gen/locate.html เก็บถาวร 2010-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 20 เมษายน 2553.
  3. "ข้อมูลจังหวัดชายทะเล". ฐานข้อมูลความรู้ทางทะเล. โครงการจัดการความรู้เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_64.pdf 2564. สืบค้น 21 มกราคม 2565.
  5. กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก สำนักหอสมุดแห่งชาติ, จดหมายเหตุ ร.3, ใบบอกเรื่อง สืบราชการลับเมืองเขมร, เลขที่ 34 (สมุดไทย).
  6. "ปกิณกศิลปวัฒนธรรม เล่ม 19" (PDF). กรมศิลปากร. p. 59.
  7. "อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-14. สืบค้นเมื่อ 2010-12-11.
  8. เว็บไซด์จังหวัดตราด, ประวัติความเป็นมา, (5เมษายน 2557) http://www.trat.go.th/data_gen/history.html เก็บถาวร 2014-02-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  9. ยุวดี ศิริ. "พระราชดำรัสในรัชกาลที่ 5 เมื่อฝรั่งเศสยอมทำสัญญา คืน "ตราด" ให้สยาม". ศิลปวัฒนธรรม.
  10. "ทำเนียบผู้ว่าราชการจังหวัดตราด". กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดตราด. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 25 September 2015.
  11. "ผู้ว่าฯตราดตรวจการก่อสร้างสนามบินเล็กที่เกาะไม้ซี้ เกาะกูด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-16. สืบค้นเมื่อ 2013-02-18.

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

12°14′N 102°30′E / 12.23°N 102.5°E / 12.23; 102.5